ท้องแฝดเกิดจากอะไร คุณแม่ตั้งท้องแฝดอันตรายจริงไหม

ท้องแฝดเกิดจากอะไร คุณแม่ตั้งท้องแฝดอันตรายจริงไหม

12.09.2024

ท้องแฝดหรือการตั้งครรภ์แฝด คือการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับคุณแม่และทารกในครรภ์มากกว่าครรภ์ปกติทั่วไป และอาจทำให้การตั้งครรภ์นั้นมีภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดโรคต่าง ๆ การดูแลตัวเอง เตรียมพร้อมรับมือเมื่อตั้งท้องแฝดอย่างเหมาะสมถูกต้อง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณแม่นั้นไม่ควรละเลย

headphones

PLAYING: ท้องแฝดเกิดจากอะไร คุณแม่ตั้งท้องแฝดอันตรายจริงไหม

อ่าน 9 นาที

 

สรุป

  • ซึ่งโดยปกติแล้วมนุษย์จะมีลูกได้เพียงครั้งละ 1 คนเท่านั้น ซึ่งท้องแฝด หรือมีลูกแฝดเกิดจาก การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ครั้งเดียว แต่มีลูกพร้อมกันถึง 2 คน หรือ มากกว่า 2 คน
  • เนื่องจากฮอร์โมน เอชซีจี (hCG) นั้นเพิ่มขึ้นมากตอนตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่ท้องแฝดแสดงอาการมากกว่าคุณแม่ที่ท้องทารกคนเดียว มักจะมีอาการ คลื่นไส้มาก อาเจียนรุนแรง และจะมีขนาดของหน้าท้องที่อุ้มท้องลูกนั้นใหญ่มากกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติทั่วไป
  • การตั้งครรภ์ลูกแฝด หรือท้องแฝดนั้น มี 2 ประเภท คือ ฝาแฝดเทียม เกิดจากไข่ 1 ใบ + สเปิร์ม 1 ตัว = 1 ตัว เข้ามาผสมพร้อมกันกับไข่ 1 ใบ + สเปิร์ม 1 ตัว = 1 ตัว แล้วมาอยู่ในท้องเดียวกัน ถุงการตั้งครรภ์คนละถุง สายรกคนละสาย แยกอวัยวะทุกส่วนออกจากกัน ส่วนฝาแฝดแท้ เกิดจากไข่ใบเดียวกัน เกิดจากที่อสุจิผสมกับไข่แล้วแบ่งตัว ทำให้เกิดเป็นแฝดที่มีหน้าตาเหมือนกัน และเพศเดียวกัน
  • คุณแม่ท้องแฝดที่มีลูกในครรภ์มากกว่า 2 คน ต้องดูแลครรภ์มากกว่าปกติ ยิ่งมีลูกในครรภ์มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ก็จะมีมากเท่านั้น การตั้งครรภ์แฝดจึงมีภาวะแทรกซ้อน เกิดความเสี่ยงมากกว่าครรภ์ปกติทั่วไป เช่น เสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ , เสี่ยงทารกในครรภ์เติบโตช้า หรือเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การตั้งครรภ์แฝดหรือท้องแฝด คืออะไร

ท้องแฝด หรือมีลูกแฝดเกิดจากการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ครั้งเดียว แต่มีลูกพร้อมกันถึง 2 คน หรือ มากกว่า 2 คน ซึ่งโดยปกติแล้วมนุษย์จะมีลูกได้เพียงครั้งละ 1 คนเท่านั้น การตั้งครรภ์แฝดหรือท้องแฝดแบบธรรมชาติจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 1 ใน 300 คน การตั้งครรภ์แฝดต้องระมัดระวัง ดูแลครรภ์มากกว่าปกติเพราะคุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยในครรภ์มากกว่า 1 คน ยิ่งมีลูกในครรภ์มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ก็จะมีมากเท่านั้น

 

อาการของคุณแม่ท้องแฝด เป็นแบบไหน

อาการของคุณแม่ท้องแฝดนั้น มักจะแสดงอาการมากกว่าคุณแม่ที่ท้องทารกคนเดียว เพราะคุณแม่จะมีระดับฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) สูงกว่าปกติ มักจะมีอาการแพ้ท้องรุนแรง คลื่นไส้มาก อาเจียนรุนแรง เนื่องจากฮอร์โมน เอชซีจี (hCG) นั้นเพิ่มขึ้นมากตอนตั้งครรภ์ และจะมีขนาดของหน้าท้องที่อุ้มท้องลูกนั้นใหญ่มากกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติทั่วไป

 

แฝดแท้และแฝดเทียม ต่างกันอย่างไร

ฝาแฝดเทียม จะมีถุงการตั้งครรภ์คนละถุง สายรกคนละสาย มีความแข็งแรง ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ทารกฝาแฝดเทียม อาจตัวเล็กเนื่องจากมีพื้นที่ในครรภ์แม่น้อย ทำให้เสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดเร็วขึ้น ส่วนฝาแฝดแท้นั้น ทารกในครรภ์ 2 คน จะมีสายรกสายเดียวกัน ซึ่งรกจะช่วยลำเลียงอาหารให้ทารก เนื่องจากมีสายรกสายเดียวกันอาจมีปัญหาในการส่งอาหารไม่ทั่วถึงกัน ทำให้ทารกคนหนึ่งอาจตัวเล็กได้รับอาหารน้อย และทารกอีกคนหนึ่งอาจได้รับอาหารมากทำให้ตัวโตกว่า

 

การตั้งครรภ์ลูกแฝด มีกี่ประเภท

การตั้งครรภ์ลูกแฝด หรือท้องแฝดนั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ฝาแฝดเทียม และฝาแฝดแท้

1. ฝาแฝดเทียม (Fraternal Twins)

เกิดจากไข่ 1 ใบ + สเปิร์ม 1 ตัว = 1 ตัว เข้ามาผสมพร้อมกันกับไข่ 1 ใบ + สเปิร์ม 1 ตัว = 1 ตัว แล้วมาอยู่ในท้องเดียวกัน ครรภ์ฝาแฝดเทียมจึงมีลักษณะคล้ายกับครรภ์เดี่ยว แต่มีลูกพร้อมกัน 2 คน ถุงการตั้งครรภ์คนละถุง สายรกคนละสาย แยกอวัยวะทุกส่วนออกจากกันเพราะเป็นคนละคน

 

2. ฝาแฝดแท้ (Identical Twins)

เกิดจากไข่ใบเดียวกัน เกิดจากที่อสุจิผสมกับไข่แล้วแบ่งตัว ทำให้เกิดเป็นแฝดที่มีหน้าตาเหมือนกัน และเพศเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องทางพันธุกรรม

 

ลูกแฝด เกิดจากปัจจัยไหนได้บ้าง

ปกติแล้วมนุษย์เรานั้นจะมีลูกได้เพียงครั้งละ 1 คนเท่านั้น การตั้งครรภ์แฝดหรือท้องแฝดแบบธรรมชาติจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 1 ใน 300 คน แต่ในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มว่าจะมีการตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น โดยคุณแม่จะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดลูกแฝดได้แก่

  1. เชื้อชาติ มักเกิดท้องแฝดในคนผิวดำสูงกว่าคนผิวขาว ที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณฮอร์โมน เอฟเอสเอช (FSH) ในแต่ละกลุ่มเชื้อชาติ
  2. พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติท้องแฝด
  3. อายุของฝ่ายหญิง คุณแม่ที่มีอายุ 35 ปี มีโอกาสท้องแฝด เพราะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพไข่
  4. ประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้า คุณแม่ที่เคยท้องแฝดมาก่อน
  5. การใช้ยาเพื่อการเจริญพันธุ์ การใช้ยากระตุ้นการกระตุ้นการตกไข่ ทำให้เกิดการตกไข่หลายใบพร้อม ๆ กัน
  6. เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น กระบวนการทำ IVF ทำปฏิสนธินอกร่างกาย แล้วใส่ตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัวเข้าไปในมดลูกของแม่

 

ตั้งครรภ์ท้องแฝด เสี่ยงอันตรายมากไหม

การตั้งครรภ์แฝดที่มีลูกในครรภ์มากกว่า 2 คน ต้องระมัดระวัง ดูแลครรภ์มากกว่าปกติ ยิ่งมีลูกในครรภ์มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ก็จะมีมากเท่านั้น การตั้งแฝดจึงมีภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงมากกว่า ครรภ์ปกติทั่วไป เช่น

  • เสี่ยงความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องแฝดจะเสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคุณแม่ท้องปกติทั่วไป โดยเฉพาะหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด มักพบได้บ่อยในท้องแฝด ท้องแฝดมักจะคลอดก่อนกำหนด มากกว่าท้องทารกคนเดียว
  • เสี่ยงทารกในครรภ์เติบโตช้า คุณแม่ที่ท้องลูกแฝดเกือบครึ่งจะมีภาวะทารกในครรภ์เติบโตช้า น้ำหนักทารกแรกคลอดที่น้อย ต่ำกว่าเกณฑ์
  • ฝาแฝดแท้ที่ใช้รกเดียวกัน อาจเกิดภาวะทารกอีกคนมีเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ ขณะที่ทารกอีกคนมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป ซึ่งผลให้ทารกอีกคนซีด ทารกอีกคนมีเลือดเข้ม
  • เสี่ยงภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องอาจเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้ เนื่องจากแม่คุณแม่ท้องมีปริมาณฮอร์โมนจากรกมากกว่าท้องทารกปกติ
  • ตกเลือดหลังคลอด คุณแม่อาจมีอาการตกเลือดหลังคลอด ได้ เนื่องจากมดลูกมีการยืดขยายมาก และเกิดการหดรัดตัวไม่ดีหลังการคลอด
  • ภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพ มีปัญหาเรื่องซีด ควรได้รับธาตุเหล็กเพิ่ม

 

คุณแม่อยากท้องแฝด ทำยังไงได้บ้าง

 

อยากท้องลูกแฝด ทำยังไงได้บ้าง

แม้ว่าการตั้งครรภ์แฝดในทางการแพทย์ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงมาก เนื่องจากมดลูกของคุณแม่มีหน้าที่รองรับการตั้งครรภ์ที่มีทารกได้เพียงครั้งละ 1 คน แต่อีกในมุมหนึ่ง ยังมีคู่สมรสหลายคู่ที่อยากมีลูกแฝด หรืออยากมีลูกครั้งเดียวพร้อมกัน 2 คน เพื่อจะได้ไม่รู้สึกว่าต้องอุ้มท้องหลายครั้ง จึงศึกษาหาวิธีการในการท้องลูกแฝดโดยวิธีธรรมชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แฝด เช่น

  • อาหารการกิน ผลงานวิจัยของ ดร.แกรี่ ไตน์แมน บอกไว้ว่า การทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม มากกว่าปกติ 5 เท่าจะมีโอกาสได้ท้องลูกแฝดได้มากกว่า
  • เคล็ดลับการมีเพศสัมพันธ์ ไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ ท่าทางในการมีเพศสัมพันธ์นั้นจะช่วยทำให้ท้องลูกแฝดได้
  • ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำให้มีโอกาสในการมีลูกแฝด เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว IVF (In-Vito Fertilization) หรือ การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก IUI (Intra Uterine Insemination) เพื่อเพิ่มโอกาสการท้องลูกแฝด
  • ตั้งครรภ์หลังอายุ 30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีปลาย ๆ จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น เพราะมีแนวโน้มที่จะมีไข่มากกว่าหนึ่งใบในระหว่างการตกไข่ มากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า คุณแม่ที่มีอายุ 35-40 ปี ที่เคยคลอดลูกมาแล้ว มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้มากขึ้น

 

ท้องแฝด คลอดธรรมชาติได้ไหม

การคลอดท้องแฝดนั้นมีวิธีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสูตินรีแพทย์ผู้ดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ว่าจะเลือกวิธีไหนในการทำคลอด ซึ่งสูตินรีแพทย์จะคำนึงถึงสุขภาพคุณแม่และสุขภาพทารกท้องแฝด อายุครรภ์ ตำแหน่งของทารกแฝดเป็นหลัก วิธีคลอดของท้องแฝดมี 2 วิธีคือ

1. คลอดโดยวิธีธรรมชาติ

การคลอดธรรมชาติ ไม่เป็นที่นิยมในการคลอดท้องแฝด เพราะหากฝาแฝดแต่ละคนอยู่ในท่าที่ไม่ได้กลับตัวเตรียมพร้อมที่จะคลอด อาจเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างการคลอดลูกฝาแฝดได้

 

2. คลอดโดยวิธีผ่าตัด หรือผ่าคลอด

การผ่าคลอด สูตินรีแพทย์จะคำนึงถึงสุขภาพคุณแม่ และสุขภาพทารกท้องแฝด อายุครรภ์ ตำแหน่งของทารกแฝดเป็นหลัก เช่น ทารกฝาแฝดอยู่ในท่าผิดปกติคลอดธรรมชาติไม่ได้ , ทารกฝาแฝดอยู่ในถุงน้ำเดียวกัน , ทารกฝาแฝดมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต , มีทารกฝาแฝดมากกว่า 2 คน หรือ ปัญหาสุขภาพบางประการของคุณแม่

 

คุณแม่ท้องแฝด ต้องดูแลตัวเองแบบไหน

คุณแม่ที่มีท้องแฝดต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อทารกในท้อง ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานอาหารเป็น 2 เท่า โดยเฉพาะเน้นแคลเซียม โปรตีน ธาตุเหล็ก คุณแม่ควรทานอาหารเพื่อให้ได้แคลอรีต่อวัน ให้เพิ่มขึ้นที่ 300 แคลอรี ต่อทารกในครรภ์ 1 คน เพราะต้องใช้สารอาหารมากกว่าครรภ์ปกติ นอกจากการทานอาหารแล้ว การนอนหลับ พักผ่อนที่เพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณแม่ท้องแฝดได้ผ่อนคลาย และลดความเครียดที่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ให้ตรงตามนัดทุกครั้ง

 

ท้องแฝด หรือครรภ์แฝด เป็นการตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าการตั้งครรภ์ปกติ คุณแม่ท้องแฝดจึงควรระมัดระวัง ดูแลเอาใจใส่ตัวเองให้มากเป็นพิเศษ เพื่อเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่จะตามมา ควรไปพบสูตินรีแพทย์ ตรวจติดตามอาการให้ตรงตามนัด เพื่อความปลอดภัยของตนเองและลูกแฝดในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘ครรภ์แฝด’, โรงพยาบาลพญาไท
  2. การตั้งครรภ์แฝดไม่ง่ายอย่างที่คิด, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3. การตั้งครรภ์แฝด ท้องแฝด (Multiple Pregnancy), MedPark Hospital
  4. ความเสี่ยงของครรภ์แฝด, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. การตั้งครรภ์แฝด : Multifetal Pregnancy, ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  6. 4 เคล็ดลับ ใครอยากได้ 'ลูกแฝด' มาทางนี้?, โรงพยาบาลราชสีมา ฮอสพิทอล
  7. เด็กหลอดแก้ว IVF (In-Vito Fertilization), โรงพยาบาลBNH
  8. รักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำ IUI สามารถมีลูกแฝดได้หรือไม่, โรงพยาบาลนครธน
  9. Tips on How to Conceive Twins, Healthline
  10. การตั้งครรภ์แฝด, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2567

บทความแนะนำ

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

คนท้องกินน้ำขิงได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำขิงได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินน้ำขิงได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินน้ำขิง เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ น้ำขิงดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้อง กินยาคุมมานาน เสี่ยงมีลูกยากจริงไหม ว่าที่คุณแม่ควรทำอย่างไร ถ้าอยากมีลูกเร็วหลังหยุดยาคุม

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

ท้องลด คืออะไร อาการท้องลดขณะตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นตอนไหน อาการท้องลดของคุณแม่ คือสัญญาณใกล้คลอดจริงไหม หลังเกิดอาการท้องลด นานแค่ไหนถึงจะคลอด ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก