หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้
เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้อง อยากกลับมาท้องต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ คุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนและต้องการป้องกันการตั้งครรภ์ หลายคนมักใช้วิธีการกินยาคุมกำเนิด เพราะเป็นวิธีที่ไม่มีการผ่าตัดหรือนำอุปกรณ์เข้าสู่ร่างกาย พอคุณแม่ต้องการกลับมาตั้งครรภ์อีกครั้ง และต้องหยุดกินยาคุมจึงเกิดคำถามมากมาย วันนี้เราได้รวบรวมคำถามทั้งหมดที่คุณแม่อยากรู้มาฝากกัน ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มหาคำตอบกันเลย
สรุป
- เมื่อคุณแม่หยุดกินยาคุม คุณแม่สามารถเริ่มตั้งครรภ์ได้ทันทีหลังจากหยุดยา หากว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกำเนิดมานานกว่า 1 ปีแล้วแต่ยังไม่มีสัญญาณของการตั้งครรภ์ แนะนำให้คุณแม่พบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเริ่มต้นตั้งครรภ์อีกครั้ง
- หลังจากหยุดกินยาคุมอาจทำให้ประจำเดือนยังไม่มาหรือมาช้าได้ ปกติแล้วประจำเดือนจะมาเป็นปกติได้เร็วสุดภายใน 2-3 วัน และอาจมาช้าภายใน 3-4 เดือน ในกรณีที่รอบเดือนของคุณแม่เคยมาไม่ปกติมาก่อนที่จะเริ่มกินยาคุมกำเนิด พอคุณแม่หยุดกินยาคุมกำเนิดอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้เช่นกัน
- การกินยาคุมนาน ๆ แล้วหยุดกินไม่ได้ทำให้ท้องยาก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ท้องยาก เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น อายุที่มากขึ้น น้ำหนัก การติดเชื้อในโพรงมดลูก การตกไข่ และการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น โดยคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม
- ว่าที่คุณแม่ เลิกกินยาคุมกี่เดือนถึงท้อง
- เลิกกินยาคุม ประจำเดือนจะกลับมาปกติเมื่อไหร่
- หยุดกินยาคุม ประจำเดือนยังไม่มา ผิดปกติไหม
- กินยาคุมนาน ทำให้ท้องยาก จริงไหม
- กินยาคุมนาน ส่งผลเสียอะไรกับร่างกายบ้าง
- ว่าที่คุณแม่ควรทำยังไงหลังหยุดยาคุม เพื่อให้ร่างกายพร้อมมีลูก
หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม
เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้อง หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ก่อนอื่นคุณแม่ต้องทำความเข้าใจกับประเภทของยาคุมที่คุณแม่ทานเป็นประจำก่อน เนื่องจากยาคุมที่ต่างชนิดกันจะให้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน ยาคุมกำเนิดมี 2 ชนิด คือ
1. ฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนและโปรเจสติน)
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 21 เม็ด ทุกเม็ดจะมีตัวยาทั้งหมด (ไม่มีเม็ดแป้ง) รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผง หลังหยุดยาประมาณ 1-3 วันจะเริ่มมีประจำเดือน ให้เริ่มทานแผงใหม่วันที่ 5 ของประจำเดือน
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 28 เม็ด โดยทั่วไปมีตัวยาฮอร์โมนจำนวน 21 เม็ดและไม่มีตัวยาหรือเรียกว่า “เม็ดแป้ง” อีก 7 เม็ด (มีเป็นส่วนน้อยที่ต่างจากที่กล่าวมา เช่น ชนิดแผง 24/4 เม็ด คือมีตัวยา 24 เม็ดและเม็ดแป้ง 4 เม็ด) ซึ่งเม็ดแป้งจะมีสีและ/หรือขนาดเม็ดที่แตกต่างจากเม็ดที่มีตัวยาอย่างชัดเจน รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผงแล้วขึ้นแผงใหม่ต่อเนื่องกันไป ช่วงที่รับประทานเม็ดแป้งไปประมาณ 1-3 เม็ดจะเริ่มมีประจำเดือนมา
ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง
2. ฮอร์โมนเดี่ยว (โปรเจสติน)
ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ แบบฮอร์โมนรวม ส่วนแบบฮอร์โมนเดี่ยวพิจารณาใช้กรณีมีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรหลังคลอด หรือกรณีใช้เป็นยาคุมฉุกเฉินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อาจมีจำนวนเม็ดในแผงยาได้แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่มีแผงละ 21 หรือ 28 เม็ด อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณแม่จะหยุดกินยาคุมหรือต้องการใช้ยาคุม ควรควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
ว่าที่คุณแม่ เลิกกินยาคุมกี่เดือนถึงท้อง
หลังจากที่ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกำเนิดแล้วมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ทันที สำหรับผู้หญิงบางคนอาจต้องรอให้ไข่กลับมาตกอีกครั้งประมาณ 1-2 เดือน เท่ากับว่าเมื่อเลิกกินยาคุมแล้วคุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์ในเดือนถัดไป แต่ยังมีผู้หญิงอีกไม่น้อยที่ตั้งครรภ์อีกครั้งภายใน 1 ปี หากว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกำเนิดมานานกว่า 1 ปี แล้วยังไม่มีสัญญาณของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเริ่มต้นตั้งครรภ์อีกครั้งหลังเลิกกินยาคุม
เลิกกินยาคุม ประจำเดือนจะกลับมาปกติเมื่อไหร่
ปกติแล้วเมื่อคุณแม่เลิกกินยาคุมกำเนิดประจำเดือนจะมาเร็วที่สุดในเวลา 2-3 วัน และในผู้หญิงบางคนกว่าประจำเดือนจะกลับมาเป็นปกติอีกครั้งอาจใช้เวลานานถึง 3 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรอบเดือนก่อนที่คุณแม่จะกินยาคุมด้วย ในกรณีที่รอบเดือนของคุณแม่เคยมาไม่ปกติมาก่อนที่จะเริ่มกินยาคุมกำเนิด พอคุณแม่หยุดกินยาคุมกำเนิดอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากก่อนหน้านี้คุณแม่มีประจำเดือนมาปกติแต่พอหยุดกินยาคุมกำเนิดแล้วประจำเดือนไม่มาภายใน 3-4 เดือน แนะนำให้คุณแม่ไปพบแพทย์เพราะเป็นสัญญาณของอาการที่ผิดปกติได้
หยุดกินยาคุม ประจำเดือนยังไม่มา ผิดปกติไหม
หลังจากหยุดกินยาคุมแล้วอาจทำให้ประจำเดือนยังไม่มาหรือมาช้าได้ เนื่องจากฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดนั้นจะเข้าไปยับยั้งการเกิดรอบเดือนของผู้หญิง เมื่อมีการหยุดกินยาคุมขึ้นจำเป็นต้องรอให้ร่างกายปรับตัวตามกลไกทางธรรมชาติก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรอบเดือนก่อนกินยาคุมกำเนิดด้วย หากก่อนหน้านี้คุณแม่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หลังจากหยุดยาคุมกำเนิดอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้เช่นกัน ในกรณีที่คุณแม่หยุดกินยาคุมกำเนิดนานกว่า 3-4 เดือนแล้ว แต่ประจำเดือนยังไม่มาอาจมีสาเหตุอื่น เช่น
- ความเครียด: ภาวะเครียด ความวิตกกังวลที่รุนแรง หรือเรื้อรัง มีอาการนอนไม่หลับ หรือซึมเศร้าอาจทำให้ประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่ปกติ
- ภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย: ภาวะต่อมไทรอยด์ที่ไม่สมดุล อาจส่งผลต่อการมีประจำเดือน และความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ที่ทำให้ภายในร่างกายมีถุงน้ำรังไข่หลายใบ ที่ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา หรือมาผิดปกติ
กินยาคุมนาน ทำให้ท้องยาก จริงไหม
คุณแม่หลายคนกังวลว่า กินยาคุมนาน ๆ จะทำให้ท้องยาก ความจริงแล้วการกินยาคุมนาน ๆ แล้วหยุดกินไม่ได้ทำให้ท้องยากขึ้นเลย เพราะปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงท้องยากขึ้น มาจากอายุที่เพิ่มขึ้นในระหว่างที่กินยาคุมกำเนิด พอคุณแม่หยุดกินยาคุม จึงทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดน้อยลงนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น อายุ น้ำหนัก การติดเชื้อในโพรงมดลูก การตกไข่ และการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
กินยาคุมนาน ส่งผลเสียอะไรกับร่างกายบ้าง
การกินยาคุมกำเนิดนาน ๆ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้หญิงแต่อย่างใด ยกเว้นยาคุมฉุกเฉินที่ไม่แนะนำให้กินบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดที่กินไปลดน้อยลง เมื่อคุณแม่ต้องการคุมกำเนิดโอกาสที่จะหลุดท้องก็เพิ่มมากขึ้น หรือถ้ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น อาจทำให้ตัวอ่อนมาฝังตัวที่นอกมดลูก ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ขึ้นด้วย
สำหรับคนที่กังวลว่ากินยาคุมแล้วจะทำให้เป็นมะเร็งจริงไหม คำตอบคือ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หากเริ่มกินตั้งแต่ช่วงอายุยังน้อย พอคุณแม่หยุดกินยาคุมแล้ว ความเสี่ยงจะลดลงเท่ากับคนปกติเมื่อหยุดกินนานกว่า 10 ปี ในทางตรงกันข้าม การกินยาคุมจะช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
ว่าที่คุณแม่ควรทำยังไงหลังหยุดยาคุม เพื่อให้ร่างกายพร้อมมีลูก
หลังจากหยุดกินยาคุม คุณแม่อาจต้องรอเวลาให้ร่างกายปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติก่อน โดยคุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลฮอร์โมน และซ่อมแซมร่างกายได้ดีที่สุด ดังนั้น คุณแม่ควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ
2. กินอาหารที่มีประโยชน์
คุณแม่ควรเลือกกินอาหารที่อุดมไปด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย เพราะนอกจากจะช่วยปรับร่างกายของคุณแม่แล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการมีบุตรด้วย คุณแม่จึงควรเน้นทานอาหารสำหรับคนท้อง จำพวกโปรตีน นมไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และมีน้ำตาลมากเกินไป
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ หรือ วันละ 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรง ควบคุมน้ำหนักได้ดี และยังเป็นการฝึกควบคุมการหายใจ และสมาธิที่ส่งผลดีต่อการเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูก ในอนาคตด้วย
4. งดดื่ม งดสูบ
สารในบุหรี่ และแอลกอฮอล์เป็นสารที่อันตรายต่อลูกน้อยในอนาคต เนื่องจากสารเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะแท้งลูกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้
5. กินวิตามินเสริมอาหาร
หากคุณแม่ต้องการตั้งครรภ์อีกครั้งและต้องการกินวิตามินเสริมอาหาร แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อที่คุณหมอจะได้ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์และแนะนำการทานวิตามินที่เหมาะสมสำหรับบำรุงร่างกายเพื่อการตั้งครรภ์
การกินยาคุมเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ หากคุณแม่ต้องการกลับมาตั้งครรภ์สามารถหยุดกินยาคุมได้เลย หลังจากหยุดกินยาคุมแล้ว คุณแม่ต้องรอให้ฮอร์โมนในร่างกายปรับตัว เพื่อให้มีการตกไข่อีกครั้ง หากคุณแม่หยุดกินยาคุมมานานกว่า 3 เดือนแล้ว ประจำเดือนมาช้า และยังไม่มา แนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ และขอคำแนะนำในการวางแผนการตั้งครรภ์ คุณหมอจะตรวจสุขภาพของคุณแม่ว่ามีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์หรือไม่ รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลร่างกาย หรือเสริมวิตามินที่ช่วยในการตั้งครรภ์เพื่อลูกน้อยในอนาคตได้
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน
- ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง
- ตกขาวแบบไหนท้อง ตกขาวคนท้องแบบไหนมั่นใจว่าตั้งครรภ์
- ท้องลม คืออะไร อันตรายไหม สัญญาณเตือนท้องลมที่คุณแม่ต้องรู้
- ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม พร้อมวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูก
- กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด
- อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ต้องระวัง
- อาการเจ็บท้องคลอด เจ็บท้องคลอดแบบไหนควรไปหาหมอ
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้องคลอด
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือซึมเศร้าหลังคลอด
อ้างอิง:
- การเลือกยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดไหนที่เหมาะกับเรา?, โรงพยาบาลรามคำแหง
- When to Stop Birth Control Before Trying to Conceive, Penn Medicine Lancaster General Health
- HOW SOON CAN YOU GET PREGNANT AFTER STOPPING BIRTH CONTROL?, Health University of Utah
- Things That May Happen After Stopping Birth Control, Webmd
- หยุดกินยาคุม ประจำเดือนไม่มา เกิดจากอะไร, Hellokhunmor
- จริงหรือ? กินยาคุมติดต่อกันนาน ๆ ทำให้มีลูกยาก, โรงพยาบาลพิษณุโลก
- กินยาคุมนาน ๆ เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- 7 เคล็ด(ไม่)ลับ เตรียมตัวให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
- หยุดกินยาคุมแล้วจะเกิดอะไรขึ้น, สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย(สวท)
อ้างอิง ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง