ท้องกี่เดือนรู้เพศ อัลตร้าซาวด์เพศลูก กี่เดือนรู้เพศ ต้องรอนานแค่ไหน

ท้องกี่เดือนรู้เพศ คุณแม่รู้เพศตอนกี่เดือน ต้องรอนานแค่ไหน

17.02.2024

ลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มมีอวัยวะเพศที่สมบูรณ์ตอนอายุครรภ์ประมาณ 4 เดือน และจะสามารถเห็นได้ชัดด้วยการอัลตราซาวด์เมื่ออายุครรภ์ 5 เดือน คุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้สึกนานกว่าจะทราบเพศตอนอายุครรภ์ 5 เดือน ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการมากมายที่สามารถทำให้คุณพ่อคุณแม่ทราบเพศของลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้เร็วมากขึ้น โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์เลยทีเดียว

headphones

PLAYING: ท้องกี่เดือนรู้เพศ คุณแม่รู้เพศตอนกี่เดือน ต้องรอนานแค่ไหน

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ลูกน้อยในครรภ์อายุครบ 4 เดือน จะมีอวัยวะเพศพัฒนาอย่างสมบูรณ์ แต่อาจจะยังไม่สามารถดูเพศได้อย่างชัดเจนด้วยวิธีอัลตราซาวด์ แต่จะทราบได้ด้วยวิธีการตรวจ NIPT ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป
  • การตรวจการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม เพื่อหากลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม หรือโรคทางพันธุกรรมต่างๆ มีมากมายหลากหลายวิธี ทั้งการอัลตราซาวนด์ดูความหนาของต้นคอทารก การเจาะน้ำคร่ำ การตรวจ NIPT หรือการตรวจชิ้นรก เป็นต้น
  • การตรวจอัลตราซาวด์ แบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของภาพ โดยภาพแบบ 3 มิติจะเพิ่มเติมความลึกจากภาพแบบ 2 มิติ และแบบ 4 มิติจะเป็นการนำภาพ 3 มิติมาเรียงต่อเนื่องกันจนเป็นภาพเคลื่อนไหว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่จะมีการพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ตามพัฒนาการในแต่ละเดือน ในส่วนของอวัยวะเพศจะพัฒนาอย่างสมบูรณ์เมื่ออายุครบ 4 เดือน โดยคุณแม่ที่มีการฝากครรภ์กับคุณหมอจะสามารถขอให้คุณหมอช่วยอัลตราซาวด์ เพื่อดูความสมบูรณ์แข็งแรงของลูกในครรภ์ และอาจขอให้คุณหมอช่วยดูเพศได้อย่างชัดเจน เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12-16 สัปดาห์ขึ้นไป

 

พัฒนาการของลูกน้อย ตามอายุครรภ์

การสร้างอวัยวะ และการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของลูกในแต่ละอายุครรภ์ มีรายละเอียดดังนี้

  • เดือนที่ 1 ลูกจะเริ่มมีการพัฒนาสมอง ระบบประสาท และไขสันหลัง
  • เดือนที่ 2 มีการเจริญเติบโตของอวัยวะแขนขา เสียงหัวใจเต้นดังชัดเจน ศีรษะมีขนาดใหญ่ยังไม่สมส่วนมากนัก
  • เดือนที่ 3 เริ่มมีการเคลื่อนไหวแขนและขาได้ หัวใจมีการพัฒนาเต็มที่ ศีรษะยังมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับช่วงตัว
  • เดือนที่ 4 ลูกน้อยเริ่มเติบโตมากยิ่งขึ้น อวัยวะต่าง ๆ รวมถึงอวัยวะเพศพัฒนาเกือบสมบูรณ์
  • เดือนที่ 5 ลูกเริ่มมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น จนอาจทำให้คุณแม่เริ่มรู้สึกรับรู้ได้ในช่วงอายุครรภ์นี้ เริ่มมีเส้นขน เส้นผม
  • เดือนที่ 6 เริ่มมีการลืมตาได้ ปอดทำงานได้ดี ได้ยินเสียง คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นพูดคุยกับลูกในครรภ์
  • เดือนที่ 7 มีการผลิตไขมันปกคลุมผิวหนังจากต่อมไขมัน ทำให้ผิวเริ่มมีความชุ่มชื้นมากขึ้น
  • เดือนที่ 8 ปอดทำงานได้เกือบสมบูรณ์ ผิวหนังมีสีแดงระเรื่อ
  • เดือนที่ 9 ลูกน้อยในครรภ์เติบโตอย่างสมบูรณ์ ปอดทำงานได้อย่างเต็มที่ ผิวหนังมีไขมันลดน้อยลง

 

พัฒนาการของลูกน้อย ตามอายุครรภ์

 

อยากรู้เพศของลูกน้อย ทำวิธีไหนได้บ้าง

  • ทำอัลตราซาวด์ คือ การตรวจครรภ์โดยใช้คลื่นเสียง ซึ่งความถี่ประมาณ 3.5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่มีความปลอดภัยต่อลูกในครรภ์ รวมถึงตัวคุณแม่เอง
  • การเจาะน้ำคร่ำ ใช้สำหรับการตรวจโครโมโซมเพื่อหาความผิดปกติ เพื่อหากลุ่มโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งนับถึงวันกำหนดคลอด หรือมีประวัติทางครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งมีความเสี่ยงในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ถึง 20 สัปดาห์
  • การตรวจ NIPT หรือการตรวจ Non-Invasive Prenatal Testing คือ การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม เพื่อหาความเสี่ยงกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด เป็นต้น ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป โดยการตรวจ NIPT มีความปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ และลดความเสี่ยงของการเจาะน้ำคร่ำได้
  • การเจาะชิ้นเนื้อรก เนื่องจากเซลล์จากรกในครรภ์ ถือเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเดียวกันกับทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงสามารถนำชิ้นรกมาตรวจเพื่อหาความผิดปกติทางโครโมโซม หรือความพิการแต่กำเนิดได้ โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์

 

ประโยชน์ของการทำอัลตราซาวด์ ดูเพศของลูกน้อย

การตรวจครรภ์ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ ไม่เพียงแต่ดูการเจริญเติบโต และดูเพศของลูกน้อยในครรภ์ แต่ยังสามารถวัดความยาวของทารกในครรภ์เพื่อยืนยันอายุครรภ์ที่แท้จริง และสามารถคำนวณวันคลอดได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยตรวจคัดกรองเบื้องต้นของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งสามารถวัดจากความหนาของต้นคอทารก และตรวจตำแหน่งรกและปริมาณน้ำคร่ำ รวมถึงการเจริญเติบโตของกระดูกทารก ในช่วงที่ลูกน้อยมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3

 

ความแตกต่างการทำอัลตราซาวด์ดูเพศลูกแต่ละแบบ

  • 2 มิติ ภาพที่ได้จะเป็นภาพขาวดำ ลักษณะเป็นภาพแนวตัดขวางทีละภาพ อาจมองไม่เห็นใบหน้าของลูกในครรภ์ได้อย่างชัดเจน
  • 3 มิติ พัฒนาลักษณะของภาพจาก 2 มิติ โดยมีการประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน ทำให้ภาพมีความลึกมากขึ้น เห็นใบหน้าและอวัยวะของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • 4 มิติ เป็นการนำภาพถ่ายแบบ 3 มิติมาเรียงต่อเนื่องกันจนทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เห็นลักษณะการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การแสดงอาการต่างๆ เช่น ยิ้ม หาว ดูดนิ้ว เป็นต้น

 

ความแตกต่างการทำอัลตราซาวด์ดูเพศลูกแต่ละแบบ

 

พัฒนาการลูกน้อยในแต่ละช่วงอายุครรภ์ คงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่คอยเฝ้าติดตาม หมั่นสังเกต เพราะอยากให้ลูกน้อยเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรงที่สุด ทั้งการพัฒนาของอวัยวะแต่ละส่วน รวมถึงการทราบเพศของลูกล่วงหน้าก่อนกำหนดคลอด ทั้งนี้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีการ แตกต่างกันตามความเหมาะสม ทั้งในส่วนของค่าใช้จ่าย อายุครรภ์ ผลลัพธ์ที่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรมีการฝากครรภ์โดยทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์และปรึกษาคุณหมออย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. อยากรู้เพศลูกตั้งแต่แรกเพื่อเตรียมความพร้อม, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
  2. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  3. ตอบข้อสงสัยคุณแม่...เรื่องอัลตราซาวด์, โรงพยาบาลพญาไท
  4. การเจาะน้ำคร่ำ ค้นหาความพิการโรคดาวน์ซินโดรม, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย
  5. การตัดชิ้นเนื้อรก, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  6. อัลตราซาวด์ และการตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. ไขข้อสงสัย อัลตราซาวด์ทารกในครรภ์ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 3 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินโยเกิร์ต เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ โยเกิร์ตดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม กินผักสดบ่อย จะอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ประโยชน์ของผักสลัดมีอะไรบ้าง ผักประเภทไหนที่คนท้องควรเลี่ยง ไปดูกันว่าคนท้องกินผักอะไรได้บ้าง

คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องทาเล็บได้ไหม คุณแม่ท้องทาเล็บบ่อย จะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า สารเคมีในน้ำยาทาเล็บ ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกในท้องบ้าง อยากทำเล็บต้องระวังอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก