ท้องลดกี่วันคลอด อาการท้องลดแบบไหนแปลว่าใกล้คลอดแล้ว
คุณแม่ตั้งครรภ์ รู้สึกว่าตัวเองท้องลดลงหรือเปล่า? นั่นอาจเป็นสัญญาณอาการแรกที่บอกว่าคุณแม่ใกล้เข้าสู่ระยะการคลอดแล้วก็ได้! มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการท้องลด คืออะไร? และ ท้องลดกี่วันคลอด? รวมทั้งวิธีเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคุณแม่คลอดลูก
สรุป
- ท้องลดกี่วันคลอด อาการท้องลด คืออาการเตือนแรกของการเข้าสู่ระยะการคลอด ที่เกิดขึ้นจากศีรษะของทารกเคลื่อนต่ำลงเพื่อเข้าสู่อุ้งเชิงกราน ทำให้ความสูงของยอดมดลูกลดลงท้องมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย สำหรับอาการท้องลดอาจเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด หรืออาจเกิดขึ้นได้ในไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอดลูก
- ท้องลดกี่วันคลอด อาการท้องลดในคุณแม่ท้องแรก อาจคลอดลูกได้ภายใน 1 เดือน ส่วนอาการท้องลดในคุณแม่ท้องหลัง อาจคลอดลูกได้ภายในไม่กี่วัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- อาการท้องลด คืออะไร
- คุณแม่ท้องลดกี่วันคลอด
- สัญญาณเตือนใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้
- ท้องลดกี่วันคลอด สังเกตได้อย่างไร
- วิธีเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคุณแม่คลอด
อาการท้องลด คืออะไร
ท้องลดกี่วันคลอด อาการท้องลด คืออาการเตือนแรกของการเข้าสู่ระยะการคลอด ที่เกิดขึ้นจากศีรษะของทารกเคลื่อนต่ำลงเพื่อเข้าสู่อุ้งเชิงกราน ทำให้ความสูงของยอดมดลูกลดลงท้องมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด และหายใจได้สะดวกมากขึ้น สำหรับอาการท้องลดอาจเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด หรืออาจเกิดขึ้นได้ในไม่กี่ชั่วโมงก่อนคุณแม่คลอดลูก
คุณแม่ท้องลดกี่วันคลอด
ท้องลดกี่วันคลอด ท้องลด เป็นอาการทารกกลับหัว คือส่วนศีรษะของทารกในครรภ์มีการเคลื่อนเข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกรานของคุณแม่เพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอด ซึ่งอาการท้องลดเป็นอาการก่อนคลอดเมื่อคุณแม่เข้าสู่ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ท้องลดกี่วันคลอด ในคุณแม่ตั้งครรภ์ท้องแรก กับ คุณแม่ตั้งครรภ์ในท้องถัดมา จะเหมือนกันหรือไม่ มีคำตอบให้ดังนี้
1. คุณแม่ท้องแรก
ในคุณแม่ตั้งครรภ์ท้องแรก หากมีอาการท้องลด คุณแม่อาจคลอดลูกได้ภายใน 1 เดือน
2. คุณแม่ท้องหลัง
ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยผ่านการคลอดมาแล้ว หากมีอาการท้องลด คุณแม่อาจคลอดลูกได้ภายในไม่กี่วัน
สัญญาณเตือนใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้
เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนใกล้คลอด ซึ่งสามารถสังเกตอาการเตือนได้ดังนี้
1. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกคุณแม่จะเริ่มเปิดและขยายออก จนทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกแตก และมีมูกเลือดไหลออกมาได้
2. ถุงน้ำคร่ำแตก
ถุงน้ำคร่ำแตก เป็นอาการน้ำเดิน ที่เกิดมดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลงเพื่อบีบให้ศีรษะทารกเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน ซึ่งน้ำที่ออกมาจะใสคล้ายน้ำปัสสาวะ แต่ไม่มีกลิ่น สำหรับอาการน้ำเดินที่เกิดขึ้นอาจจะไหลพรวดออกมา หรือค่อย ๆ ซึมไหลออกมาก็ได้เช่นกัน ในคุณแม่ที่มีอาการน้ำเดินมีโอกาสคลอดได้ 80% ภายใน 12 ชั่วโมง ดังนั้นหากพบว่ามีน้ำเดินออกจากช่องคลอด แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที
3. เจ็บท้องคลอด
อาการเจ็บท้องคลอด เป็นอาการเจ็บท้องที่เริ่มเจ็บจากส่วนบนของมดลูก จากนั้นจะเจ็บร้าวลงไปข้างล่าง และท้องแข็งตึงขึ้นมา ซึ่งอาการเจ็บท้องคลอดจะเป็นลักษณะการเจ็บที่สม่ำเสมอต่อเนื่องกัน หากคุณแม่รู้เจ็บท้องนานขึ้น ถี่ขึ้น แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที
ท้องลดกี่วันคลอด สังเกตได้อย่างไร
ท้องลดกี่วันคลอด ช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอดคุณแม่จะมีอาการท้องลดที่เป็นอาการเตือนแรกในการเข้าสู่ระยะการคลอด ซึ่งหลังจากอาการท้องลดที่เกิดขึ้น คุณแม่จะมีอาการเจ็บท้องที่เรียกว่า เจ็บท้องเตือน และเจ็บท้องคลอด ซึ่งมีวิธีสังเกตอาการได้ดังนี้
อาการเจ็บท้องเตือน | อาการเจ็บท้องคลอด |
เจ็บท้องไม่สม่ำเสมอ | เจ็บท้องสม่ำเสมอ เช่น ปวดท้องทุก 10 นาที |
เจ็บท้องห่าง ๆ เช่น เจ็บท้องชั่วโมงละ 1 ครั้ง | เจ็บท้องถี่ขึ้น เช่น จากปวดท้องทุก 10 นาที กลายเป็นปวดท้องทุก 5 นาที |
ปวดท้องไม่มาก | ปวดท้องแรงขึ้นเรื่อย ๆ |
ปวดตรงบริเวณท้องน้อย | ปวดตรงบริเวณยอดมดลูกและแผ่นหลัง |
ปากมดลูกไม่เปิด | ปากมดลูกมีการเปิดออก |
วิธีเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคุณแม่คลอด
ยิ่งใกล้ถึงกำหนดวันคลอด คุณแม่อาจมีความกังวลในการคลอด ดังนั้นเพื่อช่วยให้คุณแม่ท้องมีความพร้อมทั้งกายและใจก่อนที่จะคลอดลูก มีวิธีเตรียมตัวให้คุณแม่พร้อมก่อนคลอด ดังนี้
1. พบแพทย์ตามนัดเสมอ
คุณแม่ท้องควรมาตรวจเช็กสุขภาพครรภ์ตามที่สูตินรีแพทย์นัดทุกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงสุดท้ายก่อนถึงกำหนดคลอดจะมีการนัดคุณแม่เพื่อมาตรวจครรภ์ดูความพร้อมของร่างกายในทุกสัปดาห์
2. เตรียมความพร้อมด้านจิตใจ
เพื่อลดความกังวลก่อนคลอด ให้คุณแม่ทำความเข้าใจถึงการเจ็บท้องคลอดว่าเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกาย คุณแม่สามารถขอคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่ เพื่อช่วยลดความกังวลใจในกระบวนการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้นกับคุณแม่
3. เตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรง
ก่อนคลอดคุณแม่อาจเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย เช่น การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอด อุ้งเชิงกรานและฝีเย็บ โดยการขมิบและคลายกล้ามเนื้อรอบช่องคลอด ทวารหนัก และช่องปัสสาวะ สำหรับวิธีการขมิบ คือ ให้คุณแม่หายใจเข้าขณะขมิบ และหายใจออกขณะคลายขมิบ คุณแม่สามารถปรึกษาสูตินรีแพทย์ที่ดูแลครรภ์ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมในการฝึกขมิบก่อนคลอดที่เหมาะสมอีกครั้ง
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
เพื่อลดความเสี่ยงการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด คุณแม่ท้องควรพักผ่อนอย่างเพียงพอให้ได้วันละ 6-8 ชั่วโมง
5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมใช้แรง
คุณแม่ท้องใกล้คลอดควรหลีกเลี่ยงการเดินหรือการยืนเป็นเวลานาน รวมถึงการเดินทางไกล และการทำงานหนัก
6. เตรียมของใช้จำเป็นให้พร้อมเดินทาง
เตรียมของก่อนคลอด ก่อน 2 สัปดาห์ที่จะถึงกำหนดคลอด แนะนำให้คุณแม่เตรียมกระเป๋าของใช้คุณแม่และลูกน้อย รวมถึงเอกสาร เช่น บัตรประจำตัวประชาชนของคุณพ่อคุณแม่, เอกสารแสดงสิทธิ์การรักษาพยาบาลหรือประกันสุขภาพ, สมุดบันทึกการฝากครรภ์ และสำเนาทะเบียนบ้านไว้ให้พร้อม เพื่อที่เมื่อถึงเวลาคุณแม่ต้องเดินทางไปคลอดที่โรงพยาบาลจะได้ไม่ฉุกละหุก
ท้องลดกี่วันคลอด แม้ว่าอาการท้องลดจะเป็นสัญญาณเตือนแรกของการเข้าสู่ระยะการคลอด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะคลอดในทันที อาจใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ก่อนที่การคลอดจะเกิดขึ้น ดังนั้นคุณแม่ควรเตรียมตัวให้พร้อมและสังเกตอาการของตัวเองอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดคลอด หรือมีความกังวลต่อการคลอด ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ทันที สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่ไม่พลาดทุกช่วงพัฒนาการสำคัญของลูกน้อยในครรภ์ สามารถติดตามและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.s-momclub.com/member-privilege
เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมบูรณ์พร้อมทุกด้าน คุณแม่สามารถส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกคลอด ด้วยการให้ลูกกินนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก รวมทั้งยังมีจุลินทรีย์สุภาพ บีแล็กทิส (B. lactis) หนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และยังเป็นโพรไบโอติกส์ ที่สามารถส่งต่อเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับลูกน้อยได้อีกด้วย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม
- สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด
- ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดดีไหม แม่ผ่าคลอดดูแลแผลผ่าคลอดยังไงดี
- คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด
- ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม คนท้องกินข้าวเหนียวได้ไหม
- ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม แม่หลังผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม ห้ามกินอะไรบ้าง
- ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด
- ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี
- คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน
- ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน
อ้างอิง:
- อาการเมื่อคุณแม่ใกล้คลอด, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- 6 สัญญาณเตือนการใกล้คลอด, ที่คุณแม่ควรรู้ โรงพยาบาลบางปะกอก 3
- เจ็บท้องถี่รุนแรง มีมูกเลือด น้ำเดิน สัญญาณใกล้คลอด โรงพยาบาลนครธน
- ว่าที่คุณแม่มือใหม่ เตรียมตัวก่อนคลอดอย่างไร ให้พร้อม!, โรงพยาบาลเปาโล
- เตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างไร? ให้คุณแม่คลอดปลอดภัยและลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์, โรงพยาบาลกรุงไทย
- บริหารร่างกาย ก่อนคลอด, โรงพยาบาลพญาไท
- การดูแลตนเองเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลพญาไท
อ้างอิง ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง