วิธีอ่านฟิล์มอัลตราซาวด์และใบอัลตราซาวด์ สำหรับคุณแม่มือใหม่
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาพิเศษที่คุณแม่ทุกคนอยากเฝ้าดูพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ใบอัลตราซาวด์จึงเป็นเหมือนหน้าต่างที่เปิดโอกาสให้คุณแม่ได้เห็นภาพและฟังเสียงหัวใจของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ใบอัลตราซาวด์เป็นใบแสดงผลการตรวจที่สำคัญมากในระหว่างตั้งครรภ์ ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณแม่ได้เห็นภาพลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังช่วยให้แพทย์ตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก ตรวจหาความผิดปกติ และวางแผนการคลอดได้อย่างเหมาะสม
สรุป
- ใบอัลตราซาวด์ มีตัวย่อภาษาอังกฤษที่บอกข้อมูลเกี่ยวกับ อายุครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำ น้ำหนักทารก เส้นรอบท้อง เส้นรอบศีรษะ และความยาวของทารกในครรภ์ การอัลตราซาวด์สามารถตรวจผ่านทางหน้าท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
- ใบอัลตราซาวด์ บอกได้ถึงอายุครรภ์ โดยให้ดูที่ CRL ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการคำนวณความยาวของตัวอ่อนหรือทารก โดยวัดจากความยาวตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงสะโพกตรงกระดูกก้นกบ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรเกี่ยวกับลูกบ้าง
- ใบอัลตราซาวด์บอกเพศลูกได้ไหม
- ใบอัลตราซาวด์บอกอายุครรภ์ได้ไหม
- คุณพ่อคุณแม่จะได้ใบอัลตราซาวด์มาตอนไหนบ้าง
- วิธีอ่านฟิล์มอัลตราซาวด์ให้เข้าใจง่าย
- เก็บใบอัลตราซาวด์เป็นความทรงจำ ทำยังไงให้สีไม่ซีด
- การตรวจอัลตราซาวนด์ MFM คืออะไร
การอัลตราซาวด์ขณะตั้งครรภ์สามารถทำได้บ่อยครั้งตามที่แพทย์แนะนำ การอัลตราซาวด์มีทั้งรูปแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ หลังจากอัลตราซาวด์คุณแม่จะได้เป็น ใบอัลตราซาวด์ มีข้อมูลอายุครรภ์ น้ำหนักทารก และพัฒนาการต่าง ๆ ของทารก ระบุเป็นอักษรย่อไว้บนใบอัลตราซาวด์
ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรเกี่ยวกับลูกบ้าง
อัลตราซาวด์เป็นการตรวจครรภ์ผ่านทางหน้าท้องคุณแม่ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งในใบอัลตราซาวด์จะบอกได้ถึง อายุครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำ น้ำหนักทารก เส้นรอบท้อง เส้นรอบวงศีรษะ และความยาวของทารกในครรภ์
ใบอัลตราซาวด์บอกเพศลูกได้ไหม
ใบอัลตราซาวด์สามารถบอกข้อมูลหลายอย่างของลูก แต่คุณแม่สามารถทราบเพศของลูกได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ถึง อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ เป็นต้นไป โดยการอัลตราซาวด์แพทย์จะตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกายทารกทั้งภายในและภายนอก และส่วนใหญ่ก็จะได้เห็นเพศลูกจากการตรวจอัลตราซาวด์
ใบอัลตราซาวด์บอกอายุครรภ์ได้ไหม
สามารถทราบอายุครรภ์ได้จากใบอัลตราซาวด์ โดยค่า CRL เป็นค่าที่ได้จากการคำนวณความยาวของตัวอ่อนหรือทารก โดยวัดจากความยาวตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงสะโพกตรงกระดูกก้นกบ แพทย์จะสามารถทราบอายุครรภ์ได้
คุณพ่อคุณแม่จะได้ใบอัลตราซาวด์มาตอนไหนบ้าง
การตรวจอัลตราซาวด์ปกติแพทย์จะทำให้ทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ และจะได้รับผลเป็นใบอัลตราซาวด์ตามจำนวนครั้งที่แพทย์นัดตรวจอัลตราซาวด์
- ไตรมาสที่ 1 ตรวจอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 11-13 + 6 สัปดาห์ เป็นการตรวจเพื่อยืนยันอายุครรภ์ เพื่อให้ทราบกำหนดวันคลอดที่แน่นอนได้
- ไตรมาสที่ 2 ตรวจอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เป็นการตรวจดูพัฒนาการของอวัยวะ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต ตรวจดูตำแหน่งรกและปริมาณน้ำคร่ำ เป็นต้น
- ไตรมาสที่ 3 ตรวจอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ เป็นการตรวจเพื่อดูพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
วิธีอ่านฟิล์มอัลตราซาวด์ให้เข้าใจง่าย
หลังตรวจอัลตราซาวด์คุณแม่จะได้ผลเป็นใบอัลตราซาวด์กลับมาด้วย ซึ่งในใบอัลตราซาวด์จะแสดงตัวย่อภาษาอังกฤษต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์ ทั้งนี้แนะนำให้คุณแม่สอบถามแพทย์ที่ดูแลครรภ์เพิ่มเติมในผลตรวจใบอัลตราซาวด์ของคุณแม่แต่ละท่านอย่างละเอียดอีกครั้ง มาดูกันว่าตัวย่อภาษาอังกฤษบนใบอัลตราซาวด์บอกอะไรไว้บ้าง
- CRL คือ วัดความยาวของทารก (Crown-Rump Length)
- BPD คือ วัดความกว้างของศีรษะทารก (Biparietal Diameter)
- HC คือ วัดเส้นรอบวงศีรษะ (Head Circumference)
- AC คือ วัดเส้นรอบท้อง (Abdominal Circumference)
- FL คือ วัดความยาวกระดูกต้นขา (Femur Length)
- AFI คือ วัดปริมาณน้ำคร่ำ (Amniotic Fluid Index)
- EFW คือ การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimated Fetal Weight)
เก็บใบอัลตราซาวด์เป็นความทรงจำ ทำยังไงให้สีไม่ซีด
คุณแม่สามารถเก็บใบอัลตราซาวด์ไว้เป็นความทรงจำดี ๆ ในชีวิตที่ครั้งหนึ่งได้อุ้มท้อง และเพื่อเก็บไว้ให้ลูกน้อยได้ดูเมื่อเติบโตขึ้นในอนาคต ซึ่งคุณแม่สามารถเก็บใบอัลตราซาวด์ไว้เพื่อไม่ให้เสียหายได้ด้วยวิธีเหล่านี้
- สแกนเป็นภาพเก็บไว้ในคอม
- นำไปใส่อัลบั้ม
- เคลือบพลาสติก
การตรวจอัลตราซาวด์ MFM คืออะไร?
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อายุมาก คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด หรือคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวแล้วตั้งครรภ์ เป็นต้น จำเป็นต้องได้รับการตรวจอัล ตราซาวด์ที่เรียกว่า MFM (Maternal Fetal Medicine) คือการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูโครงสร้างอวัยวะของทารกว่ามีความสมบูรณ์ ความผิดปกติหรือความพิการแต่กำเนิดหรือไม่ สำหรับการตรวจอัลตราซาวด์ MFM จะตรวจโดยสูติแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
ใบอัลตราซาวด์เป็นมากกว่าเพียงแค่ภาพถ่ายของลูกน้อยในครรภ์ แต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่และแพทย์ได้ติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกได้อย่างใกล้ชิด และช่วยให้ตรวจพบถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้สามารถวางแผนการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงที
ดังนั้นการตรวจอัลตราซาวด์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพที่สำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน และเพื่อให้ลูกน้อยหลังคลอดมีร่างกายและพัฒนาการแข็งแรงสมบูรณ์ แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิด ซึ่งช่วยในการพัฒนาสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- โปรแกรม Womb development ตามติด 9 เดือนในครรภ์ของลูกน้อยพร้อมบทความพัฒนาการต่างๆ
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- ไอเดียตั้งชื่อมงคล ตั้งชื่อลูกตามวันเกิด เสริมความเป็นสิริมงคล
- ไอเดียชื่อจริง ชื่อเล่นภาษาอังกฤษลูกสาว อัพเดทล่าสุด
- โปรแกรมคำนวณวันไข่ตก เช็กวันไข่ตกคุณแม่มือใหม่
- โปรแกรมคํานวณอายุครรภ์คุณแม่ คำนวณวันครบกำหนดคลอด
- โปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้อง แต่ละไตรมาสน้ำหนักควรเพิ่มเท่าไหร่
- คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
- วิธีเช็คผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สมทบบุตร สิทธิประกันสังคมมาตรา 33
- เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ คุณแม่ท้องมีสิทธิเบิกอะไรได้บ้าง
- แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดมีอะไรบ้าง รวมทุกคำตอบที่ควรรู้
- ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า คุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง
อ้างอิง:
- อัลตราซาวด์ และการตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
- OB Ultrasound for Extern, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ข้อควรรู้ การทำอัลตราซาวนด์ขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
- ตอบข้อสงสัยคุณแม่...เรื่องอัลตราซาวด์, โรงพยาบาลพญาไท
- อัลตราซาวนด์ทารกในครรภ์บอกอะไรได้บ้าง?, โรงพยาบาลกรุงไทย
อ้างอิง ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง