แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

09.05.2024

Allergic march ภูมิแพ้จากพ่อแม่ อาจทำให้ลูกมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้สูงขึ้น ดังนั้นควรตรวจเช็คเพื่อลดความเสี่ยงและหาวิธีป้องกันโอกาสที่ลูกจะเป็นภูมิแพ้

headphones

PLAYING: แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • โรคภูมิแพ้ หรือภาวะภูมิแพ้ในทารกอาจส่งต่อมาทางพันธุกรรมได้ โดยหากทั้งคุณพ่อคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเป็นภูมิแพ้เพิ่มขึ้นเป็น 50-80% หรือในกรณีที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ไม่มีภาวะภูมิแพ้ ลูกน้อยก็มีความสามารถเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้ 14% เช่นกัน
  • วิธีที่สำคัญในการป้องกันการเกิดภูมิแพ้ในทารกคือ ให้นมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือนหรือนานที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ รวมถึงช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

"Allergic march" ไม่ได้หมายถึงโรคภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยช่วงเดือนมีนาคม แต่คือโรคภูมิแพ้ในเด็กที่ส่งผลต่อเนื่องตลอดวัยเด็ก ซึ่งจะแสดงอาการผ่านแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตของลูกน้อย อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ โรคภูมิแพ้ที่มีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ตลอดช่วงวัยเด็กของลูกน้อยนั่นเอง ในบางกรณี โรคภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นซ้ำซ้อนกัน ทำให้ลูกมีอาการภูมิแพ้มากกว่า 1 ชนิดในช่วงเวลาหนึ่ง หรือภูมิแพ้ชนิดแรกอาจเริ่มหายไป และแทนที่ด้วยภูมิแพ้อีกชนิดก็ได้


ไขข้อสงสัยลูกเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

 

Allergic march อาจรู้จักกันในชื่อของ “Atopic March” ซึ่งลูกอาจเป็นภูมิแพ้หรืออาการแบบใดแบบหนึ่งเป็นลำดับขั้นไปตามอายุและการ เจริญเติบโตของเขา ในขณะที่ลูกน้อยอาจผ่านภาวะภูมิแพ้มาหลายแบบในแต่ละช่วงวัย ภูมิแพ้ชนิดเดิม ๆ ก็อาจเกิดซ้ำกันได้ในช่วงที่ลูกกำลัง เจริญเติบโตเช่นกัน
 

ตารางแสดงโรคภูมิแพ้ในเด็ก Allergic march

 

ตัวอย่างของกระบวนการการเกิดภูมิแพ้ที่สามารถเห็นได้ชัดคือ การเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังที่อาจมีอาหารเป็นสารก่อภูมิแพ้ (Atopic dermatitis) โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (แพ้อากาศ หรือ Rhino-conjunctivitis) และเมื่อโตขึ้น ก็อาจมีอาการของโรคหืดหอบ (Asthma) ตามมา อย่างไรก็ดีเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และลูกน้อยของคุณแม่อาจมีขั้นตอนของการเกิดภูมิแพ้แตกต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ก็เป็นได้
 

ไขข้อสงสัยลูกเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

โรคภูมิแพ้ หรือภาวะภูมิแพ้ในทารกอาจส่งต่อมาทางพันธุกรรม เช่น ในกรณีที่คุณแม่ท้องเป็นภูมิแพ้ ลูกน้อยจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ถึง 20-40% แต่หากทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเป็นภูมิแพ้เพิ่มขึ้นเป็น 50-80% หรือในกรณีที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ไม่มีภาวะภูมิแพ้ ลูกน้อยก็มีความสามารถเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้ 14% เช่นกัน สรุปคือ เด็กทุกคนต่างมีความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งนั้น

 

ป้องกันไม่ให้ลูกเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

 

เราสามารถป้องกันไม่ให้ลูกเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

คุณแม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ ซึ่งต้องเริ่มจากการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ช่วงวางแผนตั้งครรภ์ เพราะประวัติของครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ ขั้นแรกซึ่งอาจเป็นขั้นพื้นฐานที่สุดคือ การดูประวัติของคุณพ่อ-คุณแม่ และอีกหนึ่งวิธีที่สำคัญในการป้องกันการเกิดภูมิแพ้ในทารกคือ ให้นมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ด้วย และโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย และอ่อนโยนต่อระบบย่อยอาหารของลูกน้อย อีกทั้งนมแม่ยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก รวมถึงนมแม่มีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B.lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ ในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันภูมิแพ้สำหรับเด็ก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

บทความแนะนำ

เพิ่มน้ำนมคุณแม่ ด้วยการกระตุ้นน้ำนม จากธรรมชาติ ดีกับคุณแม่และลูก

เพิ่มน้ำนมคุณแม่ ด้วยการกระตุ้นน้ำนม จากธรรมชาติ ดีกับคุณแม่และลูก

คุณแม่น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ช่วงให้นม อาหารกระตุ้นน้ำนมจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้จริงไหม อาหารเพิ่มน้ำนมแม่มีอะไรบ้าง

นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน เก็บรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมการเก็บนมแม่ให้ถูกวิธี

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน อยากเก็บนมแม่ให้อยู่ได้นาน ๆ มีวิธีไหนบ้างที่ช่วยรักษาคุณภาพของน้ำนม ไปดูวิธีการเก็บนมแม่ที่ถูกต้องกัน

คัดเต้านมทำยังไงดี คัดเต้ากี่วันหาย พร้อมวิธีบรรเทาอาการนมคัด

อาการคัดเต้านม คัดเต้ากี่วันหาย พร้อมวิธีบรรเทาอาการเต้านมคัด

อาการคัดเต้านมหรืออาการนมคัด เกิดจากอะไร คุณแม่มือใหม่คัดเต้ากี่วันหาย ไปดูวิธีบรรเทาอาการคัดเต้านมของคุณแม่และสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เต้านมคัดกัน

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ถึงจะเหมาะสม  ปริมาณเท่าไหร่ถึงเรียกว่าพอดี

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ถึงดีที่สุด ปริมาณนมทารกเท่าไหร่เรียกว่าพอดี

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ ลูกน้อยควรกินนมเท่าไหร่ถึงพอดี และได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ไปดูปริมาณนมทารกที่เหมาะสมกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก