เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ถึงจะเหมาะสม  ปริมาณเท่าไหร่ถึงเรียกว่าพอดี

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ ปริมาณนมทารกเท่าไหร่เรียกว่าพอดี

03.02.2024

นมแม่มีสารอาหารมากมายที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโต ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เพื่อร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพที่ดี ในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ น้ำนมของคุณแม่อาจมีไม่มากหรือไหลในปริมาณที่น้อยมาก คุณแม่ต้องรีบให้ลูกเข้าเต้าดูดนมกระตุ้นการสร้างน้ำนมเพื่อที่ลูกน้อยจะได้มีนมแม่กินได้นานที่สุด

headphones

PLAYING: เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ ปริมาณนมทารกเท่าไหร่เรียกว่าพอดี

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ในช่วงวันแรกหลังคลอดลูกน้อยจะสามารถกินนมแม่ได้แค่ประมาณ 0.2 ออนซ์ หลังจากนั้นลูกน้อยจะค่อย ๆ กินนมได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากขนาดของกระเพาะของทารกมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นทำให้สามารถรับปริมาตรน้ำนมได้มากขึ้น
  • หากคุณแม่ให้นมลูกมากเกินไปอาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแหวะนม อาเจียน ร้องไห้งอแง และแน่นท้องที่เรียกว่า “Over Breastfeeding”

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ในช่วงแรกหลังคลอดร่างกายของคุณแม่จะสามารถผลิตน้ำนมได้แค่ประมาณ 30 มิลลิลิตร/วัน ทำให้ทารกแรกเกิดอายุ 1-2 วันแรกสามารถกินนมแม่ได้เพียง 0.2-0.5 ออนซ์ หรือประมาณ 5-15 มิลลิลิตร เท่านั้น เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ยังผลิตน้ำนมได้ไม่เต็มที่ คุณแม่จึงต้องรีบพาลูกเข้าเต้าให้เร็วที่สุด เพื่อให้ลูกน้อยช่วยดูดกระตุ้นน้ำนม หากคุณแม่หลังคลอดให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ประมาณ 8-12 ครั้ง/วัน น้ำนมของคุณแม่อาจเพิ่มขึ้นถึงวันละ 500 มิลลิลิตร/วัน ในระยะเวลาเพียง 5 วัน และสามารถผลิตเพิ่มได้สูงถึงวันละ 750 มิลลิลิตร/วัน เลยทีเดียว

 

ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณแม่ให้ลูกน้อยเข้าเต้าควรพยายามให้ลูกน้อยดูดบ่อย ๆ ดูดนาน ๆ ให้เกลี้ยงเต้า เพื่อเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมและยังช่วยลดอาการปวดตึงเต้านมได้ด้วยนะ

 

ปริมาณนมทารกที่เหมาะสม ในแต่ละช่วงวัย

  • ทารกอายุ 3 วันขึ้นไป: ตอนนี้กระเพาะของลูกน้อยสามารถรับนมแม่ได้เพิ่มขึ้นอีกหน่อยแล้ว โดยอยู่ที่ครั้งละทำให้ประมาณ 1-1.5 ออนซ์ วันละ 8-10 ครั้ง
  • ทารกอายุ 1 เดือน: ในช่วงนี้กระเพาะของลูกน้อยขยายใหญ่มากขึ้นอีกนิดแล้ว ทำให้ลูกน้อยไม่หิวบ่อยเหมือนเดิมคุณแม่สามารถลดความถี่ในการให้นมลูกน้อยได้เหลือเพียง 7-8 ครั้ง/วัน โดยแต่ละครั้งทารกสามารถกินน้ำนมแม่ได้มากถึง 2-4 ออนซ์
  • ทารกอายุ 2-6 เดือน: มาถึงวัยนี้ ลูกน้อยจะสามารถกินนมแม่ได้ครั้งละประมาณ 4-6 ออนซ์ ทำให้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องป้อนนมบ่อย ๆ อีกแล้ว เพราะลูกน้อยจะกินนมวันละ 5-6 ครั้งเท่านั้นเอง
  • ทารกอายุ 6-12 เดือน: เด็กวัยนี้เป็นวัยที่สามารถเริ่มอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่จึงไม่จำเป็นให้ลูกกินนมบ่อย ๆ โดยอาจลดเหลือวันละ 4-5 ครั้ง/วัน ในปริมาณครั้งละ 6-8 ออนซ์
  • อายุ 1 ขวบขึ้นไป: ลูกน้อยวัยนี้เป็นวัยที่ทานข้าวเป็นหลัก ส่วนนมจะกินเป็นอาหารเสริม คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมหลังมื้ออาหารหรือก่อนนอน ในปริมาณ 6-8 ออนซ์/ครั้ง วันละ 3-4 ครั้ง/วัน

 

การปั๊มนมเก็บไว้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

นมแม่ เป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมแม่ให้นานที่สุด ประโยชน์ของการปั๊มนม ได้แก่

  • คุณแม่สามารถกลับไปทำงาน หรือไปทำธุระได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าลูกน้อยจะไม่ได้กินนมแม่
  • ทำให้คุณแม่รู้ว่าลูกน้อยกินนมไปแต่ละครั้งมากน้อยเท่าไหร่แล้ว
  • ช่วยกระตุ้นน้ำนมให้คุณแม่ และยังป้องกันอาการคัดเต้านมของคุณแม่ด้วย
  • ลูกน้อยมีปริมาณน้ำนมกินอย่างเพียงพอ

 

หลังจากคุณแม่ปั๊มนมให้ลูกน้อยแล้ว ควรเก็บน้ำนมแม่ ใส่ถุงเก็บน้ำนม แล้วเขียนวันที่และเวลาไว้บนหน้าถุงด้วย คุณแม่จะได้รู้ว่าควรให้ลูกกินนมถุงไหนก่อน จากนั้นให้เก็บในตู้เย็นหรือตู้แช่ไว้ เพื่อไม่ให้นมเสียและเป็นการยืดอายุการใช้งานให้ได้นานที่สุด ดังนี้

  • ตู้เย็นช่องธรรมดา ด้านในสุด (ไม่ควรเก็บไว้ที่ข้างตู้เย็น): สามารถเก็บได้นาน 3-5 วัน
  • ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นประตูเดียว: สามารถเก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  • ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นสองประตู: สามารถเก็บได้นาน 3-6 เดือน
  • ช่องแช่แข็งพิเศษ ไม่มีอาหารชนิดอื่นรวมอยู่ด้วย: สามารถเก็บได้นาน 6-12 เดือน

 

ทารกกินนมมากไป เรียกว่า ภาวะ Over Breastfeeding

เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แตกต่างกัน ทารกบางคนกินนมแม่เยอะแต่น้ำหนักไม่ขึ้น ในทางตรงกันข้ามกับเด็กบางคนที่น้ำหนักขึ้นตลอดจนอ้วนจ้ำม่ำมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่หลายคนมองว่าลูกต้องกินนมแม่เยอะ ๆ ถึงจะดี แต่คุณแม่รู้ไหมว่าการที่คุณแม่ให้ลูกกินนมมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะ “Over Breastfeeding” ในเด็กขึ้นได้

 

ลูกจะมีอาการอย่างไร หากมีภาวะ Over Breastfeeding

อาการ Over Breastfeeding เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ลักษณะอาการมีดังนี้

  • มีการแหวะนม หรือนมไหลออกมาเป็นลิ่ม ๆ คล้ายเต้าหู้เละ ๆ
  • ลูกน้อยอาเจียน หรือสำลักนมออกมา
  • ร้องไห้งอแง ไม่สบายตัว และท้องป่อง
  • ลูกไม่ยอมกินนม
  • มีน้ำหนักตัวพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

หลากหลายสาเหตุที่ทำให้ลูกกินนมเยอะเกินไป

ภาวะ Over Breastfeeding หรือการที่ทารกกินนมมากเกินไป อาจมีสาเหตุมากจาก “ลูกติดเต้า” เด็กบางคนกินนมแม่จนอิ่มแล้วแต่ยังร้องไห้งอแงเพราะติดเต้าแม่ ทำให้คุณแม่เข้าใจว่าลูกยังกินนมไม่อิ่ม พอลูกกินนมเพิ่มเข้าไปอีกจึงทำให้เกิดอาการแหวะนมได้ วิธีแก้เด็กติดเต้า คือ ให้คุณแม่ปั๊มนมออกมาก่อนจนเกือบเกลี้ยงเต้าเสร็จแล้วค่อยให้ลูกน้อยกินจนเกลี้ยงเต้า

 

หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกน้อยกินนมอิ่มไหม ได้นมเพียงพอแล้วหรือยัง มีวิธีสังเกต ดังนี้

  • ลูกน้อยมีการถ่ายปัสสาวะจนเต็มผ้าอ้อมสำเร็จรูป 4-6 ชิ้น/วัน
  • มีการถ่ายอุจจาระเป็นประจำ
  • น้ำหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นปกติ หากลูกน้อยน้ำหนักตัวไม่ขึ้นหรือน้ำหนักลดลงอาจหมายถึงลูกน้อยได้รับนมไม่เพียงพอ คุณแม่อาจเพิ่มความถี่ให้นมลูก หรือพยายามให้ลูกดูดนมให้นานขึ้นกว่าเดิม

 

นมแม่ดีมีประโยชน์กับทารกที่สุด เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ แคลเซียม และ สฟิงโกไมอีลิน แต่ถ้าคุณแม่ให้ลูกกินนมแม่มากเกินไป อาจทำให้ลูกมีอาการแหวะนม อาเจียน ลูกท้องอืด และสำลักหรือที่เรียกว่า Over Breastfeeding ขึ้นมาได้ การให้นมทารกในปริมาณที่เหมาะสมเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตอย่างสมวัย หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกน้อยจะได้รับนมที่เพียงพอหรือไม่ สามารถเช็คความถี่ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะได้ หากลูกน้อยขับถ่ายเป็นประจำและเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปวันละ 4-6 ชิ้น แสดงว่าลูกน้อยได้กินนมแม่จนอิ่มแปร้เลย!

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกกินนมแบบไหนเรียก Over breastfeeding, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. Baby Feeding Schedule, WebMD
  3. คำแนะนำวิธีการเก็บน้ำนมแม่, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  4. ปริมาณนมที่เพียงพอสำหรับลูก, โรงพยาบาลเอกชัย
  5. Feeds and nappies in the first week, Australian Breastfeeding Association
  6. What You Need to Know about Breast Pumps, Family Health Service Department of Health Hong Kong

อ้างอิง ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก