อาหารเสริมเด็ก อาหารตามวัยสำหรับลูกน้อย ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลูก
อาหารตามวัยหรืออาหารเสริมเด็กมีบทบาทสำคัญต่อวัยทารกเป็นอย่างมาก เพราะหนูน้อยวัยนี้ต้องการอาหารเพื่อไปเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนาสมอง และส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรง มีการศึกษาจำนวนมากที่ชี้ชัดว่าหากลูกน้อยในวัยทารกขาดสารอาหารจะทำให้จำนวนและขนาดของเซลล์ในสมองลดน้อยลง ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าปกติได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกได้รับอาหารตามวัยเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีพัฒนาการทางสมองที่ดี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- อาหารเสริมตามวัย คืออะไร?
- ลูกต้องอายุเท่าไหร่ถึงเริ่มให้ทานอาหารเสริมเด็กตามวัย
- วิตามินที่ลูกน้อยต้องการในแต่ละวัน มีอะไรบ้าง
- อาหารเสริมเด็กหรือวิตามิน จำเป็นต่อลูกน้อยจริงหรือไม่
- ควรให้ลูกกินอาหารเสริมสำหรับเด็กเมื่อไหร่
อาหารเสริมตามวัย คืออะไร?
อาหารเสริมตามวัย คือ อาหารอื่น ๆ ที่ทารกได้รับนอกเหนือจากอาหารมื้อปกติตามช่วงวัย เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญาในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับทารกในช่วง 6 เดือนแรก ควรกินนมแม่เพียงอย่างเดียวเพราะในนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยแล้ว ส่วนลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไป จำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมเด็กที่เหมาะสมเพิ่มเติมจากนมแม่ เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของเจ้าตัวเล็ก
ลูกต้องอายุเท่าไหร่ถึงเริ่มให้ทานอาหารเสริมเด็กตามวัย
เด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถเริ่มอาหารเสริมเด็กแทนนมแม่ได้ 1 มื้อ เมื่ออายุได้ 9-11 เดือน ควรได้รับอาหารตามวัย 2-3 มื้อ และสามารถกินอาหารได้ 3 มื้อ เมื่อมีอายุ 12 เดือนขึ้นไปควบคู่กับนมแม่ โดยเน้นให้ลูกกินที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสจัด และการใช้ผงปรุงรส เพื่อให้ลูกน้อยได้รับคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายอย่างครบถ้วน อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับชนิดและปริมาณที่เหมาะสมสำหรับอาหารเสริมตามวัย
วิตามินที่ลูกน้อยต้องการในแต่ละวัน มีอะไรบ้าง
1. วิตามินดีสำหรับเด็ก
- ประโยชน์ของวิตามินดี: มีส่วนสำคัญของกระดูกและฟัน และเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ข้อดีของวิตามินดี: ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสได้ที่ทางเดินอาหารได้ดี เพิ่มปริมาณมวลกระดูก ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง รวมถึงการดูดซึมวิตามินเอด้วย
2.วิตามินซีสำหรับเด็ก
- ประโยชน์ของวิตามินซี: มีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองของเด็ก
- ข้อดีของวิตามินซี: ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก และมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ
3. ตามินเอสำหรับเด็ก
- ประโยชน์ของวิตามินเอ: มีส่วนสำคัญในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง การเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ และสร้างการมองเห็น
- ข้อดีของวิตามินเอ: ช่วยในการมองเห็น เสริมสร้างเซลล์และระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย
4. ธาตุเหล็กสำหรับเด็ก
- ประโยชน์ของธาตุเหล็ก: เป็น ส่วนประกอบสำคัญของ เม็ดเลือดแดง มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
- ข้อดีของธาตุเหล็ก: ธาตุเหล็กหรืออาหารเสริมธาตุเหล็ก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง และทำให้ร่างกายแข็งแรง หากลูกน้อยขาดธาตุเหล็กตั้งแต่ยังเล็กอาจส่งผลต่อสมาธิและสติปัญญาในระยะยาวได้
อาหารเสริมเด็กหรือวิตามิน จำเป็นต่อลูกน้อยจริงหรือไม่
การให้อาหารเสริมเด็กตามวัยในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกน้อย ควบคู่กับการกินนมแม่ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมอง โดยอาหารสำหรับเด็กที่ได้รับควรมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งได้จากกินอาหารที่หลากหลาย กินผักและผลไม้เป็นประจำ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ไม่ควรให้เด็กกินอาหารที่มีการปรุงแต่งด้วยผงชูรส หรือปรุงรสที่หวานจัด เค็มจัด หรือมันมากเกินไป หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและคาเฟอีน และขนมขบเคี้ยวที่เหนียวติดฟัน ที่สำคัญอาหารต้องสะอาดปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก
ควรให้ลูกกินอาหารเสริมสำหรับเด็กเมื่อไหร่
คุณแม่ควรให้ลูกน้อยเริ่มอาหารเสริมสำหรับเด็กได้เมื่อลูกมีอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป เพราะระบบย่อยอาหารของทารกยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ จึงย่อยอาหารได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอถึงความพร้อมในการเริ่มอาหารเสริมสำหรับลูกน้อย เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน
อาหารสำหรับเด็กหรือโภชนาการในวัยเด็ก มีความสำคัญต่อการเติบโตของลูกมากที่สุด สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องให้เด็ก ๆ ได้ทานอาหารที่ครบถ้วนและหลากหลาย โดยที่ทารกควรได้กินนมแม่ อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ LPR ที่่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อระบบทางเดินหายในส่วนบน และสร้างสมดุลที่ดีในระบบทางเดินอาหารในเด็ก ทำให้ลูกน้อยมีร่างกายที่แข็งแรงและพัฒนาการที่ดีในระยะยาว โดยไม่จำเป็นต้องเสริมวิตามินหรืออาหารเสริมเด็กแต่อย่างใด ยกเว้นลูกน้อยได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอว่าจำเป็นต้องได้รับวิตามินเพิ่ม เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินและสารอาหารให้เพียงพอต่อการเติบโตของเจ้าตัวเล็ก
บทความแนะนำอาหารเสริมตามวัยสำหรับลูกน้อย
- อาหารเด็ก 6 เดือน ตารางอาหารทารก 6 เดือน เหมาะสำหรับลูกน้อย
- อาหารเด็ก 7 เดือน เมนูอาหารเด็ก 7 เดือน เมนูไหนเหมาะกับลูกน้อย
- อาหารเด็ก 8 เดือน ตารางอาหารทารก 8 เดือน ลูกเริ่มกินอะไรได้บ้าง
- อาหารเด็ก 9 เดือน ไอเดียเมนูอาหารเด็ก 9 เดือน เสริมโภชนาการลูกน้อย
- อาหารเด็ก 10 เดือน เมนูอาหารเด็ก 10 เดือน เสริมพัฒนาการลูกน้อย
- อาหารเด็ก 11 เดือน เมนูอาหารเด็ก 11 เดือน บำรุงสมองลูกน้อย
- รวมเมนูอาหารเด็ก 1 ขวบ สำหรับลูกน้อย คุณแม่ทำตามง่ายและถูกหลักโภชนาการ
- อาหารมื้อแรกของลูก ข้าวมื้อแรกของลูกตามช่วงวัย เริ่มกินเมื่อไหร่ดี
- เด็กขาดธาตุเหล็ก เกิดจากอะไร อาการเด็กขาดธาตุเหล็ก ที่คุณแม่ป้องกันได้
- อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก
- จุลินทรีย์ LPR คืออะไร โพรไบโอติกสำหรับเด็กที่แม่ห้ามพลาด
อ้างอิง:
- คู่มือการให้อาหารทารก, กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546, ก องโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- วิตามินดี สำหรับเด็ก, โรงพยาบาลสมิติเวช
- 190 เมนูชูสุขภาพ เมนูคู่ครอบครัวไทย, กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- อาหารเสริมสำหรับเด็ก จำเป็นต่อลูกน้อยจริงหรือ ?, pobpad
- Vitamins for children, NHS
- วิตามิน รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
- When, What, and How to Introduce Solid Foods, Centers for Disease Control and Prevention [30 ส.ค. 2566]
- Nutrition and healthy eating, Mayo Clinic
- Zarban A, et. al, Effect of vitamin C and E supplementation on total antioxidant content of human breastmilk and infant urine. Breastfeed Med. 2015 May;10(4):214-7
- อาหารวัยทารก, ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช
- ประโยชน์ของ ธาตุเหล็กในเด็ก, โรงพยาบาลนนทเวช
- คู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
บทความที่เกี่ยวข้อง