แม่ท้องต้องไม่พลาด  6 สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง

โปรตีนสำหรับคนท้อง สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง

15.04.2020

หลักการง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการรับประทานอาหารนั่นคือ ทานให้หลากหลายและครบทุกหมู่เป็นประจำทุกวัน อาทิ แป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่หากทำไม่ได้หรือไม่แน่ใจควรให้ความสำคัญกับสารอาหารดังต่อไปนี้
 

headphones

PLAYING: โปรตีนสำหรับคนท้อง สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง

อ่าน 3 นาที

แม่ท้องต้องไม่พลาด  
6 สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง 

 

หลักการง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการรับประทานอาหารนั่นคือ ทานให้หลากหลายและครบทุกหมู่เป็นประจำทุกวัน อาทิ แป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่หากทำไม่ได้หรือไม่แน่ใจควรให้ความสำคัญกับสารอาหารดังต่อไปนี้

6 สารอาหารสำคัญสำหรับคนท้อง 

 

  • โปรตีน  สารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของทารกในครรภ์ คุณแม่ควรเน้นโปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ นม ปลา เป็นต้น
  • แคลเซียม แร่ธาตุสำคัญต่อการเจริญเติบโตกระดูกลูกในท้องค่ะ คุณแม่ควรกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงตั้งแต่ไตรมาสแรกไปจนถึงคลอดเลยล่ะค่ะ อาหารแคลเซียมสูง เช่น นมและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งควรดื่มวันละ 2 แก้ว ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งก้าง กุ้งแห้ง ปลาป่น เต้าหู้ ผักใบเขียวเข้ม บลอกโคลี คะน้า ผักโขม เป็นต้น
  • เหล็ก : ช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น 25% เพื่อใช้ในการนำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ และป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางจากการเสียเลือดหลังคลอด อาหารที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ เลือด ไข่แดง ผักใบเขียว เป็นต้น
  • กรดโฟลิคหรือโฟเลต : เป็นวิตามินสำคัญในการสร้างดีเอ็นเอ ถ้าขาดกรดโฟลิคในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังปฏิสนธิ (ช่วงที่สังเกตว่าประจำเดือนขาดและรู้ตัวว่าตั้งครรภ์) อาจส่งผลให้ลูกพิการแต่กำเนิดได้ ดังนั้นคุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่กินอาหารที่มีโฟลิคหรือวิตามินเสริมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ไปจนถึงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก และยังกินต่อเนื่องคู่ไปกับอาหารที่มีโฟลิคได้ เช่น เช่น ตับ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ผัก เป็นต้น
  • ดีเอชเอ : สำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางสมองและสายตาของทารกในครรภ์ อาหารที่มีดีเอชเอสูงและเหมาะกับแม่ตั้งครรภ์ เช่น ปลาทะเล ปลาน้ำจืดที่มีไขมันมาก ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาดุก ปลาสำลี  เป็นต้น และกินต่อเนื่องไปจนถึงช่วงให้นมลูกได้ เพราะดีเอชเอจะส่งผ่านน้ำนมแม่ไปยังลูกเช่นกันค่ะ
  • ไอโอดีน : ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองของทารกในครรภ์ ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรกินอาหารที่มีไอโอดีน เช่น อาหารทะเล เกลือเสริมไอโอดีน เป็นต้น

พลังงานที่คนท้องต้องการในแต่ละวัน 
พลังงาน หญิงตั้งครรภ์ต้องการพลังงาน เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน โดยจะได้รับพลังงานรวม ประมาณ 2,000-2,300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน คุณแม่สามารถดูตัวอย่างตารางอาหารในหนึ่งวันสำหรับคนท้องได้ดังตารางข้างล่างค่ะ 

แม่ท้องต้องไม่พลาด   6 สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง

 
ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง โดยเฉพาะในเรื่องของโภชนาการคือสิ่งสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยและควรพบสูติ - นรีแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด 

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ นมแบบไหนที่ใช่

สิทธิประกันสังคมคนท้อง เบิกได้เท่าไหร่ 

 

อ้างอิง

1.https://www.nestle.co.th/th/nhw/news/3es6%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0…

 
2. https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/534_49_1…;

บทความแนะนำ

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ