ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการท้องกระตุก บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการท้องกระตุก บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

15.08.2024

คุณแม่หลายคนคงเคยมีอาการกระตุกตามร่างกายมาบ้าง แต่ไม่ค่อยมีอาการกระตุกที่บริเวณท้อง เนื่องจากอาการกระตุกส่วนมากเรามักพบที่บริเวณเปลือกตา หรืออวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น แขน หรือขา อาการท้องกระตุกของคนท้องเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ มีอะไรบ้าง อันตรายไหม และถ้าไม่ใช่คนท้องอาการท้องกระตุกหมายความว่าอะไร เรามาหาคำตอบเกี่ยวกับอาการท้องกระตุกไปด้วยกัน

headphones

PLAYING: ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการท้องกระตุก บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • อาการท้องกระตุก อาจเป็นหนึ่งสาเหตุของอาการลูกดิ้น ลูกสะอึก หรือปัญหาสุขภาพเรื่องย่อยอาหารหรือการขับถ่ายของคนท้อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในขณะตั้งครรภ์
  • อาการท้องกระตุกที่เกิดจากลูกดิ้นไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าคุณแม่มีอาการท้องกระตุกพร้อม ๆ กับมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย อาเจียน อาจเป็นอาการผิดปกติสำหรับคนท้องที่คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  • ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์คุณแม่จะรู้สึกถึงอาการท้องกระตุกมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มมีอาการดิ้น และเริ่มมีพัฒนาการด้านการหายใจ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก เช่น เสียง แสง ทำให้ทารกในครรภ์แสดงอาการดิ้น หรือสะอึกออกมา

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณแม่ที่มีอาการท้องกระตุก เกิดจากอะไรได้บ้าง

  • ลูกดิ้น: อาการลูกดิ้น คุณแม่จะรู้สึกถึงอาการท้องกระตุก คนท้องบางคนอาจรู้สึกเหมือนกับปลาตอดเบา ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณว่าลูกน้อยในท้องเติบโตแข็งแรงมากขึ้น มีพัฒนาการที่ดี และสามารถตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างได้ เนื่องจากการดิ้นของทารกในครรภ์ส่วนหนึ่งมาจากการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เช่น เสียง หรือแสงภายนอกท้องของคุณแม่
  • ลูกสะอึก: คุณแม่อาจรู้สึกท้องกระตุกเมื่อลูกน้อยสะอึก ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ในช่วงตั้งครรภ์ โดยอาการลูกสะอึก เกิดจากการที่ทารกกลืนของเหลวเข้าไปในปอดก่อนที่จะถูกขับออกมา ทำให้กล้ามเนื้อกะบังลมเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็ว คุณแม่จึงรู้สึกท้องกระตุกเบา ๆ เป็นจังหวะ
  • ปัญหาจากระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย: อาการท้องกระตุกของคนท้องอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่มากเกินไป บางครั้งอาจมีเสียงท้องร้องดังด้วย เช่น ท้องอืดเพราะมีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้มาก อาหารไม่ย่อยทำให้เกิดอาหารค้างในลำไส้ในปริมาณมาก หรือมีอาหารที่ย่อยยากตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร หรือภาวะลำไส้แปรปรวน และการทำงานของลำไส้ที่ผิดปกติ

 

นอกจากนี้ ภาวะความเครียดยังส่งผลต่อสุขภาพของคนท้องได้ เนื่องจากปลายประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อเกิดการกระตุ้นมากเกินไปทำให้เกิดการกระตุกขึ้นได้

 

อาการท้องกระตุก ความถี่บ่อยแค่ไหน ถึงเรียกว่าปกติ

อาการท้องกระตุกส่วนใหญ่แล้วเรียกว่า “อาการลูกดิ้น” เป็นอาการกระตุกที่ท้องเบา ๆ เหมือนกับปลาตอดตุ๊บ ๆ ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าภายในท้องมีอาการกระตุกหรือตอดยาว ๆ จะไม่นับว่าเป็นอาการลูกดิ้นค่ะ ซึ่งอาการลูกดิ้นหรือท้องกระตุกนี้คุณแม่จะรู้สึกได้เมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์ คุณแม่จะรับรู้ถึงอาการลูกดิ้นได้บ่อย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 200 ครั้งต่อวัน โดยแต่ละวันอาจดิ้นมากน้อยแตกต่างกัน เพราะในช่วงนี้ทารกจะมีอาการดิ้นที่ไม่คงที่ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เฉลี่ยวันละ 375-700 ครั้งต่อวัน เมื่อมีอายุครรภ์ได้ประมาณ 30-32 สัปดาห์เลยค่ะ แสดงว่าคุณแม่จะรู้สึกถึงท้องกระตุกถี่ขึ้น ซึ่งเป็นอาการปกติของลูกดิ้นค่ะ

 

ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้นอันตรายไหม

อาการท้องกระตุกของคนท้อง เป็นอาการที่ไม่อันตรายหากเป็นอาการที่เกิดจากลูกดิ้น ลูกสะอึก ท้องอืด และอาหารไม่ย่อย แต่ถ้าคุณแม่มีอาการท้องกระตุกมากขึ้นร่วมกับอาการคนท้องท้องเสีย หรือปัญหาการขับถ่ายอาจเป็นอาการผิดปกติที่คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในท้อง

 

ช่วงไตรมาสไหน ที่จะมีอาการท้องกระตุกมากที่สุด

 

ไตรมาสไหน คุณแม่มีอาการท้องกระตุกมากที่สุด

อาการท้องกระตุกที่เกิดจากลูกน้อยในครรภ์สะอึก มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มมีพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ทำให้ลูกน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะกลืนน้ำคร่ำและอาจเกิดการสำลักน้ำคร่ำได้ จึงเป็นสาเหตุให้ทารกในครรภ์สะอึกเป็นจังหวะ คุณแม่จึงรู้สึกเหมือนท้องกระตุกบ่อย ๆ นั่นเองค่ะ

 

อาการท้องกระตุกแบบไหน ควรไปพบแพทย์

เมื่อไหร่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้มากกว่า 30 สัปดาห์ขึ้นไป คุณแม่ควรใส่ใจกับอาการท้องกระตุกที่เกิดจากลูกดิ้นให้มากขึ้น เพราะถ้าลูกดิ้นแรงแล้วหยุดไม่มีการดิ้นต่อ อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้นกับลูกในท้องได้ นอกจากนี้ หากคุณแม่มีอาการท้องกระตุก ท้องร้อง และมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายแนะนำให้รีบไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

 

วิธีดูแลตัวเองเมื่อคุณแม่มีอาการท้องกระตุก

1. พยายามอย่าให้ตัวเองเครียด

คนท้องเป็นช่วงที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้คุณแม่เกิดอารมณ์และความรู้สึกมากมาย ทั้งยังวิตกกังวลเรื่องลูกน้อยในท้องอีก หากคุณแม่รู้สึกเครียดให้พยายามผ่อนคลาย เพราะความเครียดและความวิตกกังวลจะส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกที่มากขึ้น

 

2. ทานอาหารที่มีประโยชน์

ในช่วงที่ตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการสารอาหารมากที่สุด คุณแม่จึงต้องดูแลตัวเองด้วยการทานเมนูอาหารสำหรับคนท้อง ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายคุณแม่และลูกในครรภ์ โดยเฉพาะวิตามินและเกลือแร่ที่ส่งผลต่ออาการท้องกระตุกของคนท้องมากที่สุด

 

3. นับลูกดิ้น

การนับลูกดิ้น มีความสำคัญกับคนท้องเป็นอย่างมาก เพราะหากลูกไม่ดิ้นนั่นแสดงว่าลูกน้อยอาจไม่อยู่กับคุณแม่อีกต่อไปแล้ว ซึ่งวิธีนับลูกดิ้นคร่าว ๆ แนะนำให้คุณแม่นับลูกดิ้นตลอดทั้งวันดูว่าวันนั้นลูกดิ้นเกิน 10 ครั้งหรือไม่

  • ลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง ถือว่าลูกน้อยอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือจะใช้วิธีการนับลูกดิ้นภายใน 1 ชั่วโมงก็ได้ หากลูกดิ้นเกิน 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมงถือว่าปกติเช่นกัน
  • ลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้ง แนะนำให้คุณแม่นับเพิ่มอีก 1 ชั่วโมง เพราะอาจเป็นช่วงที่ลูกน้อยในท้องหลับอยู่ เด็กจะมีอาการดิ้นที่น้อยลง แต่ถ้าคุณแม่นับได้น้อยกว่า 3 ครั้งติดต่อกัน 2 ชั่วโมง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติที่ร้ายแรงได้

 

อาการท้องกระตุก ส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่เป็นอันตราย แต่คุณแม่ก็ไม่ควรไว้วางใจ ควรหมั่นดูแลตัวเองและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หากคุณแม่พบว่ามีอาการกระตุกที่ผิดปกติไปจากเดิมไม่ควรชะล่าใจ แนะนำให้คุณแม่ไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และรับฟังคำแนะนำในการดูแลทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. คุณแม่รู้ไหม ลูกดิ้น..บอกอะไรได้มากกว่าที่คิด, โรงพยาบาลเปาโล
  2. ลูกในครรภ์สะอึก, โรงพยาบาลศรีสวรรค์
  3. ท้องชอบร้อง ทั้งที่ไม่ได้หิวข้าว มีเสียงค่อนข้างดัง และมีอาการท้องกระตุกบริเวณเหนือสะดือ เกิดจากอะไร, Pobpad
  4. มีอาการท้องกระตุก ตัวกระตุกรัว ๆ เป็นบางครั้ง เหมือนมีอะไรเคลื่อนไหวข้างใน เกิดจากอะไร, Pobpad

อ้างอิง ณ วันที่  13 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หากเลือดออกเยอะและไม่หยุดไหล จะอันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม คุณแม่กินน้ำเย็นแล้วน้ำนมจะหดจริงหรือเปล่า พร้อมเคล็ดลับดูแลตัวเองหลังคุณแม่ผ่าคลอด

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไรคนท้องถึงไปงานศพไม่ได้ หากคนท้องไปงานศพจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีความเชื่อว่าคนท้องไม่ควรไปงานศพ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก