คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

13.11.2024

เผือก เป็นพืชชนิดหัวที่มีรสชาติหวาน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูทั้งคาวและหวาน เผือกเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตและใยอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายหลากหลายชนิด จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยในท้อง คนท้องต้องกินเผือกยังไงเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ รวมถึงมีข้อควรระวังอะไรบ้างที่คุณแม่ควรรู้ก่อนกินเผือก บทความนี้มีคำตอบในทุกข้อสงสัยที่คุณแม่อยากรู้

headphones

PLAYING: คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

อ่าน 5 นาที

สรุป

  • คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินเผือกได้
  • เผือกมีประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเผือกอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิเช่น วิตามินซี การกินเผือกเป็นประจำจะช่วยเพิ่มระดับวิตามินซีในร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
  • การกินเผือกในปริมาณที่แนะนำต่อวัน ½-1 ถ้วยตวงก็เพียงพอแล้ว หากกินเผือกในปริมาณที่มากไปอาจส่งผลต่อการทำงานของม้าม และทำให้ระบบเลือดในร่างกายไหลเวียนได้ไม่ดี

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องกินเผือกได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

หากสงสัยว่า คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินเผือกได้ เพราะเผือกมีสารอาหารมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ แต่ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ และมีข้อแนะนำในการกินเผือกให้กับคุณแม่ดังนี้

  • ช่วงไตรมาสแรก: ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรลดการกินอาหารกลุ่มแป้งให้น้อยลง อย่างเช่น เผือก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
  • ช่วงไตรมาสสอง: เผือกอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของคุณแม่ท้อง คุณแม่สามารถกินเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ได้ในปริมาณพอเหมาะ

 

เผือก มีสารอาหารอะไรที่ดีกับคุณแม่ตั้งครรภ์บ้าง

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินเผือกแล้วได้คุณค่าทางโภชนาการอะไรบ้าง ในเผือกปริมาณ 132 กรัม จะให้พลังงานแก่ร่างกาย 187 กิโลแคลอรี นอกจากนี้ก็ยังให้สารอาหารอีกหลากหลายชนิด ได้แก่

  • คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม
  • โปรตีน 1 กรัม
  • น้ำตาล 1 กรัม
  • ไขมัน 0.1 กรัม
  • ไฟเบอร์ 7 กรัม
  • วิตามินอี 19 เปอร์เซ็นต์
  • วิตามินซี 11 เปอร์เซ็นต์
  • วิตามิน 6 22 เปอร์เซ็นต์

 

นอกจากนี้ในเผือกยังมีวิตามินและแร่ธาตุอย่าง แคลเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 ธาตุเหล็ก และฟลูออไรด์สูงที่ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันผุอีกด้วย

 

ประโยชน์ของเผือก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

เผือกมีประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเผือกอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย การกินเผือกในปริมาณที่พอเหมาะจะดีต่อสุขภาพในหลาย ๆ เรื่อง ได้แก่

1. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

เผือกอุดมด้วยวิตามินซี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้เป็นอย่างดี การกินเผือกมีส่วนช่วยเพิ่มระดับวิตามินซีในร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด

 

2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

เผือกเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดตรชนิดดี การกินเผือกในปริมาณที่พอเหมาะสามารถช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

 

3. อาจลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง

เควอเซทิน (Quercetin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในเผือก มีหน้าที่ในการปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระจนเกิดการอักเสบ ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็ง

 

4. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

เผือกอุดมด้วยโพแทสเซียมในปริมาณมาก และมีใยอาหารสูง ซึ่งสามารถช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยให้หัวใจทำงานไม่หนักมากไป ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจ

 

5. บำรุงลำไส้

คาร์โบไฮเดรตจากเผือกเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ที่ทนต่อการย่อยจากเอนไซม์ ช่วยบำรุงลำไส้ และยังอาจช่วยป้องกันอาการคนท้องท้องเสีย

 

6. บำรุงกระดูกและฟัน

เผือกอุดมด้วยแคลเซียมสูง และฟูลออไรด์สูง ช่วยเสริมให้กระดูกและฟันแข็งแรง ฟันไม่ผุ และป้องกันการเกิดกระดูกพรุน

 

คุณแม่ท้องกินเผือกได้แค่ไหน ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี

 

คุณแม่ท้องกินเผือกได้แค่ไหน ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี

เผือกมีรสชาติอร่อย และก็มีสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินหลากหลายที่จำเป็นและดีต่อร่างกาย แต่การกินเผือก แนะนำให้กินปริมาณต่อวันแค่ ½-1 ถ้วยตวงก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากถ้ากินเผือกในปริมาณที่มากไปกว่านี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของม้าม และอาจทำให้ระบบเลือดในร่างกายไหลเวียนได้ไม่ดี

 

คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ควรระวังอะไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินเผือกได้ แต่ต้องให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ และต้องนำเผือกมาปรุงให้สุกก่อน ไม่แนะนำให้กินเผือกดิบ เพราะมีกรดออกซาลิกสูง เสี่ยงทำให้เกิดโรคนิ่วในไตและโรคเก๊าท์ได้ นอกจากนี้ยังเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่สามารถทำให้เกิดอาการคัน แสบร้อน ระคายเคืองในช่องปาก

 

คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่แพ้เผือก จะมีอาการอย่างไร

คุณแม่ท้องกินเผือกแล้วมีอาการแพ้ อาจมีสาเหตุมาจากสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ คือ แคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ที่เป็นลักษณะรูปแบบของผลึกรูปเข็ม และสารยูราซิล (Uracil) กับสารไกลคอล-โปรตีนทาโรเลคติน (Glycol-protein Taro Lectin) ที่อยู่ในเผือกดิบ

 

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ท้องอยากกินเผือก

1. สวมถุงมือ

สวมถุงมือทุกครั้งหากใช้เผือกเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร ทั้งขั้นตอนการปอกเปลือก การล้างทำความสะอาด และการปรุงอาหาร เพื่อช่วยลดการเกิดการแพ้ระคาย และคันที่มือ

 

2. ปรุงให้สุก

เพื่อลดความเข้มข้นของแคลเซียมออกซาเลต และลดโอกาสการเกิดอาการคันและอาการแพ้จากการกินเผือก แนะนำให้ปรุงเผือกให้สุกเท่านั้น คุณแม่สามารถนำเผือกที่ทำความสะอาดอย่างดีแล้วมา ต้ม นึ่ง แกง ผัด ทอด ได้หลากหลายเมนู

 

เผือกเป็นอาหารที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ถึงแม้ว่าเผือกจะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์ควรบริโภคเผือกในปริมาณที่พอเหมาะ และปรุงให้สุกอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ร่างกาย และลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการกินเผือกที่มากเกินไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. เผือก พืชสารพัดประโยชน์และเคล็ดลับในการกินอย่างปลอดภัย, Pobpad
  2. “กินเผือกติดใจ”, สำโรงการแพทย์
  3. Is Taro Safe During Pregnancy? Tea, Root, Leaves, and More, Pregnancy Food Checker
  4. คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. อาหารที่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  6. เผือก ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค, Hellohunmor
  7. Health Benefits of Taro Root (Arbi) And Its Side Effects, Lybrate

อ้างอิง ณ วันที่ 6 กันยายน 2567
 

บทความแนะนำ

วิธีเช็คผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สมทบบุตร สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

อยู่ไฟหลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหมสำหรับคุณแม่หลังคลอด

การอยู่ไฟหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหม การอยู่ไฟ มีประโยชน์กับคุณแม่อย่างไร ไปดูวิธีเตรียมตัวเมื่อคุณแม่ต้องอยู่ไฟหลังคลอดกัน

หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วันถึงชัวร์ที่สุด ไปดูกันว่าหลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง พร้อมวิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเองสำหรับคุณแม่มือใหม่

อาการท้องนอกมดลูก อันตรายไหม พร้อมวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม พร้อมวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูก หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ ไปดูปัจจัยที่ทำให้ท้องนอกมดลูกและวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูกที่คุณแม่มือใหม่ต้องระวัง

คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัย

คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัย

คนท้องท้องเสีย เกิดจากอะไร คนท้องท้องเสียไตรรมาส 3 อันตรายหรือไม่ อาการท้องเสียมีผลกระทบกับลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน มาดูวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้กัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก