หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
มี.ค. 31, 2024
6นาที

ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน คู่รักคู่แต่งงานอยากทราบว่าตนเองมีการตั้งครรภ์แล้วหรือไม่ สามารถทำได้เบื้องต้นด้วยตัวเองจากการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และสามารถไปตรวจเลือดกับแพทย์ที่โรงพยาบาล เป็นการตรวจผ่านฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ซึ่งจะได้ผลตรวจแน่นอนว่ามีการตั้งครรภ์ถึง 100 เปอร์เซ็นต์

 

สรุป

  • ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน การตรวจการตั้งครรภ์สามารถทำได้เบื้องต้นด้วยตัวเองจากการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือดที่ตรวจให้โดยแพทย์
  • ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน การตรวจการตั้งครรภ์ที่ใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง แนะนำให้ตรวจหลังมีเพศสัมพันธ์ และมีการปฏิสนธิได้ 6 วันไปแล้ว
  • ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือดกับแพทย์ที่โรงพยาบาล แนะนำให้ตรวจหลังมีการปฏิสนธิประมาณ 2 สัปดาห์
  • การเจาะเลือดตรวจการตั้งครรภ์ จะให้ผลการตรวจที่แม่นยำถึง 100 เปอร์เซ็นต์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง

เพื่อให้ได้ผลการตั้งครรภ์ที่แน่นอนทั้งจากการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และตรวจการตั้งครรภ์โดยแพทย์ ควรตรวจหลังจากมีการปฏิสนธิดังนี้

 

ตรวจการตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ด้วยการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์

การตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) จากปัสสาวะด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์ ให้ตรวจหลังจากที่มีการปฏิสนธิ 6 วัน ไปแล้ว (หลังมีเพศสัมพันธ์) ซึ่งฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) จะหลั่งออกมาจากรก หลังการทดสอบด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์ประมาณ 5 นาทีจะทราบผลการตั้งครรภ์ได้ 90 เปอร์เซ็นต์

 

ตรวจการตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ด้วยการตรวจเลือดโดยแพทย์

การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือด จะแสดงผลตรวจการตั้งครรภ์ให้ทราบถึง 100 เปอร์เซ็นต์ วิธีนี้เป็นการตรวจผ่านฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) แพทย์จะแนะนำให้มาตรวจหลังมีการปฏิสนธิประมาณ 2 สัปดาห์ (หลังมีเพศสัมพันธ์) ใช้เวลารอผลตรวจตั้งครรภ์ 1-2 ชั่วโมง

 

ตรวจการตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ด้วยการตรวจเลือดโดยแพทย์

 

รวมวิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

การตรวจครรภ์ด้วยตัวเองเป็นการตรวจเบื้องต้นด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์ ได้แก่

1. ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม (Test Strip): ใน 1 ชุดมี ถ้วยตวงปัสสาวะ และแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์

วิธีใช้:

  • ปัสสาวะลงในถ้วยตวง
  • นำแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์จุ่มปัสสาวะในถ้วยตวง 3 วินาที จุ่มปัสสาวะต้องให้พอดีกับขีดลูกศรบนแผ่นทดสอบ
  • เมื่อครบ 3 วินาที ให้นำแผ่นทดสอบออกจากถ้วยตวง
  • ใช้เวลา 5 นาที ในการแสดงผลการตั้งครรภ์ สำหรับที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม

 

2. ที่ตรวจครรภ์แบบปากกาปล่อยผ่าน (Pregnancy Midstream Tests): ใน 1 ชุดมี แท่งตรวจครรภ์

วิธีใช้:

  • เปิดฝาครอบออกจากตัวแท่งตรวจครรภ์
  • แล้วถือแท่งตรวจครรภ์โดยให้ตรงหัวลูกศรชี้ลงด้านล่าง
  • ให้ปัสสาวะผ่านตรงส่วนที่ต่ำกว่าลูกศรจนเปียกชุ่ม 30 วินาที
  • ใช้เวลา 3-5 นาที ในการแสดงผลการตั้งครรภ์

 

3. ที่ตรวจครรภ์แบบตลับหยด (Pregnancy Test Cassette): ใน 1 ชุดมี ถ้วยตวงปัสสาวะ หลอดหยด ตลับตรวจครรภ์

วิธีใช้:

  • ปัสสาวะลงในถ้วยตวง
  • ใช้หลอดหยดดูดปัสสาวะขึ้นจากถ้วยตวง
  • นำปัสสาวะในหลอดหยด หยดลงในตลับตรวจครรภ์ 3-4 หยด
  • ใช้เวลา 5 นาที ในการแสดงผลการตั้งครรภ์

 

วิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง ได้ผลชัวร์แค่ไหน

การตรวจตั้งครรภ์ด้วยตัวเองเป็นวิธีทดสอบการตั้งครรภ์เบื้องต้น จะใช้ปัสสาวะเพื่อทำการทดสอบในชุดตรวจการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) จากปัสสาวะ ซึ่งจะให้ผลตรวจที่แน่นอนว่ามีการตั้งครรภ์ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

 

รวมวิธีตรวจครรภ์โดยแพทย์

การทดสอบการตั้งครรภ์ที่ตรวจโดยแพทย์มีถึง 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่

1. ทดสอบการตั้งครรภ์จากห้องปฏิบัติ

ทางการแพทย์เรียกการตรวจการตั้งครรภ์วิธีนี้ว่า ยูพีที Urine Pregnancy test (UPT)
ขั้นตอน: 

  • กระป๋องสำหรับเก็บปัสสาวะ คุณแม่ต้องฉี่ใส่ลงในกระป๋องเล็ก ๆ
  • ปัสสาวะที่เก็บได้จะส่งไปที่ห้องแล็บ
  • จะได้ค่า sensitive ของการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้จากปัสสาวะจะอยู่ที่ 20-25 mIU/ml

 

2. ทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือด

แพทย์แนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์หลังจากมีการปฏิสนธิได้ 2 สัปดาห์

 

3. ทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยอัลตราซาวด์

เป็นการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังเนื้อเยื่อในช่องท้อง ซึ่งวิธีนี้ยังสามารถบอกได้ถึงตำแหน่งการตั้งครรภ์ว่าอยู่ในมดลูกหรือนอกมดลูก และอายุครรภ์ ฯลฯ

 

วิธีตรวจครรภ์โดยแพทย์ รอผลนานแค่ไหน

  • การตรวจการตั้งครรภ์เพื่อหาค่าฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ด้วยการเจาะเลือดที่ตรวจโดยแพทย์ ซึ่งจะให้ผลตรวจการตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลารอผลตรวจตั้งครรภ์ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

 

อาการคนท้องแรกเริ่มเป็นยังไง

หากคุณผู้หญิงมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้บ่งบอกว่ากำลังมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยอาการแรกเริ่มสังเกตได้ดังนี้

  • ประจำเดือนขาด จากที่เคยมีประจำเดือนทุกเดือนแต่จู่ ๆ ประจำเดือนไม่มา นั่นเป็นเพราะมีการปฏิสนธิขึ้นแล้ว
  • ปัสสาวะมีสีที่เข้มขึ้น และปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • เต้านมมีความไว สัมผัสแล้วรู้สึกว่าคัด ตึง และเจ็บ
  • ขับถ่ายยาก ท้องผูก เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์ส่งผลให้ลำไส้ทำงานได้ช้าลง
  • ช่องคลอดมีตกขาว
  • มีอาการง่วงนอนตลอดวัน และเหนื่อยง่ายขึ้น
  • รู้สึกขมในปาก
  • จมูกมีความไวต่อกลิ่น รู้สึกเหม็นทุกอย่าง
  • อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อ่อนไหวง่ายมาก
  • รับประทานอาหารได้น้อย รู้สึกไม่อร่อย และเริ่มมีอาการแพ้ท้อง หลังตื่นนอนช่วงเช้าจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • อยากรับประทานอาหารแปลก ๆ ที่ไม่เคยมาก่อน

 

เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองแบบไหน

เพื่อให้คุณแม่มีครรภ์คุณภาพตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน การดูแลตัวเองเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญอย่างมาก

  1. ฝากครรภ์ทันทีที่รู้ผลตรวจตั้งครรภ์
  2. แจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่ทราบหากมีการรับประทานยา วิตามินมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ หรือขณะตั้งครรภ์มีการใช้ยา หรือหยุดยาอื่นใดก็ตาม
  3. แพทย์จะจัดยาและวิตามินบำรุงครรภ์ แนะนำให้รับประทานจนหมดตามที่แพทย์แจ้ง
  4. สังเกตการเคลื่อนไหวการดิ้นของทารกในครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ของคนท้อง และต้องดื่มน้ำต่อวันให้เพียงพอ
  6. ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์หากต้องการออกกำลังกายระหว่างที่ตั้งครรภ์
  7. มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
  8. ไปตรวจครรภ์ทุกครั้งที่มีการนัดหมายจากแพทย์
  9. หลีกเลี่ยงในการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ เช่น สถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ หรือมีมลภาวะที่เป็นพิษ รวมถึงตัวคุณแม่ท้องเองควรงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด และการสูบบุหรี่

 

การตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกเป็นช่วงอายุครรภ์ที่ต้องดูแลระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย จึงไม่ควรให้มีอะไรมากระทบกระเทือนครรภ์ ไม่ว่าจะจากความเครียด หรืออุบัติเหตุ รวมถึงการรับประทานยา วิตามินต่าง ๆ ควรอยู่ภายใต้การดูแลแนะนำจากแพทย์เท่านั้น

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องหรือไม่ดูอย่างไร (ฉบับ Update ปี 2567), โรงพยาบาลเพชรเวช
  2. ท้องไม่ท้อง รู้ให้แน่ ด้วยการตรวจครรภ์หาค่าเอชซีจี (hCG), โรงพยาบาลนครธน
  3. ท้องหรือไม่ท้องรู้ได้อย่างไร, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย
  4. อาการคนท้อง ระยะแรก ยืนยันว่าคุณตั้งครรภ์แล้วแน่ ๆ, สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย
  5. 6 วิธีดูแลตัวเองในระหว่างตั้งครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก 3

อ้างอิง ณ วันที่ 24 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ
บทความ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

5นาที อ่าน

View details อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม
บทความ
อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูกได้จริงไหม สัญญาณท้องลูกชายและอาการแพ้ท้องลูกสาวเป็นยังไง อาการแบบไหนที่บอกให้คุณแม่รู้ว่ากำลังจะได้ลูกสาวหรือลูกชาย

4นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้
บทความ
คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้ ลูกน้อยในครรภ์ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ท้อง 9 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง
บทความ
ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย ลูกไม่ดิ้นบ่งบอกถึงอะไรได้บ้างสำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ไปดูสัญญาณเตือนเมื่อลูกไม่ดิ้นและการนับลูกดิ้นกัน

8นาที อ่าน

View details อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง
บทความ
อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

การอยู่ไฟหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหม การอยู่ไฟ มีประโยชน์กับคุณแม่อย่างไร ไปดูวิธีเตรียมตัวเมื่อคุณแม่ต้องอยู่ไฟหลังคลอดกัน

6นาที อ่าน

View details มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม
บทความ
มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันธ์หลังเป็นประจำเดือน 1 วันจะท้องไหม มีเพศสัมพันธ์หลังมีเมนกี่วันถึงท้อง มาทำความเข้าใจเรื่องวงจรการตกไข่ เพื่อประเมินว่ามีเกณฑ์ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร อันตรายไหม เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์แล้ว สัญญาณเตือนท้องลมมีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง ไปดูอาการท้องลมที่บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังท้องลมอยู่กัน

5นาที อ่าน

View details โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง
บทความ
โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง

โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง

โครโมโซม คืออะไร โครโมโซม มีกี่คู่ ทำความรู้จัก โครโมโซม และวิธีการตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ เพื่อเช็กความผิดปกติของทารก พร้อมวิธีตรวจคัดกรองโครโมโซมอย่างละเอียด

9นาที อ่าน

View details อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน
บทความ
อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน

อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน

อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน สังเกตอาการคนท้องคัดเต้า เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ พร้อมวิธีบรรเทาอาการคัดเค้าที่คุณแม่ทำได้เอง

6นาที อ่าน

View details หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย
บทความ
หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่ คุณแม่อยากมีลูกหัวปีท้ายปี ต้องทำอย่างไร แบบไหนไม่อันตราย ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายหรือไม่ จะส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม หากคุณแม่ท้องกินหอยนางรมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

6นาที อ่าน

View details ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ตัวช่วยบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง
บทความ
ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ตัวช่วยบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ตัวช่วยบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ช่วยบำรุงครรภ์มีอะไรบ้าง คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดไหม คนท้องอ่อนห้ามกินผลไม้อะไร ไปดูผลไม้ที่คนท้องควรกินและมีประโยชน์กัน

6นาที อ่าน

View details โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์แค่ไหน
บทความ
โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์แค่ไหน

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งและทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีโฟเลตสูงก่อนท้อง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี

6นาที อ่าน

View details คนท้องกินเผ็ดได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินเผ็ดได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผ็ดได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผ็ดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์ชอบกินของเผ็ดจะอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ระดับความเผ็ดแค่ไหนที่คุณแม่สามารถทานได้และไม่เป็นอันตรายกับลูก

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ
บทความ
คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

6นาที อ่าน

View details อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้คันท้องคนท้อง
บทความ
อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้คันท้องคนท้อง

อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้คันท้องคนท้อง

อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร คุณแม่มีอาการคันตามร่างกาย อันตรายไหม พร้อมวิธีบรรเทาอาการคันของคนท้อง สำหรับคุณแม่ที่มีผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์

5นาที อ่าน

View details คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี
บทความ
คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

6นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร
บทความ
ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึก ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ เกิดจากอะไร ลูกในท้องสะอึกบ่อยจะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่ วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกในครรภ์หยุดสะอึก

4นาที อ่าน