หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน
ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน คู่รักคู่แต่งงานอยากทราบว่าตนเองมีการตั้งครรภ์แล้วหรือไม่ สามารถทำได้เบื้องต้นด้วยตัวเองจากการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และสามารถไปตรวจเลือดกับแพทย์ที่โรงพยาบาล เป็นการตรวจผ่านฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ซึ่งจะได้ผลตรวจแน่นอนว่ามีการตั้งครรภ์ถึง 100 เปอร์เซ็นต์
สรุป
- ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน การตรวจการตั้งครรภ์สามารถทำได้เบื้องต้นด้วยตัวเองจากการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือดที่ตรวจให้โดยแพทย์
- ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน การตรวจการตั้งครรภ์ที่ใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง แนะนำให้ตรวจหลังมีเพศสัมพันธ์ และมีการปฏิสนธิได้ 6 วันไปแล้ว
- ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือดกับแพทย์ที่โรงพยาบาล แนะนำให้ตรวจหลังมีการปฏิสนธิประมาณ 2 สัปดาห์
- การเจาะเลือดตรวจการตั้งครรภ์ จะให้ผลการตรวจที่แม่นยำถึง 100 เปอร์เซ็นต์
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง
- ตรวจการตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ด้วยการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์
- ตรวจการตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ด้วยการตรวจเลือดโดยแพทย์
- รวมวิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง
- รวมวิธีตรวจครรภ์โดยแพทย์
- วิธีตรวจครรภ์โดยแพทย์ รอผลนานแค่ไหน
- อาการคนท้องแรกเริ่มเป็นยังไง
- เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองแบบไหน
ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง
เพื่อให้ได้ผลการตั้งครรภ์ที่แน่นอนทั้งจากการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และตรวจการตั้งครรภ์โดยแพทย์ ควรตรวจหลังจากมีการปฏิสนธิดังนี้
ตรวจการตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ด้วยการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์
การตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) จากปัสสาวะด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์ ให้ตรวจหลังจากที่มีการปฏิสนธิ 6 วัน ไปแล้ว (หลังมีเพศสัมพันธ์) ซึ่งฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) จะหลั่งออกมาจากรก หลังการทดสอบด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์ประมาณ 5 นาทีจะทราบผลการตั้งครรภ์ได้ 90 เปอร์เซ็นต์
ตรวจการตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน ด้วยการตรวจเลือดโดยแพทย์
การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือด จะแสดงผลตรวจการตั้งครรภ์ให้ทราบถึง 100 เปอร์เซ็นต์ วิธีนี้เป็นการตรวจผ่านฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) แพทย์จะแนะนำให้มาตรวจหลังมีการปฏิสนธิประมาณ 2 สัปดาห์ (หลังมีเพศสัมพันธ์) ใช้เวลารอผลตรวจตั้งครรภ์ 1-2 ชั่วโมง
รวมวิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง
การตรวจครรภ์ด้วยตัวเองเป็นการตรวจเบื้องต้นด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์ ได้แก่
1. ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม (Test Strip): ใน 1 ชุดมี ถ้วยตวงปัสสาวะ และแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์
วิธีใช้:
- ปัสสาวะลงในถ้วยตวง
- นำแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์จุ่มปัสสาวะในถ้วยตวง 3 วินาที จุ่มปัสสาวะต้องให้พอดีกับขีดลูกศรบนแผ่นทดสอบ
- เมื่อครบ 3 วินาที ให้นำแผ่นทดสอบออกจากถ้วยตวง
- ใช้เวลา 5 นาที ในการแสดงผลการตั้งครรภ์ สำหรับที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม
2. ที่ตรวจครรภ์แบบปากกาปล่อยผ่าน (Pregnancy Midstream Tests): ใน 1 ชุดมี แท่งตรวจครรภ์
วิธีใช้:
- เปิดฝาครอบออกจากตัวแท่งตรวจครรภ์
- แล้วถือแท่งตรวจครรภ์โดยให้ตรงหัวลูกศรชี้ลงด้านล่าง
- ให้ปัสสาวะผ่านตรงส่วนที่ต่ำกว่าลูกศรจนเปียกชุ่ม 30 วินาที
- ใช้เวลา 3-5 นาที ในการแสดงผลการตั้งครรภ์
3. ที่ตรวจครรภ์แบบตลับหยด (Pregnancy Test Cassette): ใน 1 ชุดมี ถ้วยตวงปัสสาวะ หลอดหยด ตลับตรวจครรภ์
วิธีใช้:
- ปัสสาวะลงในถ้วยตวง
- ใช้หลอดหยดดูดปัสสาวะขึ้นจากถ้วยตวง
- นำปัสสาวะในหลอดหยด หยดลงในตลับตรวจครรภ์ 3-4 หยด
- ใช้เวลา 5 นาที ในการแสดงผลการตั้งครรภ์
วิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง ได้ผลชัวร์แค่ไหน
การตรวจตั้งครรภ์ด้วยตัวเองเป็นวิธีทดสอบการตั้งครรภ์เบื้องต้น จะใช้ปัสสาวะเพื่อทำการทดสอบในชุดตรวจการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) จากปัสสาวะ ซึ่งจะให้ผลตรวจที่แน่นอนว่ามีการตั้งครรภ์ถึง 90 เปอร์เซ็นต์
รวมวิธีตรวจครรภ์โดยแพทย์
การทดสอบการตั้งครรภ์ที่ตรวจโดยแพทย์มีถึง 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่
1. ทดสอบการตั้งครรภ์จากห้องปฏิบัติ
ทางการแพทย์เรียกการตรวจการตั้งครรภ์วิธีนี้ว่า ยูพีที Urine Pregnancy test (UPT)
ขั้นตอน:
- กระป๋องสำหรับเก็บปัสสาวะ คุณแม่ต้องฉี่ใส่ลงในกระป๋องเล็ก ๆ
- ปัสสาวะที่เก็บได้จะส่งไปที่ห้องแล็บ
- จะได้ค่า sensitive ของการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้จากปัสสาวะจะอยู่ที่ 20-25 mIU/ml
2. ทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือด
แพทย์แนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์หลังจากมีการปฏิสนธิได้ 2 สัปดาห์
3. ทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยอัลตราซาวด์
เป็นการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังเนื้อเยื่อในช่องท้อง ซึ่งวิธีนี้ยังสามารถบอกได้ถึงตำแหน่งการตั้งครรภ์ว่าอยู่ในมดลูกหรือนอกมดลูก และอายุครรภ์ ฯลฯ
วิธีตรวจครรภ์โดยแพทย์ รอผลนานแค่ไหน
- การตรวจการตั้งครรภ์เพื่อหาค่าฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ด้วยการเจาะเลือดที่ตรวจโดยแพทย์ ซึ่งจะให้ผลตรวจการตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลารอผลตรวจตั้งครรภ์ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
อาการคนท้องแรกเริ่มเป็นยังไง
หากคุณผู้หญิงมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้บ่งบอกว่ากำลังมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยอาการแรกเริ่มสังเกตได้ดังนี้
- ประจำเดือนขาด จากที่เคยมีประจำเดือนทุกเดือนแต่จู่ ๆ ประจำเดือนไม่มา นั่นเป็นเพราะมีการปฏิสนธิขึ้นแล้ว
- ปัสสาวะมีสีที่เข้มขึ้น และปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
- เต้านมมีความไว สัมผัสแล้วรู้สึกว่าคัด ตึง และเจ็บ
- ขับถ่ายยาก ท้องผูก เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์ส่งผลให้ลำไส้ทำงานได้ช้าลง
- ช่องคลอดมีตกขาว
- มีอาการง่วงนอนตลอดวัน และเหนื่อยง่ายขึ้น
- รู้สึกขมในปาก
- จมูกมีความไวต่อกลิ่น รู้สึกเหม็นทุกอย่าง
- อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อ่อนไหวง่ายมาก
- รับประทานอาหารได้น้อย รู้สึกไม่อร่อย และเริ่มมีอาการแพ้ท้อง หลังตื่นนอนช่วงเช้าจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- อยากรับประทานอาหารแปลก ๆ ที่ไม่เคยมาก่อน
เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองแบบไหน
เพื่อให้คุณแม่มีครรภ์คุณภาพตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน การดูแลตัวเองเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญอย่างมาก
- ฝากครรภ์ทันทีที่รู้ผลตรวจตั้งครรภ์
- แจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่ทราบหากมีการรับประทานยา วิตามินมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ หรือขณะตั้งครรภ์มีการใช้ยา หรือหยุดยาอื่นใดก็ตาม
- แพทย์จะจัดยาและวิตามินบำรุงครรภ์ แนะนำให้รับประทานจนหมดตามที่แพทย์แจ้ง
- สังเกตการเคลื่อนไหวการดิ้นของทารกในครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ของคนท้อง และต้องดื่มน้ำต่อวันให้เพียงพอ
- ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์หากต้องการออกกำลังกายระหว่างที่ตั้งครรภ์
- มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
- ไปตรวจครรภ์ทุกครั้งที่มีการนัดหมายจากแพทย์
- หลีกเลี่ยงในการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ เช่น สถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ หรือมีมลภาวะที่เป็นพิษ รวมถึงตัวคุณแม่ท้องเองควรงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด และการสูบบุหรี่
การตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกเป็นช่วงอายุครรภ์ที่ต้องดูแลระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย จึงไม่ควรให้มีอะไรมากระทบกระเทือนครรภ์ ไม่ว่าจะจากความเครียด หรืออุบัติเหตุ รวมถึงการรับประทานยา วิตามินต่าง ๆ ควรอยู่ภายใต้การดูแลแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- บล็อกหลังผ่าคลอด คืออะไร เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ เกี่ยวกับการบล็อกหลัง
- ผ่าคลอด กี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอด ถึงปลอดภัยสำหรับลูกน้อย
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อยอันตรายไหม
- ออกกําลังกายหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- ท้องหรือไม่ดูอย่างไร (ฉบับ Update ปี 2567), โรงพยาบาลเพชรเวช
- ท้องไม่ท้อง รู้ให้แน่ ด้วยการตรวจครรภ์หาค่าเอชซีจี (hCG), โรงพยาบาลนครธน
- ท้องหรือไม่ท้องรู้ได้อย่างไร, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย
- อาการคนท้อง ระยะแรก ยืนยันว่าคุณตั้งครรภ์แล้วแน่ ๆ, สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย
- 6 วิธีดูแลตัวเองในระหว่างตั้งครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก 3
อ้างอิง ณ วันที่ 24 มกราคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง