อาการท้องไม่รู้ตัว คุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์ที่ถูกต้อง

อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

17.02.2024

อาการท้องไม่รู้ตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คุณแม่บางคนอาจจะไม่มีอาการแพ้ท้อง หรือไม่ค่อยรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ซึ่งอาการท้องไม่รู้ตัว อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

headphones

PLAYING: อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • อาการท้องไม่รู้ตัว พบได้ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นท้องแรก หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าท้อง
  • วิธีสังเกตอาการระยะแรกของการตั้งครรภ์ เช่น ประจำเดือนขาด น้ำหนักตัวเพิ่ม วิงเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน
  • หากรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ควรซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจอย่างน้อย 1 ครั้ง

 

อาการท้องไม่รู้ตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เพราะร่างกายคนท้องแต่ละคนแตกต่างกัน ผู้หญิงบางคนตั้งครรภ์แต่แทบจะไม่เกิดอาการแพ้ท้องเลย ส่วนรูปร่างที่เปลี่ยนไป น้ำหนักตัวที่มากขึ้น ก็อาจคิดไปได้ว่า อ้วนขึ้น ซึ่งอาการท้องไม่รู้ตัวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการท้องไม่รู้ตัว ระยะแรกของการตั้งครรภ์ มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

1. ไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ

ว่าที่คุณแม่บางคนตั้งครรภ์เป็นท้องแรก และอาจไม่มีอาการแพ้ท้องมากนัก และไม่เคยมีประสบการณ์ตั้งครรภ์มาก่อน อาจทำให้ไม่รู้ตัวว่าท้อง

 

2. ประจำเดือนขาด แต่ไม่คิดว่าตั้งครรภ์

ผู้หญิงบางคนมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้คิดได้ว่า ประจำเดือนขาดจากสาเหตุอื่น

 

3. ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ผลเป็นลบ

อาจใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แล้วยังตรวจไม่พบ สาเหตุที่ท้องแต่ตรวจไม่ขึ้นอาจเป็นไปได้ว่าตรวจเร็วเกินไป ต้องรอระยะเวลาก่อนตรวจซ้ำ

 

4. การคุมกำเนิดไม่มีประสิทธิภาพมากพอ

การคุมกำเนิดใด ๆ ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องไม่รู้ตัวได้

 

5. ไม่ทันสังเกตความเปลี่ยนของร่างกาย

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายคนท้องแต่ละคนแตกต่างกัน อาจทำให้ไม่ทันได้สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

6. ขนาดท้องเล็กมาก

ขนาดท้องของคนท้องอาจมีขนาดที่เล็กมาก แม้ว่าจะตั้งครรภ์แล้วหลายเดือน อาจทำให้คิดว่า น้ำหนักขึ้นหรืออ้วนขึ้นมากกว่า

 

7. คิดว่าโอกาสตั้งครรภ์ได้ยาก เพราะอายุเยอะ

เมื่ออายุมากขึ้น อาจทำให้เข้าใจไปเองว่า มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยาก จึงไม่ทันสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

 

วิธีสังเกตสัญญาณเตือนเบื้องต้นว่ากำลังตั้งครรภ์

การท้องไม่รู้ตัว อาจเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ หากประจำเดือนขาด หรือรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารก สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่คุณแม่สังเกตได้ โดยคุณแม่สามารถลองตรวจอาการคนท้องระยะแรกที่พบได้ เช่น

  • ประจำเดือนขาดเป็นระยะเวลานาน
  • น้ำหนักขึ้นหรือรู้สึกว่าอ้วนขึ้น
  • หงุดหงิดง่าย มีอารมณ์แปรปรวน
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • วิงเวียนศีรษะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • เจ็บหน้าอกหรือคัดตึงเต้านม
  • หัวนมมีสีเข้มขึ้น
  • อาเจียนและรู้สึกคลื่นไส้

 

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ตรวจเองได้ รู้ผลไว

หากสังเกตร่างกายของตัวเองว่ามีความผิดปกติไปจากเดิม มีสัญญาณบ่งบอกว่า อาจกำลังตั้งครรภ์อยู่ ควรซื้อที่ตรวจครรภ์หรือชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจ เพื่อป้องกันอาการท้องไม่รู้ตัว การตั้งครรภ์จะได้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก โดยอุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา แต่ควรเลือกชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ ตามที่เภสัชกรแนะนำ โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

 

1. ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม จะมีแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์และถ้วยตวง ให้เก็บปัสสาวะในถ้วยตวง นำแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์จุ่มลงไปตามคำแนะนำและวิธีใช้ จุ่มทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที โดยจุ่มปัสสาวะไม่ให้เกินขีดลูกศร แล้วนำออกมาวางรออีก 5 นาที

 

2. ที่ตรวจครรภ์แบบหยด

อุปกรณ์ที่มีในที่ตรวจครรภ์แบบหยด จะมีตลับตรวจครรภ์ หลอดหยด และถ้วยตวงปัสสาวะ ให้เก็บปัสสาวะในถ้วยตวง ก่อนจะนำหลอดหยดมาดูดน้ำปัสสาวะ แล้วหยดลงตลับตรวจครรภ์ ตามคำแนะนำและวิธีใช้ ราว 3-4 หยด โดยใช้เวลาในการรอผลตรวจครรภ์ประมาณ 5 นาที

 

3. ที่ตรวจครรภ์แบบปัสสาวะผ่าน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจครรภ์มีเพียงอย่างเดียว คือ แท่งตรวจครรภ์ วิธีการทดสอบให้นำฝาครอบออก แล้วปัสสาวะผ่าน ตามคำแนะนำและวิธีใช้ ประมาณ 30 วินาที และรออ่านผลประมาณ 5 นาที

 

การอ่านผลตรวจชุดทดสอบการตั้งครรภ์

ที่ตรวจครรภ์จะมีแถบวัดที่หน้าแสดงผล โดยมีตัวอักษรสำคัญ 2 ตัว ได้แก่ C (Control Line) และ T (Test Line) ควรอ่านผลหลังจากรอประมาณ 5 นาที เพื่อความแม่นยำ ซึ่งจะแสดงผลออกมา

  1. ท้อง 2 ขีด: เรียกว่า ผลบวก การแสดงผลจะขึ้นทั้งอักษร C และ T แม้ว่าจะขึ้นเป็นขีดจาง ๆ ก็มีแนวโน้มว่ากำลังตั้งครรภ์ หากขึ้น 2 ขีดไม่ชัด ควรรอประมาณ 2-3 วัน จึงทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง
  2. ไม่ท้อง 1 ขีด: เรียกว่า ผลลบ การแสดงผลจะขึ้นที่อักษร C เพียง 1 ขีด แสดงว่าไม่น่าจะมีการตั้งครรภ์ อาจรอเวลาเพื่อทำการตรวจซ้ำอีกครั้งให้แน่ใจ

 

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจหาฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่แสดงว่ากำลังตั้งครรภ์ หลั่งจากรกหลังเกิดการปฏิสนธิแล้วประมาณ 6 วัน ฮอร์โมนชนิดนี้จะมีปริมาณสูงขึ้นในช่วง 8-12 สัปดาห์หลังมีเพศสัมพันธ์ ควรตรวจเมื่อเลยรอบประจำเดือนแล้วประมาณ 7 วัน และควรตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง เว้นประมาณ 2-3 วันในแต่ละครั้ง โดยอ่านวิธีใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อความแม่นยำควรใช้อุปกรณ์ตรวจตอนเช้าหรือก่อนทานอาหาร หากใช้แล้วไม่ขึ้นขีด ไม่มีการแสดงผลทดสอบแต่ยังไม่มั่นใจ สามารถซื้อที่ตรวจครรภ์ชิ้นใหม่มาใช้ตรวจอีกครั้ง

 

อาการท้องไม่รู้ตัว อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับแม่และลูกในท้อง จึงควรตรวจร่างกายเป็นประจำ และสังเกตความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากไม่มั่นใจว่า ตั้งครรภ์หรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจการตั้งครรภ์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. “ท้องไม่รู้ตัว” มีอยู่จริง, โรงพยาบาลราชสีมา ฮอสพิทอล
  2. ท้องหรือไม่ดูอย่างไร (ฉบับ Update ปี 2567), โรงพยาบาลเพชรเวช
  3. อาการท้องไม่รู้ตัวและสัญญาณเตือน ที่คุณแม่สามารถสังเกตเองได้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  4. ผลจากที่ตรวจครรภ์...แม่นยำแค่ไหนกันนะ?, โรงพยาบาลเปาโล

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม คุณแม่กินน้ำเย็นแล้วน้ำนมจะหดจริงหรือเปล่า พร้อมเคล็ดลับดูแลตัวเองหลังคุณแม่ผ่าคลอด

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไรคนท้องถึงไปงานศพไม่ได้ หากคนท้องไปงานศพจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีความเชื่อว่าคนท้องไม่ควรไปงานศพ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออย่างไร

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออย่างไร

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ อันตรายไหม

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ อันตรายไหม

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน เกิดจากอะไร คุณแม่คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ ลูกมีโอกาสรอดแค่ไหน อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า พร้อมสัญญาณเตือนการคลอดก่อนกำหนด

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก