คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ
คนท้องไปงานศพได้ไหม คนท้องไปงานศพแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือ หากคนท้องจำเป็นต้องไปงานศพ ต้องทำอย่างไร ข้อห้ามต่าง ๆ สำหรับคนท้อง โดยเฉพาะข้อห้ามในการไปงานศพ เป็นความเชื่อที่เชื่อต่อ ๆ กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ สร้างความสงสัย สร้างความกังวลใจ ให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อมีความจำเป็นต้องไปงานศพ จะเกิดผลร้ายกับทารกในครรภ์ตามความเชื่อหรือไม่ ควรปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพกายของตนเองและลูก
สรุป
- ข้อห้ามการไปงานศพของคนท้อง เป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคล แท้จริงแล้ว สิ่งที่สำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรับมือในการไปงานศพคือ อารมณ์และความรู้สึก การไปงานศพนั้น เป็นงานที่ไม่รื่นเริง หดหู่ เกิดความเศร้าใจ ทำให้เกิดความเศร้า จดจำแต่ภาพไม่ดี อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
- คนท้องไปงานศพจะทำให้แท้ง เป็นความเชื่อว่า วิญญาณที่อยู่ตามวัดที่จัดงานศพ จะตามแม่ท้อง มาอาศัยในท้อง จะเอาทารกในท้องไปอยู่ด้วย อาจทำให้ทารกแท้งได้ ความจริงทางหลักทางการแพทย์แล้ว การแท้งลูก สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติของทารกในครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ความผิดปกติของทารกในครรภ์ ที่เกิดจากความผิดปกติจากแม่ ไม่เกี่ยวกับการไปงานศพแต่อย่างใด
- คนท้องสามารถไปงานศพได้หากมีความจำเป็น แต่ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดี โดยเฉพาะการไปงานศพมักเจอผู้คนมากมาย คุณแม่อาจมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรคได้ง่าย ส่วนทางด้านจิตใจคุณแม่ท้องนั้นอารมณ์อ่อนไหวง่ายจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เศร้าใจ หดหู่ใจ
- คุณแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เสี่ยง มีโรคประจำตัว อายุครรภ์มาก ใกล้ถึงเวลาคลอด คุณแม่ควรเฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้องไปร่วมงานศพ หากมีความผิดปกติทางร่างกายใดที่เกิดขึ้น ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- คนท้องไปงานศพได้ไหม ไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- ทำไมถึงมีความเชื่อกันว่า คนท้องไปงานศพไม่ได้
- คนท้องไปงานศพ จะทำให้แท้งจริงไหม
- คลายข้อสงสัย สรุปแล้วคนท้องไปงานศพได้ไหม
- สิ่งที่ต้องระวัง เมื่อคนท้องจำเป็นต้องไปงานศพ
- ดูแลตัวเองอย่างไร หากคุณแม่จำเป็นต้องไปงานศพ
คนท้องไปงานศพได้ไหม ไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- อารมณ์และความรู้สึก การไปงานศพนั้น เป็นงานที่ไม่รื่นเริง จะทำให้คุณแม่ท้องเสียขวัญ หดหู่ เกิดความเศร้าใจ ทำให้สุขภาพจิตไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้
- อาจติดเชื้อโรคจากการพบเจอผู้คนเยอะ ๆ คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือผู้คนมากมาย เพราะอาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคได้
- อาจเกิดอาการแพ้กลิ่นควัน และกลิ่นธูปได้ เนื่องจากในงานศพจะมีการจุดธูปเคารพศพ ควันธูปนั้นอาจทำให้คุณแม่ท้องแพ้กลิ่นธูป แพ้ควันธูปได้
ทำไมถึงมีความเชื่อกันว่า คนท้องไปงานศพไม่ได้
เพราะโบราณเชื่อกันว่าจะมีวิญญาณเร่ร่อนสิงสถิตตามสถานที่ที่จัดงานศพ อาจตามแม่ท้องกลับบ้านเพื่อมาอาศัยเกิดในท้อง หรือเอาลูกทารกในท้องของคุณแม่ไปอยู่ด้วย ในงานศพนั้นเป็นความโศกเศร้า เสียใจ มีแต่เรื่องสูญเสีย ทำให้หดหู่ จะส่งผลให้คุณแม่ท้องจดจำแต่ภาพไม่ดี ทำให้ส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจ
คนท้องไปงานศพ จะทำให้แท้งจริงไหม
คนท้องไปงานศพจะทำให้แท้ง เพราะความเชื่อว่า วิญญาณที่อยู่ตามวัดที่จัดงานศพจะตามแม่ท้อง มาอาศัยในท้อง จะเอาทารกในท้องไปอยู่ด้วย วิญญาณนั้นอาจทำให้ทารกแท้งได้ แต่ความจริงทางหลักทางการแพทย์แล้ว การแท้งลูกหรือภาวะแท้งคุกคาม สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เกิดจากความผิดปกติจากแม่ เกิดจากความผิดปกติของตัวอ่อน ภาวะเสี่ยงแท้งลูก ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 สัปดาห์ที่ 1-12 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ลูกน้อยกำลังเจริญเติบโต หากตัวอ่อนที่ปฏิสนธิเกิดความผิดปกติ ไม่แข็งแรง ก็อาจทำให้แท้งได้ ไม่เกี่ยวกับการที่ไปงานศพแต่อย่างใด
คลายข้อสงสัย สรุปแล้วคนท้องไปงานศพได้ไหม
อันที่จริงแล้ว ข้อห้ามคนท้องไม่ให้ไปงานศพนั้น อาจไม่มีข้อห้ามตามหลักทางการแพทย์ แต่เป็นความเชื่อ ที่ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ท่านจะเตือนคนท้องด้วยความหวังดี ตามที่เชื่อถือสืบต่อกันมาจากสมัยโบราณ คุณแม่สามารถไปงานศพได้หากมีความจำเป็น แต่ทั้งนี้ก็ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดี
โดยเฉพาะการไปงานศพมักเจอผู้คนมากมาย หรือเจอผู้คนที่อยู่รวมกันแออัด ยิ่งช่วงสามเดือนแรกของในการตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังตัวเองให้มาก ๆ คุณแม่อาจมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรคได้ง่าย ส่วนทางด้านจิตใจคุณแม่ท้องนั้น จะมีอารมณ์อ่อนไหวได้ง่ายจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เศร้าใจ หดหู่ใจ ได้ง่ายและเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด อาจส่งผลกระทบต่อตัวเอง และทารกในครรรภ์ได้ สำหรับคุณแม่ท้องที่แพ้ควันธูป อาจเกิดอาการแพ้กลิ่นควัน และกลิ่นธูปได้ หากไม่มีความจำเป็น คุณแม่ท้องอาจเลี่ยงที่จะไปร่วมงานศพ คงไม่มีความผิดแต่ประการใด
สิ่งที่ต้องระวัง เมื่อคนท้องจำเป็นต้องไปงานศพ
1. ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
คุณแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และตัวของคุณแม่เอง หากพบว่าตัวคุณแม่เองมีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง คุณแม่ควรได้รับการดูแลจากสูติแพทย์เฉพาะทาง คุณแม่ควรเฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และควรหมั่นดูแล สังเกตอาการตัวเองให้ดี
2. อายุครรภ์ คุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อย
คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก หากปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม จะเป็นผลดีต่อการกระตุ้นพัฒนาการของลูก การที่อารมณ์ดีอยู่เสมอ จะช่วยให้ลูกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดี สิ่งที่ต้องระมัดระวังในช่วงไตรมาสแรก คือ ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกขยายเพื่อรองรับทารกในครรภ์ และอาการแพ้ท้อง ที่อาจทำให้อาเจียน คลื่นไส้ ทานอาหารไม่ค่อยได้ หากต้องไปงานศพ ในช่วงที่ร่างกายไม่พร้อม อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่ท้องได้ โดยเฉพาะอายุครรภ์ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอด ที่ขนาดทารกในครรภ์ และท้องของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เหนื่อย อึดอัดจากมดลูกที่โตขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้น
นอกจากนั้นยังปวดหลังเพราะน้ำหนักตัวมากขึ้น ทำให้ไม่คล่องแคล่วในการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือปวดเมื่อยเมื่อต้องนั่งนาน ๆ และสิ่งสำคัญที่คุณแม่ท้องต้องให้ความสำคัญคือ ต้องเฝ้าสังเกตอาการท้องแข็ง น้ำเดิน หรืออาการนำก่อนคลอด ที่ร่างกายส่งสัญญาณเตรียมตัวพร้อมที่จะคลอด คุณแม่ท้องในไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอด ควรระมัดระวัง เมื่อต้องออกนอกบ้าน หากมีอาการใกล้คลอด ควรรีบไปพบแพทย์
3. ความคล่องตัวของคุณแม่
ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักตัว การตั้งครรภ์ในแต่ละเดือน น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 กิโลกรัม ในทุก ๆ เดือน จึงทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่คล่องแคล่วเหมือนตอนที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์
4. ระยะเวลาการเดินทางไปงาน
การเดินทางไกล หรือระยะเวลาในการเดินทาง ของคุณแม่ท้อง เป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่ เพราะเสี่ยงกระทบกระเทือน และหากมีเหตุเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง คุณแม่ท้องควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างเร่งด่วน คุณแม่ท้องที่จะไปร่วมงานศพ ไม่ควรเดินทางช่วงใกล้คลอด ควรงดเว้นการเดินทางระยะไกล โดยเฉพาะการเดินทางที่ต้องใช้เวลาหลาย ๆ ชั่วโมง หากมีภาวะเสี่ยงใด ๆ ในการตั้งครรภ์ มดลูกไม่แข็งแรง มีประวัติแท้ง รกเกาะต่ำ ไม่ควรเดินทางไกล
ดูแลตัวเองอย่างไร หากคุณแม่จำเป็นต้องไปงานศพ
- การติดเข็มกลัดคนท้อง แม้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล แต่ก็ทำให้ลดความวิตกกังวลของคุณแม่ และทำให้สบายใจขึ้น คุณแม่ควรระวังในการติดเข็มกลัด อย่าให้เข็มทิ่มท้อง
- ทำใจให้ปลง เข้าใจสัจธรรมของชีวิต ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย คุณแม่ท้องที่ไปงานศพควรทำใจให้สบาย รู้จักปล่อยวาง
- พยายามนั่งให้ห่างไกลจากผู้คน พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ไม่นั่งในที่ที่มีผู้คนเยอะ หรืออยู่ในที่ที่มีผู้ป่วย
- มีผู้ติดตามที่สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ท้อง โดยเฉพาะคุณแม่ท้องที่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เมื่อต้องเดินทางไปงานศพที่มีระยะทางไกล ๆ ควรปรึกษาแพท์ก่อนเดินทาง และหลีกเลี่ยงในการเดินทางคนเดียว
แม้ว่าจะมีการห้ามไม่ให้คนท้องไปงานศพ แต่การห้ามนั้นก็เป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีความจำเป็นจะต้องเดินทางไปงานศพ ก็ควรประเมินสุขภาพร่างกายของตัวเอง และภาวะเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ของตนเองให้ดี เพื่อลดอันตราย ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น หากพบว่าตนเองนั้นมีภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ควรงดเดินทาง งดไปร่วมงานพิธี เพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารกในครรภ์
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
- คลอดเองกับผ่าคลอดต่างกันยังไง พร้อมขั้นตอนเตรียมผ่าคลอด
- คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อยอันตรายไหม
- ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดนานไหม พร้อมขั้นตอนการผ่าคลอด
- บล็อกหลัง คืออะไร การผ่าคลอดบล็อกหลังที่คุณแม่ควรรู้
- แผลฝีเย็บหลังคลอดของคุณแม่ ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้ปลอดภัย
- แผลผ่าคลอดกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดให้เนียนสวย
- ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอดถึงปลอดภัยสำหรับลูกน้อย
- ข้อห้ามหลังผ่าคลอดมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด
- ออกกําลังกายหลังคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นสุขภาพดี สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด
อ้างอิง:
- ห้ามผู้หญิงตั้งท้องไปงานเผาศพ, Haijai
- 20 ข้อห้ามสําหรับคนท้อง & ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง !!, Medthai
- รู้ไว้ไม่มั่วนิ่ม! 15 ข้อห้ามคนท้อง ความเชื่อผิดๆ ที่ผู้ใหญ่รุ่นเก๋าชอบแนะนำ, HealthSmile
- แท้งลูก (Abortion), โรงพยาบาลสินแพทย์
- “ภาวะครรภ์เสี่ยง” เรื่องควรรู้ของคุณแม่ตั้งท้อง, โรงพยาบาลพญาไท
- คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก, โรงพยาบาลสมิติเวช
- คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน), โรงพยาบาลพญาไท
- 3 ไตรมาสของการตั้งครรภ์ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง, โรงพยาบาลเปาโล
- ตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่มือใหม่พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง, โรงพยาบาลนครธน
- เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องเดินทางไกล…อันตรายหรือไม่, โรงพยาบาลเปาโล
- ความเชื่อผิดๆ ขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- สิ่งที่หญิงตั้งครรภ์ควรทราบก่อนการเดินทางโดยรถยนต์ รถโดยสาร รถไฟ ในระหว่างตั้งครรภ์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อ้างอิง ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2567