มดลูกคว่ำคืออะไร อันตรายไหม อาการแบบนี้ทำให้มีลูกยากหรือเปล่า

มดลูกคว่ำคืออะไร อันตรายไหม อาการแบบนี้ทำให้มีลูกยากหรือเปล่า

04.10.2024

มดลูกคว่ำคืออะไร มดลูกคว่ำอันตรายไหม อาการแบบนี้ทำให้มีลูกยากหรือเปล่า? จากความเข้าใจผิดที่เชื่อกันว่า มดลูกคว่ำจะทำให้มีลูกยาก ทำให้ผู้หญิงนั้นเกิดความวิตกกังวลว่า หากตนเองมีภาวะเป็นมดลูกคว่ำแล้ว จะทำให้มีลูกได้ไหม จะส่งผลอันตรายหรือเปล่า ดังนั้น ผู้หญิงจึงควรศึกษาหาข้อมูล ทำความเข้าใจ เพื่อลดความกังวลในสุขภาพของตนเองให้ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์

headphones

PLAYING: มดลูกคว่ำคืออะไร อันตรายไหม อาการแบบนี้ทำให้มีลูกยากหรือเปล่า

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • มดลูกคว่ำ ไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใด เคลื่อนที่ได้อิสระ สามารถเคลื่อนที่ อยู่กลาง หรือคว่ำหลัง หรือคว่ำไปทางด้านหน้าได้เป็นปกติ ไม่ส่งผลอันตรายหรือเป็นสาเหตุให้มีลูกยาก
  • ผู้หญิงจะมีมดลูกคว่ำ ได้ประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ มดลูกนั้นสามารถเอียงขยับได้หลายองศา แต่กรณีที่มดลูกคว่ำหลังนั้น มักจะเกิดสาเหตุมาจาก โรคอุ้งเชิงกรานเฉียบพลัน โรคถุงน้ำช็อกโกแลตซีสต์ โรคพังผืดในอุ้งเชิงกราน ซึ่งทำให้เกิดการมีพังผืดดึงรั้งตรงบริเวณด้านหลังของมดลูก ทำให้เกิดมีภาวะมดลูกคว่ำหลังได้
  • มดลูกคว่ำ จึงมักจะไม่มีอาการทางสุขภาพใด ๆ แต่ในบางกรณีมดลูกคว่ำ หรือเอียงมาก ๆ ก็ส่งผลให้เกิดความรู้สึกไม่สบายบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือรู้สึกปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

มดลูกกลับหลัง มดลูกคว่ำ คืออะไร

มดลูก คือ อวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ ขนาดเล็กแต่มีความแข็งแรง เป็นอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อเรียงทับกันสามชั้น มีลักษณะเป็นโพรงสามเหลี่ยมแบน มีทางแยกสามทาง สองทางคือปีกมดลูก และอีกหนึ่ง คือทางไปช่องคลอด เป็นแหล่งกำเนิดที่บ่งบอกความเป็นผู้หญิง คือฮอร์โมนไดเอสโตรเจน มดลูกจึงมีหน้าที่สำคัญในการตั้งครรภ์ มดลูกประกอบไปด้วย ตัวมดลูก ปีกมดลูก ปากมดลูก ส่วนมดลูกคว่ำ หรือมดลูกคว่ำหน้านั้น ไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใด เกิดจากที่มดลูกนั้นเคลื่อนที่ได้อิสระ สามารถเคลื่อนที่ อยู่กลาง หรือคว่ำหลัง หรือคว่ำไปทางด้านหน้าได้เป็นปกติ ไม่เป็นอันตรายหรือทำให้มีลูกยากแต่อย่างใด แต่การเปลี่ยนทิศทางของการคว่ำมดลูก สามารถบอกโรคที่จะก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้เช่นกัน

 

ภาวะมดลูกคว่ำ เกิดจากอะไร

การที่มีมดลูกคว่ำหลังมักจะเกิดจาก โรค เช่น โรคติดเชื้ออุ้งเชิงกรานเฉียบพลัน โรคถุงน้ำช็อกโกแลตซีสต์ โรคพังผืดในอุ้งเชิงกราน จึงทำให้เกิดการมีพังผืดดึงรั้งตรงบริเวณด้านหลังของมดลูก ทำให้เกิดมีภาวะมดลูกคว่ำหลังได้

 

ในบางกรณีอาจจะทำให้มีการตีบของท่อนำไข่ ซึ่งอาจส่งผลให้มีบุตรยากได้ ผู้หญิงจะมีมดลูกคว่ำ ได้ประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีการเคลื่อนที่ได้อิสระ สามารถคว่ำหน้า คว่ำหลัง หรืออยู่ตรงกลางได้เป็นปกติ มดลูกนั้นจึงสามารถเอียงขยับได้หลายองศา

 

อาการมดลูกคว่ำ เป็นอย่างไร

มดลูกคว่ำ มักจะไม่มีอาการทางสุขภาพใด ๆ เพราะมดลูกคว่ำหน้า คว่ำหลัง สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติและเคลื่อนที่ได้แบบอิสระ แต่ในบางกรณีหากมดลูกคว่ำ หรือเอียงมาก ๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือรู้สึกปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ได้

 

มดลูกคว่ำ ทำให้คุณแม่มีลูกยากจริงไหม

มดลูกคว่ำ เป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ ไม่ส่งผลให้มีลูกยาก ถือว่าปลอดภัยไม่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ การคลอดลูกธรรมชาติ หรือการผ่าคลอด และสามารถรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ แต่การเปลี่ยนทิศทางการคว่ำของมดลูก สามารถบอกโรคที่อาจก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้

 

มดลูกคว่ำ ทำให้เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

 

มดลูกคว่ำ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

มดลูกคว่ำ ไม่มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ไม่ส่งผลให้มีลูกยาก แต่สามารถบอกโรคที่อาจก่อให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ เช่น

  1. โรคพังผืดในอุ้งเชิงกราน คือภาวะที่มีพังผืดขึ้นรอบ ๆ อวัยวะที่อยู่ในกระดูกเชิงกรานทั้งหมด ด้วยการสร้างเนื้อเยื่อใหม่เป็นเส้นใยเหนียว เพื่อเหนี่ยวรั้งอวัยวะต่าง ๆ ให้ติดกัน
  2. โรคช็อกโกแลตซีสต์ หรือ เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ ทำให้เลือดประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางหลอดมดลูก เข้าไปในช่องท้อง ฝังตัวที่รังไข่ จนเกิดเป็นถุงน้ำ
  3. โรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน คือ การอักเสบติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงในส่วนบน ภายในโพรงมดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ ทำให้เกิดถุงหนองที่ท่อนำไข่ รังไข่ และเนื้อเยื่อรอบ ๆ
  4. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือ การมีเซลล์คล้ายเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นที่อื่น นอกเหนือจากในโพรงมดลูก

 

คุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองมีภาวะมดลูกคว่ำ

โดยปกติแล้ว ภาวะมดลูกคว่ำ มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้ทราบ ไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด หากมดลูกคุณแม่ยังแข็งแรงอยู่ การตรวจภายในประจำปีกับสูตินรีแพทย์จึงเป็นวิธีที่ดี เพื่อจะได้ทำการตรวจเช็กสุขภาพโดยรวมของมดลูก

 

สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังจากภาวะมดลูกคว่ำ

ควรสังเกตตัวเองหากพบว่ามีความผิดปกติทางสุขภาพอย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด อย่างเช่น รู้สึกเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณอุ้งเชิงกราน อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในบางกรณีที่มีภาวะมดลูกคว่ำเอียงมาก ๆ ให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อลดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่จะตามมาได้

 

มดลูกคว่ำ แม้จะไม่ได้ส่งผลอันตรายหรือเป็นสาเหตุให้มีลูกยากแต่อย่างใด แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ หากพบว่า มดลูกคว่ำนั้นส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด หรือมีความผิดปกติทางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์ รับการตรวจและหาแนวทางการรักษา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. “เนื้องอก” กับ “มดลูก” อวัยวะสำคัญที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลพญาไท
  2. ภาวะ “มดลูกคว่ำ” สาเหตุมีลูกยาก ฝ่ายหญิง จริงหรือ!!!, โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
  3. Anteverted Uterus, Clevelandclinic
  4. มดลูกคว่ำ เสี่ยงมีลูกยาก ?, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
  5. พังผืดในอุ้งเชิงกราน อาการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน, โรงพยาบาลเพชรเวช
  6. 9 สัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  7. ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน, โรงพยาบาลขอนแก่น ราม
  8. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis), โรงพยาบาลวิภาวดี

อ้างอิง ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก