เด็กขาดธาตุเหล็ก เกิดจากอะไร อาการเด็กขาดธาตุเหล็กป้องกันได้

เด็กขาดธาตุเหล็ก เกิดจากอะไร อาการเด็กขาดธาตุเหล็กป้องกันได้

เด็กขาดธาตุเหล็ก เกิดจากอะไร อาการเด็กขาดธาตุเหล็กป้องกันได้

ธาตุเหล็ก มีความสำคัญต่อร่างกายในทุกช่วงวัย หากขาดไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ โดยเฉพาะ เด็กขาดธาตุเหล็ก ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง ทำให้ลูกมีอาการตัวซีด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น ตัวซีด มีความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการเจริญเติบโตของร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพให้ลูกทำได้ง่าย ๆ เพียงให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารสำคัญกว่า 200 ชนิด มีธาตุเหล็กที่ดูดซึมได้ง่ายและเพียงพอสำหรับช่วงแรกของชีวิต ช่วยป้องกันภาวะซีด มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น LPR ที่พบได้ในน้ำนมแม่ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกที่กำลังเติบโต

ธาตุเหล็ก สำคัญอย่างไร?

ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบในเซลล์เม็ดเลือด การที่เด็กขาดธาตุเหล็ก หรือมีภาวะที่ธาตุเหล็กในร่างกายไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการการทำงานในร่างกาย เช่น

  1. การสร้างเม็ดเลือดแดง
  2. การทำงานของเยื่อบุทางเดินอาหาร
  3. การทำงานของกล้ามเนื้อ
  4. การพัฒนาการของสมอง

สำหรับช่วงสำคัญของการพัฒนาสมอง คือ ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์จวบจนอายุ 2 ปี หากเด็กขาดธาตุเหล็กในช่วงวัยนี้ จึงอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้

จะรู้ได้ยังไงว่า เด็กขาดธาตุเหล็ก

หากเด็กขาดธาตุเหล็กไม่รุนแรง จะมักไม่แสดงอาการ แต่เด็กขาดธาตุเหล็กในรายที่รุนแรง มักจะมีอาการแสดงออกทางร่างกาย (3) เช่น

  • มีอาการซีด หรือพบภาวะซีด
  • อ่อนเพลีย
  • เฉื่อยชา สมาธิลดลง
  • ใจสั่น
  • ลักษณะเล็บผิดปกติ
  • ลิ้นเลี่ยน (glossitis) มีสีและลักษณะของลิ้นที่เปลี่ยนไป คือ ปุ่มบนผิวลิ้นหาย ทำให้ลิ้นเรียบผิดปกติ
  • ความอยากอาหารลดลง
  • มีพฤติกรรมการรับประทานที่ผิดปกติ เช่น ชอบกินน้ำแข็งมาก ๆ อยากกินแป้ง หรือข้าวดิบ

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก

เมื่อธาตุเหล็กที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยการทำงานของเอนไซน์หลายชนิด และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮีโมโกบินในเม็ดเลือดแดงมีไม่เพียงพอ อาจเกิดภาวะโลหิตจาง พบได้บ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี และในช่วงวัยรุ่น ซึ่งจะมีอาการผิวซีดไม่มีเลือดฝาด เฉื่อยชา เหนื่อยง่าย ที่สำคัญ สมาธิในการเรียนหนังสือลดลง ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สาเหตุที่ทำให้เด็กขาดธาตุเหล็ก

เหตุที่ทำให้เด็กขาดธาตุเหล็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจพบว่าเกิดตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์ จนถึงเรื่องโภชนาการของเด็กในวัยเจริญเติบโต เช่น

  • เกิดความเสี่ยงในช่วงปริกำเนิดของการตั้งครรภ์ ทำให้ทารกมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายลดลง เพราะธาตุเหล็กจะสะสมตั้งแต่ช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์ เป็นไปได้ว่าแม่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก ภาวะการคลอดก่อนกำหนด และภาวะครรภ์แฝดที่มีภาวะเลือดวิ่งถ่ายเทระหว่างทารกในครรภ์ (1)
  • เด็กขาดธาตุเหล็ก เพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงวัยทารก เด็กในวัยเรียน และช่วงวัยรุ่น ที่ร่างกายต้องการธาตุเหล็กที่มากขึ้น
  • โรคที่ส่งผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็กของลำไส้ เช่น โรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมในการดูดซึมธาตุเหล็ก ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบเรื้อรัง หรือมีการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นออก

การป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็ก

  1. ทารกควรกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะน้ำนมแม่มีธาตุเหล็ก และสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน
  2. เมื่อทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ควรเสริมอาหารตามวัย เพราะร้อยละ 90 ของธาตุเหล็กที่ทารกต้องการ จะได้จากอาหารเสริมตามวัย เช่น ตับ ไข่แดง และเนื้อสัตว์
  3. ทารกกลุ่มเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเสริมธาตุเหล็ก เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกน้ำหนักตัวน้อย
  4. เด็กวัย 6 เดือน – 2 ปี อาจมีการเสริมธาตุเหล็ก กรณีได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย
  5. ธาตุเหล็กจะดูดซึมได้ดี เมื่อมีวิตามินซี จึงควรเสริมอาหารที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก
  6. ดูแลสุขภาพของลูกให้แข็งแรง อยู่เสมอ เพื่อป้องกันโรค

การตรวจคัดกรองภาวะการขาดธาตุเหล็กในเด็ก

แพทย์สามารถตรวจคัดกรองภาวะการขาดธาตุเหล็กในเด็กช่างอายุ 6 เดือน – 2 ปี ที่คลินิกเด็กี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อดูค่าของเม็ดเลือดแดงจาก CBC โดยจะตรวจในช่วงอายุ 9 – 12 เดือน กรณีเด็กอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก อาจตรวจซ้ำเมื่ออายุ 15 – 18 เดือน (1)

ดื่มนมแม่ และรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยป้องกันภาวะซีด

เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของ Hemoglobin และ myoglobin อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสมอง หากทารกขาดธาตุเหล็ก อาจมีปัญหาด้านเชาวน์ปัญญา และสมาธิได้ แม้ว่าจะรักษาภาวะขาดธาตุเหล็กแล้วก็ตาม ดังนั้น การได้รับนมแม่อย่างเพียงพอในวัยทารกจึงสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในนมแม่มีธาตุเหล็ก 0.35 mg/L จึงมีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอสำหรับลูกในแต่ละวัน และธาตุเหล็กในน้ำนมแม่ยังดูดซึมได้เกือบ 50% (2)

  • ทารกใน 6 เดือนแรก ควรได้รับธาตุเหล็ก 27 mg ต่อวันจากนมแม่ ซึ่งรวมกับธาตุเหล็กสะสมจากการแตกตัวของฮีโมโกลบินหรือเหล็กจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง ก็ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอแล้ว
  • ทารกอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับธาตุเหล็ก 11 mg จากอาหารเสริมตามวัย

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยป้องกันภาวะซีด

  • อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อแดง ตับ เครื่องในสัตว์ เลือด ไข่แดง ส่วนผักใบเขียว เช่น ผักโขม บรอกโคลี ตำลึง และถั่วเมล็ดแห้ง
  • หากเทียบปริมาณธาตุเหล็กในอาหาร 100 กรัม ตับ มีธาตุเหล็ก 6-10 mg และเนื้อสัตว์อื่นมี ธาตุเหล็ก 1-3 mg ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • ไข่แดงมีปริมาณธาตุเหล็ก 9 mg ต่อไข่แดง 1 ฟอง แต่การดูดซึมไม่ดีเท่าเนื้อสัตว์
  • นอกจากอาหารที่มีธาตุเหล็กแล้ว ควรเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยในการดูดซึมของธาตุเหล็กจากผักและไข่แดง คือ อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี

อ้างอิง

  1. สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย | The Thai Society of Hematology (tsh.or.th)
  2. ธาตุเหล็กในนมแม่ ส่วนสำคัญพัฒนาสมอง - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (thaihealth.or.th)
  3. ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
  4. Lara-Villoslada F. et. al., Br J Nutr. 2007 Oct;98 Suppl 1:S96-100
  5. Floch MH. et. al., J Clin Gastroenterol. 2015 Nov-Dec;49 Suppl 1:S69-73

อ้างอิง ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2566

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร
บทความ
เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย พฤติกรรมก้าวร้าวของลูกน้อยอันตรายกับเด็กไหม เด็กก้าวร้าวกับพ่อแม่ เกิดจากสาเหตุอะไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกอารมณ์ร้าย

6นาที อ่าน

View details พัฒนาการเด็ก 10 เดือน เจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการทารก 10 เดือน อย่างไรบ้าง
บทความ
6 วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ ฉบับคุณแม่มือใหม่

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน เจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการทารก 10 เดือน อย่างไรบ้าง

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน ลูกมีพัฒนาการด้านร่างกายและสังคมอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็กทารก 10 เดือน ให้ลูกเรียนรู้ได้เร็ว พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย

11นาที อ่าน

View details น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย
บทความ
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงทารก น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็กตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสุขภาพที่ดีและพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

7นาที อ่าน

View details พัฒนาการด้านอารมณ์เด็กแต่ละช่วงวัย ที่คุณแม่ควรรู้
บทความ
พัฒนาการด้านอารมณ์เด็กแต่ละช่วงวัย ที่คุณแม่ควรรู้

พัฒนาการด้านอารมณ์เด็กแต่ละช่วงวัย ที่คุณแม่ควรรู้

พัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกในแต่ละช่วงวัย เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะส่งผลต่อการตัดสินใจ การเข้าสังคม การแสดงออกและการใช้ชีวิตประจำวันของลูก

9นาที อ่าน

View details 4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง
บทความ
4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก

4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง

อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการช้า ทั้งร่างกาย สมองและอารมณ์ ไปดูอาหารเสริมธาตุเหล็กที่สำคัญกับลูกน้อยกัน

5นาที อ่าน

View details เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร
บทความ
เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร

เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร

เด็กทารกเล่นน้ำลาย เกิดจากอะไร เด็กเล่นน้ำลายบ่อย ผิดปกติไหม จะมีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกชอบเล่นน้ำลาย

6นาที อ่าน

View details 10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย
บทความ
10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

รวมของเล่นฝึกสมาธิเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองและพัฒนาการทางร่างกายของลูก ให้ลูกมีพัฒนาการทางที่ดี ของเล่นฝึกสมาธิเด็กแบบไหน ที่เหมาะกับลูกน้อยบ้าง ไปดูกัน

7นาที อ่าน