เด็กสำลักน้ำคร่ำ เกิดจากอะไร ทารกกลืนน้ำคร่ำ อันตรายไหม

เด็กสำลักน้ำคร่ำ เกิดจากอะไร ทารกกลืนน้ำคร่ำ อันตรายไหม

เด็กสำลักน้ำคร่ำ เกิดจากอะไร ทารกกลืนน้ำคร่ำ อันตรายไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ย. 28, 2024
4นาที

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นและเปี่ยมไปด้วยความหวัง แต่คุณแม่หลายท่านก็อาจกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ หนึ่งในเรื่องที่มักเป็นที่สงสัยคือ ภาวะทารกกลืนน้ำคร่ำ จนเกิดข้อสงสัยว่า ทารกกลืนน้ำคร่ำอันตรายไหม เด็กสำลักน้ำคร่ำ เกิดจากอะไร และป้องกันได้หรือไม่ บทความนี้จะพาคุณแม่ไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ เพื่อให้ตลอดการตั้งครรภ์มีความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

สรุป

  • ทารกกลืนน้ำคร่ำอันตรายไหม หากทารกมีการสูดสำลักเอาน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเข้าไปในหลอดลมหรือปอด จะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เพราะจะทำให้ทารกหายใจลำบาก ทำให้เกิดลมรั่วในปอด จนทำให้ร่างกายของทารกเกิดขาดออกซิเจน
  • เด็กสำลักน้ำคร่ำ หนึ่งสาเหตุมาจากคุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ส่งผลให้มีเลือดออกในช่องคลอดจำนวนมาก ทำให้เลือดที่ส่งผ่านไปยังรกให้ทารกมีปริมาณน้อยลง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทารกกลืนน้ำคร่ำ อันตรายไหม โดยปกติขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์จะมีการกลืนน้ำคร่ำ และน้ำคร่ำจะช่วยให้ปอด และระบบทางเดินอาหารพัฒนาเจริญเติบโต แต่ถ้าในน้ำคร่ำมีขี้เทาปนอยู่ อาจทำให้ทารกสูดสำลักขี้เทาได้ ซึ่งอาจไม่มีอาการใดๆ จนกระทั่ง ส่งผลต่อชีวิตได้

 

เด็กสำลักน้ำคร่ำ คืออะไร

เด็กสำลักน้ำคร่ำ คือภาวะที่ทารกในครรภ์หรือขณะคลอด มีการสูดสำลักหรือหายใจเอาขี้เทา (meconium) ที่อยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในหลอดลมหรือปอด ทั้งนี้การที่เด็กสำลักน้ำคร่ำสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์คุณแม่ หรือไม่ก็อาจเกิดขึ้นขณะคลอด ทารกกลืนน้ำคร่ำอันตรายไหม ทารกที่มีการสูดสำลักเอาน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเข้าไปในหลอดลมหรือปอด อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เพราะจะทำให้ทารกหายใจลำบาก ขี้เทาที่หลุดเข้าไปในถุงลมปอด จะทำให้ถุงลมปอดเกิดการแฟบสลับกับโป่งพอง ทำให้เกิดลมรั่วในปอด จนทำให้ร่างกายของทารกเกิดขาดออกซิเจน

 

ทารกกลืนน้ำคร่ำ อันตรายไหม

เด็กสำลักน้ำคร่ำ หรือภาวะสูดสำลักขี้เทา เกิดจากทารกในครรภ์มีการถ่ายขี้เทาออกมาก่อนกำหนด โดยมักเกิดจาก เลือดที่ส่งไปเลี้ยงทารกไม่พอ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวของคุณแม่ที่แทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

1. อายุครรภ์มาก

คุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์ และมีอาการของรกเสื่อมสภาพ

2. ภาวะความดันโลหิตสูง

คุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อปริมาณเลือดที่ส่งผ่านไปยังรกให้ทารกน้อยลง

3. ภาวะรกเกาะต่ำ

คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ส่งผลให้มีเลือดออกในช่องคลอดจำนวนมาก ทำให้ปริมาณเลือดที่ส่งผ่านไปยังรกให้ทารกน้อยลง

4. ภาวะน้ำคร่ำน้อย

ทำให้ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวได้น้อยลง และเกิดภาวะสายสะดือถูกกด

5. ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ

มาจากการก่อนคลอดเกิดการรั่วของน้ำคร่ำนานกว่า 18 ชั่วโมง หรือในคุณแม่ที่มีประวัติใช้สารเสพติด ส่งผลให้มดลูกหดรัดตัว และทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนน้อยลง

 

อาการ ที่อาจ เกิดขึ้น หากเด็กสำลักน้ำคร่ำ

น้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารก มีหน้าที่สำคัญในการปกป้องทารกจากการกระทบกระเทือน ช่วยป้องกันทารกถูกกดทับจากสายสะดือ เป็นต้น แต่ถึงแม้ว่าน้ำคร่ำจะมีประโยชน์มากมาย แต่การที่ทารกกลืนน้ำคร่ำเข้าไปในปอด ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน เด็กสำลักน้ำคร่ำจะมีอาการที่อาจเกิดขึ้นในช่วงแรกเกิด ดังต่อไปนี้

1. หัวใจเต้น ผิดปกติ

อาจแสดงอาการผิดปกติช่วงระยะคลอด เช่น หัวใจเต้นช้าลง หรือเร็วขึ้น

2. ปอดอักเสบ

ทารกจะมีอาการเหมือนปอดอักเสบ ทำให้หายใจเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก

3. ตัวเขียว

6-12 ชั่วโมงหลังคลอด ทารกจะมีอาการตัวเขียว ตรงหน้าอกจะโป่งออก หายใจเร็ว และหายใจลำบาก

4. เลือดเป็นกรด

ใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ทารกมีการขาดออกซิเจน การหายใจล้มเหลว มีภาวะเลือดเป็นกรด และน้ำตาลในเลือดต่ำ กรณีนี้มักเกิดในรายที่มีอาการรุนแรงมาก

 

อาการที่อาจเกิดขึ้น หากเด็กสำลักน้ำคร่ำ

 

วิธีป้องกันภาวะเด็กสำลักน้ำคร่ำ

ถึงแม้จะไม่มีวิธีป้องกันภาวะเด็กสำลักน้ำคร่ำที่ชัดเจน แต่ในเบื้องต้นสามารถให้การดูแลทารกในครรภ์ ที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลุ่มอาการสำลักขี้เทาในระยะก่อนคลอด ได้ดังนี้

1. เฝ้าระวังภาวะครรภ์เสี่ยง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะขี้เทาในน้ำคร่ำ จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เช่น อายุครรภ์เกินกำหนดและทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์

2. เฝ้าดูแลสุขภาพทารกในครรภ์

ตลอดอายุครรภ์ จะมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพทารกในครรภ์อยางใกล้ชิด ด้วยการติดตามอัตราการเต้นหัวใจของทารก

 

การสำลักน้ำคร่ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ วิธีป้องกันเพื่อช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดภาวะเด็กสำลักน้ำคร่ำ แนะนำให้คุณแม่เมื่อทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ สิ่งที่ต้องทำอย่างเร็วที่สุดคือการไปพบสูติแพทย์ เพื่อรับการตรวจครรภ์สุขภาพครรภ์พร้อมกับฝากครรภ์ และมาตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ตามที่แพทย์นัดตลอดอายุการตั้งครรภ์ 9 เดือน นอกจากนี้ระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด และรับประทานอาหารสำหรับแม่ท้องที่มีประโยชน์ เพื่อให้ทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid), คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. ภาวะสูดสำลักขี้เทาในเด็กแรกเกิด ตอนที่ 1, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะกลุ่มอาการสำลักขี้เทา, โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหา
  4. การพยาบาลทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทา, โรงพยาบาลสิรินธน สำนักการแพทย์
  5. ภาวะสูดสำลักขี้เทาในเด็กแรกเกิด ตอนที่ 2, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 22 กันยายน 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง
บทความ
อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอะไรให้ลูกแข็งแรงและมีโภชนาการที่ดี อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 มีเมนูไหนเหมาะกับคุณแม่ท้องบ้าง ไปดูกัน

 

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2567 วันมงคล เวลาดี
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2567 วันมงคล เวลาดี

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2567 วันมงคล เวลาดี

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด กุมภาพันธ์ 2567 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

4นาที อ่าน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 วันมงคล เวลาดี
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 วันมงคล เวลาดี

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 วันมงคล เวลาดี

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2567 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

4นาที อ่าน

View details เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ
บทความ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

5นาที อ่าน

View details ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร
บทความ
ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึก ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ เกิดจากอะไร ลูกในท้องสะอึกบ่อยจะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่ วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกในครรภ์หยุดสะอึก

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว
บทความ
ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์ คืออะไร ที่ตรวจครรภ์ เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการเช็กว่าท้องหรือยัง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ใช้งานง่าย พร้อมวิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

9นาที อ่าน

View details อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย
บทความ
อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง แต่ไม่มีสักที อาการแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณแม่มือใหม่อยากมีลูก อยากท้อง ต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้มีลูกง่ายขึ้น ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง
บทความ
อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

การอยู่ไฟหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหม การอยู่ไฟ มีประโยชน์กับคุณแม่อย่างไร ไปดูวิธีเตรียมตัวเมื่อคุณแม่ต้องอยู่ไฟหลังคลอดกัน

6นาที อ่าน

View details มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม
บทความ
มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันธ์หลังเป็นประจำเดือน 1 วันจะท้องไหม มีเพศสัมพันธ์หลังมีเมนกี่วันถึงท้อง มาทำความเข้าใจเรื่องวงจรการตกไข่ เพื่อประเมินว่ามีเกณฑ์ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย
บทความ
คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้องท่าไหน ปลอดภัยที่สุด

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน และ ท่านอนคนท้อง 8-9 เดือน แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ท้อง ไปดูท่านอนคนท้องที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่กัน

2นาที อ่าน

View details อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน
บทความ
อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงมีความคล้ายกันและมักแยกกันไม่ออก ไปดูความแตกต่างอาการก่อนเมนส์มากับท้อง เพื่อสังเกตอาการเบื้องต้น

7นาที อ่าน

View details เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง
บทความ
เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง

เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง

เข็มกลัดคนท้องสำคัญแค่ไหนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ติดเข็มกลัดคนท้องช่วยป้องกันลูกน้อยจากสิ่งชั่วร้ายได้จริงไหม ไปดูประโยชน์ของเข็มกลัดคนท้องที่คุณแม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว
บทความ
วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม คุณแม่สังเกตได้อย่างไร สัญญาณอะไรที่บอกว่าลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลงอันตรายและอาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

8นาที อ่าน