จุกหลอก ดีกับลูกน้อยจริงไหม จุกนมหลอก ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
เม.ย. 2, 2024
7นาที

จุกหลอก หรือจุกนมหลอก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังลังเลจุกหลอก จำเป็นไหม มีประโยชน์และปลอดภัยกับลูกน้อยหรือมีข้อดีข้อเสียอย่างไร หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจก่อนใช้ก็สามารถเลือกได้ว่าจะใช้จุกนมหลอกให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อลูกน้อยได้อย่างไร

 

สรุป

  • หากคุณแม่จำเป็นต้องใช้จุกหลอก ควรเริ่มใช้ได้หลังลูกอายุ 3-4 สัปดาห์ หลังลูกคุ้นเคยจากการดูดนมแม่แล้ว
  • คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ทารกใช้จุกหลอกจนเกินอายุ 6 เดือนหรือไม่ควรให้เด็กที่อายุเกิน 4 ปีใช้จุกนมหลอก เพราะจะทำให้ลูกติดจุกหลอกจนไม่ยอมเข้าเต้ากินนมแม่และเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
  • การใช้จุกหลอกอาจจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับทารกในการดูด แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่การตัดสินใจให้ลูกได้ใช้จุกนมหลอกนั้นอาจเป็นเรื่องที่ต้องชั่งใจ เพราะในช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 6 เดือนนั้นการให้ลูกได้ดูดนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

จุกนมหลอก สามารถนำมาเป็นตัวช่วยเพื่อป้องกันการดูดนิ้วหรือการหยิบจับสิ่งของใกล้มือมาเข้าปากในเวลาที่คุณแม่ไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ ลูกน้อย แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังลังเล จุกหลอก จำเป็นมั้ย ใช้อย่างไรจะไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อลูกน้อย พิจารณาก่อนเลือกใช้ว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ

 

จุกหลอก จุกนมหลอก มีเพื่อทำอะไร

จุกหลอกหรือจุกนมหลอก เป็นวัสดุที่ผลิตจากยางหรือซิลิโคน มีหลายขนาดให้คุณแม่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับอายุของลูก การใช้จุกหลอกนั้นควรเริ่มให้ลูกใช้หลังอายุ 3-4 สัปดาห์ มีส่วนช่วยเพื่อป้องกันลูกดูดนิ้ว ซึ่งอาจเป็นพฤติกรรมที่ลูกน้อยติดตัวมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ตั้งแต่อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ และในช่วงวัยทารกได้ อีกทั้งพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยนี้จะเริ่มไขว่คว้าจับสิ่งของใกล้ตัวมาเข้าปาก

 

การใช้จุกหลอกจึงเป็นตัวช่วยเพื่อป้องกันสิ่งของที่ลูกอาจนำเข้าปากที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยได้ ทั้งนี้หัวจุกหลอกจะคล้ายกับหัวนมของคุณแม่เวลาที่ทารกดูดจุกนมหลอกจึงทำให้ลูกน้อยรู้สึกคุ้นเคย อุ่นใจ รู้สึกสงบและผ่อนคลาย จึงช่วยทำให้ลูกน้อยลดอาการงอแง หยุดร้องไห้ และหลับได้ง่ายขึ้น

 

จุกหลอกที่ดีกับลูกน้อย ควรเป็นแบบไหน

หากคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องใช้จุกนมหลอก สิ่งที่คำนึงเป็นอันดับต้น ๆ คือการเลือกใช้จุกหลอกที่ปลอดภัยจากสาร BPA ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายหากเข้าสู่ร่างกายก็จะส่งผลอันตรายต่อทารกได้ และสังเกตจุกหลอกควรจะมีรูระบายอากาศเพื่อให้อากาศผ่านขณะดูดและลดการสะสมเชื้อโรค ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสายจุกหลอก เพราะอาจทำให้สายไปพันคอเด็กเกิดอันตรายโดยไม่รู้ตัวได้ หรือหากเป็นไปได้การหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอกกับลูกน้อย ก็จะส่งผลดีต่อพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวัยช่วงแรกเกิดได้

 

จุกนมหลอก มีข้อดีอะไรบ้าง

การใช้จุกหลอกควรเริ่มใช้ได้หลังลูกอายุ 3-4 สัปดาห์ หลังลูกคุ้นเคยจากการดูดนมแม่แล้ว หากคุณแม่จำเป็นต้องใช้จุกหลอก อาจมีประโยชน์ต่อลูกน้อย

 

1. ช่วยทำให้ลูกอารมณ์ดี รู้สึกสงบและผ่อนคลาย

การดูดถือเป็นสัญชาตญาณหนึ่งของทารก การใช้จุกหลอกให้ลูกดูดก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้เจ้าตัวน้อยอารมณ์ดีได้ ทำให้ลูกได้ฝึกควบคุมอารมณ์ในช่วงเวลาที่กำลังงอแงลงได้

 

2. ช่วยทำให้ลูกนอนหลับได้ง่ายและนานขึ้น

การใช้จุกหลอกสำหรับลูกน้อยที่มีปัญหาในการนอนจะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายทำให้นอนหลับได้นานขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการนอนหลับเวลากลางคืน เมื่อลูกน้อยหลับสนิทร่างกายและสมองได้พักผ่อนเต็มที่ ร่างกายจะมีการผลิตโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ขึ้นมา ซึ่งมีส่วนช่วยให้ร่างกายได้เจริญเติบโตสมวัย สร้างภูมิต้านทาน และพัฒนาการด้านสมอง รวมถึงช่วยกระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ให้แข็งแรง

 

3. เป็นตัวช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ

ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยไปหาหมอตามนัดเพื่อทำการตรวจหรือฉีดวัคซีน หรือการพาไปเที่ยวเปลี่ยนสถานที่ใหม่ ๆ ในบรรยากาศที่ไม่คุ้นเคย อาจทำให้เจ้าตัวน้อยร้องงอแง การใช้จุกนมหลอกสามารถเป็นตัวช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของเจ้าตัวน้อยได้ จะทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายลดความกังวลลง รวมถึงสามารถใช้จุกหลอกในขณะที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยขึ้นเครื่อง นอกจากจะทำให้ลูกรู้สึกสงบผ่อนคลาย ในขณะที่เครื่องกำลังขึ้นการใช้จุกนมหลอกยังช่วยปรับระดับความดันภายในหู ลดอาการหูอื้อระหว่างที่เครื่องกำลังขึ้นได้

 

4. ช่วยป้องกันลูกน้อยหยิบของเข้าปาก

ในช่วงพัฒนาการ 4-6 เดือนของเจ้าตัวน้อยเริ่มที่จะใช้มือไขว่คว้า หรือเอื้อมหยิบจับและคว้าสิ่งของมือเดียวได้แล้ว ของที่วางอยู่ใกล้ตัวลูกอาจจะนำมาเข้าปาก สิ่งของที่ลูกจับอาจจะสกปรกและมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค ทำให้ลูกน้อยได้รับเชื้อโรคและอาจเกิดการเจ็บป่วยไม่สบายได้

 

5. ช่วยป้องกันลูกดูดนิ้วไม่อยากให้ติดเป็นนิสัย

สำหรับทารกและเด็กเล็กนั้น การดูดนิ้วถือเป็นพัฒนาการตามวัยโดยธรรมชาติของทารก ซึ่งทารกบางคนอาจดูดนิ้วมาตั้งแต่ในท้องแม่ที่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย การดูดนิ้วจึงถือว่าเป็นพฤติกรรมปกติของทารกแรกเกิดจนถึง 2 ขวบ และจะหยุดดูดนิ้วได้เองภายใน 2-4 ขวบ แต่หากลูกติดดูดนิ้วเป็นเวลานานก็จะส่งผลเสียต่อรูปฟัน การให้ลูกใช้จุกหลอกนั้นอาจช่วยป้องกันลูกดูดนิ้วและสอนลูกให้เลิกใช้จุกง่ายกว่า แต่หากปล่อยให้ลูกใช้จุกนมหลอกเป็นเวลานานก็อาจส่งผลเสียได้เหมือนกับการดูดนิ้วเช่นกัน

 

6. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในทารก หรือ SIDS

โดยทั่วไปอาจเกิดขึ้นได้กับทารกตั้งแต่วัย 1 เดือนถึง 1 ขวบ และเกิดขึ้นกับทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนประมาณร้อยละ 90 ซึ่งจะพบว่าทารกจะมีอาการหยุดหายใจขณะหลับและไม่ตื่นขึ้นมาหายใจอีก สาเหตุอาจเกิดได้หลายปัจจัย เช่น การให้ทารกนอนคว่ำ เกิดจากการกดทับขณะนอนร่วมกับพ่อแม่บนที่นอนเดียวกัน หรืออาจมีวัตถุสิ่งของหรือผ้าไปอุดทางเดินหายใจขณะนอนหลับ จนทำให้ลูกหายใจไม่ออก เป็นต้น

 

การใช้จุกนมหลอกให้ลูกดูดในขณะที่นอนหลับจะมีส่วนช่วยให้ทารกหายใจได้สม่ำเสมอ นอนหลับสบายขึ้น นอกจากนี้ควรให้ทารกนอนท่าหงายหรือนอนตะแคงเพื่อให้ลูกน้อยหายใจได้สะดวกสบายกว่าท่านอนคว่ำ เบาะหรือที่นอนของลูกน้อยควรแข็งแรงไม่อ่อนยวบ ไม่วางตุ๊กตาหรือของเล่นบนที่นอนใกล้ตัวลูก ไม่ใช้ผ้าห่มหนา ๆ ห่มตัว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจระหว่างหลับของลูกน้อยและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค SIDS

 

รวมข้อเสียของจุกนมหลอก

การใช้จุกหลอกอาจจะมีประโยชน์สำหรับคุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องให้ลูกน้อยใช้จุกนมหลอก แต่ในขณะเดียวกันหากใช้จุกหลอกกับลูกน้อยนานเกินไป ก็อาจพบข้อเสียได้ เช่น

 

ติดจุกนมหลอกไม่เข้าเต้า

หนึ่งในปัญหาลูกไม่เอาเต้า คือการที่คุณแม่ให้ลูกใช้จุกหลอกเร็วเกินไป ทำให้ลูกน้อยเกิดภาวะสับสนหัวนม คือการสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดจุกนมหลอก ที่มีวิธีการดูดแตกต่างกัน โดยการดูดนมแม่นั้นทารกจะต้องใช้ลิ้นและขยับกรามเพื่อออกแรงดูดน้ำนมจากเต้าแม่ แต่การดูดจุกนมนั้นง่ายและทำให้ลูกปฏิเสธนมแม่ หันไปติดจุกหลอกหรือติดการดูดนมจากขวดมากกว่า หากคุณแม่จำเป็นต้องใช้จุกนมหลอกควรเริ่มหลังจากให้ลูกน้อยดูดเต้าไปก่อนอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์

 

ติดจุกหลอกจนฟันผิดรูป

หากปล่อยให้ลูกใช้จุกหลอกนานเกินไปหรือใช้จนถึงช่วงที่ลูกฟันขึ้น อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป อาจทำให้เกิดปัญหาในช่องปากตามมาได้ เช่น ส่งผลเสียต่อการเรียงตัวของฟัน ทำให้ฟันน้ำนมขึ้นผิดรูป ฟันหน้าบนและล่างไม่สบกันทำให้ใช้ฟันกัดเพื่อตัดอาหารไม่สะดวก ฟันเหยิน เป็นต้น

 

ติดจุกหลอกจนงอแง

ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่ใช้จุกนมหลอกเพื่อลดอาการงอแงของลูกน้อย และทำให้ลูกหลับได้นานขึ้น แต่หากลูกติดจุกหลอกมากเกินไป เมื่อไม่ได้ดูดหรือจุกนมหลอกหลุดออกจากปาก ก็อาจทำให้เจ้าตัวน้อยเกิดอาการงอแงส่งเสียงรบกวนได้โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน

 

ติดจุกหลอกเสี่ยงติดเชื้อ

การใช้จุกนมหลอกสำหรับลูกน้อยหากไม่ทำความสะอาดอย่างเหมาะสม หรือขณะลูกดูดจุกหลอกแล้วหล่นใส่พื้น หยิบขึ้นมาเข้าปากก่อนทำความสะอาด จุกนมหลอกจึงกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคส่งผลให้ลูกน้อยมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้โดยให้ลูกน้อยฝึกเลิกใช้จุกนมหลอกได้ตั้งแต่อายุไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปีขึ้นไป

 

จุกหลอก เช็กข้อดีและข้อเสียก่อนใช้ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

 

ควรให้ลูกเริ่มใช้จุกหลอกตอนไหนดี

หากคุณพ่อคุณแม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกน้อยใช้จุกหลอก ควรให้ลูกเริ่มใช้หลังจากลูกคุ้นเคยกับการดูดนมจากเต้าแม่ก่อน หรือในช่วง 1 เดือนแรกหลังคลอดเพื่อไม่ให้ลูกเกิดภาวะสับสนหัวนมและติดจุกจนไม่ยอมเข้าเต้ากินนมแม่ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ทารกใช้จุกหลอกจนเกินอายุ 6 เดือนหรือไม่ควรให้เด็กที่อายุเกิน 4 ปีใช้จุกนมหลอก เพราะอาจทำให้ลูกติดจุกหลอกจนทำให้ส่งผลเสียต่อรูปฟันผิดลักษณะได้

 

วิธีใช้จุกหลอกที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อลูกน้อย

หากคุณแม่จำเป็นต้องใช้จุกหลอกกับลูกน้อย ควรพิจารณาว่าใช้อย่างไรจะปลอดภัยต่อลูกน้อย โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น

  1. ไม่ควรใช้จุกหลอกร่วมกับเด็กคนอื่น การสลับจุกนมหลอกกันใช้หรือการให้ลูกใช้จุกนมหลอกของเด็กคนอื่นจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อโรคร่วมกันได้ง่าย
  2. ควรเปลี่ยนจุกหลอกอันใหม่ทุกเดือน เพื่อความสะอาดและมีอนามัยที่ดีต่อลูกน้อย
  3. ควรเลือกจุกหลอกที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย และเลือกขนาดของจุกหลอกให้เหมาะกับปากของลูกน้อยเพื่อให้ลูกน้อยได้ดูดอย่างกระชับพอดี ไม่เล็กหรือมีขนาดใหญ่เกินไป
  4. หมั่นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อจุกหลอกสม่ำเสมอ ทำความสะอาดจุกนมหลอกด้วยการใช้สบู่สำหรับล้างผลิตภัณฑ์เด็กอ่อนและใช้น้ำร้อนล้างเพื่อฆ่าเชื้อโรค

 

ควรให้ลูกเลิกใช้จุกนมหลอกเมื่อไหร่

หากเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ควรให้เจ้าตัวน้อยฝึกเลิกการดูดจุกหลอกตั้งแต่หลังอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปเด็กส่วนใหญ่ในวัย 2-4 ปี ก็จะเลิกการดูดจุกไปเอง แต่หากลูกมีอาการติดจุกหลอกไม่ยอมเลิก คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำและหาแนวทางรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

เคล็ดลับให้ลูกเลิกใช้จุกนมหลอกแบบง่าย ๆ

การดูดจุกหลอกอาจจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกพอใจและผ่อนคลาย แต่เมื่อถึงเวลาคุณพ่อคุณแม่ควรหยุดการใช้จุกหลอก เพื่อป้องกันการติดจุกที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาภายในช่องปากและพัฒนาการของลูกตามมาได้ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้เลิกการใช้จุกหลอกตั้งแต่อายุยังน้อยหรือหลัง 6 เดือน โดยวิธีเลิกใช้จุกหลอกกับลูกแบบง่าย ๆ เช่น

  • ใช้ของเล่นเบี่ยงเบนความสนใจ พัฒนาการของเด็กช่วงวัย 4-6 เดือน สามารถใช้มือคว้าจับสิ่งของได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจหาของเล่นมาให้ลูกใช้มือจับแทนจุกนมหลอก อาจเป็นของเล่นเสริมทักษะที่ช่วยเสริมพัฒนาการตามวัยและทำให้เจ้าตัวน้อยสนุกจนลืมสนใจจุกหลอกลงได้
  • ใช้วิธีเล่านิทานให้ลูกฟัง คุณพ่อคุณแม่อาจจะแต่งนิทานโดยใช้จินตนาการจากโครงเรื่องที่คุ้นเคยมาเล่าเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความต้องการดูดจุกหลอก
  • ตัดปลายจุกหลอกทีละน้อย วิธีนี้เป็นการค่อย ๆ ลดจำนวนการใช้จุกหลอกลง โดยทุกครั้งที่ลูกงอแงอยากดูดจุกหลอก คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ ตัดปลายจุกหลอกทีละนิด เพื่อให้ลูกค่อย ๆ รู้สึกว่าการดูดจุกหลอกไม่ดีเหมือนเดิม ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนลดจำนวนจุกนมหลอกลง จนลูกไม่รู้สึกต้องการดูดจุกหลอกอีกต่อไป วิธีแบบค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยให้ลูกได้ปรับอารมณ์และจิตใจต่อการเลิกใช้จุกหลอกลงได้อย่างนุ่มนวล
  • ให้ลูกได้กินนมจากเต้าแทนการดูดจุกหลอก ทุกครั้งที่ลูกมีอาการงอแงร้องไห้ต้องการจะดูดจุกหลอก หากคุณแม่ต้องการให้ลูกเลิกใช้จุกนมหลอก การให้ลูกเข้าเต้าดูดนมคุณแม่แทนจะช่วยให้ทารกรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ในอ้อมกอดและหยุดงอแงลงได้ ทั้งนี้คุณแม่ควรใจแข็ง ไม่ให้ลูกกลับไปใช้จุกหลอกอีกครั้ง เพราะการเลิกครั้งต่อไปอาจจะยากขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้

 

ถึงแม้ว่าการใช้จุกหลอกอาจจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับทารกในการดูด แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่การตัดสินใจให้ลูกได้ใช้จุกนมหลอกนั้นอาจเป็นเรื่องที่ต้องชั่งใจ เพราะในช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 6 เดือนนั้น การให้ลูกได้ดูดนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย การให้ลูกน้อยได้กินนมจากเต้าคุณแม่นั้นทำให้ลูกน้อยได้รับความอบอุ่นและเกิดผลดีทางด้านจิตใจ ทำให้ลูกอารมณ์ดี และยังส่งผลดีต่อสุขภาพ สร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้ลูกน้อยเฉลียวฉลาด เรียนรู้ไว เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและสมองมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน เป็นต้น หากจำเป็นที่จะต้องใช้จุกหลอกกับเจ้าตัวน้อยก็อย่าปล่อยให้ลูกใช้นานเกินไปนะคะ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. จุกหลอก ดีต่อลูกน้อยหรือไม่, พบแพทย์
  2. การดูดนิ้ว (Thumb-sucking), กรมสุขภาพจิต สถาบันราชานุกูล
  3. จุกหลอก ข้อดี ข้อเสียในการใช้งานที่ควรรู้, hellokhunmor
  4. ลูกนอนดึก มีความเสี่ยง ความสูงไม่ถึงเกณฑ์ และพัฒนาการไม่ตามวัย, โรงพยาบาลบางปะกอก
  5. เช็กพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวัยแรกเกิด, โรงพยาบาลนนทเวช
  6. ลูกชอบดูดนิ้วทำอย่างไรดี, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  7. โรคไหลตายในทารก!! ภัยเงียบที่ไม่เคยมองข้าม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. 8 วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  9. เลิกจุกนมหลอกให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร, hellokhunmor
  10. สารพัดข้อดีของนมแม่, โรงพยาบาลเปาโล
  11. เด็กเอาของเข้าปาก ความเสี่ยงต่อสุขภาพ และวิธีรับมือที่ควรรู้, hellokhunmor

อ้างอิง ณ วันที่ 25 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน

View details ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง
บทความ
ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ ท่าไหนที่คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการปวดเมื่อยไม่สบายตัว

5นาที อ่าน

View details วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม
บทความ
วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

ไขข้อข้องใจ พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน ลักษณะท้องของคนท้องกับคนทั่วไปต่างกันยังไง มีวิธีสังเกตยังไง ไปดูลักษณะท้องของคนท้องและพุงคนท้องกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย
บทความ
คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม หลั่งในตอนท้องอันตรายไหมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องบ้าง

7นาที อ่าน

View details ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม
บทความ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

รู้จักกับอาการครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวัง พร้อมวิธีดูแลครรภ์ให้ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

4นาที อ่าน

View details คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง
บทความ
คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร หากคนท้องปวดหลังบ่อย จะเป็นอันตรายกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ไหม ไปดูวิธีลดอาการปวดหลังของคุณแม่ พร้อมวิธีดูแลตัวเองกัน

7นาที อ่าน

View details ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
บทความ
ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหนเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำหรับคนอยากมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติ การนับวันตกไข่ช่วยให้คุณแม่มีลูกได้ง่ายขึ้นจริงไหม ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี
บทความ
คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยและมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไรบ้าง

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินแตงโมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินแตงโมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินแตงโมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินแตงโมได้ไหม ในแตงโมมีสารอาหารอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์กับร่างกายของคุณแม่และลูกในครรภ์ ต้องกินเท่าไหร่ถึงพอดี ไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่กินสับปะรดมากเกินไปเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกในท้อง พร้อมวิธีดูแลครรภ์แม่ท้อง

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม หากกินมากเกินจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ไหม

7นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า
บทความ
ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

5นาที อ่าน

View details อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี
บทความ
อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน