หัวนมแตก อาการเจ็บหัวนมดูแลอย่างไร คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม

หัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมเมื่อต้องให้นมลูก

03.02.2024

เจ็บหัวนม หัวนมแตก เป็นอาการที่พบได้บ่อยในช่วงแรกของการให้นมลูก เนื่องจากคุณแม่ยังเป็นมือใหม่ในการอุ้มลูกเข้าเต้า และตัวลูกน้อยเองก็ยังไม่คุ้นเคยกับการดูดเต้า จึงต้องค่อย ๆ ปรับตัว ใช้เวลาเรียนรู้กันไปทั้งสองฝ่าย หัวนมแตก เกิดจากสาเหตุใด หัวนมแตกยังให้นมลูกได้ไหม คุณแม่จะมีวิธีดูแลหัวนมแตก บรรเทาอาการเจ็บหัวนมได้อย่างไร และเจ็บหัวนมแบบไหน ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์ บทความนี้มีคำตอบ

headphones

PLAYING: หัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมเมื่อต้องให้นมลูก

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ปัญหาหัวนมแตก มักเกิดในช่วงแรกของการให้นม ส่วนใหญ่เกิดจากท่าให้นมที่ไม่ถูกต้องและลูกยังดูดนมไม่ถูกวิธี อมไม่ลึกถึงลานนม ทำให้คุณแม่เจ็บหัวนม และหัวนมแตกเป็นแผล
  • คุณแม่ที่หัวนมแตกยังสามารถให้นมลูกได้ ไม่ควรงดให้ลูกดูดนม ลูกอาจดูดกลืนน้ำนมที่มีเลือดปนเข้าไปได้ และทำให้อุจจาระมีเลือดปน แต่ไม่เป็นอันตราย แต่หากคุณแม่มีอาการเจ็บมาก ให้พักเต้านม 1-2 วันและใช้การปั๊มนมแทน
  • น้ำนมแม่มีสารต้านการอักเสบ ควรบีบน้ำนมออกมาทาบริเวณหัวนมทุกครั้งหลังให้นม อาจช่วยให้แผลหายได้ เนื่องจากหัวนมแตก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยบางกรณีคุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่บางกรณีอาจมีภาวะบางอย่างที่ต้องให้แพทย์รักษา

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่เจ็บหัวนม หัวนมแตก

  1. ท่าให้นมไม่ถูกต้อง ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี สาเหตุนี้มักเกิดในช่วงแรกของการให้นม เนื่องจากคุณแม่ยังไม่ชำนาญในการจัดท่าทางที่ถูกต้อง ทำให้ลูกน้อยดูดนมไม่ถูกวิธี อมแค่บริเวณหัวนม ซึ่งตื้นเกินไป ทำให้คุณแม่เจ็บหัวนม และหัวนมแตกได้ง่าย การอมที่ถูกวิธี ต้องอมให้ลึกถึงลานนม
  2. ภาวะติดเชื้อที่หัวนม เกิดจากในปากลูกน้อยมีเชื้อรา และเมื่อดูดนม แม่จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่หัวนม ทำให้มีอาการคัน หรือเจ็บหัวนม สังเกตเห็นหัวนมแดงและเงาผิดปติ รวมถึงอาการเจ็บจี๊ด ๆ เวลาให้นมลูก
  3. ปั๊มนมไม่ถูกวิธี ในช่วงที่คุณแม่ปั๊มนมเพื่อระบายน้ำนมจากเต้านม และเพื่อทำสต็อกนมแม่ อาจใส่อุปกรณ์ปั๊มนมผิดวิธี เช่น ปั๊มนมเร็วเกินไป หรือแรงเกินไป หรือหัวปั๊มเล็กเกินไป ก็ทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตกเป็นแผลได้
  4. ผิวหนังอักเสบบริเวณหัวนม หากคุณแม่เกิดการอักเสบที่ผิวหนังบริเวณหัวนม ผิวหนังตกสะเก็ด เป็นผื่นแดง คัน เหล่านี้เป็นสาเหตุของอาการเจ็บหัวนม ซึ่งต้องดูแลรักษาให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลให้หัวนมแตกตามมาได้
  5. ภาวะพังผืดใต้ลิ้น เป็นภาวะผิดปกติของทารกตั้งแต่แรกเกิด มักเป็นกรรมพันธุ์แต่กำเนิด โดยลักษณะจะมีพังผืดใต้ลิ้นเชื่อมระหว่างลิ้นกับพื้นล่างของปากมากเกินไป ทำให้ลูกน้อยไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นมาอยู่ในท่าทางการดูดนมที่ถูกต้องได้ จึงทำให้คุณแม่หัวนมแตกเป็นแผล

 

เจ็บหัวนม หัวนมแตก คุณแม่ยังให้นมลูกได้หรือไม่

 

เจ็บหัวนม หัวนมแตก คุณแม่ยังให้นมลูกได้หรือไม่

คุณแม่ที่หัวนมแตก จะมีอาการเจ็บเต้านมมากขึ้นเมื่อให้ลูกดูดนม หากคุณแม่ยังทนไหวสามารถให้นมลูกต่อไปได้ เมื่อคุณแม่หัวนมแตกมีเลือดปน ลูกน้อยอาจกลืนนมที่มีเลือดปนเข้าไป และทำให้อุจจาระมีเลือดปนได้ ซึ่งกรณีนี้ไม่เป็นอันตรายคุณแม่ไม่ต้องกังวล อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเจ็บมาก ควรหยุดให้นมสักระยะ เปลี่ยนมาเป็นการปั๊มนมแทนไปก่อนจนกว่าจะหาย

 

วิธีดูแลหัวนมแตก ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนม

คำแนะนำ วิธีดูแลหัวนมแตก เพื่อช่วยคุณแม่บรรเทาอาการเจ็บหัวนม คุณแม่ควรปรับวิธีการอุ้มลูกเข้าเต้าให้ถูกท่า ให้ลูกดูดเต้าอย่างถูกวิธี และดูแลหัวนมอย่างถูกต้อง ดังนี้

  1. งดใช้สบู่หรือโลชั่นทาบริเวณหัวนม การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือแอลกอฮอล์จะยิ่งทำให้ระคายเคือง หัวนมแห้งและแตกมากขึ้น
  2. อาบน้ำ หรือทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำอุ่น บีบน้ำนม 2-3 หยด ออกมาทาหัวนมทุกครั้งหลังให้นม น้ำนมแม่มีสารต้านการอักเสบ ช่วยให้แผลหัวนมแตกหายไว โดยไม่ต้องใช้ยาใด ๆ
  3. ให้นมลูกถูกท่า กอดลูกแนบตัว สลับท่าอุ้มในท่าที่คุณแม่รู้สึกสบาย เช่น ท่าอุ้มฟุตบอล ท่าอุ้มบนตัก ท่านอน การเปลี่ยนท่ายังช่วยให้ลูกไม่ดูดตรงรอยแผลเดิมด้วย
  4. ให้ลูกอ้าปากกว้าง ๆ อมให้ลึกถึงลานนม ไม่ใช่ดูดแค่หัวนม และให้คางของลูกน้อยแบบอยู่กับส่วนล่างของเต้านม จะช่วยให้ลูกดูดได้ดีขึ้น คุณแม่เจ็บน้อยลง
  5. หากลานนมตึงแข็ง ให้บีบน้ำนมออก เพื่อให้ลานนมนุ่มลงก่อน จะช่วยให้ลูกอมถึงลานนมได้ง่ายขึ้น
  6. ถอนหัวนมออกจากปากลูกให้ถูกวิธี ด้วยการใช้นิ้วมือสอดเข้าไปที่มุมปากของลูกน้อย เพื่อลดแรงดูดของลูก จะสามารถถอนหัวนมออกมาได้แบบไม่เจ็บ
  7. ให้ลูกดูดนมข้างที่ไม่เจ็บก่อนเสมอ เนื่องจากเมื่อลูกเริ่มดูดนมในแต่ละครั้ง ลูกจะดูดแรงทำให้ยิ่งเจ็บและเป็นแผลมากขึ้น
  8. สำหรับข้างที่เจ็บจนทนไม่ไหว ให้พักเต้า 1-2 วัน โดยให้ปั๊มนม หรือบีบน้ำนมออกทุก ๆ 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการคัดเต้านม
  9. หากเจ็บทั้งสองข้าง ควรปั๊มนมให้ลูกไปก่อน จนกว่าอาการเจ็บจะบรรเทาลง

 

วิธีดูแลหัวนมแตก ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนม

 

เจ็บหัวนมแบบไหนเสี่ยงติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์

หากคุณแม่พยายามบรรเทาอาการเจ็บหัวนมด้วยตัวเองแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือเจ็บหัวนมอย่างรุนแรง ควรไปปรึกษาแพทย์ และเมื่อมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  1. มีไข้สูง
  2. มีเลือดและหนองไหลออกมาจากหัวนม
  3. รู้สึกเจ็บและปวดบริเวณหน้าอก
  4. ผิวหนังที่หน้าอกเป็นสีแดง หรือแข็งผิดปกติ
  5. ผิวหนังที่หน้าอกมีอุณหภูมิอุ่น ๆ
  6. รักแร้บวม

 

ทั้งนี้ หากคุณแม่มีไข้สูงเป็นเวลานาน ร่วมกับอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอ รักแร้บวม หรือรู้สึกเจ็บรุนแรงผิดปกติ อาจมีภาวะเต้านมอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากติดเชื้อบริเวณเต้านม หัวนม หรือท่อน้ำนม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

 

ทารกที่มีภาวะพังผืดใต้ลิ้น ก็ทำให้คุณแม่หัวนมแตกได้

ลิ้นของทารกแรกเกิดมีหน้าที่สำคัญในการช่วยลูกน้อยดูดนมและรีดน้ำนมเข้าช่องปาก แต่ในเด็กบางคนมีพังผืดใต้ลิ้นมากเกินไป (พังผืดใต้ลิ้น คือ เนื้อเยื่อบาง ๆ บริเวณโคนลิ้น) ทำให้ปลายลิ้นของลูกน้อยไม่สามารถเคลื่อนไหวเพื่อดูดนมแม่ได้อย่างเหมาะสม จึงงับหัวนมไม่ติด ไม่สามารถอมลึกถึงลานนม ดูดนมได้น้อย ส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ มีอาการตัวเหลือง และยังทำให้แม่เจ็บหัวนม หัวนมแตก หากลูกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้น หรือภาวะลิ้นติด เช่นนี้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ เพื่อทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นเป็นไปตามปกติ ซึ่งเมื่อผ่าตัดแล้ว ลูกน้อยสามารถกลับมาดูดนมแม่ได้ทันที

 

คุณแม่มือใหม่อาจมีอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตกในช่วงแรกของการให้นมลูก คำแนะนำข้างต้นจะสามารถเป็นแนวทางให้คุณแม่บรรเทาอาการเจ็บหัวนมได้ เมื่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยมีความชำนาญมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้ก็จะหมดไปในที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. หัวนมแตก ปัญหาเจ็บ ๆ ของคุณแม่มือใหม่, POBPAD
  2. ถามตอบ – ไขปัญหานมแม่, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. การดูแลหัวนมแตก หรือ หัวนมเป็นแผล, โรงพยาบาลสินแพทย์
  4. เจ็บหัวนม รู้จักสาเหตุและวิธีการดูแลตัวเอง, POBPAD
  5. พังผืดใต้ลิ้นไม่ใช่เรื่องเล็ก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก