น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้
น้ำนมแม่มีความสำคัญกับทารก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหาร ช่วยในการเจริญเติบโต เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อยแข็งแรง โดยน้ำนมส่วนหน้า และน้ำนมส่วนหลัง ต่างก็มีประโยชน์ และมีความสำคัญ คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมจนเกลี้ยงเต้า หรือปั๊มนมให้หมด เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนในทุก ๆ มื้อ
PLAYING: น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้
สรุป
- นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในการพัฒนาสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก
- น้ำนมแม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทารก โดยเฉพาะ 6 เดือนแรกของชีวิต ที่ต้องได้รับน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างเพียงพอ
- การให้ลูกเข้าเต้าดูดนมแม่ ยังมีประโยชน์ต่อคุณแม่ ช่วยลดความเสี่ยงของโรค เช่น โรคกระดูกพรุนและโรคมะเร็งเต้านม
- น้ำนมส่วนหน้า น้ำนมส่วนหลัง มีประโยชน์ที่แตกต่างกัน ลูกควรได้รับทั้งน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง ในปริมาณที่เหมาะสม
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ประโยชน์ของนมแม่ สุดยอดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับลูก
- น้ำนมแม่ มีประโยชน์กับแม่อย่างไร
- น้ำนมระยะหัวน้ำนม (Colostrums)
- ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional milk)
- ระยะน้ำนมแม่ (Mature milk)
- น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk)
- น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk)
- วิธีปั๊มนมแม่อย่างไรให้ได้นมส่วนหลัง
ประโยชน์ของน้ำนมแม่มีอยู่มากมาย เป็นอาหารหลักสำหรับลูกน้อย 6 เดือนแรกแห่งชีวิต และควรให้นมแม่เสริมกับอาหารตามวัยที่ปลอดภัยตั้งแต่อายุ 6 เดือน จนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้นเพราะน้ำนมแม่เปรียบได้กับวัคซีนหยดแรก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ (UNICEF) แนะนำ ดังนี้
- ลูกควรได้รับนมแม่ทันทีหลังคลอดภายใน 1 ชั่วโมงแรก
- ลูกควรได้รับนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต
- หลังจากนั้น ลูกควรได้รับนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางสารอาหารที่เหมาะสมกับวัย ได้จนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้น
ประโยชน์ของนมแม่ สุดยอดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับลูก
- น้ำนมแม่ มีสารอาหารที่เหมาะสม มีองค์ประกอบทางโภชนาการที่ครบถ้วน มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินต่าง ๆ จุลินทรีย์ที่ดีต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
- เสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย เสริมสร้างแอนติบอดี (Antibody) ต่อต้านอาการเจ็บป่วย เช่น ไข้หวัด การติดเชื้อจากแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิด
- ลดความเสี่ยงการเกิดโรค เช่น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคภูมิแพ้ และลดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
- ช่วยพัฒนาสมอง โดยมีงานวิจัยพบว่า ทารกที่กินนมแม่มีพัฒนาการทางสมอง และเชาว์ปัญญาดี (IQ) นมแม่ยังช่วยให้พัฒนาการทางสมองและเซลล์สมบูรณ์
- นมแม่ช่วยให้ทารกมีพัฒนาการทางร่างกาย มีกระดูกและกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
- ช่วยพัฒนาการมองเห็นของทารก
- น้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง ยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) และโกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) ที่ช่วยเรื่องการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้แก่ การทำงานของระบบทางเดินลำไส้ ระบบประสาท ระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต รวมทั้งเส้นเลือด
- ลดการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ
- ช่วยให้ลูกมีระบบขับถ่ายที่ดี
- การเข้าเต้าดูดนมแม่จากอก ดีต่อสุขภาพช่องปากและฟัน
- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเมื่อเติบโตขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง
น้ำนมแม่ มีประโยชน์กับแม่อย่างไร
นอกจากประโยชน์ที่ทารกได้รับจากการกินนมแม่ ตัวคุณแม่เองก็ยังได้รับสิ่งดี ๆ จากการให้นมลูกเช่นกัน ได้แก่
- การให้นมแม่ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้
- คุณแม่ที่ให้นมลูกยังสามารถลดน้ำหนักได้ด้วย เพราะร่างกายของแม่ที่ผลิตน้ำนม ใช้พลังงานสูงเกือบ 500 กิโลแคลอรี จึงดึงพลังงานจากไขมันที่สะสมมาใช้ ทำให้รูปร่างดีขึ้น อาจกลับมามีสัดส่วนเทียบเท่ากับช่วงก่อนการตั้งครรภ์ได้เร็วขึ้น
- ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่หลั่งออกมาตอนให้นมลูก จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น ฮอร์โมนชนิดนี้ยังช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ตามชื่อที่เรียกกันว่า ฮอร์โมนแห่งความรัก คุณแม่จึงมีความสุข เกิดความรัก ความผูกพัน ทำให้สายสัมพันธ์แม่และลูกแน่นแฟ้น
- มีผลการวิจัยว่า การให้นมลูกหลังคลอด ช่วยให้คุณแม่ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ได้ รวมถึงลดโอกาสการเกิดโรคระยะยาว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน
น้ำนมระยะหัวน้ำนม (Colostrums)
สารอาหารในน้ำนมแม่จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาหลังคลอด ผ่านกระบวนการสร้างน้ำนม เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้น โดยน้ำนมระยะที่ 1 เกิดขึ้นภายใน 1-3 วันแรก น้ำนมในระยะหัวน้ำนมจะมีสีออกเหลือง จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า น้ำนมเหลือง มีประโยชน์ดังนี้
- น้ำนมส่วนหน้าจะมีแคโรทีนสูงกว่าน้ำนมส่วนหลัง
- อุดมไปด้วยโปรตีนสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- มีเกลือแร่ วิตามิน รวมถึงสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารก
- มีสารอาหารช่วยในการเจริญเติบโตทางสมองและการมองเห็น
- ช่วยขับขี้เทาของทารก
ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional milk)
น้ำนมระยะ 2 หรือ Transitional milk จะเกิดขึ้นในช่วง 5 วัน จนถึงประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด โดยสีของน้ำนมจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีขาวขุ่น สารอาหารที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไขมันและน้ำตาล ดีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายทารก
ระยะน้ำนมแม่ (Mature milk)
น้ำนมระยะที่ 3 ร่างกายของคุณแม่จะผลิตขึ้นหลัง 2 สัปดาห์แรก คุณแม่จะสังเกตได้ว่า น้ำนมแม่มีปริมาณมากขึ้น ประโยชน์ของน้ำนม ยังประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น
- โปรตีนในน้ำนมมีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
- น้ำนมระยะที่ 3 ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และมีเอนไซม์ทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียได้
- กรดไขมันในน้ำนมแม่ เช่น DHA (Docosahexaenoic Acid) และ AA (Arachidonic Acid) จะช่วยพัฒนาระบบประสาท รวมถึงการมองเห็นได้ด้วย
- มีน้ำตาลแลคโตส ภายในนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์หรือคาร์โบไฮเดรตสายสั้น (Human Milk Oligosaccharides หรือ HMOs) กว่า 200 ชนิด สำคัญต่อร่างกายของลูก ดีต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่สร้างระบบภูมิคุ้มกัน
- มีวิตามิน ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E และ K อีกทั้งมีแร่ธาตุจำพวก เหล็ก แคลเซียม และไอโอดีน ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก
น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk)
- น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) เป็นน้ำนมแม่ที่ลูกได้รับในการดูดนมจากเต้านมในช่วงต้น ๆ ลักษณะของน้ำนมส่วนหน้าจะเหลวและใสกว่า มีไขมันน้อย แต่มีน้ำตาลแลคโตสมากกว่าจึงช่วยพัฒนาการสมองและระบบประสาท อีกทั้งยังช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ธาตุเหล็ก และโอลิโกแซคคาไรด์ ช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดดีเติบโตเพื่อต่อสู้กับจุลินทรีย์ก่อโรค
น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk)
- น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk) จะเป็นน้ำนมที่ได้รับในช่วงท้าย ๆ ลักษณะของน้ำนมส่วนหลังจะข้นกว่า จากการศึกษาพบกว่า มีปริมาณไขมันมากกว่าน้ำนมส่วนหน้าประมาณ 1.5-3 เท่า ซึ่งไขมันในน้ำนมส่วนหลังจะถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักในการเจริญเติบโตของร่างกายทารก
สำหรับน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง เมื่อถูกผลิตภายในต่อมน้ำนมจะไหลผ่านท่อน้ำนมออกมาทางหัวนม การไหลของน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลังไม่มีระยะเวลาที่ชัดเจน แต่การแบ่งส่วนของน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง จะมีไขมันค่อย ๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นทีละนิดตลอดการดูดนมของทารกหรือการปั๊มนม คุณแม่จึงไม่ต้องกังวล เพราะร่างกายจะสร้างน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง ให้สมดุลกับความต้องการของลูก
วิธีปั๊มนมแม่อย่างไรให้ได้นมส่วนหลัง
- การปั๊มนมให้ได้นมส่วนหลังควรปั๊มให้เกลี้ยงเต้า
- ปั๊มนมในช่วงเวลากลางวันทุก 3-4 ชั่วโมง และควรปั๊มนมในเวลากลางคืนเฉพาะตอนที่คุณแม่คัดเต้านม เพื่อให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ระยะเวลาในการปั๊มนมแต่ละครั้งจะอยู่ที่ 15-30 นาที จนสังเกตได้ว่าเต้านมนุ่ม แสดงว่าน้ำนมเกลี้ยงเต้าแล้ว เพื่อให้ได้น้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง
น้ำนมแม่ มีสารอาหารสำคัญมากมาย ทารกในวัย 6 เดือนแรก ควรได้รับน้ำนมแม่ในปริมาณที่เพียงพอ ทั้งน้ำนมส่วนหน้า น้ำนมส่วนหลัง เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนมแม่อย่างเพียงพอ หากลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง ไม่เอาลูกออกจากเต้าเร็วเกินไป ก็จะได้รับสารอาหารจากน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง หรือการปั๊มนมในแต่ละครั้ง ควรปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า เพียงเท่านี้ลูกก็จะได้รับสารอาหารสำคัญครบถ้วน
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ
- อาการท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายหรือไม่ ทำไมคุณแม่ต้องรู้
- เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- อาหารคนท้องไตรมาสแรก โภชนาการที่สำคัญสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- นมแม่แน่แค่หกเดือน จริงหรือ?, Unicef
- นมแม่ ประโยชน์คูณสอง ได้ทั้งแม่ ดีทั้งลูก, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- “น้ำนมแม่” ประโยชน์แท้จากธรรมชาติ, กรมอนามัย
- รู้จักนมส่วนหน้าและส่วนหลัง กับประโยชน์ที่แตกต่าง, มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
- เคล็ดลับการบีบหรือปั๊มนมแม่ การเก็บรักษาน้ำนม, โรงพยาบาลศิครินทร์
อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567