ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที พร้อมข้อดี-ข้อเสีย คลอดเองกับผ่าคลอด

ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดใช้เวลาฟักฟื้นนานไหม

ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดใช้เวลาฟักฟื้นนานไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
เม.ย. 15, 2020

หากคุณแม่มีความจำเป็นต้องผ่าคลอด คุณหมอจะให้คำแนะนำและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าคลอดเบื้องต้น เช่น การผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดกี่ชั่วโมง ผ่าคลอดนานไหม รวมถึงขั้นตอนในการผ่าคลอด และประเภทของการคลอด รวมถึงข้อดี-ข้อเสีย ของการผ่าคลอดและคลอดธรรมชาติ ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จัก และเรียนรู้สิ่งสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ เกี่ยวกับการผ่าคลอด เพื่อให้ว่าที่คุณแม่ทุกคนสามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ดียิ่งขึ้น

สรุป

  • การคลอดธรรมชาติ เป็นการคลอดผ่านช่องคลอดโดยไม่ต้องผ่าตัด เหมาะกับคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง และทารกอยู่ในท่าปกติ โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 6-12 ชั่วโมง แต่สามารถสั้นหรือยาวนานกว่านี้ได้
  • การผ่าคลอด เป็นการคลอดผ่านการผ่าตัดหน้าท้อง เหมาะกับกรณีที่มีความเสี่ยงต่อทั้งแม่และลูก การผ่าคลอดใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ระยะเวลาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของการผ่าคลอด ขนาดของทารกและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • การเลือกวิธีคลอดที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่และลูก ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาว่าวิธีการคลอดแบบใดเหมาะสมกับคุณแม่และลูกน้อยมากที่สุด

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การผ่าคลอด คืออะไร

การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอด เป็นหนึ่งวิธีในการคลอดบุตรนอกเหนือจากการคลอดตามธรรมชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นวิธีการที่แพทย์จะเลือกใช้ในกรณีที่มีความจำเป็น เนื่องจากลูกไม่สามารถคลอดผ่านทางช่องคลอดได้ตามธรรมชาติด้วยความเสี่ยงที่อาจส่งผลเป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งตัวคุณแม่และลูกในครรภ์ การผ่าคลอดจะผ่านการหารือและวางแผนร่วมกันของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้้องกังวลว่าผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดกี่ชั่วโมง ผ่าคลอดนานไหม หรือคลอดเองกับผ่าคลอดแบบไหนดีกว่ากัน เพราะหากมีความจำเป็นทางการแพทย์แล้ว คุณหมอจะเลือกวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัยกับทั้งคุณแม่และลูกน้อยอย่างเหมาะสม

 

การผ่าคลอด มีทั้งหมดกี่แบบ

การผ่าคลอดนั้นสามารถแบ่งตามลักษณะของแผลออกเป็น 2 แบบได้แก่

1. การผ่าคลอดแนวขวาง หรือแนวบิกีนี่ที่มดลูกส่วนล่าง (Transverse)

เป็นการผ่าตัดคลอดโดยแพทย์จะทำการลงมีดผ่าตัดในแนวขวาง บนบริเวณมดลูกส่วนล่างที่เรียกว่า เส้นบิกีนี่ ซึ่งหมายถึงบริเวณเหนือหัวหน่าว โดยจะมีความยาวของแผลผ่าตัดประมาณ 12-15 ซม. เป็นรูปแบบการผ่าตัดคลอดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะบริเวณนี้มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้เสียเลือดน้อยระหว่างการผ่าตัด และมีโอกาสเกิดอาการแผลแยกในครรภ์ต่อไปได้น้อย

 

2. การผ่าตัดในแนวตั้งที่มดลูกส่วนล่าง (Vertical Midline incision)

เป็นการผ่าตัดคลอดโดยที่แพทย์จะทำการลงมีดผ่าตัดเป็นแนวตรงที่มดลูกตอนบน จากบริเวณใต้สะดือลงมาถึงเหนือหัวหน่าวเพื่อทำการเอาทารกออกจากครรภ์ แม้จะเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่วิธีการนี้ไม่ได้รับความนิยมนักในปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณที่ทำการผ่าตัดเป็นบริเวณที่เนื้อมดลูกหนา มีเลือดมาเลี้ยงมาก ทำให้เสียเลือดมากระหว่างผ่าตัด

 

ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดกี่ชั่วโมงเดินได้ ผ่าคลอดใช้เวลาฟักฟื้นนานไหม

 

ก่อนผ่าคลอด คุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร

ก่อนจะเข้ารับการผ่าคลอด คุณแม่ต้องเตรียมตัวทำความพร้อมก่อนทำการผ่าตัด ดังนี้

  • เตรียมความพร้อมทางร่างกาย:  คุณแม่ควรตรวจเลือดหรือตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ เพื่อประเมินความพร้อมของทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์ก่อนการผ่าตัด
  • แจ้งประวัติการแพ้และภาวะแทรกซ้อน: คุณแม่ต้องแจ้งประวัติที่จำเป็นต่อการรักษาให้ครบถ้วน เช่น ประวัติการแพ้ยาและประวัติการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ
  • งดน้ำและอาหาร: คุณแม่ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยในระหว่างการผ่าตัด 

 

คลอดเองหรือผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน

คลอดเองหรือผ่าคลอด วิธีไหนที่ดีกว่ากัน ต้องบอกว่าการคลอดบุตรเป็นหนึ่งในกระบวนการตามธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นการคลอดธรรมชาติ ดีกว่าอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าการผ่าคลอดเป็นสิ่งไม่ดี สุดท้ายแล้วจะเลือกวิธีการคลอดบุตรแบบไหนนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะทางร่างกายของคุณแม่ และแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ ที่พิจารณาปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ในการคลอดบุตร และได้วางแผนการคลอดที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมต่าง ๆ ในแต่ละบุคคลไปนั่นเอง

 

กรณีไหนบ้างที่คุณแม่จำเป็นต้องผ่าคลอด

กรณีที่แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดบุตรด้วยการผ่าคลอดนั้น มักจะเกิดจากสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการคลอดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กรณีที่เกิดจากความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ตำแหน่งศีรษะลูกในท้องผิดปกติ หมุนผิดตำแหน่ง ไม่กลับตัวลงมา ลูกในครรภ์ไม่แข็งแรงมีความเสี่ยงที่จะขาดออกซิเจนขณะเจ็บท้องคลอด เป็นต้น หรือความผิดปกติของคุณแม่ที่อาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างการคลอดบุตร เช่น คุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง รกเกาะต่ำขวางปากมดลูก รวมถึงกรณีที่คุณแม่มีโรคประจำตัวบางโรค  ซึ่งอาจเป็นอันตรายหากคลอดธรรมชาติ เป็นต้น

 

คุณแม่ต้องรอให้เจ็บท้องก่อนไหมจึงผ่าคลอดได้

ต้องรอให้เจ็บท้องก่อนไหมถึงผ่าคลอดได้ ผ่าคลอดนานไหม เป็นอีกหนึ่งคำถามที่คุณแม่สงสัย ว่าจำเป็นจะต้องให้เจ็บท้องก่อนไหมจึงจะสามารถทำการผ่าคลอดได้ คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ หากคุณหมอได้ประเมิณ และวางแผนการคลอดบุตรด้วยการผ่าคลอดได้แล้ว ก็สามารถดำเนินการตามกำหนดการที่ได้นัดหมายไว้ได้เลย 

 

อาการผิดปกติหลังการผ่าคลอด ที่ควรพบแพทย์

นอกจากการเตรียมตัวก่อนคลอดที่คุณแม่ต้องปฏิบัติแล้ว หลังจากผ่าคลอดแล้วคุณแม่ก็ยังต้องสังเกตอาการของตัวเองอย่างใกล้ชิด หากมีอาการหรืออาการอื่นใดที่ผิดปกติ ขอแนะนำให้รีบพบแพทย์โดยทันที ตัวอย่างความผิดปกติเช่น

  • มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียสเป็นเวลาเกิน 24 ชั่วโมง
  • มีเลือดออกจากทางช่องคลอดเป็นจำนวนมาก
  • มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกจากช่องคลอด
  • น้ำคาวปลาไม่ไหลในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
  • ปวดท้องน้อยในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด
  • มีอาการบวมแดง มีน้ำเหลืองไหลซึม หรือเป็นหนองบริเวณแผลผ่าตัด

 

ข้อดี-ข้อเสียของการคลอดเองและผ่าคลอด

 

ข้อดีและข้อเสีย ของการคลอดเองและผ่าคลอด

 ข้อดีของการผ่าคลอด

  • สามารถวางแผนการคลอดบุตรล่วงหน้าได้ ไม่ต้องกังวลว่าผ่าคลอดนานไหม เพราะอาจใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน
  • ลดความกังวล และความเครียดของคุณแม่ พร้อมต่อการคลอดบุตรมากยิ่งขึ้น
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หลังคลอดบุตร
  • ไม่เจ็บปวดระหว่างการทำคลอด เพราะระหว่างการผ่าคลอด แพทย์จะทำการบล็อกหลัง หรือให้คุณแม่ดมยาสลบ
  • คุณแม่สามารถทำหมันได้เลยหากต้องการ ไม่ต้องมาผ่าตัด หรือทำหัตถการทำหมันในภายหลัง

 

ข้อเสียของการผ่าคลอด

  • คุณแม่มักจะเจ็บแผลผ่าคลอดเป็นเวลานาน
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกมาก หรือติดเชื้อ เป็นต้น
  • ลูกจะพลาดโอกาสในการได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากการคลอด มีควาามเสี่ยงสูงต่อการเกิดภูมิแพ้ หรือป่วยได้ง่าย
  • มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ
  • หลังคลอดจะมีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยได้ง่าย

 

ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ

  • ลูกจะได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากจุลินทรีย์สุขภาพที่อาศัยอยู่บริเวณช่องคลอดของคุณแม่ ทำให้ลูกมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงตามธรรมชาติ
  • ไม่มีการผ่าตัด เสียเลือดน้อยกว่าการผ่าคลอด ลดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ภาวะเลือดออกภายใน หรือการติดเชื้อ 
  • ใช้เวลาในการพักฟื้นไม่นาน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุณแม่สามารถกลับบ้านได้ภายในเวลา 2 วันหลังจากการคลอด
  • คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ทันที
  • ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรไม่แพงเมื่อเทียบกับการผ่าคลอดในโรงพยาบาลเดียวกัน
  • โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในการเจ็บครรภ์ครั้งต่อไปอย่างเช่น แผลมดลูกปริแตก มีน้อยลง

 

ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ

  • ไม่สามารถกำหนดวันคลอดได้อย่างแน่นอน ไม่สามารถวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
  • มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่อยู่หลังคลอด จากเนื้อเยื่ออุ้งเชิงเกรานของคุณแม่ที่อาจเกิดการหย่อนได้
  • หากการคลอดยาก ต้องมีการใช้หัตถการ หรืออุปกรณ์ในการช่วยคลอด 
  • ต้องเจ็บปวดครรภ์เป็นระยะเวลานานขณะคลอด
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดการฉีกขาด หรือขยายตัวของปากมดลูก และช่องคลอดได้

 

ทำไมการผ่าตัดคลอด ถึงได้รับความนิยม

1. ความปลอดภัยสูง

การผ่าคลอดได้รับการวางแผนและหารือร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ไม่คาดคิดและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับคุณแม่และทารก

 

2. การกำหนดเวลาได้

คุณแม่สามารถวางแผนการผ่าคลอดได้ โดยมองหาฤกษ์ผ่าคลอด และปรึกษาแพทย์หลังจากสัปดาห์ที่ 38 เพื่อกำหนดวันคลอดที่ปลอดภัย

 

3. ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน

ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดใช้เวลานานไหม การผ่าตัดคลอดใช้เวลาเพียงประมาณ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ทำให้เป็นวิธีการที่สะดวกและรวดเร็ว

 

4. ลดความเจ็บปวดขณะคลอด

การทำการบล็อกหลัง หรือการใช้ยาสลบช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัด ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้น

 

5. ลดการยืดหย่อนของเชิงกราน

การผ่าคลอดช่วยลดผลกระทบต่อเส้นเอ็นยึดและเชิงกรานที่เกิดจากการเบ่งคลอดตามธรรมชาติ ช่วยให้สุขภาพเชิงกรานดีกว่าในระยะยาว 
 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการผ่าคลอด สำหรับแม่ผ่าคลอด

  1. การผ่าคลอดครั้งถัดไป: หากคุณแม่เคยผ่าคลอดในท้องแรก แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอดในท้องถัดไปเพื่อความปลอดภัย
  2. จำนวนครั้งที่ทำได้: การผ่าคลอดสำหรับคุณแม่ สามารถทำได้ไม่เกิน 3 ครั้งในชีวิต
  3. ระยะเวลาฟื้นตัว: หลังการผ่าคลอด คุณแม่จะฟื้นตัวภายใน 12 ชั่วโมง และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 4-5 วัน
  4. การดูแลแผล: เพื่อให้แผลผ่าคลอดหายไว ควรหลีกเลี่ยงการโดนน้ำและห้ามยกของหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้แผลปริแตก ติดเชื้อ หรืออักเสบ
  5. ระยะเวลาหาย: แผลผ่าคลอดใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ในการปิดสนิทและหายดี
  6. ผลต่อการเลี้ยงลูก: แผลผ่าคลอด อาจทำให้การเตรียมร่างกายสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ช้ากว่าการคลอดธรรมชาติ

 

วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอด

เนื่องจากลูกผ่าคลอดนั้น จะพลาดโอกาสในการได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากช่องคลอด แตกต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติที่จะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่อาศัยอยู่ในบริเวณช่องคลอดของคุณแม่ ทำให้เด็กผ่าคลอดมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณแม่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับลูกผ่าคลอดได้ ด้วยการให้โภชนาการที่ดีคือนมแม่  เพราะในน้ำนมแม่มีจุลินทรีย์สุขภาพหลากสายพันธุ์ เช่น  B. lactis ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

 

นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารสำคัญอื่น ๆ อีกมากมายกว่า 200 ชนิด รวมไปถึงสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการสมอง เช่น ดีเอชเอ เออาร์เอ รวมถึง สฟิงโกไมอีลิน มีส่วนช่วยในการสร้างไมอีลิน ทำให้สมองสามารถส่งสัญญาณประสาทได้ไวขึ้น และสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

คุณแม่มือใหม่คงเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าคลอด และ การผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ขั้นตอนในการผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ รวมถึงประเภทของการคลอด นอกจากนี้ก่อนที่จะถึงกำหนดคลอดเจ้าตัวเล็ก คุณแม่มือใหม่อย่าลืมจัดกระเป๋าเตรียมของก่อนคลอด  ไปด้วยนะคะ เพื่อความสะดวกสบาย เมื่อต้องเตรียมตัวเดินทางไปคลอดเจ้าตัวเล็ก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. คำแนะนำเรื่อง การผ่าตัดคลอดเด็กออกทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72
  3. Floch MH, et. al. J Clin Gastroenterol. 2015 Nov-Dec;49 Suppl 1:S69-73

อ้างอิง ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2566
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 3 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง
บทความ
อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 3 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 3 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 3 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอะไรให้ลูกแข็งแรงและมีโภชนาการที่ดี อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 3 มีเมนูไหนเหมาะกับคุณแม่ท้องบ้าง ไปดูกัน

View details วิธีดูแลครรภ์คนท้อง พร้อมการจัดการความกังวลของคุณแม่
บทความ
วิธีดูแลครรภ์คนท้อง พร้อมการจัดการความกังวลของคุณแม่

วิธีดูแลครรภ์คนท้อง พร้อมการจัดการความกังวลของคุณแม่

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

9นาที อ่าน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

8นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์
บทความ
อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการท้องไม่รู้ตัวของคุณแม่ท้องแรก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ อาการท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร จะรู้ได้ยังไงว่าท้องแล้ว

5นาที อ่าน

View details ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม
บทความ
ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม

ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่ปวดท้อง เกิดจากสาเหตุอะไร มีเลือดออกสีน้ำตาลและสีแดงสด อันตรายกับแม่แค่ไหน

5นาที อ่าน

View details อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น
บทความ
อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มดลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีลูกให้ง่ายมากขึ้น อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

9นาที อ่าน

View details คลอดก่อนกำหนด ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม
บทความ
คลอดก่อนกำหนด ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม

คลอดก่อนกำหนด ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม

ทำความเข้าใจ ทารกคลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร สัญญาณเตือนทารกคลอดก่อนกำหนดที่แม่ใกล้คลอดควรรู้มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

8นาที อ่าน

View details คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง
บทความ
คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

อาการคนท้องฉี่สีอะไร ต่างจากคนที่ไม่ได้ท้องไหม สีปัสสาวะคนท้องแต่ละสีบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของอย่างไร มีวิธีสังเกตสีปัสสาวะคนท้องยังไงบ้าง ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง
บทความ
คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง

คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง

คลอดลูกธรรมชาติ มีขั้นตอนอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรคลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอดดีกว่า แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ที่สุด พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังแม่คลอด

7นาที อ่าน

View details ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน
บทความ
ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน

ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน

ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เลือกตรวจตอนเช้าหรือตอนเย็นดี ควรตรวจซ้ำกี่ครั้งถึงจะมั่นใจว่าตั้งครรภ์แล้ว พร้อมวิธีสังเกตตัวเองว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่หรือเปล่า

10นาที อ่าน

View details อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก
บทความ
อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก

อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด คุณแม่เจ็บท้องคลอดแบบไหนควรไปหาหมอ อาการเจ็บท้องเตือนอันตรายไหม คุณแม่เจ็บท้องคลอดแบบไหนที่ควรรีบไปโรงพยาบาล

7นาที อ่าน

View details BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความ
BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

7นาที อ่าน