คนท้องนวดได้ไหม นวดตัว นวดเท้าบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องนวดได้ไหม นวดตัว นวดเท้าบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องนวดได้ไหม นวดตัว นวดเท้าบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ย. 15, 2024
5นาที

คนท้องนวดได้ไหม คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มักจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ปวดขา เป็นตะคริว ปวดหลังอยู่บ่อย ๆ ทำให้อยากจะนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ และผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชื่นชอบการนวดมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่กลัวว่าลูกน้อยในท้องจะเป็นอันตราย ถ้าคนท้องอยากนวดจริง ๆ สามารถนวดได้ไหม เรามีคำแนะนำการนวดสำหรับคนท้องมาฝาก

สรุป

  • คนท้องสามารถนวดได้ แต่ต้องอยู่ในช่วง 4-6 เดือน และได้รับการอนุญาตจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง อีกทั้งควรเลือกรับการนวดจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่ผ่านการอบรมสำหรับหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ
  • คุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ควรหลีกเลี่ยงการนวดบริเวณขา บั้นเอว ฝ่าเท้า และบริเวณหน้าท้องเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในท้อง
  • คนท้องที่ต้องการนวดควรเลือกร้านนวดที่ได้รับมาตรฐาน คือ ร้านต้องมีใบรับรองหรือใบอนุญาตของสถานประกอบการ ต้องมีสติ๊กเกอร์มาตรฐานของ สบส. และผู้ที่นวดต้องมีการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทยเท่านั้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องนวดได้ไหม อันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องสามารถนวดได้ แต่ควรได้รับการนวดจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่ผ่านการอบรมสำหรับหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อลูกน้อยในท้องได้ และควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนทำการนวดทุกครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • คนท้องที่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก ไม่แนะนำให้นวด เพราะอาจเป็นการกระตุ้นทำให้เสี่ยงแท้งได้
  • คนท้องที่ตั้งครรภ์อยู่ในช่วง 4-6 เดือน และต้องได้รับการนวดจากผู้ที่ผ่านการอบรมแล้วเท่านั้น
  • คนท้องที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ไม่แนะนำให้นวด หากคุณแม่มีความจำเป็นต้องนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย สามารถนวดได้ผ่านหมอนวดแผนไทยที่มีการอบรวมไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง เท่านั้น

 

คนท้องปวดเมื่อยตัว นวดส่วนไหนได้บ้าง

ในกรณีที่คนท้องมีอายุครรภ์ได้ 4-8 เดือน คนท้องสามารถนวดบริเวณเท้า แขน ขา และมือ เพื่อลดอาการครั่นเนื้อครั่นตัวได้ สำหรับคนท้องที่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 9 ต้องระมัดระวังเรื่องการนวดเป็นอย่างมาก หากคุณแม่จำเป็นต้องนวดเพื่อลดอาการปวดเมื่อย หรือคนท้องเป็นตะคริว สามารถนวดได้ทั้งตัวหรือเฉพาะจุด เช่น บริเวณต้นขา สะโพก แผ่นหลัง น่อง และเท้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเข้ารับการนวด และต้องนวดผ่านผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการนวดสำหรับหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น

 

คนท้องไม่ควรนวดส่วนไหนมากที่สุด

สำหรับคุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย หรือลดอาการไม่สบายเนื้อสบายตัว สามารถนวดได้แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้นวดบริเวณ ดังต่อไปนี้

  • ขา: เพื่อความปลอดภัยคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องไม่นวดบริเวณบั้นเอว รวมถึงห้ามเหยียบ หรือดัดที่ขาหนีบ การนวดแบบกดลึก ๆ แรง ๆ หรือกดจุดที่ขา เพราะอาจเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขาได้ หากคุณแม่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณขาสามารถนวดคลึงบรรเทาอาการได้เบา ๆ
  • ฝ่าเท้า: ไม่ควรนวดกดจุดบริเวณฝ่าเท้า เพราะเป็นจุดเสี่ยงอันตรายต่อลูกน้อยในท้อง
  • ท้อง: คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการนวดบริเวณท้อง เพราะอาจส่งต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

 

คนท้องปวดเมื่อย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนไปนวดไหม

คนท้องนวดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการนวด เพราะปัญหาสุขภาพบางอย่างหรือภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้คุณแม่ไม่สามารถนวดได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และโรคหัวใจ เป็นต้น รวมถึงภาวะอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายกับลูกน้อยในท้อง เช่น ภาวะแท้งคุกคาม เส้นเลือดขอด เป็นต้น นอกจากนี้ หากคุณแม่เข้ารับการนวดแล้วมีอาการผิดปกติหลังจากนวดให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

 

คนท้องนวดได้ไหม คนท้องปวดเมื่อย ไปนวดได้บ่อยแค่ไหน

 

คนท้องปวดเมื่อย ไปนวดได้บ่อยแค่ไหน

สำหรับคนท้องที่รู้สึกปวดเมื่อยตามตัวสามารถนวดได้เดือนละ 1 ครั้ง หากคุณแม่มีสภาพครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นปกติ และอายุครรภ์มากกว่า 14 สัปดาห์ แต่ต้องไม่เกินช่วงอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 35 เป็นต้นไป และการนวดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความแข็งแรงของคุณแม่ ความสะดวก และเวลา หากเป็นไปได้คุณแม่สามารถเล่นโยคะ หรือออกกำลังกายเบา ๆ ร่วมด้วย เพื่อลดความปวดเมื่อยของร่างกายได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

 

คนท้องใช้เก้าอี้นวดไฟฟ้าได้ไหม

ไม่ได้มีข้อห้ามสำหรับคนท้องที่ต้องการนวดด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้า เพราะการนวดผ่านเก้าอี้ไฟฟ้าเป็นการนวดเฉพาะจุด เช่น บริเวณคอ ไหล่ หลัง หากเก้าอี้นวดมีการนวดบริเวณขาด้วย คุณแม่ควรระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนที่จะนวดทุกครั้ง

 

คนท้องควรเลือกร้านนวดยังไง ให้ได้มาตรฐาน

คนท้องที่ต้องการนวดเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อผ่อนคลาย ก่อนการนวดควรเลือกร้านที่ได้มาตรฐาน และผ่านการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุข โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ร้านมีสติ๊กเกอร์มาตรฐาน สบส.

ตามกฎหมายแล้วสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทั้งสปา การนวดเพื่อสุขภาพ หรือเสริมความงามจะต้องมีการแสดงสติ๊กเกอร์มาตรฐาน สบส. (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) ให้เห็นชัดเจน คุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าร้านมีการติดสติ๊กเกอร์นี้หรือไม่

 

2. ร้านที่มีใบอนุญาตสถานประกอบการ

ก่อนคุณแม่เข้ารับบริการร้านนวด ควรตรวจสอบดูว่าร้านนวดได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่โดยสังเกตจากใบอนุญาตที่แสดงอยู่ภายในร้าน โดยมีใบอนุญาตและเลขที่ใบอนุญาต 11 หลักชัดเจนอยู่บริเวณหน้าร้านหรือสถานพยาบาล

 

3. หมอนวดต้องมีใบรับรองถูกต้อง

ในกรณีที่คุณแม่เข้าร้านที่มีบริการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ควรเข้าบริการร้านที่มีการแสดงป้าย ชื่อ-สกุล รูปถ่าย พร้อมเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ติดห้องตรวจเสมอ ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านเวชกรรมไทย หรือผู้ที่ให้บริการนวดต้องได้รับใบประกาศนียบัตรตามหลักสูตรที่ สบส. ให้การรับรอง หรือจากสภาการแพทย์แผนไทยเท่านั้น

 

ก่อนที่คุณแม่จะทำจากนวด ควรศึกษาข้อมูล ปรึกษาคุณหมอว่าตัวคุณแม่เองมีความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดอันตรายหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบร้านนวด และผู้นวดว่ามีความรู้ ความเชี่ยวชาญเพียงพอหรือไม่ก่อนทำการนวดทุกครั้ง เพราะผู้ที่จะนวดให้กับคนท้องได้ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมการนวดแผนไทยมาโดยเฉพาะ และต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง เพราะไม่ใช่หมอนวดทุกคนจะสามารถนวดให้กับคนท้องได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. คนท้องนวดได้ไหม, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย
  2. สา’สุข ชัวร์ : หญิงตั้งครรภ์นวดได้หรือไม่?, กรมอนามัย
  3. บทความวิชาการ การแพทย์แผนไทย, การประยุกต์ใช้ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์
  4. สามารถนวดขณะตั้งครรภ์ได้บ่อยแค่ไหน, MYTHERAS
  5. Pregnancy Massage, webmd
  6. นวด ประโยชน์และความเสี่ยงที่ควรรู้, Pobpad
  7. แนะวิธีเลือก “ร้านนวด” ให้ตรงอาการและปลอดภัย, ผู้จัดการออนไลน์

อ้างอิง ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง
บทความ
อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอะไรให้ลูกแข็งแรงและมีโภชนาการที่ดี อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 มีเมนูไหนเหมาะกับคุณแม่ท้องบ้าง ไปดูกัน

 

View details ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์คลอด 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์คลอด 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์คลอด 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด กุมภาพันธ์ 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด กุมภาพันธ์ 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด กุมภาพันธ์ 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด กุมภาพันธ์ 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

8นาที อ่าน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนตุลาคม 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ
บทความ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

5นาที อ่าน

View details ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร
บทความ
ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึก ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ เกิดจากอะไร ลูกในท้องสะอึกบ่อยจะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่ วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกในครรภ์หยุดสะอึก

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว
บทความ
ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์ คืออะไร ที่ตรวจครรภ์ เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการเช็กว่าท้องหรือยัง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ใช้งานง่าย พร้อมวิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

9นาที อ่าน

View details อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย
บทความ
อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง แต่ไม่มีสักที อาการแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณแม่มือใหม่อยากมีลูก อยากท้อง ต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้มีลูกง่ายขึ้น ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง
บทความ
อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

การอยู่ไฟหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหม การอยู่ไฟ มีประโยชน์กับคุณแม่อย่างไร ไปดูวิธีเตรียมตัวเมื่อคุณแม่ต้องอยู่ไฟหลังคลอดกัน

6นาที อ่าน

View details มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม
บทความ
มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันธ์หลังเป็นประจำเดือน 1 วันจะท้องไหม มีเพศสัมพันธ์หลังมีเมนกี่วันถึงท้อง มาทำความเข้าใจเรื่องวงจรการตกไข่ เพื่อประเมินว่ามีเกณฑ์ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย
บทความ
คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้องท่าไหน ปลอดภัยที่สุด

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน และ ท่านอนคนท้อง 8-9 เดือน แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ท้อง ไปดูท่านอนคนท้องที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่กัน

6นาที อ่าน

View details อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน
บทความ
อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงมีความคล้ายกันและมักแยกกันไม่ออก ไปดูความแตกต่างอาการก่อนเมนส์มากับท้อง เพื่อสังเกตอาการเบื้องต้น

7นาที อ่าน

View details เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง
บทความ
เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง

เข็มกลัดคนท้องจำเป็นไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง

เข็มกลัดคนท้องสำคัญแค่ไหนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ติดเข็มกลัดคนท้องช่วยป้องกันลูกน้อยจากสิ่งชั่วร้ายได้จริงไหม ไปดูประโยชน์ของเข็มกลัดคนท้องที่คุณแม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว
บทความ
วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เมื่อลูกดิ้นน้อยลงและลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว

ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลง อันตรายไหม คุณแม่สังเกตได้อย่างไร สัญญาณอะไรที่บอกว่าลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว ลูกดิ้นน้อยลงอันตรายและอาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

8นาที อ่าน