สายสะดือพันคอทารก เกิดจากอะไร รกพันคออันตรายแค่ไหน

สายสะดือพันคอทารก เกิดจากอะไร รกพันคออันตรายแค่ไหน

สายสะดือพันคอทารก เกิดจากอะไร รกพันคออันตรายแค่ไหน

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ย. 18, 2024
7นาที

เตรียมพร้อมรับมือระหว่างตั้งครรภ์ รู้ไว้ช่วยลูกรอด สายสะดือพันคอเกิดจากสาเหตุอะไร รกพันคออันตรายไหม ต้องทำอย่างไร คุณแม่ตั้งครรภ์โปรดหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี ว่ามีอาการผิดปกติกับครรภ์หรือเปล่า อาการลูกดิ้นน้อยลง ลูกไม่ดิ้น หากคุณแม่ท้องมีอาการเหล่านี้ ไม่ควรชะล่าใจ เพราะอาจเกิดจากสายสะดือพันคอ ควรรีบไปพบสูติแพทย์โดยด่วน

 

สรุป

  • สายสะดือ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างทารกในครรภ์กับรก ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนให้แก่ทารกในครรภ์เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต
  • สายสะดือพันคอ หรือรกพันคอ เป็นภาวะที่พบเจอได้บ่อย เกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัวหรือทราบมาก่อน อาจเกิดจากทารกในครรภ์เคลื่อนไหวมากเกินไป สายสะดือที่มีความยาวเกินไป สายสะดือ พันคอจะทำให้ส่งออกซิเจนและอาหารไปหล่อเลี้ยงทารกไม่ได้ และอาจเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์หยุดหายใจได้
  • สายสะดือพันคอ รกพันคอ ไม่อาจป้องกัน หรือทำการรักษาได้ แม้จะเป็นภาวะปกติ แต่ก็อาจส่งผลอันตรายได้ คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และไปตรวจครรภ์ ตามที่สูติแพทย์นัดทุก ๆ เดือน หากพบว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงไปจากเดิม ให้รีบไปพบสูติแพทย์ทันที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สายสะดือพันคอ เกิดจากอะไร

สายสะดือพันคอนั้น เป็นภาวะที่พบเจอได้บ่อย เกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัวหรือทราบมาก่อน อาจเกิดจากสายสะดือที่มีความยาวมากเกินไป หรือ ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวมากเกินไป สายสะดือพันคอเป็นภาวะที่พบได้ปกติ แต่ก็อาจส่งผลอันตรายได้ เพราะการที่สะดือพันคอ จะทำให้ส่งออกซิเจนและอาหารไปหล่อเลี้ยงทารกไม่ได้ และอาจเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์ไม่หายใจได้ และกว่าจะรู้ตัวก็ตอนที่ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง หรือหยุดดิ้นแล้ว

 

สายสะดือมีลักษณะเป็นท่ออ่อนเป็นเส้นยาว บิดเป็นเกลียว สีขาวขุ่น ประกอบไปด้วย หลอดเลือดดำ 1 เส้น และหลอดเลือดแดง 2 เส้น มีขนาด 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 30-100 เซนติเมตร เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างทารกในครรภ์กับรก ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนให้แก่ทารกในครรภ์ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต และสายสะดือนั้นยังช่วยขับของเสียออกไป

 

สายสะดือพันคอ คุณแม่จะมีอาการอย่างไร

สายสะดือพันคอ มักจะไม่เกิดอาการใด ๆ ทางร่างกาย จึงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่รู้ตัวมาก่อน มารู้ตัวอีกทีก็เมื่อลูกดิ้นน้อยลง หรือหยุดดิ้น สายสะดือพันคอไม่อาจป้องกันได้ คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และไปตรวจครรภ์ ตามที่สูติแพทย์นัดทุก ๆ เดือน โดยเฉพาะในช่วงของการตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป เพราะการตรวจครรภ์ทุกเดือน อาจพบเจอความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารก ที่ทำให้รู้ว่าสายสะดือพันคอได้ หากคุณแม่พบว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงจากเดิม หรือไม่ดิ้นเลย ให้ไปพบสูติแพทย์ทันที

 

รกพันคอ อันตรายถึงชีวิตลูกจริงไหม

รกพันคอ หรือ สายสะดือพันคอ พบได้ทั่วไปเมื่อตั้งครรภ์ ไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ หรือเกิดอันตรายที่ถาวรต่อทารกในครรภ์ ทารกประมาณ 1 ใน 3 คน คลอดออกมามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์โดยมีสายสะดือพันรอบคออยู่ขณะคลอด สายสะดือพันคอไม่อาจป้องกันได้ แม้จะเป็นภาวะที่พบได้ปกติ แต่ก็อาจส่งผลอันตรายได้ คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และไปตรวจครรภ์ ตามที่สูติแพทย์นัดทุก ๆ เดือน หากคุณแม่พบว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงไปจากเดิม อย่าชะล่าใจ ให้รีบไปพบสูติแพทย์ทันที

 

การพันของสายสะดือ แบบไหนอันตรายกับลูก

การพันของสายสะดือ อาจส่งผลให้การส่งออกซิเจนและอาหารไปหล่อเลี้ยงทารกไม่ได้ และอาจเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์หยุดหายใจได้ เพราะสายสะดือ มีหน้าที่ในการส่งลำเลียงสารอาหาร และออกซิเจนให้กับทารกในครรภ์ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต หากเกิดการพันของสายสะดือเกิดขึ้น ประเภทการพันของสายสะดือนั้น เป็นการบ่งบอกได้ว่า มีความเสี่ยงของภาวะขาดออกซิเจนหรือไม่ การพันของสายสะดือมี 2 รูปแบบ คือ

1. แบบปลดล็อก

สายสะดือพันคอ แบบไม่ล็อก ปลายสายสะดือจะเชื่อมต่อกับรก ผ่านปลายเชื่อมต่อกับทารก สายสะดือในลักษณะแบบไม่ล็อกนี้ สามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระ คลายตัวเอง หลุดออกได้เองตามธรรมชาติ เมื่อมีการขยับเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

 

2. แบบล็อก

สายสะดือพันคอ แบบล็อก ปลายสายสะดือเชื่อมต่อกับรกไขว้กันที่ส่วนปลายเชื่อมกับทารก จะพันในลักษณะที่ไม่สามารถคลายออกได้ตามธรรมชาติ เมื่อสายสะดือพันแล้วจะคลายตัวออกได้ยาก แม้จะมีการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ก็ตาม

 

สายสะดือพันคอส่งผลร้ายแรงกับลูกยังไง

ทารกในครรภ์ที่มีสายสะดือพันคอแม้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ปกติ แต่ก็อาจส่งผลอันตรายถึงทารกได้ เพราะการที่สะดือพันคอ จะทำให้ส่งออกซิเจนและอาหารไปหล่อเลี้ยงทารกไม่ได้ และอาจเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์หยุดการหายใจได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลร้ายทางสุขภาพต่าง ๆ ของทารกได้ เช่น

1. หัวใจทารกในครรภ์เต้นผิดปกติ

ผลร้ายที่พบได้บ่อยที่สุดจากสายสะดือพันคอทารกก็คือ ทำให้ทารกในครรภ์มีอัตราการเต้นของหัวใจลดลงระหว่างคลอด เกิดจากการไหลเวียนของเลือดผ่านสายสะดือที่พันกัน และออกซิเจนลดลง

 

2. ภาวะมีขี้เทาในน้ำคร่ำ 

ทารกในครรภ์ถ่ายขี้เทาออกมาก่อนกำหนด เกิดจากภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงทารก เมื่อเลือดไปเลี้ยงทารกผ่านทางสายสะดือของคุณแม่ตั้งครรภ์น้อยลง จะกระตุ้นทำให้ทารกในครรภ์ถ่ายขี้เทาออกมา

 

3. ภาวะเลือดเป็นกรด หรือ DKA Diabetic Ketoacidosis

เกิดขึ้นจากระบบการหายใจ หรือปอด มีความผิดปกติ ทำให้ร่างกายมีกรดสะสมอยู่ในปริมาณมาก หรือสูญเสียความเป็นด่างไป

 

4. ทารกเติบโตช้าในครรภ์

ความผิดปกติของสายสะดือ เป็นหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์เติบโตช้า หรือ IUGR Intrauterine Growth Retardation ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย ตัวเล็ก เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพทั้งตอนอยู่ในครรภ์และหลังการคลอด

 

5. สมองทารกทำงานผิดปกติ

ภาวะ HIE หรือ Hypoxic ischemic encephalopathy คืออาการบาดเจ็บที่สมองที่เกิดขึ้นในช่วงแรกเกิด เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อความบกพร่องของสติปัญญาหรือทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า ในระยะยาว

 

ลูกดิ้นบ่อย แปลว่ารกพันคอลูกอยู่ จริงหรือเปล่า

 

ลูกดิ้นบ่อย แปลว่ารกพันคอลูกอยู่ จริงหรือเปล่า

ลูกดิ้น บ่งบอกว่าทารกในครรภ์มีการตอบสนองต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว เช่น การยืดขยับขา หรือแขน ตอบสนองต่ออาหารที่คุณแม่ทานเข้าไป การดิ้นของทารกยังบอกถึงพัฒนาการทางสมอง ที่นำไปสู่พฤติกรรมของทารกเมื่อโตขึ้น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ลูกจะดิ้นบ่อย ดิ้นมากขึ้น เพราะมีการเจริญเติบโตของระบบกล้ามเนื้อและประสาท การดิ้นในแต่ละวันไม่เหมือนกัน ลูกดิ้นน้อยลง เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากขึ้น ตัวโตขึ้นเต็มโพรงมดลูก สำหรับสาเหตุที่ทำให้ทารกมีการดิ้นน้อยลง อาจเกิดจากสายสะดือพันคอลูกอยู่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตการดิ้นของลูกในครรภ์ให้ดี หากลูกดิ้นบ่อย แล้วดิ้นน้อยลง โดยเฉพาะหลัง 28 สัปดาห์ ควรรีบไปพบสูติแพทย์ให้เร็วที่สุด

 

สายสะดือพันคอ ทำให้ต้องผ่าคลอดทันทีเลยไหม

แม้ว่าสายสะดือพันคอเป็นภาวะที่พบเจอได้บ่อยในขณะตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ส่งผลอันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้ คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และไปตรวจครรภ์ตามนัดทุก ๆ เดือน หากคุณแม่พบกว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงจากเดิม หรือไม่ดิ้นเลย ให้รีบไปพบสูติแพทย์ทันที หากพบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ลดลง สูติแพทย์จะประเมินอาการและแนะนำให้รับการผ่าคลอด ทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสูติแพทย์

 

รกพันคอลูก มักจะเกิดขึ้นในไตรมาสไหน

รกพันคอลูก หรือสายสะดือพันคอลูก มีโอกาสเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ หรือในช่วงไตรมาสที่ 2 และจะพบสายสะดือพันคอได้มากขึ้น เมื่ออายุครรภ์ 42 สัปดาห์

 

วิธีป้องกันรกพันคอลูก คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีทางเลือกในการรักษา หรือป้องกันสายสะดือพันคอที่เกิดกับทารกในครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ควรเอาใจใส่ หมั่นสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ ควรไปตรวจครรภ์ตามนัดเสมอเพื่อติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ และช่วยลดความเสื่ยงที่อันตรายจากสายสะดือพันคอ

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรให้ความสำคัญกับการตรวจครรภ์และการฝากครรภ์ หรือพบสูติแพทย์ตามนัดอย่างเป็นประจำ เพราะการที่คุณแม่ไปพบแพทย์ตามนัด จะช่วยให้มีสุขภาพครรภ์ที่ดี ลดความเสี่ยงอันตราย หรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ได้ หากมีสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรีบไปพบสูติแพทย์ อย่ารอช้าเด็ดขาด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. What to Know About a Nuchal Cord?, Webmd
  2. สายสะดือพันคอ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้, Hello Khunmor
  3. How Does Nuchal Cord Affect My Baby?, Healthline
  4. Nuchal Cord: Umbilical Cord Wrapped Around Baby’s Neck, Abclawcenters
  5. Your Guide to Hypoxic Ischemic Encephalopathy, Healthline
  6. ภาวะสูดสำลักขี้เทาในเด็กแรกเกิด ตอนที่ 1, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย
  7. ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (IUGR), pobpad
  8. เลือดเป็นกรด, pobpad
  9. คุณแม่รู้ไหม ลูกดิ้น..บอกอะไรได้มากกว่าที่คิด, โรงพยาบาลเปาโล

อ้างอิง ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details คนท้องเป็นภูมิแพ้ ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ
บทความ
คนท้องเป็นภูมิแพ้ ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

คนท้องเป็นภูมิแพ้ ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

คนท้องเป็นภูมิแพ้ กินยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ได้หรือเปล่า ทำไมก่อนกินยาแก้แพ้ คุณแม่ท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

5นาที อ่าน

View details 10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก
บทความ
10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

รวมอาการคนท้องเริ่มแรก อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ไปดูสัญญาณเตือนอาการคนท้องระยะแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

View details อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details โปรตีนสำหรับคนท้อง สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง
บทความ
โปรตีนสำหรับคนท้อง สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง

โปรตีนสำหรับคนท้อง สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง

หลักการง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการรับประทานอาหารนั่นคือ ทานให้หลากหลายและครบทุกหมู่เป็นประจำทุกวัน อาทิ แป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่หากทำไม่ได

View details ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อย อันตรายไหม

ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อย อันตรายไหม

คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน คุณแม่ผ่าคลอดครั้งที่ 3 อันตรายไหม ส่งผลร้ายต่อร่างกายของคุณแม่หรือเปล่า ไปดูข้อควรรู้การผ่าคลอดกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ปวดท้องบิด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง
บทความ
คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ปวดท้องบิด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ปวดท้องบิด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

คนท้องท้องเสีย เกิดจากอะไร คนท้องท้องเสียไตรรมาส 3 อันตรายหรือไม่ อาการท้องเสียมีผลกระทบกับลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน มาดูวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้กัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม คำถามคาใจของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน อยากสวยตอนตั้งครรภ์แต่ถูกห้ามให้ย้อมผม มาดูกันว่าในยาย้อมผมจะมีสารเคมีอะไรที่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์บ้าง

7นาที อ่าน

View details อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม
บทความ
อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม อาการปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรได้บ้าง ปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไร

9นาที อ่าน

View details อาการตกเลือดหลังคลอดเป็นยังไง ตกเลือดหลังคลอดอันตรายไหม
บทความ
อาการตกเลือดหลังคลอดเป็นยังไง ตกเลือดหลังคลอดอันตรายไหม

อาการตกเลือดหลังคลอดเป็นยังไง ตกเลือดหลังคลอดอันตรายไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หากเลือดออกเยอะและไม่หยุดไหล จะอันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

6นาที อ่าน

View details เด็กสำลักน้ำคร่ำ เกิดจากอะไร ทารกกลืนน้ำคร่ำ อันตรายไหม
บทความ
เด็กสำลักน้ำคร่ำ เกิดจากอะไร ทารกกลืนน้ำคร่ำ อันตรายไหม

เด็กสำลักน้ำคร่ำ เกิดจากอะไร ทารกกลืนน้ำคร่ำ อันตรายไหม

เด็กสำลักน้ำคร่ำ เกิดจากอะไร ทารกกลืนน้ำคร่ำ จะเกิดขึ้นตอนไหน อันตรายกับลูกน้อยหรือเปล่า เด็กสำลักน้ำคร่ำ กี่วันหาย พร้อมวิธีป้องกันและลดความเสี่ย

4นาที อ่าน

View details อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลแผลคลอดธรรมชาติยังไงให้ปลอดภัย
บทความ
แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลแผลคลอดธรรมชาติยังไงให้ปลอดภัย

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลแผลคลอดธรรมชาติยังไงให้ปลอดภัย

แผลฝีเย็บหลังคลอดธรรมชาติ แผลผ่าตัดปริอาการอย่างไร คุณแม่ควรดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอดยังไงให้ปลอดภัย ช่วยให้แผลฝีเย็บแห้งเร็วและหายไวขึ้น ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

View details เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ที่ควรรู้
บทความ
เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ที่ควรรู้

เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ที่ควรรู้

เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร ทำไมเลือดล้างหน้าเด็กถึงออกมาจากช่องคลอดแบบกระปริบกระปรอย เลือดล้างหน้าเด็กต่างจากเลือดประจำเดือนอย่างไร ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details น้ำคาวปลา คืออะไร พร้อมวิธีขับน้ำคาวปลาหลังคลอด
บทความ
น้ำคาวปลา คืออะไร พร้อมวิธีขับน้ำคาวปลาหลังคลอด

น้ำคาวปลา คืออะไร พร้อมวิธีขับน้ำคาวปลาหลังคลอด

น้ำคาวปลา คืออะไร น้ำคาวปลาหลังคลอด จะหมดไปเมื่อไหร่ คุณแม่ต้องใช้เวลากี่สัปดาห์กว่าน้ำคาวปลาจะหมดไป สัญญาณแบบไหนที่บอกว่าเกิดการติดเชื้อ

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี
บทความ
คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยและมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไรบ้าง

5นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง
บทความ
ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน เพราะอะไร จะได้ลูกสาวหรือลูกชายดูจากท้องกลมท้องแหลมได้จริงไหม เป็นไปได้กี่เปอร์เซ็นต์

5นาที อ่าน

View details อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 5 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 5 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 5 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 5 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์