อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 27 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 27 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 27 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
มี.ค. 5, 2020

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 คุณแม่มีอายุครรภ์ 6 เดือนก่อนเข้าสัปดาห์แรกของท้องไตรมาสที่ 3 ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอาการหายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม อาการชามือ ปวดมือ รวมถึงทารกในครรภ์ก็มีพัฒนาการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวยาวประมาณ 35-36.8 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 600-900 กรัม สามารถเทียบขนาดตัวได้เท่ากับดอกกะหล่ำ
  • อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ จะมีการพัฒนาขึ้นของไขมัน Vernix มาปกคลุมผิวหนังทั่วร่างกายของทารก
  • อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกชามือ และปวดมือ สาเหตุมาจากการหนาตัวขึ้นของพังผืดตรงบริเวณข้อมือไปกดทับเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve)

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เวลาผ่านไปไว เผลอแป๊บเดียวคุณแม่ก็เข้าสู่อายุครรภ์ 27 สัปดาห์แล้ว ในสัปดาห์นี้คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองหายใจลำบาก หายใจเหมือนไม่อิ่ม จนทำให้รู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ไม่ค่อยสบายตัวมากขึ้น สำหรับอาการหายใจลำบากขณะตั้งครรภ์เป็นอาการปกติที่จะเกิดขึ้นกับคุณแม่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น อาการหายใจลำบาก เป็นเพราะปอดของคุณแม่ได้รับออกซิเจนน้อยลง

 

ซึ่งมีสาเหตุมาจากมดลูกมีการขยายตัวเพื่อรองรับขนาดร่างกายของทารกในครรภ์ที่เจริญเติบโตขึ้น ทำให้มดลูกเข้าไปเบียดชิดติดกับปอดและกระบังลมของคุณแม่ ส่งผลให้ปอดมีพื้นที่จำกัดในการขยายตัว ปอดจะได้รับออกซิเจนลดลง ทำให้คุณแม่เกิดมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ร่างกายอ่อนแรงหน้ามืดจะเป็นลม

 

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ พัฒนาการของลูกน้อยเป็นอย่างไร

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ อยากรู้ว่าลูกในท้องจะมีพัฒนาการอะไรที่เพิ่มขึ้นบ้าง คุณแม่ไปเช็กพร้อมกัน

  • เริ่มมีการลืมตา หลับตา และที่น่าตื่นเต้นคือ ทารกสามารถที่จะมองเห็นแสงจากภายนอกครรภ์ที่ผ่านมายังหน้าท้องคุณแม่
  • ผิวหนังจะมีการพัฒนาให้มีไขมัน Vernix ปกคลุมผิวหนังทั่วร่างกาย
  • กระดูกร่างกายพัฒนาขึ้นจนมีความแข็งแกร่ง
  • รูจมูกทั้งสองถูกพัฒนาจนสามารถเปิดได้ เพื่อใช้ในการหายใจ
  • ระบบการหายใจพัฒนาขึ้นจนสมบูรณ์ มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่ถุงลม และสมองมีการทำงานด้วยการควบคุมระบบหายใจของทารก
  • ทารกเริ่มมีการสะอึก  ที่เกิดจากการฝึกหายใจจากปอด โดยที่ทารกจะหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าปอด และหายใจเอาน้ำคร่ำออกจากปอด
  • สมองมีการพัฒนารอยหยักขึ้นมา
  • ร่างกายของทารกมีการเจริญเติบโตช้าลง เพื่อกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ปอด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์
  • ทารกจะมีปฏิกิริยาตอบกลับเมื่อได้ยินเสียงของคุณพ่อคุณแม่ผ่านทางหน้าท้อง
  • ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ แต่ก็ยังสามารถเคลื่อนไหว พลิก ขยับตัวได้อย่างคล่องแคล่วอยู่ในมดลูกคุณแม่ที่เต็มไปด้วยน้ำคร่ำ

 

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้องที่พบได้ทั่วไป

1. ตะคริวน่อง

คุณแม่เกิดอาการตะคริวขึ้นที่น่องขณะตั้งครรภ์ สาเหตุมาจากเลือดไหลเวียนได้น้อยลงทำให้ออกซิเจนที่ส่งจากเลือดไปเลี้ยงบริเวณน่องขาได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดเป็นตะคริว รวมถึงการได้รับแคลเซียมไม่พอขณะตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นตะคริวได้

 

2. ริดสีดวงทวาร

คุณแม่เป็นริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์ สาเหตุมาจากขนาดมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจนไปกดทับหลอดเลือดดำที่อยู่ในช่องท้อง จนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกจนเลือดไปคั่งที่หลอดเลือดตรงช่วงก้น เลือดที่สะสมจนคั่งจะเกิดเป็นก้อนปูดออกมา เวลาที่คุณแม่ถ่ายอุจจาระจะถ่ายยาก เพราะถูกก้อนเลือดปูดกันไว้ ทำให้ถ่ายยาก และถ่ายมีเลือดหลุดปนมากับก้อนอุจจาระได้

 

3. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

คุณแม่มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ จึงทำให้กล้ามเนื้อช่วงเชิงกรานต้องแบกรับน้ำหนักมากสะสมมาเป็นเวลาหลายเดือน ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณช่วงเชิงกรานหย่อนลงมา จนหูรูดท่อปัสสาวะทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ และคุณแม่ก็จะมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ บางครั้งถึงกับปัสสาวะเล็ดออกมาได้

 

4. ท้องผูก

ขนาดตัวของทารกที่พัฒนาใหญ่ขึ้น ทำให้ไปกดทับลำไส้ใหญ่จนไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมาจากการที่ฮอร์โมนในร่างกาย ก็ส่งผลให้ระบบขับถ่ายไม่ปกติ คุณแม่จึงมีอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

 

5. ปวดหลัง

อายุครรภ์ที่มากขึ้นส่งผลให้กระดูกสันหลังของคุณแม่แอ่นจากการรับน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะคลอด จึงส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง

 

6. ชามือ ปวดมือ

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากขึ้น จะมีอาการชามือ ปวดมือเกิดขึ้นได้ สาเหตุมาจากการหนาตัวขึ้นของพังผืดตรงบริเวณข้อมือไปกดทับเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ส่งผลทำให้เกิดการชาขึ้นที่ปลายนิ้วมือ

 

คุณแม่มีระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้เส้นเอ็นและเนื้อเยื่อในข้อมือขยายบวมขึ้นมาจนไปกดทับเบียดเส้นประสาทและพังผืด จนทำให้เกิดอาการปวดและชาขึ้นที่มือทั้งสองข้าง บางครั้งก็จะมีอาการเจ็บแปล๊บ ๆ เหมือนไฟดูดร่วมกับอาการปวดและชา

 

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ 27 สัปดาห์เป็นต้นไป เรียกว่าเป็นช่วงสบาย ๆ ของคุณแม่เลยก็ได้ เพราะการใช้ชีวิตประจำวัน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคุณแม่จะต้องทำอย่างช้า ๆ และมีความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากขนาดมดลูกในครรภ์เริ่มใหญ่ขึ้น ตรงบริเวณยอดมดลูกจะไปชิดติดกับบริเวณชายโครง จนทำให้คุณแม่หายใจได้ยาก และเหนื่อยง่ายขึ้น คุณแม่จะเดินได้ช้าลง เดินอุ้ยอ้ายเหมือนเป็ดเดิน

 

ท้อง 27 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 27 สัปดาห์มีขนาดใหญ่ขึ้น เปรียบเสมือนดอกกะหล่ำ หรือประมาณ 35-36.8 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 600-900 กรัม

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 27 สัปดาห์

  • ในช่วงนี้ทารกในครรภ์เริ่มที่จะจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว
  • ใบหูทั้งสองข้างมีแว๊กซ์ปกคลุม
  • อวัยวะสำคัญอย่างปอดเริ่มทำงานแล้ว
  • เริ่มเปิดเปลือกตาได้
  • มีลายนิ้วมือนิ้วเท้า

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 27 สัปดาห์

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 27 สัปดาห์

การเพิ่มความระมัดระวังในการทำกิจวัตรประจำวันสำคัญมาก ๆ ด้วยครรภ์ขนาดที่เพิ่มใหญ่ขึ้น คุณแม่ไม่สามารถทำอะไรได้คล่องตัว และเหนื่อยง่ายขึ้นมาก ๆ หากลุกขึ้นนั่งกะทันหัน หรือเดินเร็ว ๆ อาจหน้ามืดเป็นลมได้ นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถดูแลตัวเองจากอาการปกติที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ง่าย ๆ ดังนี้

 

1. ริดสีดวงทวาร

  • เมื่อปวดอุจจาระให้เข้าห้องน้ำทันที ไม่ควรกลั้นอุจจาระ
  • รับประทานผักใบเขียว และผลไม้ เพื่อเพิ่มกากใยขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
  • ดื่มน้ำให้มากเพียงพอต่อวัน
  • กรณีที่ใช้ยาระบาย ควรอยู่ในการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น

 

2. ชามือ

  • หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือหนัก เช่น ยกของ ถือของ กิจกรรมที่ต้องมีการกระดกและงอข้อมือ เช่น การทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 

3. ปวดหลัง

  • รับประทานอาหารสำหรับคนท้อง ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์การตั้งครรภ์
  • เวลานั่ง ไม่นั่งไขว่ห้าง แนะนำคุณแม่นั่งให้หลังตรงและช่วงหลังควรชิดกับพนักพิงเก้าอี้
  • เวลานอน แนะนำให้นอนท่าตะแคง เพื่อให้ง่ายต่อการลุกนั่ง
  • ไม่ควรยกหรือถือของหนัก
  • สวมรองเท้าที่ไม่มีส้นสูง
  • ออกกำลังกาย เช่น การว่ายน้ำ การเดิน

 

4. ตะคริวน่อง

  • ดื่มน้ำอุ่น
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ผักใบเขียวต่าง ๆ
  • ปรับท่านอนเป็นท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย
  • ก่อนนอนให้ยืดกล้ามเนื้อช่วงขาทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 5 ครั้ง
  • กรณีที่เกิดตะคริวขึ้นที่น่อง ให้คุณแม่เหยียดขาข้างที่เกิดตะคริวยืดออกให้สุดเท้า แล้วนวดอย่างเบามือตรงน่องข้างที่เกิดตะคริว

 

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เพื่อช่วยให้คุณแม่มีอารมณ์ที่ดี และลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการสมองและอารมณ์ดี แนะนำคุณแม่หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น การฟังเพลง การนั่งสมาธิ หรือออกกำลังกายเบา ๆ มีการศึกษาทางการแพทย์ชี้ว่าคุณแม่ที่มีภาวะอารมณ์ดีตลอดการตั้งครรภ์ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินส์ (Endorphin) ที่เป็นสารความสุขออกมา เอ็นดอร์ฟินส์ถูกส่งผ่านทางสายสะดือไปให้ลูกในท้อง ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี และอามรณ์ดีได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องไตรมาสแรก ภาวะเสี่ยงที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลเปาโล
  2. อาการหน้ามืด อ่อนเพลียในคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  3. การตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์, Siamhealth
  4. 9 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  5. อาการตะคริวน่องในคนท้องแก้ไขอย่างไร, คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  6. 7 อาการป่วนตอนท้อง ตอนที่ 2, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. ปัสสาวะเล็ด, สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  8. วิธีรับมืออาการท้องผูก ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  9. คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  10. อาการมือชา, โรงพยาบาลนนทเวช
  11. ชวนคุณแม่ลูกอ่อนมาอ่าน … ทำไมถึงชอบปวดข้อมือตอนมีน้อง, โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ KDMS
  12. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  13. พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 27 ของการตั้งครรภ์, helloคุณหมอ
  14. กายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างขณะตั้งครรภ์, ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  15. อยากกระตุ้นให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 14 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 1- 4
บทความ
พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 1- 4

พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 1- 4

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1- 4 ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง ลูกน้อยในครรภ์ตัวแค่ไหนแล้ว พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์และร่างกายคุณแม่

View details อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 12 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 12 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 12 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการท้องระยะแรก 12 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 12 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าแม่ตั้งท้อง 12 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 20 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 20 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 20 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 20 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

 

View details อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 28 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 28 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 28 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 28 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 1 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง
บทความ
อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 1 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 1 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 1 อาหารคนท้องอ่อน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอะไรให้ลูกแข็งแรงและมีโภชนาการที่ดี ไปดูเมนูอาหารคนท้องไตรมาสแรกสำหรับคุณแม่กัน

View details 10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก
บทความ
10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

รวมอาการคนท้องเริ่มแรก อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ไปดูสัญญาณเตือนอาการคนท้องระยะแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมกราคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมกราคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมกราคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมกราคม 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมกราคม 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

10นาที อ่าน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกันยายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกันยายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกันยายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกันยายน 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกันยายน 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

8นาที อ่าน

View details เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม
บทความ
เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

6นาที อ่าน

View details อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม
บทความ
อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูกได้จริงไหม สัญญาณท้องลูกชายและอาการแพ้ท้องลูกสาวเป็นยังไง อาการแบบไหนที่บอกให้คุณแม่รู้ว่ากำลังจะได้ลูกสาวหรือลูกชาย

4นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้
บทความ
คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้ ลูกน้อยในครรภ์ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ท้อง 9 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง
บทความ
ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย ลูกไม่ดิ้นบ่งบอกถึงอะไรได้บ้างสำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ไปดูสัญญาณเตือนเมื่อลูกไม่ดิ้นและการนับลูกดิ้นกัน

8นาที อ่าน

View details หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน
บทความ
หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วันถึงชัวร์ที่สุด ไปดูกันว่าหลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง พร้อมวิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเองสำหรับคุณแม่มือใหม่

6นาที อ่าน

View details หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมระหว่างตั้งครรภ์
บทความ
หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมระหว่างตั้งครรภ์

หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมระหว่างตั้งครรภ์

หัวนมคนท้องและเต้านมคนท้องจะมีเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ไปจนถึงช่วงให้นมลูก คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลและสังเกตความผิดปกติของหัวนม เตรียมพร้อมให้นมลูกน้อย

7นาที อ่าน

View details ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร อันตรายไหม เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์แล้ว สัญญาณเตือนท้องลมมีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง ไปดูอาการท้องลมที่บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังท้องลมอยู่กัน

5นาที อ่าน

View details โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง
บทความ
โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง

โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง

โครโมโซม คืออะไร โครโมโซม มีกี่คู่ ทำความรู้จัก โครโมโซม และวิธีการตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ เพื่อเช็กความผิดปกติของทารก พร้อมวิธีตรวจคัดกรองโครโมโซมอย่างละเอียด

9นาที อ่าน

View details อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน
บทความ
อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน

อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน

อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน สังเกตอาการคนท้องคัดเต้า เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ พร้อมวิธีบรรเทาอาการคัดเค้าที่คุณแม่ทำได้เอง

6นาที อ่าน

View details ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี
บทความ
ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี

ควรฝากครรภ์ตอนไหน คุณแม่เริ่มเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี

ฝากครรภ์ตอนไหนดีที่สุด การฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างไร ทำไมคุณแม่ต้องรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ไปดูข้อดีของการฝากครรภ์กับคุณหมอที่คุณแม่ควรรู้กัน

7นาที อ่าน