น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในช่วงปีแรก ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าในช่วงแรกของทารก ลูกน้อยจะนอนหลับเป็นส่วนใหญ่แต่ในแต่ละวัน แต่ละเดือนลูกน้อยมีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ อยู่ ทำให้พ่อแม่อาจไม่ทันสังเกตถึงพัฒนาการที่ดีขึ้นของลูกน้อย มาติดตามพัฒนาการของทารกรายเดือนตั้งแต่แรกเกิดกันเถอะ
สรุป
- พันธุกรรม โภชนาการ การออกกำลังกายและสภาพแวดล้อมรอบตัว ล้วนมีบทบาทในการกำหนดความสูงของเด็ก คุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัย และจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย
- การจดบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงมีความสำคัญสามารถช่วยติดตามพัฒนาการของเด็กได้ หากลูกน้อยมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์การประเมินแสดงว่าเด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ เพียงพอและมีการเจริญเติบโตที่ดี
- ทารกในแต่ละคนมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาที่ต่างกัน เด็กบางคนมีพัฒนาการที่เร็ว เด็กบางคนมีพัฒนาการที่ช้าออกไปแต่ไม่ควรช้าไปกว่าลำดับขั้นพัฒนาการของเด็ก
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ปัจจัยที่ทำให้เด็กแต่ละคน มีน้ำหนักส่วนสูงแตกต่างกัน
- คุณพ่อคุณแม่ควรจดบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของลูกน้อย
- น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กชาย ช่วงอายุ 0-5 ปี
- ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กชาย ช่วงอายุ 0-5 ปี
- น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กหญิง ช่วงอายุ 0-5 ปี
- ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กหญิง ช่วงอายุ 0-5 ปี
- ตารางแสดงความหมายของกราฟน้ำหนักเด็ก
- ตารางแสดงความหมายของกราฟส่วนสูงเด็ก
- พัฒนาการตามเกณฑ์ของลูกน้อย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ
ปัจจัยที่ทำให้เด็กแต่ละคน มีน้ำหนักส่วนสูงแตกต่างกัน
- พันธุกรรม: ความสูงสามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ หากคุณพ่อคุณแม่สูงลูกมักจะสูงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณพ่อคุณแม่ตัวไม่สูงมากลูกอาจจะมีความสูงไม่มากนัก
- อาหาร: โภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก คุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมลูกน้อยให้ได้ทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน ในแต่ละวันคุณแม่ควรจัดให้ลูกได้กินทั้งแป้ง ไขมัน โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ พร้อมเสริมนมกล่องเด็ก ที่เหมาะสมตามวัย เพื่อให้ลูกน้อยมีกระดูกที่แข็งแรงและมีความสูงตามเกณฑ์
- การออกกำลังกาย: พ่อแม่ควรปลูกฝังให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย และการเล่นกีฬาจะช่วยให้ลูกน้อยมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและตัวยืดสูงได้ดีโดยเฉพาะกีฬาจำพวกแบดมินตัน หรือบาสเกตบอล เป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมรอบตัว: สภาพแวดล้อมส่งผลต่อความสูงของลูกน้อยได้เนื่องจากเด็กเป็นวัยที่ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ทั้งอาหาร การพักผ่อน และพื้นที่ในการได้ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ คุณพ่อคุณแม่จึงควรคอยสนับสนุนให้ลูกน้อยมีสภาพแวดล้อมในการเติบโตที่ดี
- การนอนหลับพักผ่อน: การนอนมีความสำคัญกับเด็ก ๆ มาก เด็กทุกคนควรมีการนอนที่ดีมีคุณภาพ เพราะในช่วงเวลาที่ลูกน้อยหลับจะเป็นเวลาที่ฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หลั่งออก ซึ่งสารตัวนี้เองที่ช่วยให้เจ้าตัวเล็กเติบโตได้ดี
คุณพ่อคุณแม่ควรจดบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของลูกน้อย
เด็กเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากพลาดโอกาสในการติดตามพัฒนาการของลูกน้อยควรมีการจดบันทึกน้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงเป็นประจำ เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถบอกได้ว่าลูกน้อยได้รับอาหารเพียงพอหรือไม่ ลูกน้อยขาดสารอาหารหรือเปล่า อีกทั้งการจดบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงยังสามารถใช้ประเมินดูว่าเจ้าตัวเล็กมีการเจริญเติบโตเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ สำหรับวิธีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงที่ถูกต้องมีดังนี้
- การชั่งน้ำหนัก: คุณแม่ควรเลือกตาชั่งที่ละเอียดถึง 100 กรัม หรือ 0.1 กิโลกรัม ก่อนวัดคุณแม่ต้องตรวจสอบก่อนว่าหน้าปัดอยู่ที่เลข 0 หรือไม่ ในกรณีที่ลูกน้อยอยู่ในวัยทารกคุณแม่สามารถอุ้มลูกแล้วขึ้นชั่งน้ำหนักพร้อมกัน จากนั้นคุณแม่ค่อยขึ้นชั่งน้ำหนักคนเดียว แล้วนำน้ำหนักของแม่และลูกมาลบกับน้ำหนักของคุณแม่ก็จะได้เป็นน้ำหนักของทารก สำหรับเด็กเล็กคุณแม่ควรให้ลูกน้อยถอดรองเท้าและสวมเสื้อผ้าแบบบางเบาเพื่อจะได้ทราบน้ำหนักที่แท้จริงของเจ้าตัวเล็ก
- การวัดส่วนสูง: สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี คุณแม่อาจจะใช้วิธีการให้ลูกน้อยนอนเหยียดตรงแล้วใช้ไม้บรรทัดหรือสายวัดวัดความสูงของเด็ก เมื่อลูกน้อยอายุ 2 ปีขึ้นไป คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยยืนวัดโดยใช้ที่วัดส่วนสูงแบบติดผนังได้เลย
- จดบันทึกและนำไปเปรียบเทียบ: คุณแม่สามารถจดบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงของลูกไว้ในคู่มือสุขภาพแม่และเด็ก จากกรมอนามัย จากนั้นนำไป เปรียบเทียบกับกราฟแสดงตามเกณฑ์อายุของเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อดูว่าเจ้าตัวเล็กมีพัฒนาการอย่างไรเป็นไปตามเกณฑ์ปกติหรือไม่
น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กชาย ช่วงอายุ 0-5 ปี
ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กชาย ช่วงอายุ 0-5 ปี
น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กหญิง ช่วงอายุ 0-5 ปี
ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กหญิง ช่วงอายุ 0-5 ปี
วิธีอ่านกราฟแสดง น้ำหนัก และความยาวหรือความสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งเพศหญิงและเพศชายมีดังนี้
- ตัวเลขตามแนวนอน: จะแสดงอายุของลูกน้อย เป็น จำนวน เดือน
- ตัวเลขตามแนวตั้ง: จะแสดงน้ำหนักวงเล็บกิโลกรัม และ ความยาวหรือส่วนสูงวงเล็บเซนติเมตร
- พื้นที่สีในกราฟ: คือ เกณฑ์การเจริญเติบโตของเด็ก แบ่งเป็น 5 ระดับคือ
ตารางแสดงความหมายของกราฟน้ำหนักเด็ก
พื้นที่สี่ในกราฟ | เกณฑ์แบ่งการเจริญเติบโต | ความหมาย |
สีน้ำตาล | น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ | เด็กขาดสารอาหาร |
สีเขียวอ่อน | น้ำหนักค่อนข้างน้อย | เด็กเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร |
สีเขียว | น้ำหนักตามเกณฑ์ | เด็กเจริญเติบโตได้ดี |
สีเขียวเข้ม | น้ำหนักค่อนข้างมาก | คุณแม่ควรควบคุมอาหารให้ลูกน้อย |
สีขาว | น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ | ต้องนำน้ำหนักไปเปรียบเทียบกับส่วนสูงของเด็ก เพื่อดูว่าลูกเข้าข่ายเป็นเด็กอ้วนหรือไม่ |
ตารางแสดงความหมายของกราฟส่วนสูงเด็ก
พื้นที่สี่ในกราฟ | เกณฑ์แบ่งการเจริญเติบโต | ความหมาย |
สีน้ำตาล | เตี้ย | เด็กขาดสารอาหารมานาน หรือป่วยบ่อยพ่อแม่จำเป็นต้องเร่งดูแลอย่างเร่งด่วน |
สีเขียวอ่อน | ค่อนข้างเตี้ย | เด็กเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร พ่อแม่ควรใส่ใจอาหารของเด็กเพิ่มขึ้น |
สีเขียว | สูงตามเกณฑ์ | เด็กได้รับสารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย |
สีเขียวเข้ม | ค่อนข้างสูง | เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี |
สีขาว | สูงกว่าเกณฑ์ | เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีมาก |
พัฒนาการตามเกณฑ์ของลูกน้อย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ
- แรกเกิด: ทารกแรกเกิดสามารถส่งเสียงอ้อแอ้ และสามารถมองจ้องหน้าได้นาน 1-2 วินาที
- 1 - 2 เดือน: ลูกน้อยสามารถนอนคว่ำแล้วยกศีรษะขึ้นตั้งได้ 45 องศา นาน 3 นาที สามารถมองหน้าพ่อแม่หรือคนที่พูดด้วยนาน 5 วินาที สามารถมองตามวัตถุผ่านกลางลำตัวได้ ทั้งยังสามารถทำเสียง “อู” “อา” ในลำคอ และยิ้มตอบพ่อแม่หรือคนที่พูดด้วยได้แล้ว
- 3 - 4 เดือน: ลูกน้อยสามารถนอนคว่ำยกศีรษะและช่วงอกได้พ้นพื้นแล้ว สามารถมองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้เป็นมุม 180 องศา สามารถหันตามเสียงได้แล้ว ทั้งยังสามารถยิ้มทักและทำเสียงสูงต่ำเพื่อแสดงความรู้สึกได้ด้วย
- 5 - 6 เดือน: ลูกน้อยเริ่มรู้จักยันตัวขึ้นจากท่านอนคว่ำโดยที่แขนเหยียดตรงทั้งสองข้าง พร้อมทั้งยังสามารถนอนหงายแล้วเอื้อมมือหยิบจับสิ่งของ และถือของไว้ได้ นอกจากนี้ยังหันตามเสียงได้ดี สนุกกับการเลียนแบบเสียง และสนใจกับคนพูดและของเล่น
- 7 – 8 เดือน: ตอนนี้ลูกน้อยเริ่มนั่งได้มั่นคงและใช้มือเล่นของเล่นได้อย่างอิสระ สามารถเกาะยืนได้ เมื่อพ่อแม่เปิดหนังสือลูกจะมองไปที่หนังสือได้นาน 2-3 วินาที สามารถเลียนเสียงพูดและสนุกกับการเล่นจ๊ะเอ๋
- 9 เดือน: ลูกน้อยสามารถลุกขึ้นนั่งจากท่านอนได้แล้ว สามารถหยิบจับของจากพื้นและถือไว้ได้ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ หยิบจับไว้ แต่พอยืนขึ้นยังต้องอาศัยมือในการยึดเกาะอยู่ สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ รู้จักแสดงท่าทางว่าปฏิเสธสิ่งของหรือการช่วยเหลือได้และสามารถเลียนเสียงพูดได้อย่างน้อย 1 เสียง เช่น “แม่” “หม่ำ”
- 10 – 12 เดือน: ลูกน้อยสามารถยืนได้นานกว่า 2 นาที สามารถใช้นิ้วมือหยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ ได้ สามารถโบกมือตามคำสั่ง ใช้ท่าทางแสดงความต้องการ และเล่นของเล่นตามประโยชน์ของสิ่งของได้ เช่น เล่น หวีผม หรือป้อนอาหาร เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้วพัฒนาการเด็กมี 4 ด้านด้วยกัน คือ พัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การสื่อสาร และการเข้าสังคม พัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กจะเชื่อมโยงกับการเจริญเติบโตของลูกน้อย หากเด็กมีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้า ย่อมส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็กด้วย ดังนั้น คุณแม่ต้องคอยสังเกตพัฒนาการของลูกน้อย ถ้าพบว่าลูกมีพัฒนาที่ผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ลูกน้อยจะได้มีพัฒนาสมวัยได้ไม่ต่างจากเด็กคนอื่น
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ
- อาการท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายหรือไม่ ทำไมคุณแม่ต้องรู้
- เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- อาหารคนท้องไตรมาสแรก โภชนาการที่สำคัญสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- ลูกจะสูงเท่าไร คำนวณความสูงลูกง่ายนิดเดียว, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- 3 สิ่งต้องทำ ถ้าอยากให้ลูกตัวสูง, โรงพยาบาลสมิติเวช
- อยากสุขภาพดี ต้องมี 3 อ. สำหรับเด็กเล็ก, โครงการจัดการความรู้ ผ่านสื่อและเทคโนโลยีเทคโนโลยีออนไลน์มูลนิธิหมอชาวบ้าน
- กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเด็กอายุ 0-5 ปี, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
- สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ฉบับภาษาไทย ปี 65, กรมอนามัย
- คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM), กรมอนามัย
- เช็คพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวัยแรกเกิด, โรงพยาบาลนนทเวช
- Newborn Development: 0-1 month, Children's Hospital of Orange County
อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง