อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ให้เหมาะสม คุณแม่ควรกินอะไรให้สุขภาพดีทั้งแม่และลูก

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ ควรกินอะไรให้สุขภาพดีทั้งแม่และลูก

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ ควรกินอะไรให้สุขภาพดีทั้งแม่และลูก

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ค. 20, 2024
2นาที

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เรื่องของอาหารการกินนั้น เป็นเรื่องที่คุณแม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว เราชวนมาดูเคล็ดลับการกินที่ช่วยให้ได้ประโยชน์ทั้งคุณแม่และลูกน้อย แบ่งเป็นเรื่องของสารอาหารที่จำเป็น และอาหารที่คุณแม่ควรทานในแต่ละไตรมาส รวมถึงวิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อลูกน้อยน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ด้วย ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

 

สรุป

  • คุณแม่จำเป็นต้องดูแลเรื่องอาหารการกินและโภชนาการของตนเองให้มากขึ้น เพราะสารอาหารที่ดีจะส่งผ่านไปยังลูกน้อย และเป็นสิ่งสำคัญที่จะเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี
  • ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์, Fetal Growth Restriction (FGR) ซึ่งหมายถึงทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐาน พบได้ไม่มากนัก ประมาณร้อยละ 10 ของการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะไม่ได้อันตรายถึงชีวิต แต่ภาวะนี้ก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายของลูกน้อย โดยเฉพาะระบบประสาท และเพิ่มโอกาสที่ลูกจะเสียชีวิตหลังคลอดทันทีมากถึงเท่าตัว หรือมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 1.5
  • เพื่อเพิ่มน้ำหนักลูกให้เหมาะสม คุณแม่ควรเน้นรับประทานสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เช่น โปรตีนที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งคุณแม่และลูกน้อย เพื่อนำไปใช้เสริมสร้างอวัยวะและกล้ามเนื้อของลูก โอเมก้า 3 และไขมันดีช่วยเสริมสร้างสมอง รวมถึงธาตุเหล็ก แคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูก และวิตามินดีที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
  • ผลไม้ที่เหมาะกับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ควรมีวิตามินสูงแต่น้ำตาลน้อย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี และผลไม้ที่มีโฟเลตสูง เช่น กล้วย ผักโขม ฟักทอง อะโวคาโด

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ให้เหมาะสม กินอะไรบำรุงให้สุขภาพดีทั้งแม่และลูก

โภชนาการหรืออาหารการกินนั้น มีความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้ลูกน้อย รวมถึงสุขภาพของคุณแม่ด้วย ตลอดการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีทั้งคุณค่าครบ 5 หมู่ และเหมาะสมกับความต้องการของลูกน้อยในทุกไตรมาสด้วย เราชวนมาดูอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ให้เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยและคุณแม่กันดีกว่า

 

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการกินอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกให้เหมาะสม

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว แน่นอนว่าเรื่องของโภชนาการนั้นสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นเพราะในแต่ละไตรมาส ลูกน้อยในครรภ์ มีการเติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ กันไป เช่น ไตรมาสที่ 1 อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกให้เหมาะสม คือโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน ซึ่งสำคัญมากเพราะเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อย

 

ส่วนในไตรมาสที่ 2 นั้นคุณแม่จำเป็นต้องเพิ่มพลังงานจากสารอาหารมากกว่าเดิมถึง 300 แคลอรีต่อวัน อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกให้เหมาะสม ต้องเน้นธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือด และไอโอดีนที่ช่วยลดความเสี่ยงความผิดปกติทางสมอง เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยขยายขนาดอวัยวะต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาสมองที่เพิ่มขึ้นถึงราว 4 เท่า

 

และในไตรมาสที่ 3 ที่ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกายอย่างก้าวกระโดด คุณแม่จึงจำเป็นต้องเพิ่มอาหารเพิ่มน้ำหนักลูก และเพิ่มพลังงานขึ้นอีก 300 แคลอรีต่อวัน ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลด้วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

แม่กินอะไรเข้าไป ลูกก็จะได้รับทั้งหมด จริงไหม?

มีสำนวนที่ว่า You are what you eat. แต่สำหรับในช่วงตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับสำนวนนี้ เพราะคุณแม่จำเป็นต้องดูแลเรื่องอาหารการกินและโภชนาการของตนเองให้มากขึ้น เพราะโภชนาการที่ดีส่งผ่านไปยังลูกน้อยด้วย สิ่งที่คุณแม่กินเข้าไปจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี และพื้นฐานของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะการสร้างสมอง รวมถึงลูกจะมีน้ำหนักีเหมาะสม นอกจากนี้ โภชนาการที่ดียังช่วยให้คุณแม่แข็งแรง พร้อมที่จะคลอดได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย

 

แต่ในขณะเดียวกันไม่เพียงแต่สารอาหารดี ๆ ที่ลูกน้อยจะได้รับจากคุณแม่เท่านั้น แต่สารพิษต่าง ๆ รวมถึงเชื้อโรคก็ไปสู่ลูกผ่านการกินของคุณแม่เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงควรต้องระวังเรื่องความสะอาด สารเคมีตกค้าง และควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ

 

จะรู้ได้ยังไงว่าลูกในครรภ์น้ำหนักลดลง

การประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์นั้น เป็นเรื่องที่คุณหมอจะตรวจประเมินให้เมื่อคุณแม่เข้าไปตรวจครรภ์ในระหว่างการฝากครรภ์อยู่แล้ว โดยประเมินมาจากการตรวจร่างกายคุณแม่ ผลอัลตราซาวด์ ร่วมกับน้ำหนักคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น และอาการเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวของคุณแม่บางท่าน

 

ซึ่งหากเจ้าตัวเล็กมีน้ำหนักลดลงหรืออยู่ในภาวะ “ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ หรือ Fetal Growth Restriction (FGR)” ซึ่งหมายถึงทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่คุณแม่มีรูปร่างเล็ก หรือท้องแฝด ซึ่งจะพบได้ว่าลูกน้อยในครรภ์จะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือการที่เจ้าตัวเล็กน้ำหนักลดลงนั้นก็อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางพันธุกรรม รก หรือโรคประจำตัวของคุณแม่เองที่ส่งผลต่อลูก หรือปัจจัยอื่น ๆ

 

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ส่งผลอะไรบ้าง

เจ้าตัวเล็กที่เจริญเติบโตช้า หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มีการศึกษาพบว่าราวร้อยละ 70 ไม่ได้มีภาวะเสี่ยงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพได้มากกว่าปกติ หรือหมายถึงว่าลูกจะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะพิการได้นั่นเอง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตได้

 

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกให้เหมาะสม ควรเน้นสารอาหารอะไรบ้าง

เมื่อลูกน้ำหนักน้อยคุณแม่ไม่ต้องเครียดไป นอกเหนือจากการตรวจวินิจฉัยและรับคำปรึกษาจากแพทย์ เราสามารถเสริมสารอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์กับเจ้าตัวเล็กได้อีกด้วย

1. โปรตีน

โปรตีนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งคุณแม่และลูกน้อย เพื่อนำไปใช้เสริมสร้างอวัยวะและกล้ามเนื้อของลูก จึงควรรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ และพืชให้หลากหลาย ปริมาณที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการอยู่ที่ประมาณ 75-110 กรัมต่อวัน หรือเพิ่มสัดส่วนโปรตีน 30-40 เปอร์เซ็นต์ แต่ละมื้อ

 

2. โฟลิก

สารอาหารสำคัญอันดับต้น ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ขาดไม่ได้ นั่นคือกรดโฟลิกหรือโฟเลต ที่เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอของเซลล์เพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับปริมาณที่เหมาะสมและควรได้รับ โดยอาหารที่อุดมด้วยโฟเลต ได้แก่ ผักใบเขียว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ส้ม มะละกอสุก ตับ ธัญพืช เป็นต้น

 

3. ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดในช่วงตั้งครรภ์ ที่จำเป็นต้องสร้างเพิ่มมากขึ้นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เพียงพอต่อการนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็ก 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งได้รับไม่เพียงพอจากอาหาร แพทย์จึงมักให้ยาเสริมธาตุเหล็กมาเสริม คุณแม่จึงควรรับประทานตามแพทย์สั่งและจ่ายให้อย่างสม่ำเสมอ อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก คือ เนื้อหมู เนื้อวัว เลือด ตับ ไข่ ผักใบเขียว เป็นต้น

 

4. แคลเซียม

คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการแคลเซียมวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัมก็จริง แต่ปริมาณนี้นั้นสูงกว่าช่วงไม่ตั้งครรภ์ไม่มากนัก ดังนั้นคุณแม่ลองหาอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม ปลาตัวเล็กตัวน้อย คะน้า ใบยอ งาดำ ฯลฯ แต่หากคุณแม่ดื่มนมไม่ได้ ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำทางโภชนาการที่เหมาะสม


    
5. วิตามินดี

เป็นวิตามินอีกตัวที่สำคัญเพราะทำหน้าที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม หากขาดวิตามินดีจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงและส่งผลต่อกระดูกได้ วิตามินดีนั้นได้มาฟรี ๆ ไม่ต้องซื้อหา เพียงเดินรับแสงแดดอ่อน ๆ หรือกลางแจ้งช่วงเช้า ก่อน 9 โมง ประมาณ วันละ 30 นาที ถึงหนึ่งชั่วโมง เท่านี้ร่างกายก็สามารถสร้างวิตามินดีได้แล้ว รวมถึงช่วยให้คุณแม่ได้ออกกำลังกายเบา ๆ ไปในตัวด้วย

 

6. ไขมันและกรดไขมันจำเป็น

ไขมันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างพลังงาน ที่คุณแม่และลูกน้อยจำเป็นต้องได้รับ แต่จำเป็นต้องเลือกไขมันในกลุ่มไขมันดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ตัวที่สำคัญมากคือกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 ที่มีมากในอาหารประเภทปลา โอเมก้า 3 จำเป็นต่อการสร้างและพัฒนาสมองและจอประสาทตาของลูกน้อยในครรภ์ โอเมก้า 3 และไขมันดีนั้นไม่ได้หายาก เพียงคุณแม่รับประทานปลาให้ได้อย่างน้อยสองมื้อต่อสัปดาห์

 

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ ที่คุณแม่ควรทานทุกวัน

นอกจากการรับประทานอาหารเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของคุณแม่แล้ว ยังมีสารอาหารที่คุณแม่ควรรับประทานเพิ่มเติมเป็นประจำทุกวัน โดยแต่ละไตรมาสควรเพิ่มสารอาหารดังนี้

ไตรมาสที่ 1 (1-3 เดือน)

ช่วงนี้คุณแม่มักมีอาการแพ้ท้องและทำให้ไม่อยากอาหาร อย่างไรก็ตามคุณแม่พยายามรับประทานให้หลากหลาย ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละวัน เพื่อให้คุณแม่และลูกน้อยได้สารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม

 

ไตรมาสที่ 2 (3-6 เดือน)

ในช่วงเวลานี้คุณแม่อาจแพ้ท้องน้อยลง เป็นช่วงที่ควรเพิ่มปริมาณอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอสำหรับตัวคุณแม่ และลูกน้อยในท้องที่เสริมสร้างอวัยวะต่าง ๆ และเจริญเติบโตขึ้น โดยในแต่ละวันควรเพิ่มดังนี้

  • เพิ่มข้าว 1 ทัพพีต่อวัน (แบ่งเพิ่ม 2-3 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ)
  • เพิ่มเนื้อสัตว์ 2-3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • เพิ่มนม (แนะนำชนิดพร่องมันเนย หรือไร้ไขมัน) 1 แก้วต่อวัน
  • เพิ่มไข่ วันละ 1 ฟอง

 

ไตรมาสที่ 3 (7-9 เดือน)

อาหารที่จำเป็นกับการรับประทาน ต้องมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเจ้าตัวเล็กต้องใช้พลังงานมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ กำลังสร้างและพัฒนาขึ้น ส่วนคุณแม่เองก็ต้องการพลังงานเพื่อเตรียมคลอด

  • ข้าว 1-2 ทัพพี (แบ่งเพิ่ม 3-4 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ)
  • เพิ่มเนื้อสัตว์ขึ้นเป็น 4 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • เพิ่มนมเป็น 2 แก้ว ต่อวัน
  • เพิ่มไข่ 1 ฟองต่อวัน

 

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ ทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์ทั้งแม่และลูก

 

ผลไม้บำรุงครรภ์ น้ำตาลไม่สูง เหมาะกับคนท้อง

ไม่ใช่แค่ของหวานเท่านั้นที่มีน้ำตาลสูง แต่ผลไม้บางประเภทก็มีน้ำตาลสูงไม่แพ้กัน เราขอแนะนำผลไม้ที่เหมาะกับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ที่มีวิตามินสูงแต่น้ำตาลน้อย รับประทานได้บ่อย ดีกับสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อย

  • ผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี ส้ม แอปเปิล และฝรั่ง
  • ผลไม้ที่มีโฟเลตสูง เช่น กล้วย ผักโขม ฟักทอง อะโวคาโด ส้ม มะละกอสุก
  • ผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบอร์รี สตรอเบอร์รี และมัลเบอร์รี
  • เลือกผลไม้สด เพราะสารอาหารที่ครบถ้วนกว่าผักผลไม้แช่แข็ง หรือผลไม้กระป๋อง
  • น้ำผลไม้คั้นสดที่คั้นเอง และไม่ควรปรุงรสโดยการเติมเกลือหรือน้ำตาลเพิ่ม
  • หลีกเลี่ยงผลไม้ที่ผ่านการหมักดอง เพราะอาจเสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษ การได้รับเชื้อโรค ท้องเสียและท้องร่วงได้

 

การรับประทานอาหารที่ถูกสัดส่วน และครบถ้วนทางโภชนาการ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์และเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้ นอกจากเรื่องของร่างกายแล้วคุณแม่ควรดูแลเรื่องของจิตใจด้วย ไม่เครียด หากิจกรรมทำเพื่อความผ่อนคลายบ้าง รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอก็สำคัญไม่แพ้กัน ที่สำคัญควรหมั่นออกกำลังกาย ขยับร่างกายเพื่อเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า และยังช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมในการคลอดต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ‘โภชนาการที่ดี’ สารอาหารและพลังงานเพื่อลูกรัก, โรงพยาบาลศิครินทร์
  2. คุณแม่ตั้งท้อง กินอย่างไรไม่ให้อ้วน, โรงพยาบาลพญาไท
  3. ทารกเติบโตช้าในครรภ์, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  4. Fetal growth restriction ภาวะทารกโตช้าในครรภ์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. อาหารเพิ่มน้ำหนัก "ลูก" ในครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  6. แม่ท้องกินอะไร …ถึงดีต่อลูกน้อย, โรงพยาบาลเปาโล
  7. อาหารลดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับประทานอย่างไรให้สุขภาพดี, pobpad
  8. เทคนิคการกินของคุณแม่ตั้งครรภ์...ที่จะได้สารอาหารให้ลูกน้อยเต็ม ๆ , โรงพยาบาลพญาไท
  9. เมนูอาหารคุณแม่ท้อง บำรุงสมองลูกในครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก

อ้างอิง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ท้องกี่เดือนรู้เพศ คุณแม่รู้เพศตอนกี่เดือน ต้องรอนานแค่ไหน
บทความ
ท้องกี่เดือนรู้เพศ อัลตร้าซาวด์เพศลูก กี่เดือนรู้เพศ ต้องรอนานแค่ไหน

ท้องกี่เดือนรู้เพศ คุณแม่รู้เพศตอนกี่เดือน ต้องรอนานแค่ไหน

คุณแม่ท้องกี่เดือนรู้เพศ จะรู้เพศตอนกี่เดือน อายุครรภ์เท่าไหร่ คุณแม่ถึงสามารถรู้เพศของลูกตัวเองได้ วิธีไหนบ้างที่สามารถตรวจเพศลูกระหว่างตั้งครรภ์ ไปดูกัน

2นาที อ่าน

View details อาการท้องไม่รู้ตัว คุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์
บทความ
อาการท้องไม่รู้ตัว คุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์ที่ถูกต้อง

อาการท้องไม่รู้ตัว คุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการท้องไม่รู้ตัวของคุณแม่ท้องแรก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ อาการท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร จะรู้ได้ยังไงว่าท้องแล้ว

2นาที อ่าน

View details ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่ปวดท้อง เกิดจากสาเหตุอะไร มีเลือดออกสีน้ำตาลและสีแดงสด อันตรายกับแม่แค่ไหน

2นาที อ่าน

View details อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น
บทความ
อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มดลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีลูกให้ง่ายมากขึ้น อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

2นาที อ่าน

View details คลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด
บทความ
ทารกคลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

คลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ทำความเข้าใจ ทารกคลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร สัญญาณเตือนทารกคลอดก่อนกำหนดที่แม่ใกล้คลอดควรรู้มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

2นาที อ่าน

View details อาการคนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้อง บ่งบอกสุขภาพคนท้องยังไงบ้าง
บทความ
อาการคนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้อง บ่งบอกสุขภาพคนท้องยังไงบ้าง

อาการคนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้อง บ่งบอกสุขภาพคนท้องยังไงบ้าง

อาการคนท้องฉี่สีอะไร ต่างจากคนที่ไม่ได้ท้องไหม สีปัสสาวะคนท้องแต่ละสีบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของอย่างไร มีวิธีสังเกตสีปัสสาวะคนท้องยังไงบ้าง ไปดูกัน

2นาที อ่าน

View details คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย
บทความ
คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้องท่าไหน ปลอดภัยที่สุด

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน และ ท่านอนคนท้อง 8-9 เดือน แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ท้อง ไปดูท่านอนคนท้องที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่กัน

2นาที อ่าน

View details อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงมีอาการคล้ายกัน
บทความ
อาการก่อนเมนส์มากับท้อง ต่างกันยังไง ทำไมถึงมีอาการคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงมีอาการคล้ายกัน

อาการก่อนเมนส์มากับท้องต่างกันยังไง ทำไมถึงมีความคล้ายกันและมักแยกกันไม่ออก ไปดูความแตกต่างอาการก่อนเมนส์มากับท้อง เพื่อสังเกตอาการเบื้องต้น

2นาที อ่าน

View details เข็มกลัดคนท้องสำคัญไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง เมื่อตั้งครรภ์
บทความ
เข็มกลัดคนท้องสำคัญไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง เมื่อตั้งครรภ์

เข็มกลัดคนท้องสำคัญไหม ทำไมคนท้องติดเข็มกลัดคนท้อง เมื่อตั้งครรภ์

เข็มกลัดคนท้องสำคัญแค่ไหนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ติดเข็มกลัดคนท้องช่วยป้องกันลูกน้อยจากสิ่งชั่วร้ายได้จริงไหม ไปดูประโยชน์ของเข็มกลัดคนท้องที่คุณแม่ควรรู้กัน

2นาที อ่าน

View details คุณแม่มือใหม่เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี มีขั้นตอนอะไรที่ต้องรู้บ้าง
บทความ
เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี มีขั้นตอนอะไรที่คุณแม่มือใหม่ต้องทำบ้าง

คุณแม่มือใหม่เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี มีขั้นตอนอะไรที่ต้องรู้บ้าง

ฝากครรภ์ตอนไหนดีที่สุด การฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างไร ทำไมคุณแม่ต้องรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ไปดูข้อดีของการฝากครรภ์กับคุณหมอที่คุณแม่ควรรู้กัน

2นาที อ่าน

View details คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง
บทความ
คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินหน่อไม้เยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ไปดูสารอาหารสำคัญในหน่อไม้และประโยชน์ของหน่อไม้กัน

2นาที อ่าน

View details ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน
บทความ
ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ช่วงไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม ไปดูสาเหตุ อาการและวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคามเบื้องต้น

2นาที อ่าน

View details คนท้องกินชาเขียวได้ไหม ชาเขียวมีคาเฟอีน อันตรายกับลูกหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินชาเขียวได้ไหม ชาเขียวมีคาเฟอีน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม ชาเขียวมีคาเฟอีน อันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม ชาเขียวมีคาเฟอีน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า คุณแม่ชอบกินชาเขียว ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมและไม่เป็นอันตรายกับลูก

2นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง
บทความ
ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่มีสิทธิเบิกอะไรบ้าง

ผ่าคลอดประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ ค่าคลอดบุตรประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าคลอดประกันสังคมที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้กัน

3นาที อ่าน

View details ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี
บทความ
ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทําหมันกี่วันหาย คุณแม่ทำหมันทันทีเลยได้ไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไร ให้คุณแม่เจ็บน้อยที่สุด พร้อมข้อดีและข้อเสียการทำหมัน

2นาที อ่าน

View details มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน
บทความ
มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

2นาที อ่าน

View details อาการคนแพ้ท้อง อาการแพ้ท้องคุณแม่ พร้อมวิธีรับมือเมื่อแม่แพ้
บทความ
อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ

อาการคนแพ้ท้อง อาการแพ้ท้องคุณแม่ พร้อมวิธีรับมือเมื่อแม่แพ้

อาการแพ้ท้องของคุณแม่เริ่มเมื่อไหร่ คุณแม่มือใหม่แพ้ท้องพะอืดพะอม ต้องแก้ยังไง ไปดูสาเหตุและอาการที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมืออาการคนแพ้ท้อง

2นาที อ่าน

View details เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์
บทความ
เลือดล้างหน้าเด็ก สีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์

เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์

เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร ทำไมเลือดล้างหน้าเด็กถึงออกมาจากช่องคลอดแบบกระปริบกระปรอย เลือดล้างหน้าเด็กต่างจากเลือดประจำเดือนอย่างไร ไปดูกัน

1นาที อ่าน

View details ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่ บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง
บทความ
ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่ บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่ บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง ขนาดท้องแต่ละเดือนจะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจริงไหม ไปดูขนาดท้องแต่ละเดือนของแม่กันภ์

2นาที อ่าน