โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์แค่ไหน

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์แค่ไหน

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ค. 8, 2024
6นาที

เมื่อคุณแม่เริ่มวางแผนที่จะตั้งครรภ์ เชื่อว่าทุกคนต้องคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดในการดูแลร่างกาย รวมไปถึงช่วงที่เริ่มตั้งครรภ์ด้วย เพราะจะต้องได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ทั้งสำหรับคุณแม่และลูกน้อย“โฟเลต” ถือเป็นสารอาหารหนึ่งที่สำคัญช่วยในเรื่องการป้องกันความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งคุณแม่ควรเริ่มทานตั้งแต่วางแผนจะมีลูกจนกระทั่งถึง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์เพื่อไม่ให้สายจนเกินไป เพราะช่วงตั้งครรภ์ 3-4 สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงที่มีพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทอย่างต่อเนื่อง และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมก่อนหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์

 

สรุป

  • โฟเลต หรือ กรดโฟลิก (Folic Acid) ถือเป็นวิตามินสำคัญ ที่ควรรับประทานตั้งแต่เริ่มวางแผนตั้งครรภ์ จนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อช่วยในเรื่องพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายต้องการโฟเลตมากขึ้นถึงวันละ 800 ไมโครกรัม แต่การรับประทานโฟเลต ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะจะไปยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 ส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางได้
  • หากคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ เสี่ยงพิการทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง และเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ ได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

โฟเลต คืออะไร

โฟเลต หรือ กรดโฟลิก (Folic Acid) เป็นวิตามินที่มีความสำคัญ หรือหนึ่งใน Superfood สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่เริ่มวางแผนตั้งครรภ์ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ป้องกันความผิดปกติของระบบประสาท ภาวะไม่มีเนื้อสมองและภาวะไขสันหลังไม่ปิด รวมถึงช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม และควบคุมการสร้างกรดอะมิโนสำหรับการแบ่งเซลล์ อีกทั้งยังช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกด้วย

 

โฟเลต ดีกับทารกในครรภ์มากแค่ไหน

ข้อดีของโฟเลตที่สำคัญสำหรับลูกในครรภ์ คือ นอกจากการสร้างเม็ดเลือดแดงสำหรับสำรองเลือดสำหรับคุณแม่ในระหว่างคลอดแล้ว ยังช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อย มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ และสร้างเซลล์ประสาทสมอง ช่วยลดความพิการตั้งแต่เกิดของลูก อีกทั้งยังช่วยในการสร้างกรดนิวคลีอิก ซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์มากมายให้กับร่างกาย รวมถึงการสร้างภูมิต้านทานโรคในต่อมไทมัสให้แก่ลูกน้อยหลังคลอดได้อีกด้วย

 

โฟเลต ให้ประโยชน์อะไรกับร่างกายคุณแม่บ้าง

เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะดูดซึมโฟเลตได้น้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่และลูกในครรภ์ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเสริมโฟเลตมากขึ้นกว่าปกติด้วยการรับประทานอาหารที่ดี มีกรดโฟลิกเหมาะสม หรือปรึกษาแพทย์เรื่องปริมาณโฟลิกที่ควรได้รับ เพื่อความแข็งแรงของลูกน้อย และยังช่วยในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง เพื่อให้มีเลือดเพียงพอในระหว่างคลอดลูกนั่นเอง

 

ทำไมถึงควรเสริมโฟเลตก่อนตั้งครรภ์

คุณแม่หลายท่านคงทราบดีว่าวิตามินหรือสารอาหารที่คุณหมอแนะนำ น่าจะต้องมีโฟเลตเป็นหนึ่งในนั้น เพราะโฟเลตมีส่วนสำคัญในการพัฒนาตัวอ่อน โดยช่วยพัฒนาระบบประสาท รวมถึงสมองและไขสันหลัง ในช่วง 28 วันแรกหลังการปฏิสนธิ รวมถึงมีส่วนช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ลดอาการอ่อนเพลีย ป้องกันภาวะโลหิตจาง และมีส่วนทำให้อยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้หญิงที่เตรียมความพร้อมสู่การเป็นคุณแม่ จึงควรเริ่มรับประทานโฟเลตตั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ต่อเนื่องไปจนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์หรือตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เพราะหากทานช้าเกินไปอาจส่งผลต่อพัฒนาการระบบประสาทของลูกในครรภ์ เสี่ยงต่อการพิการทางสมองได้อีกด้วย

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับโฟเลตปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอ

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเหมาะสม และควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงพิการของลูกแต่กำเนิดได้ โดยอาหารที่มีโฟเลตสูง อาทิ ผักใบเขียวต่าง ๆ ไข่แดง แคนตาลูป ถั่ว อะโวคาโด เป็นต้น ซึ่งผู้หญิงโดยทั่วไปร่างกายจะต้องการโฟเลตวันละ 400 ไมโครกรัม แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายจะต้องการโฟเลตมากขึ้น ประมาณวันละ 800 ไมโครกรัม ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม เนื่องจากการรับประทานโฟเลต ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะจะไปยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 ส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางได้

 

คุณแม่ได้รับโฟเลตไม่พอ ส่งผลอะไรกับทารกบ้าง

  • เสี่ยงพิการทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง
  • เสี่ยงโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพราะอาจเกิดภาวะสารโฮโมซิสเทอีนสูงผิดปกติได้กะโหลกศีรษะของลูกในครรภ์อาจจะไม่ปิดอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งหากปล่อยไว้จนถึงเวลาคลอด ทารกอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

 

คุณแม่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ในครรภ์ด้วยอาหารที่มีโฟเลตสูง

 

แนะนำอาหารที่มีโฟเลตสูง หาทานได้ง่าย

บรอกโคลี

หากคุณแม่รับประทานบรอกโคลี 1 ถ้วย จะเท่ากับปริมาณโฟเลต 26 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนที่ร่างกายต้องการต่อวัน โดยหากทานแบบลวกในน้ำสลัด จะได้คุณค่าทางสารอาหารอย่างครบถ้วนกว่าการประกอบอาหารแบบผัดหรือทอด

 

ผักใบเขียว

คุณแม่ควรรับประทานผัก 1 จานใหญ่ต่อวัน โดยเฉพาะผักใบเขียวซึ่งถือว่ามีโฟเลตสูง อาทิ ผักโขม ผักกาดเขียว และกะหล่ำปลี เป็นต้น

 

ผลไม้รสเปรี้ยว

ผลไม้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยโฟเลตมากมาย แต่ในผลไม้รสเปรี้ยวจะมีมากกว่า อาทิ ส้ม 1 ลูก จะมีโฟเลตสูงถึง 50 กรัม รวมถึงผลไม้ที่แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทาน ทั้งมะละกอ องุ่น กล้วย แคนตาลูป สตรอเบอร์รี เป็นต้น

 

ควรทานโฟเลตไปจนคลอดเลยไหม

คุณแม่ส่วนใหญ่อาจจะทราบข้อมูลว่า ควรเริ่มรับประทานโฟเลตตั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์หรือเตรียมตัวเพื่อตั้งครรภ์ และรับประทานไปจนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์แรก เพื่อช่วยพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทได้ดีมีประสิทธิภาพมากที่สุด และ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารหลากหลาย เช่น เมนูอาหารสำหรับคนท้อง ที่มีโฟเลตเป็นองค์ประกอบเหมาะสมและเพียงพออยู่เสมอ

 

คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องทานโฟเลตไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่สามารถรับประทานอาหารที่มีโฟเลตอยู่เป็นประจำ และปรุงอาหารได้อย่างถูกวิธีอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้ร่างกายได้รับโฟเลตเพียงพอ แต่เนื่องจากโฟเลตถูกทำลายระหว่างกรรมวิธีการปรุงได้ อาจทำให้คุณแม่ได้รับโฟเลตในปริมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นหากคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานได้น้อย หรืออาจมีความกังวลว่าจะได้รับโฟเลตไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองและลูกในครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยแนะนำในเรื่องของการรับประทานโฟเลตเพิ่มเติมในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

 

คุณแม่ที่เริ่มวางแผนตั้งครรภ์ ควรใส่ใจในการรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อย ซึ่งโฟเลต หรือ กรดโฟลิก (Folic Acid) ถือเป็นหนึ่งในสารอาหารที่ควรได้รับขณะตั้งครรภ์เพราะมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม และควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ รวมไปถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. “กรดโฟลิก” สิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน!, โรงพยาบาลพญาไท
  2. โฟเลตกับชีวิต (Folic acid), สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
  3. ‘โฟลิก’ ป้องกันลูกน้อยพิการแต่กำเนิด, โรงพยาบาลราชวิถี

อ้างอิง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน

View details ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง
บทความ
ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ ท่าไหนที่คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการปวดเมื่อยไม่สบายตัว

5นาที อ่าน

View details วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม
บทความ
วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

ไขข้อข้องใจ พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน ลักษณะท้องของคนท้องกับคนทั่วไปต่างกันยังไง มีวิธีสังเกตยังไง ไปดูลักษณะท้องของคนท้องและพุงคนท้องกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย
บทความ
คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม หลั่งในตอนท้องอันตรายไหมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องบ้าง

7นาที อ่าน

View details ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม
บทความ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

รู้จักกับอาการครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวัง พร้อมวิธีดูแลครรภ์ให้ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม
บทความ
ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด คุณแม่ตรวจครรภ์ 2 ขีดจางมาก ๆ บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์เจ้าตัวเล็กหรือเปล่านะ ไปดูวิธีตรวจครรภ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความ
BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม คนท้องกินขนุนได้ไหม หากกินเยอะเกินไปจะอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมสำหรับแม่ท้อง

6นาที อ่าน

View details คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อนอันตรายไหม คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม หากกินมากเกินจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ไหม

7นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า
บทความ
ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

5นาที อ่าน

View details อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี
บทความ
อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

6นาที อ่าน