คุณแม่ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการตั้งครรภ์ 8 เดือน ที่แม่ต้องรู้

ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน

ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ก.พ. 17, 2024
8นาที

เข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ 8 เดือนนั้นเป็นกลางไตรมาสสุดท้าย เรื่องที่สำคัญของคุณแม่ในช่วงเดือนนี้คงหนีไม่พ้นการเตรียมการคลอด เพราะช่วงอายุครรภ์ 8 เดือน นั้นพร้อมที่จะคลอดได้ทุกเมื่อ คุณแม่จะเผชิญกับอาการท้องแข็ง เจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องจริง รวมถึงอาการทางร่างกายต่าง ๆ นา ๆ ที่ต้องใช้พลังใจอย่างหนักที่จะฝ่าฟันไปได้ อีกทั้งยังเป็นเดือนสำคัญที่ควรจะเตรียมจัดของสำหรับเตรียมคลอดรอไว้ รวมถึงเตรียมร่างกายและจิตใจด้วยเช่นกัน

 

สรุป

  • ในเดือนนี้อาการใหม่ที่คุณแม่อาจต้องพบเจอคือ “ภาวะท้องแข็ง” “การเจ็บท้องเตือน” และ “การเจ็บท้องจริง” ในช่วงท้าย ๆ ของเดือน เนื่องจากมดลูกบีบตัว เพื่อช่วยให้ลูกน้อยมีความพร้อมที่จะคลอดสู่ภายนอก
  • เป็นเดือนที่คุณแม่จะต้องเตรียมสิ่งสำคัญในการเตรียมตัวสำหรับการคลอด ทั้งข้าวของ ร่างกายและจิตใจ รวมถึงศึกษาขั้นตอนในการคลอดไว้ด้วย
  • โภชนาการของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 8 เดือนยังคงเน้นโปรตีนเพื่อใช้ในการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของลูก และยังต้องเพิ่มสารอาหารเช่น กรดไขมันจำเป็นประเภทโอเมก้า 3 6 9 DHA ธาตุเหล็ก แคลเซียม และโฟเลต อีกด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ในเดือนนี้อาการใหม่ที่คุณแม่อาจต้องพบเจอคือ “การเจ็บท้องเตือน” ในช่วงท้าย ๆ ของเดือน เนื่องจากมดลูกบีบตัว เพื่อช่วยให้ลูกน้อยมีความพร้อมที่จะคลอดสู่ภายนอก รวมกับอาการต่าง ๆ ที่มีมาตั้งแต่การตั้งครรภ์เดือน 7 คือ ปวดหัว รู้สึกร้อนตามร่างกาย อ่อนเพลีย ท้องผูก กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก ปวดสะโพก ปัสสาวะบ่อย และปัญหาด้านการนอนหลับ ร่วมกับอาการเท้าและข้อเท้าบวม ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป

 

อายุครรภ์ 8 เดือน ทำไมลูกถึงดิ้นน้อยลง?

การที่ลูกดิ้นน้อยลงในช่วงตั้งครรภ์ 8 เดือน หรือ ท้อง 35 สัปดาห์ นั้นเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากตัวเริ่มใหญ่จนคับในท้องของแม่ รวมถึงการที่ลูกเริ่มกลับตัว โดยศีรษะจะหันมาทางปากมดลูกเพื่อเตรียมคลอด หรืออาจจะเป็นเพราะลูกในครรภ์กำลังหลับก็ได้ เพราะช่วงเวลาที่ลูกหลับจะเป็นช่วงที่มีการขยับตัวน้อยที่สุด บางครั้งที่ไม่ดิ้นนานเพราะหลับลึกนั่นเอง

 

หากรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง ให้คุณแม่เริ่มจากลองทานอาหารที่มีรสหวาน ๆ แล้วรอสัก 2-3 นาที แล้วดูว่าลูกมีตอบสนองด้วยการดิ้นหรือเปล่า หรือในบางรายที่ปกติลูกจะดิ้นเวลาได้ยินเสียงเพลง ก็ให้ลองเปิดเพลงให้ฟัง บางรายอาจใช้วิธีดื่มน้ำเย็นจัด ๆ หรือลองกดที่ท้องเบา ๆ ดู ก็สามารถกระตุ้นให้ลูกดิ้นได้

 

“ภาวะท้องแข็ง” เรื่องใหญ่ของคุณแม่ท้อง 8 เดือน ที่ต้องรับมือ

คำว่า ท้องแข็ง เป็นคำที่เราใช้อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็นการบีบตัวของมดลูกซึ่งเมื่อจะเข้าสู่ภาวะคลอด จะมีการแข็งตัวของมดลูกเกิดขึ้น ท้องจะมีอาการปวด บีบ ๆ เกร็ง ๆ อาการนี้โดยทั่วไปจะเป็นอยู่ประมาณ 45-60 วินาที แล้วก็จะหายไป ความสำคัญคือ ต้องแยกให้ได้ว่าเป็นเพียงการเจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง

  • การเจ็บท้องเตือน คือการที่แม่จะรู้สึกว่ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้น แต่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะเกิดหลังการทำงานหนัก เดินนาน ๆ ยืนนาน ๆ บางทีก็อาจกระตุ้นให้เจ็บท้องได้บ้าง แต่เมื่อได้พัก ก็จะหายไปเอง
  • อาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด อาการเจ็บท้องคลอด หรืออาการใกล้คลอด นั้นจะเจ็บอย่างสม่ำเสมอ ปวดมากขึ้น แรงมากขึ้น ความถี่มากขึ้น อาการนี้จะนำไปสู่การคลอดได้

 

อาการเฝ้าระวัง ที่ควรรีบไปพบแพทย์

หากมีอาการเหล่านี้อย่านิ่งนอนใจ! ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

  1. มือ เท้า และใบหน้าบวมผิดสังเกต หรือบวมทั้งตัว
  2. ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง
  3. ความดันโลหิตสูง
  4. ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น
  5. มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการตาพร่า
  6. มีน้ำไหลออกจากช่องคลอด (น้ำเดิน) น้ำคร่ำคุณแม่เป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด

 

สิ่งสำคัญในการเตรียมตัวสำหรับการคลอด

1. เตรียมกระเป๋า และอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ

ก่อนไปโรงพยาบาล เช่น เอกสารส่วนตัว เช่น สมุดฝากครรภ์ บัตรประชาชน ใบนัดแพทย์ ชุดชั้นในและเสื้อในสำหรับให้นมลูก แผ่นซับน้ำนม ชุดสวมกลับบ้าน เลือกชุดที่สวมใส่สบาย หรืออาจจะเป็นเสื้อให้นม เราอยากให้คุณแม่เตรียมพร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ และเมื่อเตรียมเสร็จแล้วจำเป็นต้องบอกคนในบ้านหรือวางไว้ในที่ ๆ หยิบสะดวกเผื่อฉุกเฉินด้วย

 

2. เตรียมจิตใจและร่างกายให้พร้อม

คุณแม่ควรตรวจเช็กสุขภาพครรภ์ตามที่คุณหมอนัดทุกครั้ง เพราะช่วงนี้สามารถคลอดก่อนกำหนดได้เสมอ จึงต้องเช็กความพร้อมของร่างกายคุณแม่อย่างสม่ำเสมอและเพื่อดูอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

 

3. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการคลอด

ถึงแม้ว่าคุณแม่จะตั้งใจคลอดแบบใดก็ตาม หรือตกลงกับคุณหมอที่ฝากครรภ์ไว้แล้ว แต่เรื่องไม่คาดฝันก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นควรศึกษารูปแบบการคลอดแบบผ่าตัดและคลอดธรรมชาติไว้ด้วยทั้งคู่ จะได้เตรียมพร้อมร่างกายและจิตใจไว้ก่อน

 

สารอาหารที่ควรเน้น โภชนาการที่ดีสำหรับอายุครรภ์ 8 เดือน

  • โปรตีน เนื่องจากช่วงระยะ 7-9 เดือน หรือ เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์คือช่วงที่ร่างกายของคุณแม่และลูกในครรภ์ต้องการโปรตีนมากที่สุด เพื่อใช้ในการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของลูก รวมทั้งบำรุงร่างกายของคุณแม่
  • กรดไขมันจำเป็นประเภทโอเมก้า 3-6-9 DHA ซึ่งกรดไขมันประเภทนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 8 เดือน ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น โดยหน้าที่สำคัญของกรดไขมันจำเป็นจะช่วยพัฒนาเซลล์สมองและเซลล์ประสาท และการมองเห็นของลูกอีกด้วย โดยกรดไขมันจำเป็นเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริมเพิ่ม แต่สามารถหาได้จาก เนื้อปลา อาหารทะเล ประเภทถั่วต่าง ๆ
  • แคลเซียม เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันของทารก โดยเฉพาะในระยะไตรมาสที่ 3 ลูกน้อยจะอยู่ในท่ากลับหัว เตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมา ซึ่งแคลเซียมจะช่วยให้กะโหลกศีรษะของลูกแข็งแรงขึ้น พร้อมที่จะมุดผ่านพ้นช่องเชิงกรานจนคลอดออกมาได้ แหล่งของแคลเซียม เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม, ไข่, เต้าหู้, ถั่ว, ผักใบเขียว, ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานได้ทั้งตัว
  • ธาตุเหล็ก ควรรับประทานมากขึ้นเพื่อเตรียมน้ำนมให้ลูก เพราะร่างกายคุณแม่ต้องสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเต้านมของคุณแม่จะเริ่มทำการผลิตน้ำนมได้ในช่วงอายุครรภ์ 8 เดือน ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการให้กับลูกหลังคลอด การบริโภคธาตุเหล็กจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งธาตุเหล็กจะสามารถพบได้มากในเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ และ ผักใบเขียว
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น เพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงไว้ลำเลียงออกซิเจนไปสู่ลูกน้อย รวมถึงช่วยสร้างน้ำนมคุณแม่ให้เพียงพออีกด้วย โดยวิตามินซีจะพบได้จากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม, แอปเปิ้ลเขียว เป็นต้น
  • โฟเลต หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรดโฟลิก สารอาหารที่สำคัญต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอของเซลล์เพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารก การบริโภคโฟเลตอย่างเพียงพอเหมาะสมจะลดความเสี่ยงในการเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ของทารก โฟเลตสามารถพบได้มากในผักใบเขียว ตับ ธัญพืช เป็นต้น

 

สำหรับข้อควรระวัง คุณแม่ควรลดอาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะอาจทำให้อาการบวมที่ข้อเท้ารุนแรงขึ้น รวมทั้งงดอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเผ็ด เพราะอาจกระตุ้นอาการกรดไหลย้อนและแสบร้อนกลางอกได้

 

ช่วงตั้งครรภ์ 8 เดือนเป็นอีกช่วงที่สำคัญไม่แพ้ช่วงอื่น ๆ เพราะคุณแม่ต้องใช้พลังใจอย่างมหาศาลที่จะผ่านช่วงเวลาที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างมากได้ ช่วงนี้เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่โภชนาการเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่ลูกต้องใช้สารอาหารเพื่อการเติบโตอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นช่วงที่ลูกน้อยเตรียมตัวจะออกมาดูโลก การเตรียมตัว เตรียมใจของคุณแม่ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ เลยทีเดียว

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  3. ลูกไม่ดิ้น…สัญญาณอันตรายที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง!, โรงพยาบาลเปาโล
  4. ตั้งครรภ์ ท้องแข็ง คืออะไร ต้องทำเช่นไร, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. สัญญานอันตรายที่แม่ตั้งครรภ์ต้องรีบไปพบแพทย์ : พบหมอรามาฯ, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. รับมือกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงของว่าที่คุณแม่, โรงพยาบาลเปาโล
  7. 9 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  8. พัฒนาการของทารก สุขภาพของคุณ และเรื่องน่ารู้ในช่วงท้อง 8 เดือน, POPOAD
  9. ทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ทั้งแม่และลูกเมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์, โรงพยาบาลบางปะกอก
  10. เช็คลิสต์ สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ต้องจัดเตรียมอะไรบ้าง, โรงพยาบาลนครธน
  11. ของใช้ที่คุณแม่มือใหม่ ควรเตรียมไว้ก่อนคลอด, โรงพยาบาลบางปะกอก

อ้างอิง ณ วันที่ 8 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมือ

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมือ

ซึมเศร้าหลังคลอด หนึ่งในอาการที่คุณแม่ต้องเจอ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร ไปทำความเข้าเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและวิธีดูแลตัวเองกัน

6นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 6 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 6 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 6 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

2นาที อ่าน

View details ท้องนอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก ที่คุณแม่ต้องระวัง
บทความ
ท้องนอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก ที่คุณแม่ต้องระวัง

ท้องนอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก ที่คุณแม่ต้องระวัง

ท้องนอกมดลูก หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ ไปดูปัจจัยที่ทำให้ท้องนอกมดลูกและวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูกที่คุณแม่มือใหม่ต้องระวัง

5นาที อ่าน

View details ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร
บทความ
ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร

ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร

ท้องไตรมาสแรก มีอะไรเกิดขึ้นกับคุณแม่บ้าง ระยะตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก คุณแม่แพ้ท้องหนักไหม ควรดูแลตัวเองอย่างไรสำหรับไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 

3นาที อ่าน

View details ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน
บทความ
ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง สัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าลูกใกล้กลับหัวแล้ว  คุณแม่ควรเตรียมความพร้อมอย่างไร ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
บทความ
จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอกใช้ได้ตอนไหน จุกหลอกหรือจุกนมหลอกช่วยเบี่ยงเบนความสนใจและป้องกันลูกน้อยดูดนิ้วตัวเองได้จริงหรือไม่ ไปดูข้อดีและข้อเสียของจุกหลอกที่คุณแม่ควรรู้ไว้กัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม คำถามคาใจของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน อยากสวยตอนตั้งครรภ์แต่ถูกห้ามให้ย้อมผม มาดูกันว่าในยาย้อมผมจะมีสารเคมีอะไรที่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์บ้าง

7นาที อ่าน

View details 7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง
บทความ
7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

รวมวิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย คุณแม่ทำได้เลยที่บ้านหลังคลอด ช่วยลดไขมันให้คุณแม่กลับมาหุ่นสวยอีกครั้ง พร้อมอาหารไขมันดี เหมาะสำหรับแม่หลังคลอด

2นาที อ่าน

View details คนท้องเท้าบวม เพราะอะไร ปกติไหม พร้อมวิธีลดบวม
บทความ
คนท้องเท้าบวม เพราะอะไร ปกติไหม พร้อมวิธีลดบวม

คนท้องเท้าบวม เพราะอะไร ปกติไหม พร้อมวิธีลดบวม

คนท้องเท้าบวม เกิดจากอะไร อาการคนท้องเท้าบวม หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายกับคุณแม่หรือเปล่า ไปดูสัญญาณเตือนของอาการคนท้องเท้าบวมที่คุณแม่ควรรู้

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

โกโก้มีคาเฟอีนไหม คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำชง คุณแม่ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี

7นาที อ่าน

View details อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ
บทความ
ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

2นาที อ่าน

View details ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน
บทความ
ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ทำไมถึงสำคัญสำหรับคนอยากมีลูก ที่ตรวจไข่ตกหรือชุดตรวจไข่ตกมีกี่แบบ ไปรู้จักที่ตรวจไข่ตก พร้อมวิธีการใช้งานที่ตรวจไข่ตกกัน

7นาที อ่าน

View details พาหะธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่คนอยากมีลูกต้องรู้
บทความ
พาหะธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่คนอยากมีลูกต้องรู้

พาหะธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่คนอยากมีลูกต้องรู้

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ คุณแม่มือใหม่นับอายุลูกน้อยในครรภ์รายสัปดาห์อย่างไรให้แม่นยำ เพื่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ นับแบบไหนดี ไปดูกัน

2นาที อ่าน

View details น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย มีผลกับน้ำนมไหม
บทความ
น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย มีผลกับน้ำนมไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย มีผลกับน้ำนมไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม คุณแม่กินน้ำเย็นแล้วน้ำนมจะหดจริงหรือเปล่า พร้อมเคล็ดลับดูแลตัวเองหลังคุณแม่ผ่าคลอด

10นาที อ่าน

View details ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม
บทความ
ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

2นาที อ่าน

View details เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม
บทความ
เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

6นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้
บทความ
คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้ ลูกน้อยในครรภ์ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ท้อง 9 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน