ตอบข้อสงสัย เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1.ทำไมให้ลูกกินแต่นม จนถึง 6 เดือน

ทำไมให้ลูกกินแต่นม จนถึง 6 เดือน

 

จริงๆแล้ว กระเพาะของทารกแรกเกิด มีขนาดเล็กมากค่ะ โดยในช่วงแรกเกิด ขนาดกระเพาะของทารกจะมีขนาดเท่ากับลูกเชอร์รี่ และขนาดของกระเพาะจะค่อยๆขยายขึ้นช้าๆ เท่ากับขนาดของ ไข่ไก่ ประมาณ 1 เดือน หลังคลอด

ตารางขนาดกระเพาะเด็กทารกหลังคลอด

นอกจากนี้ ตับอ่อนของทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้การหลั่งน้ำย่อยไม่สมบูรณ์เช่นกัน แปลง่ายๆคือ ย่อยไม่เก่ง ธรรมชาติจึงสร้างสิ่งที่เรียกว่านมแม่ ให้มีคุณสมบัติย่อยง่าย ดูดซึมง่าย มีปริมาณน้ำและสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอ สำหรับทารก

ในทางกลับกัน บางคนที่มีความเชื่อผิดๆว่า ทารกกินแต่นมไม่น่าอิ่ม และพยายามหาป้อนอาหารอื่นๆให้ทารก ทั้งที่กระเพาะยังไม่สามารถจุปริมาณได้เพียงพอ เมื่อป้อนอาหารอื่นๆ เช่น กล้วย หรือข้าว ที่มีสารอาหารต่ำกว่านมแม่ ทำให้

นอกจากนี้ การป้อนอาหารอื่นๆ ที่ทารกยังไม่พร้อมจะย่อย เนื่องจากน้ำย่อยยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้อาหารเหล่านี้ไม่ ย่อย เกิดลำไส้อุดตันได้ ทำให้ทารกมีอาการท้องอืด ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ ซึ่งสามารถเสียชีวิตได้ จากที่เคยมีข่าวปรากฎอยู่ โดยตับอ่อนจะเริ่มหลั่งน้ำย่อยตอนประมาณ 4 เดือน ดังนั้น จึงเป็นที่มาว่า ทำไมปัจจุบัน เราควรให้ทารกกินแต่นม จนถึง 6 เดือนค่ะ

 

2. หลังฉีดวัคซีน ต้องปั๊มนมทิ้งไหม

หลังฉีดวัคซีน ต้องปั๊มนมทิ้งไหม

หลังฉีดวัคซีนใดๆ ไม่ว่าจะเป็น วัคซีน Covid19 หรือวัคซีนอื่นๆ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่ต้องปั๊มนม ทิ้งค่ะ เนื่องจากเชื้อที่นำมาทำ วัคซีน เป็นเชื้อที่ทำให้อ่อนฤทธิ์อยู่แล้ว ก่อโรคไม่ได้ เมื่อแม่ฉีดวัคซีน และให้นมลูก จะไม่ส่งผ่านเชื้อ ก่อโรคไปยังลูกแน่นอน

 

Covid 19 Vaccine

 

ถึงแม้ว่า หลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการไม่สบายตัว มีไข้ ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด ก็ยังสามารถให้นมแม่ได้ค่ะ ทารกจะไม่ติดไข้จากแม่ เนื่องจากไข้ของแม่เกิดจากปฏิกิริยาของ ภูมิต้านทานโรคที่กำลังทำงาน และไข้นี้ไม่สามารถส่งผ่านทางน้ำนม ไปสู่ลูกได้

 

3. แม่ไม่สบายให้นมได้ไหม

แม่ไม่สบายให้นมได้ไหม

ตามปกติแล้ว ไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการไม่สบาย เป็นหวัด มีไข้ ท้องเสีย เชื้อเหล่านี้ ไม่ได้ผ่าน ทางน้ำนมดังนั้น เมื่อแม่ไม่สบายด้วยอาการทั่วๆ ไปเหล่านี้ยังสามารถให้นมแม่ได้ค่ะ แต่ควรระวังการติดลูกทางอื่นแทนค่ะ เช่น หวัด ไม่ได้ติดทางการให้นม แต่ลูกอาจติดจากการไอจามหายใจรดกัน ดังนั้นขณะให้นมควรล้างมือให้สะอาด หรือใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการไอจามใส่ลูก หรือหากแม่เป็นเริม / สุกใส ก็ยังสามารถให้นมได้ เพราะเชื้อไม่ผ่านน้ำนม แต่ลูกอาจติดได้ทางการสัมผัส ดังนั้นควรระวังลูกสัมผัสโดนตุ่มน้ำของเรา ต้องล้างมือก่อน ให้นม อาจใช้การปั๊มนมให้ลูกกินแทนการกินจากเต้าก็ได้ค่ะ หากมีตุ่มขึ้นบริเวณใกล้กับเต้านมด้วย หากคุณแม่ให้นมจำเป็นต้องกินยา แนะนำให้ปรึกษา บุคลากรทางการแพทย์

 

4. นมแม่ใส แปลว่า ไม่มีสารอาหาร?

ในนมแม่ ทุกๆครั้งที่หลั่งออกมา จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนหน้า กับส่วนหลัง ซึ่งรู้ไหมคะ ว่า ส่วนประกอบไม่เหมือนกัน

น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่

นมแม่ส่วนหน้า (foremilk)

มีส่วนประกอบของน้ำเป็นหลัก ดังนั้นจึงดูใส แต่จริงๆแล้วมีสารอาหารเต็มเปี่ยม ทั้งน้ำตาลแลคโตสที่เป็นสารอาหาร ที่สำคัญของสมอง โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็น สำหรับการเติบโต

 

นมส่วนหลังของคุณแม่

นมส่วนหลัง (hindmilk)

มีส่วนประกอบหลักเป็นไขมัน ทำให้ข้นหนืดกว่า แต่คุณแม่หลายคนที่ปั๊มไม่เกลี้ยงเต้า หรือให้ลูกกินจากเต้าจะไม่เห็นว่ามีนมส่วนนี้ จึงทำให้เข้าใจ ผิดว่านมแม่มีแต่ใสๆได้ค่ะ

 

นอกจากนี้สารอาหารหลายตัว เป็นสารอาหารที่ละลายในน้ำ ดังนั้นจึงใส และไม่จำเป็นต้องเป็นตะกอนให้เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งสารอาหารหนึ่งที่สำคัญมาก และมองไม่ เห็นด้วยตาเปล่าจริงๆ นั่นคือ ภูมิต้านทานจากแม่ค่ะ ที่ส่งผ่านทางน้ำนมสู่ลูก ดังนั้น หมอจึงยืนยันว่า นมแม่ที่ใส ก็มีสารอาหารครบถ้วน แน่นอนค่ะ

 

5. หลัง 6 เดือน นมแม่มีสารอาหาร น้อยลงจริงหรือ?

หลัง 6 เดือน นมแม่มีสารอาหาร น้อยลงจริงหรือ

หลัง 6 เดือน นมแม่ ยังมีประโยชน์เหมือนเดิมค่ะ ไม่ได้ลดคุณค่าทางสารอาหารลง แต่เด็กหลัง 6 เดือน ต้องการสารอาหารที่มากขึ้น เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่มากขึ้น โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ที่ต้องการมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่เด็กต้อง “กินเพิ่ม” เริ่มกินอาหารตามวัยเมื่ออายุครบ 6 เดือน แต่ไม่ได้แปลว่า นมแม่ “มีสารอาหารน้อยลง”

มันไม่เกี่ยวกันเลยค่ะ นมแม่ยังคงมีสารอาหารครบถ้วน และมีสิ่งที่จำเป็นสำหรับ ลูกเช่นเคย นั่นคือ ภูมิต้านทานที่ส่งผ่านจากนมแม่สู่ลูก ดังนั้น หลัง 6 เดือน แม่ท่านไหนที่ยังมีนมแม่อยู่ ยังไม่จำเป็นต้องเลิกนะคะ ยังสามารถให้นมลูกต่อได้ยาวๆ ตราบที่แม่ยังไหว ได้เลยค่ะ

 

6. แม่ให้นม กินกาแฟได้ไหม

โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่ให้นมสามารถดื่มกาแฟได้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปได้ค่ะ โดยดูจากปริมาณของคาเฟอีนในเครื่องดื่ม เป็นหลัก แต่นอกจากกาแฟแล้ว ชาและช็อคโกแลตก็เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่นกัน ต้องอย่าลืมจำกัดปริมาณด้วยเช่นกันค่ะ

ปริมาณคาเฟอีนที่แนะนำคือ ไม่เกิน 200 มก.ต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับ (โดยประมาณ เนื่องจากปริมาณคาเฟอีนขึ้นกับหลายปัจจัย)

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-1
กาแฟ 2 แก้ว

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-2

กาแฟชองพร้อมชง 3 ซอง

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-3

น้ำอัดลมสีดำ 6 กระป๋อง

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-4

อเมริกาโน่ 1 แก้ว

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-5

ลาเต้ 3 แก้ว

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร

คาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ทารกกระสับกระส่าย ร้องกวน งอแง หัวใจเต้นเร็ว หรือนอนไม่หลับได้ค่ะ โดยคาเฟอีนสามารถอยู่ในร่างกายคุณแม่ได้ 4-6 ชั่วโมง สูงสุดในช่วง 1-2 ชั่วโมงหลังดื่ม และความไวต่อคาเฟอีนของทารกแต่ละคน อาจไม่เท่ากัน ดังนั้นนอกจากจำกัดปริมาณคาเฟอีนต่อวันแล้ว คุณแม่อาจสังเกตอาการของลูกหากกระสับกระส่ายมาก ควรปั๊มนมทิ้งในช่วง 4-6 ชั่วโมงหลังดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทิ้งได้ค่ะ

 

7. โด๊ปอะไรดี ให้มีน้ำนมเยอะๆ

จริงๆแล้วสูตรการเพิ่มน้ำนม มีเยอะมาก แต่หมอขอแนะนำ “ตัวช่วย” มาให้แม่ๆเช็กลิสต์ตัวเองกันดูค่ะ

คุณแม่มือใหม่โด๊ปอะไรดี ให้มีน้ำนมเยอะ

 

1. ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ

อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของคนที่ให้นมค่ะ เนื่องจากถ้าปริมาณน้ำในร่างกายไม่เพียงพอ บำรุงด้วยอย่างอื่นยังไง นมแม่ก็มา น้อยได้เพราะปริมาณน้ำในร่างกายไม่เพียงพอ นอกจากนี้การฝืนปั๊มนมเยอะทั้งที่ดื่มน้ำไม่พอ จะทำให้ร่างกายของแม่ขาดน้ำ และยิ่งทำให้สุขภาพของแม่ทรุดโทรมเร็วขึ้นด้วยค่ะ โดยปริมาณที่แนะนำคือ มากกว่า 2-3 ลิตรต่อวันค่ะ

 

2. สมุนไพรที่มีฤทธิ์กระตุ้นน้ำนม

ที่นิยมนำมาใช้ เช่น ลูกซัด หัวปลี น้ำขิง ฯลฯ สามารถใช้ร่วมกันได้ค่ะ แต่ควรควบคู่กับการดื่มน้ำให้เพียงพอ กระตุ้นเต้านมสม่ำเสมอทุก 3 ชั่วโมง และพักผ่อนให้เพียงพอ ถึงจะเห็นผลค่ะ

สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องอย่าลืมดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย ด้วยการปรับสภาพอารมณ์ พยายามไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากสุขภาพที่ทรุดโทรมและฮอร์โมนความเครียดก็ทำให้น้ำนมมาน้อยได้ค่ะ และสุดท้าย หากคุณแม่ยังกังวลใจเรื่องน้ำนมน้อยควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ค่ะ

 

8. สูตรปั๊มให้น้ำนมแม่ ไหลมาเทมา

สำหรับแม่ๆสายปั๊ม ที่อยากให้น้ำนมมาเยอะๆ วิธีคือ

 

1. ปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง

คุณแม่ปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง

เพื่อกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน oxytocin ให้สม่ำเสมอ ทำให้น้ำนมแม่ไหลดี ต่อเนื่องได้ค่ะ

 

2. ปั๊มทีละ 2 ข้าง พร้อมกัน

คุณแม่ปั๊มทีละ 2 ข้าง พร้อมกัน

หรือกรณีที่ให้ ลูกเข้าเต้า อาจใช้เครื่อง ปั๊มนมปั๊มอีกข้างพร้อมกัน เพื่อหลอกร่างกายว่า มีลูกแฝด ทำให้ร่างกาย ต้องเพิ่มการผลิตน้ำนม

 

3. สูตรปั๊ม แบบ Power Pump (20-10-10-10-10)

วิธีทำคือ ปั๊มนมทีละ 2 ข้าง ปั๊มแล้วพักเป็นรอบๆ โดยปั๊ม 20 นาที - พัก 10 นาที - ปั๊ม10นาที - พัก 10 นาที - ปั๊ม 10 นาที นับเป็น 1 เซ็ต ทำ Power Pump วันละ 1-2 เซ็ต

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การเลือกเครื่องปั๊มนมให้เหมาะกับเราด้วยค่ะ เลือกกรวยปั๊มนมที่มีขนาดเหมาะสม เนื่องจากถึงใช้สูตร ปั๊มทุกสูตรแล้ว แต่หากกรวยปั๊มนมขนาดไม่เหมาะสม หรือเครื่องปั๊มเบาไป/แรงไป ปั๊มแล้วเจ็บ ก็ทำให้น้ำนมมาน้อย ได้เช่นกันค่ะ

 

9. ลูกกินนมแม่จากเต้า จะรู้ได้อย่างไรว่า ได้รับน้ำนมเพียงพอ

ลูกกินนมแม่จากเต้า จะรู้ได้อย่างไรว่า ได้รับน้ำนมเพียงพอ

ในกรณีกินนมจากเต้า คุณแม่หลายคนสงสัยว่า น้ำนมแม่ ไหลดีไหม? ลูกได้รับนมพอไหม? จะดูอย่างไร ในขณะให้นม วิธีสังเกตว่า ลูกได้รับน้ำนมพอหรือไม่ ให้ดูว่าที่เต้า นมอีกข้างมีน้ำนมไหลซึมออกมาหรือไม่ค่ะ

ซึ่งอาการที่น้ำนมอีกข้างไหลออกมาด้วยนี้ เรียกว่า Led down reflex เนื่องจากเป็นการตอบสนองของฮอร์โมนหลั่งน้ำนม ทำให้น้ำนมอีกข้างไหลออกมาด้วย ช่วยให้แม่ ๆ มั่นใจได้ค่ะว่าข้างที่ลูกดูด มีน้ำนมไหลออกมาแน่นอน

ส่วนปริมาณนม การดูว่าลูกได้รับปริมาณนมเพียงพอไหม ให้ดูการขับถ่ายของลูกค่ะ โดยเด็กทารกแรกเกิด เมื่อได้รับ น้ำนมเพียงพอ จะปัสสาวะวันละ 6 ครั้งขึ้นไป อุจจาระ 4 ครั้ง ขึ้นไป (นับรวมกันใน 24 ชั่วโมง) นอกจากนี้ ยังสามารถดูได้จาก น้ำหนักของลูก โดยเด็กทารกควรมีน้ำหนักขึ้นตามนี้

 

น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กทารก

 

  • 0-3 เดือน น้ำหนักทารก ขึ้นเดือนละ 600-800 กรัม
  • 4-6 เดือน น้ำหนักทารก ขึ้นเดือนละ 400-600 กรัม

ควรติดตามน้ำหนักลูกทุกครั้งที่ไปฉีดวัคซีน โดยเทียบกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเกณฑ์ปกติค่ะ เพื่อดูว่าน้ำหนัก ของลูก ขึ้นตามเกณฑ์หรือไม่ เนื่องจากการดูด้วยตาเปล่าอาจทำให้คลาดเคลื่อนได้

 

10. ทำไมห้ามอุ่นนมแม่ ด้วยไมโครเวฟ

ทำไมห้ามอุ่นนมแม่ ด้วยไมโครเวฟ

 

ในกรณีที่แม่ๆที่ทำนมสต็อกให้ลูกกิน การเอานมสต็อกมาอุ่น ควรอุ่นในชามน้ำร้อน ไม่ควรอุ่นในไมโครเวฟค่ะ เนื่องจาก การอุ่นในไมโครเวฟ ความร้อนในนมไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดการไหม้ในบางจุดได้ ในขณะที่บางจุดยังเย็น เมื่อทารกกินอาจทำให้บางจุดที่ความร้อนสูง ลวกปากและลิ้นของ ทารกได้

นอกจากนี้ การอุ่นในไมโครเวฟ ยังทำลายสารภูมิต้านทานและสารอาหารในนมแม่อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรอุ่นนมแม่ในไมโครเวฟ วิธีการที่ถูกต้องคือ

1. ย้ายถุงนมแม่แช่แข็งจากช่องฟรีส ลงมาช่องธรรมดา ให้ละลายเองในตู้เย็นข้ามคืน

2. ก่อนให้ลูกกิน ใช้วิธีแช่ถุงนมในชามน้ำอุ่น

การอุ่นนมที่ถูกวิธี นอกจากไม่ลวกปากและลิ้นของลูก ยังช่วย รักษาคุณค่าและสารอาหารของนมแม่ให้ได้มากที่สุดอีกด้วยค่ะ

All articles

View details ลูกหัวแบน ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อทารกหัวแบน
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
ลูกหัวแบน ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อทารกหัวแบน

ลูกหัวแบน ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อทารกหัวแบน

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน เกิดจากอะไร หนึ่งในความกังวลใจของคุณแม่มือใหม่ที่ ลูกหัวแบน แก้ไขได้เบื้องต้นอย่างไร มีวีธีป้องกันเบื้องต้นไหม ทำไมลูกหัวแบน ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details การมองเห็นของทารก ลูกน้อยแต่ละช่วงวัย มองเห็นอะไรบ้าง
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
การมองเห็นของทารก ลูกน้อยแต่ละช่วงวัย มองเห็นอะไรบ้าง

การมองเห็นของทารก ลูกน้อยแต่ละช่วงวัย มองเห็นอะไรบ้าง

การมองเห็นของทารกแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ มีพัฒนาการในด้านการมองเห็นที่แตกต่างกัน คุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นการมองเห็นของทารกได้ด้วยวิธีง่ายๆ พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

7นาที อ่าน

View details ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม

ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม

ตุ่มใสที่นิ้วลูก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มใสที่มือคัน อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไร หากลูกมีตุ่มใส ๆ ที่มือ พร้อมวิธีบรรเทาตุ่ม ใสที่นิ้ว

6นาที อ่าน

View details เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก

เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก

เด็กทารกสะอึก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เมื่อลูกสะอึกทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลว่าลูกจะเป็นอันตรายหรือเปล่า ดูแลเด็กทารกสะอึกได้ยังไงบ้าง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details ไอเดียแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นอวดลูกสาว สำหรับคุณแม่สายโซเชียล
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
ไอเดียแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นอวดลูกสาว สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นอวดลูกสาว สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกสาว โพสอวดลูกสาวได้ไม่ซ้ำวัน แคปชั่นลูกสาวโดนใจ ให้คุณแม่เลือกใช้ได้ง่าย ๆ แคปชั่นรักลูกสาวบอกรักลูก ช่วยเรียกเสียงหัวเราะในโซเชียลให้ลูกรัก

8นาที อ่าน

View details ของใช้เด็กแรกเกิด มีอะไรบ้าง เตรียมของก่อนคลอดลูกน้อย
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
ของใช้เด็กแรกเกิด มีอะไรบ้าง เตรียมของก่อนคลอดลูกน้อย

ของใช้เด็กแรกเกิด มีอะไรบ้าง เตรียมของก่อนคลอดลูกน้อย

ของใช้เด็กแรกเกิดก่อนคลอด คุณแม่ควรเตรียมอะไรก่อนคลอดบ้าง ไปดูกันว่าของใช้เด็กแรกเกิดแบบไหนที่จำเป็นและควรเตรียมไว้ก่อนคุณแม่คลอดเจ้าตัวเล็ก

9นาที อ่าน

View details เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไรบ้าง ทำผ่านออนไลน์ได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไร ลูกน้อยต้องอายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนนามสกุลได้ พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

4นาที อ่าน

View details เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรทำยังไง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรทำยังไง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรทำยังไง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

อยากเปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อลูกยังไง ไปดูเอกสารที่ต้องเตรียมและขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อกัน

5นาที อ่าน

View details วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ เมื่อลูกไม่เรอสำหรับลูกน้อย ช่วยป้องกันอาการแหวะนม ไปดูวิธีจับลูกเรอและท่าอุ้มเรอที่ช่วยให้ลูกเรอง่ายและท้องไม่อืดหลังกินนม

4นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงทารกตามเกณฑ์
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงทารกตามเกณฑ์

ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงทารกตามเกณฑ์

น้ำหนักทารกแรกเกิด ลูกน้อยควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ แบบไหนเรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พ่อแม่มือใหม่ควรควบคุมน้ำหนักเด็กแรกเกิด เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

5นาที อ่าน

View details อาหารเด็ก 6-12 เดือน อาหารเด็กทารก ทำตามง่าย พร้อมวิธีทำ
บทความ
โภชนาการเด็กตามช่วงวัย
เมนูอาหารเด็กทารก 6-12 เดือน อาหารเด็ก ทำตามง่าย เหมาะสำหรับลูกน้อย

อาหารเด็ก 6-12 เดือน อาหารเด็กทารก ทำตามง่าย พร้อมวิธีทำ

เมนูอาหารเด็กทารก สำหรับลูกน้อยวัย 6-12 เดือน พร้อมวิธีทำแบบง่ายๆ ที่คุณแม่ทำตามได้ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมไปดูเมนูอาหารเด็กทารกกันเลย

20นาที อ่าน

View details เช็กลิสต์เตรียมของใช้ลูกให้พร้อม ก่อนพาลูกเที่ยว
บทความ
เช็คลิสต์เตรียมของใช้ลูกให้พร้อม ก่อนพาลูกเที่ยว

เช็กลิสต์เตรียมของใช้ลูกให้พร้อม ก่อนพาลูกเที่ยว

เมื่อต้องพาลูกไปเที่ยวนอกบ้าน คุณพ่อคุณแม่มีวิธีการเตรียมของใช้ให้ลูกยังไง? มาดูเช็กลิสต์เตรียมของใช้ให้ลูก และการจัดเตรียมอาหารเพื่อโภชนาการที่ดีสำหรับลูกน้อยกัน

7นาที อ่าน

View details เคล็ดลับการเดินทางอย่างปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
เคล็ดลับการเดินทางอย่างปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

เคล็ดลับการเดินทางอย่างปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่อยากไปเที่ยวพักผ่อนแต่ก็กังวลเรื่องความปลอดภัยของลูกในท้อง มาเรียนรู้และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเดินทางระหว่างท้องด้วยวิธีต่างๆ กัน

3นาที อ่าน

View details ประโยชน์ของ “กรดโฟลิค” สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ประโยชน์ของ “กรดโฟลิค” สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ประโยชน์ของ “กรดโฟลิค” สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดกรดโฟลิค คุณแม่จำเป็นต้องกินอาหารให้หลากหลายและสมดุลตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงเลือกกินประเภทอาหารที่มีกรดโฟลิคสูงเป็นประจำ

3นาที อ่าน

View details โรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
บทความ
โรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

โรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

โรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ หรือโรคความดันโลหิตสูงที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด คุณแม่ต้องดูแลเรื่องอาหารและตรวจสุขภาพเป็นประจำ

3นาที อ่าน

View details ข้อห้ามหลังผ่าคลอด พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด
บทความ
แม่ผ่าคลอด
ข้อห้ามหลังผ่าคลอด พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอด พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าตัดคลอด

ข้อห้ามหลังผ่าคลอดสำหรับคุณแม่หลังผ่าตัดคลอดมีอะไรบ้าง อาการหลังผ่าตัดคลอดที่คุณแม่ต้องเจอมีอะไรบ้าง พร้อมวิธีลุกจากเตียงหลังผ่าคลอดที่คุณแม่ควรรู้

7นาที อ่าน

View details นิทานเด็กทารก เล่านิทานให้ลูกฟัง เสริมพัฒนาการลูก
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
นิทานเด็กทารก เล่านิทานให้ลูกฟัง เสริมพัฒนาการลูก

นิทานเด็กทารก เล่านิทานให้ลูกฟัง เสริมพัฒนาการลูก

เลี้ยงลูกด้วยนิทานเด็กทารกสำคัญแค่ไหน นิทานเสริมพัฒนาการทารก มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และทำให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์

7นาที อ่าน

View details ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก ทารกหายใจแรง อันตรายไหม
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย
ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก ทารกหายใจแรง อันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก ทารกหายใจแรง อันตรายไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

7นาที อ่าน

View details แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร
บทความ
คู่มือคุณแม่มือใหม่
แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

6นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน หลังผ่าคลอดนานแค่ไหนมีอะไรกับแฟนได้
บทความ
แม่ผ่าคลอด
ผ่าคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน หลังผ่าคลอดนานแค่ไหนมีอะไรกับแฟนได้

ผ่าคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน หลังผ่าคลอดนานแค่ไหนมีอะไรกับแฟนได้

ผ่าคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะปลอดภัยหรือเปล่า หลังผ่าคลอดมีอะไรกับแฟนได้ตอนไหนปลอดภัยที่สุด ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 39 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
พัฒนาการลูกในครรภ์
อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 39 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 39 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 39 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์   

View details คุณแม่ท้อง 5 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 5 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
พัฒนาการลูกในครรภ์
คุณแม่ท้อง 5 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 5 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 5 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 5 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 5 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

11นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง
บทความ
พัฒนาการลูกในครรภ์
คุณแม่ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง

คุณแม่ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง

คุณแม่ท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน อายุครรภ์ 3 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

10นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน
บทความ
พัฒนาการลูกในครรภ์
คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน

คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน

คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 4 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

8นาที อ่าน