อยากมีลูก อยากท้อง ทำยังไงดี พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
มี.ค. 25, 2024
7นาที

สำหรับหลาย ๆ ท่าน การเป็นคุณพ่อคุณแม่อาจจะเป็นความฝัน หรืออาจเป็นทางเลือกในการเติมเต็มในชีวิต หากคุณผู้อ่านกำลังกังวลอยู่ว่า “ฉันอยากมีลูก แต่ยังไม่เห็นมีได้สักที” คุณผู้อ่านไม่ได้เผชิญอยู่กับสถานการณ์นี้ตามลำพังแน่นอน มีคนที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์เดียวกันอยู่แน่ ๆ บทความนี้จะเปิดประเด็น และนำเสนอความรู้ที่มีประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่อยากมีลูกหรืออยากท้องด้วยวิธีธรรมชาติ

 

สรุป

  • การเตรียมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของคุณแม่และคุณพ่อให้ดี เป็นการวางแผนตั้งครรภ์ ต่างฝ่ายเมื่อไม่เครียดจนเกินไป รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลน้ำหนัก และหมั่นตรวจสอบดูแลสุขภาพ จะเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ขึ้น
  • เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตก ซึ่งการตกไข่มักเกิดประมาณวันที่ 14 ของรอบประจำเดือน การระบุวันไข่ตกสามารถทำได้โดยการติดตามรอบประจำเดือนหรือใช้ชุดทำนายช่วงไข่ตกเพื่อความแม่นยำมากขึ้น
  • ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนระบุว่าท่าทางเมื่อมีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้น คู่รักควรมุ่งเน้นความสบายและดื่มด่ำในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เพราะจะมีความเครียดน้อยลง สร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกหรือฝ่ายหญิงถึงจุดสุดยอด จะทำให้อสุจิเดินทางไปเจอกับไข่ได้ราบรื่นขึ้น
  • หากมีภาวะมีบุตรยาก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เริ่มแรกเลยถ้าคุณผู้อ่านต้องการตั้งท้อง การเตรียมสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งสุขภาพกายและใจหากแข็งแรงดีก็จะเป็นปัจจัยส่งเสริมโอกาสในการตั้งครรภ์ และคุณผู้อ่านคิดเผื่อไว้ก่อนเลยว่า ถ้าตั้งครรภ์สำเร็จโดยที่เป็นคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ก็จะทำให้การเติบโตของสิ่งมีชีวิตน้อย ๆ ในครรภ์สมบูรณ์แข็งแรงไปด้วย ต่อไปนี้คุณผู้อ่านมาดูด้วยกันถึงวิธีการเตรียมพร้อมทั้งกายและใจ

 

การจัดการกับความเครียด

เครียดไม่เพียงแต่มีผลต่อสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้ยากขึ้น ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายผู้หญิงเกิดภาวะไม่สามารถตกไข่ได้ หรือทำให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังทำให้ไข่ฝังตัวในมดลูกได้ยากขึ้นด้วย

 

การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์มากไปและการสูบบุหรี่เป็นประจำมีผลกระทบต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ของผู้หญิง การดื่มเหล้ามากเกินไปสามารถลดโอกาสในการตั้งครรภ์ลงไปถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยทันที เนื่องจากสารพิษในแอลกอฮอล์และบุหรี่อาจทำให้ปริมาณอสุจิในร่างกายลดลง ทำให้ความแข็งแรงของอสุจิเสียไป การเคลื่อนไหวของอสุจิไม่เป็นปกติ และอสุจิมีความเสี่ยงจะมีรูปร่างผิดปกติ นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ยังสามารถลดการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของอสุจิ ซึ่งอาจส่งผลให้ความสามารถในการตั้งครรภ์ลดลงได้อีกด้วย

 

การมีเพศสัมพันธ์ไม่ถูกช่วงเวลา

การตกไข่เป็นกระบวนการธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เกิดขึ้นเดือนละครั้ง ปกติแล้วการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไข่ของผู้หญิงมีการปฏิสนธิในช่วงเวลาที่ไข่ตก ถ้ามีเพศสัมพันธ์ไม่ถูกช่วงก็จะลดโอกาสในการตั้งครรภ์ การนับวันตกไข่ ลองทำแบบนี้ดู

  • ระบุวันแรกของรอบมีประจำเดือนเป็นวันที่ 1
  • หากระยะเวลาของรอบเดือนคงที่ (เช่น 28 วัน) ให้นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนไป 14 วัน ซึ่งช่วงวันที่ 12-14 จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

 

พักผ่อนน้อย

เกี่ยวข้องกับความเครียดด้วย ถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะเครียดและส่งผลถึงฮอร์โมนได้ ควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ หาเวลานอนหลับให้เต็มอิ่ม ไม่เก็บเรื่องราวต่าง ๆ มาคิดจนนอนไม่หลับได้

 

การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์

การบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์เป็นประจำอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นได้ และมีผลต่อภาวะการมีบุตรยากด้วย ดังนั้น ควรเลือกบริโภคอาหารที่หลากหลายและเหมาะสม โดยเฉพาะอาหารที่มีการรวมผักและผลไม้เข้าไปในอาหารของเราเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล

 

น้ำหนักมากเกินไป หรือน้อยเกินไป

น้ำหนักของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักขึ้นและลง หรือน้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไป อาจมีผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ของผู้หญิง การปรับตัวของร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมต่อการตั้งครรภ์อาจทำให้การเจริญพันธุ์มีความยากลำบากมากขึ้น และเสี่ยงต่อการแท้งง่ายอีกด้วย มีงานศึกษาวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน อาจต้องใช้เวลานานกว่าเพื่อตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการเตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์ อาจใช้เวลานานถึง 4 เท่า ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์อาจต้องใช้เวลานานถึง 2 เท่า จึงจะตั้งครรภ์ได้ ในผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินค่ามาตรฐาน จำนวนอสุจิอาจลดลงถึง 22 เปอร์เซ็นต์ และความเข้มข้นลดลงถึง 24 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจมีผลต่อการพยายามตั้งครรภ์ของภรรยา

 

ปัญหาสุขภาพ

กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (PCOS) ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือความผิดปกติของฮอร์โมน อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเจริญพันธุ์ได้ การระบุและแก้ไขปัญหาสุขภาพเหล่านี้ด้วยคำแนะนำของคุณหมอสามารถช่วยให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะตั้งครรภ์

 

อยากท้อง ต้องมีเพศสัมพันธ์ช่วงไข่ตก

“ถ้าจะท้องต้องมีเพศสัมพันธ์ตอนไข่ตก” ข้อความนี้ไขความลับการปฏิสนธิตามธรรมชาติ การที่ไข่ตกหรือการตกไข่เป็นกระบวนการที่ไข่ที่โตเต็มที่จะถูกปล่อยออกจากรังไข่ และพร้อมที่จะปฏิสนธิด้วยอสุจิ ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ว่านี้

  • การตกไข่มักเกิดขึ้นประมาณวันที่ 14 ของรอบประจำเดือน แต่อาจคลาดเคลื่อนกันไปบ้างระหว่างผู้หญิงแต่ละคน
  • วิธีการระบุหาวันไข่ตก เช่น การติดตามรอบประจำเดือน หรือใช้ชุดทำนายช่วงไข่ตกเพื่อความแม่นยำมากขึ้น
  • ไข่มีชีวิตอยู่เพียง 12-24 ชั่วโมงหลังไข่ตก ส่วนอสุจิมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์ได้นานถึง 2 วัน เวลามีจำกัดสำหรับไข่ การมีเพศสัมพันธ์ช่วงก่อนไข่ตกหรือระหว่างไข่ตกจะสร้างโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์

 

อยากมีลูกง่าย ต้องมีเพศสัมพันธ์ท่าไหน

เรื่องลับเฉพาะบนเตียงที่ต้องตกลงกันกับคู่รักของคุณ แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องท่าเพศสัมพันธ์กับโอกาสในการตั้งครรภ์มีปรากฏดังนี้

  • ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเพศสัมพันธ์ท่าไหนจะช่วยให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายกว่ากัน
  • อสุจิสามารถเข้าถึงปากมดลูกได้ภายในไม่กี่วินาทีหลังจากการหลั่ง โดยไม่คำนึงถึงท่วงท่าสอดใส่ขณะมีเพศสัมพันธ์ ความแข็งแรงของอสุจิสำคัญกับการเดินทางไปให้ถึงไข่ หลังการสอดใส่และการหลั่งของฝ่ายชาย เป็นธรรมชาติของอสุจิที่จะแหวกว่ายไปหาเป้าหมายอย่างสุดกำลัง
  • การมีเพศสัมพันธ์ควรมุ่งเน้นไปที่การหาตำแหน่งที่สะดวกสบายและสนุกสนานสำหรับคู่รัก ความพยายามที่ปราศจากความเครียดและสนุกสนานอาจสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวก ร่างกายไม่เครียด มีผลดีต่อการปฏิสนธิ
  • การถึงจุดสุดยอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์อาจมีส่วนช่วยอสุจิให้เดินทางไปเจอกับไข่ได้ แต่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับอัตราการปฏิสนธิที่สูงขึ้น

 

อยากมีลูก ต้องใส่ใจกับการกินให้มากขึ้น

  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ไขมันสูง และไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม ของทอด ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
  • เพิ่มการรับประทาน ถั่วและธัญพืช เพื่อเพิ่มโปรตีนและธาตุเหล็ก ผักใบเขียว เพื่อเพิ่มโฟเลตและวิตามินบี นมและโยเกิร์ต เพื่อความแข็งแรงของระบบสืบพันธุ์
  • อาหารที่ควรรับประทานให้น้อยลง น้ำตาลและแป้งขัดขาว เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ชา กาแฟ และน้ำอัดลม และควรงดการรับประทานแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากส่งผลเสียต่อสุขภาพและลดโอกาสตั้งครรภ์ได้สำเร็จ

 

วิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่ายขึ้น สำหรับคนอยากมีลูก

 

วิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่ายขึ้น สำหรับคนอยากมีลูก

ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร

การออกกำลังกายเป็นประจำเข้ากับกิจวัตรประจำวัน อาจส่งผลดีต่อการเจริญพันธุ์ได้ การออกกำลังกายจะช่วยรักษาน้ำหนัก ทำให้ร่างกายแข็งแรง ควบคุมฮอร์โมน และลดความเครียดได้พร้อม ๆ กัน ควรตั้งเป้าออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 30 นาทีเกือบทุกวันในสัปดาห์ อาจจะเป็นกิจกรรมง่าย ๆ เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิค เป็นต้น

 

ผ่อนคลาย ไม่เครียด

ระดับความเครียดที่สูงอาจรบกวนสมดุลของฮอร์โมนและส่งผลเสียต่อการเจริญพันธุ์ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในช่วงต้น ดังนั้นควรหากิจกรรมลดความเครียดในชีวิตประจำวัน เช่น การทำสมาธิ การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ การมีสติ หรือหาเวลาทำงานอดิเรกที่ทำให้คุณมีความสุข

 

ควบคุมน้ำหนัก ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป

การรักษาน้ำหนักให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญพันธุ์ การมีน้ำหนักน้อยเกินไปหรือมีน้ำหนักเกินอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อพัฒนาแผนการรับประทานอาหารที่สมดุล ช่วยสนับสนุนเป้าหมายที่จะมีน้ำหนักที่ต้องการและการตั้งครรภ์

 

อยู่ให้ห่างจากสารเสพติด

การใช้สารเสพติด ซึ่งรวมถึงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และการใช้ยาเพื่อความบันเทิง อาจทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ในทั้งชายและหญิงลดลงอย่างมาก การเลิกหรือลดนิสัยเหล่านี้สามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

 

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์

งดขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันทรานส์ เพราะของเหล่านี้มีไขมันที่เป็นตัวลดความสามารถของอินซูลินในร่างกายที่มีผลกระทบต่อการตกไข่ได้

  • เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • แนะนำต่อผู้ชายอยากมีลูก: อาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่น เนื้อปลา อาหารที่มีโฟลิก และอาหารที่มีสังกะสี
  • แนะนำต่อผู้หญิงอยากมีลูก: คือ โฮลเกรน ธัญพืชขัดสีน้อย ผักผลไม้ และปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณมาก

 

นอนและพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับที่มีคุณภาพถือเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมฮอร์โมน การรักษารูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความสมดุลและการลดความเครียดสามารถมีผลบวกต่อระบบสืบพันธุ์ของคู่สามีภรรยาที่ต้องการมีลูกได้ การพักผ่อนที่เพียงพอและการลดความเครียดสามารถช่วยปรับปรุงระบบฮอร์โมนของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ทำให้เกิดโอกาสตั้งครรภ์และการมีบุตรมากขึ้น

 

อาการของผู้หญิงที่เข้าข่ายมีลูกยาก

  • ประจำเดือนไม่มาตามปกติ มาไม่สม่ำเสมอ หรือหมดประจำเดือนเร็ว
  • ปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือน
  • รู้สึกไม่ดี เจ็บ ระคายเคืองขณะมีเพศสัมพันธ์
  • พบเลือดออกอย่างผิดปกติในช่องคลอดหรือพบการติดเชื้อที่กระดูกเชิงกราน มีผลทำให้ท่อนำไข่ในตัวผู้หญิงอุดตัน
  • เคยผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกรานมาก่อน
  • เคยแท้งบุตรมาก่อน
  • เคยเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์ หรือป่วยอยู่และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

 

อาการของผู้ชายที่เข้าข่ายมีลูกยาก

  • น้ำเชื้ออสุจิมีปริมาณน้อย การหลั่งน้ำอสุจิมีปัญหา
  • อวัยวะเพศอ่อนตัว
  • เคยผ่าตัดหรือติดเชื้อที่มีผลต่อการหลั่งน้ำอสุจิ เช่น เชื้ออัณฑะอักเสบ หรือการผ่าตัดที่บริเวณถุงอัณฑะ
  • เคยติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และมีอาการที่อวัยวะเพศ อาจจะมีผลให้ทางเดินน้ำอสุจิแคบ หรือร่างกายมีปัญหาในการสร้างเชื้ออสุจิ

 

การวางแผนเพื่อตั้งครรภ์ ถ้าวางแผนดี ผู้เป็นภรรยาก็มีโอกาสตั้งท้องได้สำเร็จ โดยปัจจัยหลักคือสุขภาพร่างกายของทั้งพ่อและแม่ ควรรักษาสมดุลในการกินอาหารและการใช้ชีวิต ไม่ให้มีความเครียดเกินไป ให้เวลาพักผ่อนเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยระวังไม่รับประทานมากเกินไปจนเกิดความอ้วนขึ้น นอกจากนี้ควรจะปรึกษาคุณหมอด้วย หากใช้วิธีธรรมชาติ นับวันไข่ตกได้ ก็ถือว่าดีไป แต่เผื่อว่าเข้าเกณฑ์มีบุตรยาก จะได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์จากคุณหมอต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. 10 พฤติกรรมที่ส่งผลให้มีลูกยาก อยากมีลูกเช็กด่วน!!, โรงพยาบาลพญาไท
  2. นับวันตกไข่ให้เป๊ะ! ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  3. 3 ด้านต้องรู้ ในการเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  4. ถุงน้ำในรังไข่หลายใบคืออะไรรักษาอย่างไร, โรงพยาบาลเพชรเวช
  5. ฟังคำตอบจากคุณหมอ! โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คืออะไรกันแน่นะ, โรงพยาบาลพญาไท
  6. Are Certain Sex Positions Better for Getting Pregnant?, What to Expect
  7. 9 อาหาร(เสริม) คนอยากมีลูก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  8. การออกกำลังกายอย่างไร...ช่วยให้ตั้งครรภ์ ลดภาวะการมีบุตรยาก?, ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจินตบุตร
  9. 5 วิธีจัดการความเครียดง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้, โรงพยาบาลเปาโล
  10. ภาวะมีบุตรยากคืออะไร? มีสัญญาณอะไรบ้าง มีลูกยากอยากมีลูกต้องทำอย่างไร?, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  11. อาหารแนะนำสำหรับคนอยากมีลูก, โรงพยาบาลเปาโล
  12. เตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร, MedPark Hospital
  13. พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก! มีอะไรบ้าง?, ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเจตนิน
  14. ภาวะมีบุตรยากคืออะไร? มีสัญญาณอะไรบ้าง มีลูกยากอยากมีลูกต้องทำอย่างไร?, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

อ้างอิง ณ วันที่ 20 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมือ

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมือ

ซึมเศร้าหลังคลอด หนึ่งในอาการที่คุณแม่ต้องเจอ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร ไปทำความเข้าเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและวิธีดูแลตัวเองกัน

6นาที อ่าน

View details ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน
บทความ
ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน

ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน

คุณแม่ท้อง 8 เดือน มีอาการแบบไหน ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

8นาที อ่าน

View details ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์
บทความ
ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร สัญญาณเตือนคนท้องแบบไหน ที่บอกให้รู้ว่าแม่ท้อง 1 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน

View details ท้องนอกมดลูก อาการเริ่มแรกเป็นแบบไหน อาการท้องนอกมดลูก อันตรายไหม
บทความ
ท้องนอกมดลูก อาการเริ่มแรกเป็นแบบไหน อาการท้องนอกมดลูก อันตรายไหม

ท้องนอกมดลูก อาการเริ่มแรกเป็นแบบไหน อาการท้องนอกมดลูก อันตรายไหม

ท้องนอกมดลูก อาการเริ่มแรกเป็นอย่างไร ท้องนอกมดลูก ตรวจเจอกี่สัปดาห์ คุณแม่ต้องยุติการตั้งครรภ์เลยไหม ไปดูปัจจัยที่ทำให้คุณแม่มือใหม่ท้องนอกมดลูกกัน

5นาที อ่าน

View details ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร
บทความ
ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร

ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร

ท้องไตรมาสแรก มีอะไรเกิดขึ้นกับคุณแม่บ้าง ระยะตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก คุณแม่แพ้ท้องหนักไหม ควรดูแลตัวเองอย่างไรสำหรับไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 

13นาที อ่าน

View details ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน
บทความ
ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง สัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าลูกใกล้กลับหัวแล้ว  คุณแม่ควรเตรียมความพร้อมอย่างไร ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
บทความ
จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอกใช้ได้ตอนไหน จุกหลอกหรือจุกนมหลอกช่วยเบี่ยงเบนความสนใจและป้องกันลูกน้อยดูดนิ้วตัวเองได้จริงหรือไม่ ไปดูข้อดีและข้อเสียของจุกหลอกที่คุณแม่ควรรู้ไว้กัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม คำถามคาใจของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน อยากสวยตอนตั้งครรภ์แต่ถูกห้ามให้ย้อมผม มาดูกันว่าในยาย้อมผมจะมีสารเคมีอะไรที่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์บ้าง

7นาที อ่าน

View details 7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง
บทความ
7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

รวมวิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย คุณแม่ทำได้เลยที่บ้านหลังคลอด ช่วยลดไขมันให้คุณแม่กลับมาหุ่นสวยอีกครั้ง พร้อมอาหารไขมันดี เหมาะสำหรับแม่หลังคลอด

7นาที อ่าน

View details คนท้องเท้าบวม เพราะอะไร ปกติไหม พร้อมวิธีลดบวม
บทความ
คนท้องเท้าบวม เพราะอะไร ปกติไหม พร้อมวิธีลดบวม

คนท้องเท้าบวม เพราะอะไร ปกติไหม พร้อมวิธีลดบวม

คนท้องเท้าบวม เกิดจากอะไร อาการคนท้องเท้าบวม หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายกับคุณแม่หรือเปล่า ไปดูสัญญาณเตือนของอาการคนท้องเท้าบวมที่คุณแม่ควรรู้

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

โกโก้มีคาเฟอีนไหม คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำชง คุณแม่ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี

7นาที อ่าน

View details อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ
บทความ
ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

9นาที อ่าน

View details ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน
บทความ
ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ทำไมถึงสำคัญสำหรับคนอยากมีลูก ที่ตรวจไข่ตกหรือชุดตรวจไข่ตกมีกี่แบบ ไปรู้จักที่ตรวจไข่ตก พร้อมวิธีการใช้งานที่ตรวจไข่ตกกัน

7นาที อ่าน

View details พาหะธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่คนอยากมีลูกต้องรู้
บทความ
พาหะธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่คนอยากมีลูกต้องรู้

พาหะธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่คนอยากมีลูกต้องรู้

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ คุณแม่มือใหม่นับอายุลูกน้อยในครรภ์รายสัปดาห์อย่างไรให้แม่นยำ เพื่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ นับแบบไหนดี ไปดูกัน

8นาที อ่าน

View details น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย มีผลกับน้ำนมไหม
บทความ
น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย มีผลกับน้ำนมไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย มีผลกับน้ำนมไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม คุณแม่กินน้ำเย็นแล้วน้ำนมจะหดจริงหรือเปล่า พร้อมเคล็ดลับดูแลตัวเองหลังคุณแม่ผ่าคลอด

10นาที อ่าน

View details ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม
บทความ
ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

6นาที อ่าน

View details 10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก
บทความ
10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

รวมอาการคนท้องเริ่มแรก อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ไปดูสัญญาณเตือนอาการคนท้องระยะแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

View details เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม
บทความ
เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ ใช่อาการแพ้ท้องไหม

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

6นาที อ่าน