คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ผัก 5 ชนิด สร้างน้ำนม

คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ผัก 5 ชนิด สร้างน้ำนม

25.09.2019

การปฏิบัติตามวิธีการเตรียมนมและเทคนิคการจัดเก็บนมแม่อย่างปลอดภัยนั้น จะช่วยให้คุณแม่ให้นมบุตรและพี่เลี้ยงเด็กสามารถรักษาคุณภาพของนมแม่ที่ปั๊มออกมาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อยค่ะ

headphones

PLAYING: คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ผัก 5 ชนิด สร้างน้ำนม

อ่าน 3 นาที

คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารนะคะ เพราะน้ำนมที่ลูกน้อยได้รับ ล้วนมาจากสิ่งที่แม่บริโภคโดยตรง ดังนั้น ในระหว่างที่ให้นมลูก ร่างกายคุณแม่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าและพลังงานไม่น้อยไปกว่าขณะตั้งครรภ์เลยค่ะ โดยคุณแม่มือใหม่หลังคลอดควรรับประทานอาหาร ให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ในแต่ละมื้อในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเพื่อสร้างน้ำนมให้กับลูกน้อย 

ผัก 5 ชนิดและเมนูอาหารเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ให้นมลูก ดังนี้

  1. ขิง มีคุณสมบัติช่วยขับเหงื่อขับลม ไล่ความเย็น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยให้เจริญอาหาร ซึ่งในช่วงหลังคลอด คุณแม่จะยังมีน้ำคาวปลาอยู่ การกินขิงช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เมนูอาหารแนะนำ ได้แก่ มันต้มขิง ปลาผัดขิง หรือ กระเพาะหมูผัดขิง เป็นต้น
  2. ใบกะเพราอุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เส้นใยอาหารสูง โดยความร้อนจากใบกะเพรา จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม และยังมีคุณสมบัติแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงธาตุ และเพิ่มน้ำนม เมนูอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยใบกะเพรา ได้แก่ ผัดกะเพราหมู/ ไก่/ ปลา ต้มจืดใบกะเพราใส่หมูสับ เป็นต้น
  3. ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ตัวอย่างเมนูเพิ่มน้ำนมหลังคลอดจากฟักทอง ได้แก่ แกงเลียง ฟักทองนึ่ง ฟักทองผัดไข่ แกงบวดฟักทอง เป็นต้น 
  4. กุยช่ายอุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี มีคุณสมบัติช่วยขับน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ สามารถทานได้ทั้งต้นและใบ ตัวอย่างเมนูคุณแม่ให้นมลูกด้วยกุยช่าย ได้แก่ ผัดกุยช่ายกับตับ ผัดไทย หรือขนมกุยช่าย
  5. ตำลึงมีโปรตีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินบีสาม วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก เส้นใยอาหารในปริมาณมาก คุณสมบัติช่วยบำรุงน้ำนม ทำให้มีน้ำนมมาก และยังช่วยบำรุงเลือด บำรุงกระดูก สายตา ผม และประสาท คุณแม่มือใหม่ อาจจะนำตำลึงมาทำแกงเลียง หรือต้มจืดใบตำลึงใส่เลือดหมู

คุณแม่ฉลาดรู้ 

คุณแม่มือใหม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูป อาทิ อาหารบรรจุสำเร็จรูป ขนมเค้ก คุ้กกี้ เพราะอาหารประเภทนี้มีสัดส่วนของไขมันทรานส์ (Trans-fatty acid) ในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งอาจมีผลทำให้เอนไซม์บางชนิดของร่างกายทำงานได้ลดลง รวมทั้งไปรบกวนการสร้างไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วย

อ้างอิง

  1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข https://anamai.moph.go.th/th
  2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) www.thaihealth.or.th
  3. เว็บไซต์หมอชาวบ้าน www.doctor.or.th

บทความแนะนำ

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก