ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

เคล็ดลับการดูแลลูก
บทความ
พ.ย. 21, 2024
5นาที

ทารกชอบแลบลิ้นออกมาบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจรู้สึกกังวลว่าลูกน้อยมีพัฒนาการที่ผิดปกติหรือไม่? พฤติกรรมการแลบลิ้นจะพบได้บ่อยในช่วงวัยทารก แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้ทารกชอบแลบลิ้น และวิธีสังเกตว่าพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องปกติหรือไม่ พร้อมทั้งคำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกน้อยอย่างเหมาะสม

สรุป

  • ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ชอบแลบลิ้น มาจากปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า Tongue thrust reflex เป็นการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นตรงริมฝีปาก เช่น การดูดนมแม่
  • ทารกชอบแลบลิ้น จะเกิดขึ้นไปจนทารกอายุได้ 4-6 เดือน และจะหายไปในที่สุด

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทารกแลบลิ้น เกิดจากอะไร

ทารกแลบลิ้น ในทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ เนื่องจากทารกแลบลิ้นออกมาโดยสัญชาตญาณ ในขณะที่เด็กทารกที่อายุมากกว่านี้อาจแลบลิ้นออกมาโดยตั้งใจ สำหรับทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน เหตุผลที่พบบ่อยทำให้ทารกชอบแลบลิ้น มาจากปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า Tongue thrust reflex เป็นการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นตรงริมฝีปาก เช่น การดูดนมแม่

 

ทารกชอบแลบลิ้น ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้นออกมา เป็นเรื่องปกติที่พบได้ในเด็กวัยทารก คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลมากเกินไป การที่ทารกชอบแลบลิ้นนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น

1. เคยชินกับการดูดนมแม่

ทารกแลบลิ้นก่อนดูดนมแม่ เกิดขึ้นตามสัญชาตญาณเมื่อมีบางสิ่งมากระตุ้นที่ริมฝีปาก ระบบประสาทจะตอบรับแบบอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า Tongue thrust reflex ทารกจะอ้าปากและเอาลิ้นออกมาเพื่อช่วยในการดูดนม

2. ผายลม

ในเด็กทารกที่ชอบแลบลิ้น อาจมาจากการผายลมที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหารตามปกติ เมื่อมีอาการปวดท้องหรือผายลม ทารกมักจะตอบสนองต่อความรู้สึกนั้นด้วยการแสดงสีหน้า เช่น ร้องไห้ ยิ้ม และแลบลิ้นออกมา

3. แสดงให้รู้ว่ากำลังหิวหรืออิ่มแล้ว

ทารกแลบลิ้นอาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่กำลังบอกว่า “หิว” และ “อิ่ม” เวลาทารกหิวมักจะกำมือแน่นและเอามือเข้าปาก หันหน้าไปทางเต้านมคุณแม่ และเลียริมฝีปาก ถ้าอิ่มแล้วส่วนใหญ่จะหันหน้าออก แลบลิ้นปฏิเสธที่จะดูดนม

4. แสดงให้รู้ว่าไม่ชอบอาหารที่กิน

เมื่อทารกอายุได้ 6 เดือนขึ้นไป กุมารแพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่ป้อนอาหารเสริมให้ลูก ซึ่งในบางครั้งรสของอาหาร หรือเนื้อสัมผัสของอาหารอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่ชอบอาหารเมนูนั้น ๆ ก็จะแสดงออกด้วยการแลบลิ้นยื่นลิ้นออกมาเพื่อคายออกจากปากปฏิเสธอาหารที่รับประทาน

5. พฤติกรรมเลียนแบบ

เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 8 เดือน จะเริ่มมีพัฒนาการทางภาษาที่มากขึ้น การแลบลิ้นของทารกเป็นการแลบลิ้นที่ตามใจตัวเอง และจะมีการเลียนแบบพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ ด้วยการแลบลิ้นออกมาเพื่อเลียนแบบการพูด หรือการจูบ

6. กำลังหายใจทางปาก

โดยปกติแล้วการหายใจจะหายใจผ่านจมูก แต่ถ้าหากทารกมีอาการคัดจมูกหรือมีต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์ขนาดใหญ่ ทารกอาจหายใจผ่านทางปากแทน ซึ่งอาจทำให้มีการแลบลิ้นออกมาได้

 

ทารกแลบลิ้น เกิดจากกรรมพันธุ์ได้ไหม

 

ทารกแลบลิ้น เกิดจากกรรมพันธุ์ได้ไหม

ภาวะลิ้นยื่น ทารกแลบลิ้นออกมาจากปาก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดและอาจเกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรม เช่น โรค ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) และโรคเบ็กวิท-วีเดอร์แมน ซินโดรม (Beckwith-Wedemann Syndrome) เป็นโรคที่ลิ้นมีขนาดใหญ่จนคับปาก จนทำให้ลิ้นยื่นออกมากจากปาก

 

ทารกชอบแลบลิ้น จะดีขึ้นเมื่อไหร่

ทารกชอบแลบลิ้น เป็นปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตโนมัติของทารก ที่ยื่นลิ้นออกมาเมื่อมีสิ่งใดมาสัมผัสริมฝีปาก ปฏิกิริยานี้ช่วยให้ทารกกินนมจากเต้าหรือขวดได้ง่ายขึ้น และจะเกิดขึ้นจนถึง 4-6 เดือน และจะหายไปในที่สุด ในระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรป้อนอาหารเสริมอื่นใดให้ลูกนอกจากการกินนมแม่

 

ทารกแลบลิ้น อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น

ทารกแลบลิ้น อาจไม่ใช่แค่ปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตโนมัติของทารกตามปกติ เพราะในเด็กทารกบางคนที่มีอาการแลบลิ้นอาจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของร่างกายที่บ่งบอกถึงโรคที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ เช่น

1. กล้ามเนื้ออ่อนแรง

เนื่องจากลิ้นเป็นกล้ามเนื้อและถูกควบคุมโดยกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ในช่องปาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงอาจทำให้ลิ้นยื่นออกมามากกว่าปกติ และมีหลายสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) ดิจอร์จซินโดรม (DiGeorge syndrome) และสมองพิการ

2. มีก้อนเนื้อในช่องปาก

ทารกแลบลิ้นบางคนอาจมีเนื้องอกหรือต่อมน้ำลายบวมในปาก และในบางกรณีอาจเป็นมะเร็งช่องปาก แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อที่ทำให้เกิดถุงน้ำในต่อมน้ำลาย หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกแลบลิ้นออกมาบ่อยกว่าปกติ มีน้ำลายไหล งอแง และไม่ยอมรับประทานอาหาร หรือสังเกตเห็นก้อนในปากลูก แนะนำให้พาลูกไปโรงพยาบาลพบแพทย์ในทันที

3. มีปากเล็ก

เด็กบางคนอาจมีปากเล็กกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือเป็นส่วนหนึ่งของอาการหรือภาวะต่าง ๆ เช่น ไมโครกนาเธีย (micrognathia) คือขากรรไกรเล็ก ที่เกิดจากพันธุกรรม หรือเป็นส่วนหนึ่งของอาการของโรคอื่น ๆ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่

 

อาการร่วมทารกแลบลิ้น ที่ควรปรึกษาแพทย์

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบว่าลูกวัยทารกหรืออาจโตขึ้นกว่านี้ ยังมีอาการแลบลิ้นพร้อมกับมีอาการร่วมเหล่านี้ แนะนำให้พาลูกไปโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยอาการทันที เพื่อจะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม

 

ทารกชอบแลบลิ้น ส่วนหนึ่งเป็นตามปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีพฤติกรรมการแลบลิ้นผิดปกติ เช่น เด็กแลบลิ้นบ่อยมากผิดปกติ มีปัญหาในการกิน หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำในการดูแลลูกน้อยอย่างเหมาะสม และที่สำคัญมาก ๆ อีกอย่างหนึ่งเพื่อช่วยให้ลูกมีความสมบูรณ์แข็งแรง แนะนำให้นมแม่กับลูกน้อยเพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิด ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านร่างกายและพัฒนาการสมองการเรียนรู้ที่สมวัย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. Why do babies stick their tongues out?, MedicalNewsToday
  2. 10 Reasons Your Baby May Be Sticking Their Tongue Out, Healthline
  3. ทำไมเด็กชอบแลบลิ้น, แพทย์หญิงศิริวรรณ คลินิกหมอศิริวรรณ

อ้างอิง ณ วันที่ 12 กันยายน 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า
บทความ
โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

8นาที อ่าน

View details ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม
บทความ
ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details 4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง
บทความ
4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก

4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง

อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการช้า ทั้งร่างกาย สมองและอารมณ์ ไปดูอาหารเสริมธาตุเหล็กที่สำคัญกับลูกน้อยกัน

5นาที อ่าน

View details ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
บทความ
ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ลูกมีเสลดในคอทำไงดี เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลูกน้อยมีเสมหะในคอเยอะ คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีเคาะปอดอย่างถูกวิธีและวิธีช่วยให้ลูกขับเสมหะออก

6นาที อ่าน

View details ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม
บทความ
ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม

ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม

ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม ทารกเหงื่อออกหัวแบบไหน ควรรีบไปพบแพทย์ พร้อมวิธีสังเกตและวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกเหงื่อออกหัวมาก

5นาที อ่าน

View details เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง
บทความ
เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี คุณแม่มือใหม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง การเปลี่ยนผ้าอ้อมลูกขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง เวลาไหนถึงเหมาะสมที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้
บทความ
วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

การเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน พ่อแม่มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูวิธีดูแลทารกแรกเกิดและการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นกัน

7นาที อ่าน

View details เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย
บทความ
เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กปวดท้องบิด เกิดจากอะไร ลูกน้อยมีอาการปวดท้องบิดบ่อย อันตรายกับลูกไหม ทารกปวดท้องบิดทำไงดี ปวดท้องแบบไหนบอกถึงโรคของลูก พร้อมวิธีดูแลที่ถูกต้อง

7นาที อ่าน

View details ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี
บทความ
ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน เกิดจากอะไรได้บ้าง ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืนอันตรายไหมคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกมีเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน

2นาที อ่าน

View details เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี
บทความ
เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี

เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี

เชื้อราในปากทารก เกิดจากอะไร ลูกน้อยมีเชื้อราในปาก อันตรายไหม เด็กทารกจะมีอาการอย่างไร หากลูกน้อยมีเชื้อราในปาก พร้อมวิธีดูแลและป้องกันเชื้อราในปากเด็ก

5นาที อ่าน