พังผืดใต้ลิ้นทารก ปัญหาพังผืดของลูกที่พ่อแม่ควรระวัง

พังผืดใต้ลิ้นทารก ปัญหาพังผืดของลูกที่พ่อแม่ควรระวัง

พังผืดใต้ลิ้นทารก ปัญหาพังผืดของลูกที่พ่อแม่ควรระวัง

เคล็ดลับการดูแลลูก
บทความ
พ.ย. 27, 2024
5นาที

นมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ และภูมิคุ้มกันที่จำเป็นสำหรับทารก ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเพียงพอในแต่ละวัน เพื่อช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางสมองและร่างกาย แต่หากทารกมีปัญหาในการดูดนม ทำให้ได้รับน้ำนมน้อย เนื่องจากมีพังผืดใต้ลิ้น ทำให้มีปัญหาในการขยับลิ้น ดูดนมได้ไม่ดีพอ คุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมถูกวิธี เพื่อให้ลูกน้อยได้รับนมเพียงพอและมีสุขภาพที่แข็งแรง

สรุป

  • พังผืดใต้ลิ้น คือเยื่อบาง ๆ ตรงโคนลิ้น เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดได้ในทารก ในทารกบางรายอาจมีพังผืดมาก จากโคนลิ้นจนถึงบริเวณปลายลิ้น ทำให้เกิดปัญหาการขยับเคลื่อนไหวของลิ้น ทำให้ทารกมีปัญหาในการดูดนม และได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ
  • พังผืดใต้ลิ้น ทำให้ทารกไม่สามารถดูดนมแม่ได้ถึงลานนม งับหัวนมไม่ติด แรงดูดนมเบากว่าปกติ ดูดบ่อย ทำให้มีปัญหาในการดูดนม แทนที่ทารกจะใช้ลิ้นช่วยในการดูดนม กลับต้องใช้เหงือกช่วยดูดนมแทน ส่งผลให้แม่เจ็บเต้านม หัวนมแตก หัวนมเป็นแผลได้
  • พังผืดใต้ลิ้นทารกเป็นมาแต่กำเนิด เกิดจากกรรมพันธุ์ ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถดูแลแก้ไขได้ หากลูกมีผังผืดใต้ลิ้น มีปัญหาในการดูดนม ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวน้อย น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พังผืดใต้ลิ้น คืออะไร

พังผืดใต้ลิ้น สามารถเกิดขึ้นได้ปกติกับทารกทุกคน ซึ่งพังผืดใต้ลิ้น คือ เยื่อบาง ๆ ตรงบริเวณโคนลิ้นของทารก พังผืดใต้ลิ้นไม่ส่งผลอันตรายต่อทารก แต่ในทารกบางคนที่มีพังผืดใต้ลิ้นมากกว่าปกติ มีพังผืดใต้ลิ้นยาวจากโคนลิ้นยาวมาถึงบริเวณปลายลิ้น จะทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นทารกไม่ดีเท่าที่ควร หรือทำให้ทารกเกิดปัญหาในการขยับปลายลิ้น ปลายลิ้นของทารกจะขยับออกมาเลียลานหัวนมแม่ไม่ได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการดูดนมแม่ งับหัวนมไม่ติด ดูดนมได้เบากว่าปกติ ดูดนมบ่อยแต่ได้รับน้ำนมน้อย ทำให้น้ำหนักตัวทารก ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์


นอกจากนั้นแล้วพังผืดใต้ลิ้นทารกที่มากกว่าปกติ ยังส่งผลให้ทารกไม่สามารถแลบลิ้นออกมาดูดรีดน้ำนมเข้าปากได้ จึงใช้เหงือกช่วยในการดูดรีดน้ำนมแทน เมื่อทารกใช้เหงือกในการดูดนมแม่บ่อยๆ จะทำให้หัวนมของแม่แตกเป็นแผล เกิดการเจ็บหัวนม หรือทำให้เต้านมอักเสบได้ หากลูกมีพังผืดใต้ลิ้นมากกว่าปกติ หรือมีปัญหาในการดูดนมแม่ ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการดูแลแก้ไขอ ย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อที่ลูกจะได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอกับร่างกาย


 

พังผืดใต้ลิ้นทารก เกิดจากกรรมพันธุ์จริงไหม

พังผืดใต้ลิ้นทารก สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน หากทารกมีพังผืดใต้ลิ้นมากเกินไป จะส่งผลให้มีปัญหาในการดูดนมแม่ พังผืดใต้ลิ้นทารก ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นมาแต่กำเนิด แต่สามารถดูแลแก้ไขได้ หากคุณแม่สังเกตว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้น มีปัญหาในการดูดนม ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ น้ำหนักทารกน้อยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด และรับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาทางสุขภาพแทรกซ้อนในอนาคต


 

อาการของพังผืดใต้ลิ้นทารก

โดยปกติแล้วลิ้นมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง แต่สำหรับทารกนั้น ลิ้นมีหน้าที่ในการช่วยดูดนมจากเต้าของแม่ เมื่อเกิดพังผืดใต้ลิ้นทารกมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้ปลายลิ้นของทารกขยับออกมาเลียลานหัวนมของแม่ไม่ได้ ทำให้มีปัญหาในการดูดนมแม่ ทำให้งับหัวนมไม่ติด มีแรงในการดูดนมได้เบากว่าปกติ นอกจากนั้นแล้วยังทำให้ลิ้นติด เคลื่อนไหวลิ้นลำบาก แลบลิ้นไม่พ้นริมฝีปาก พังผืดใต้ลิ้นทารกยังมีอาการที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ คือ

  • ดูดหัวนมแล้วหลุดบ่อย งับหัวนมแม่ไม่ติดเมื่อดูดนม
  • ทารกแลบลิ้นออกมาไม่พ้นเหงือกบน ทารกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปาก ทารกกระดกปลายลิ้นขึ้นไปแตะที่เพดานปากไม่ได้
  • ดูดนมเบากว่าปกติ ดูดนมบ่อย มีอาการหงุดหงิด
  • หลังลิ้นหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ เวลาทารกแลบลิ้นหรือร้องไห้
  • ลิ้นติด หรือเคลื่อนไหวลิ้นลำบาก ขยับ เคลื่อนไหวปลายลิ้นได้ไม่ดี มีปัญหาในการขยับปลายลิ้น

 

พังผืดใต้ลิ้นทารก ส่งผลร้ายกับทารกยังไง

เมื่อลิ้นของทารกมีพังผืดมากเกินไป จะส่งผลให้ทารกมีปัญหาในการดูดนม เกิดปัญหาการขยับปลายลิ้น หรือการเคลื่อนไหวของลิ้นไม่ดี และทำให้แม่เจ็บหัวนม หัวนมแตก อักเสบ ส่งผลให้เจริญเติบโตช้า สุขภาพช่องปากและฟันไม่ดี พังผืดใต้ลิ้นทารก ยังส่งผลกระทบต่าง ๆ ต่อสุขภาพของทารก ดังนี้

  1. พัฒนาการด้านการพูดช้า เช่น พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการพูด เนื่องจากพังผืดยึดบริเวณปลายลิ้น อาจทำให้ลูกมีปมด้อยได้ในอนาคต
  2. สุขภาพช่องปากและฟันไม่ดี ส่งผลถึงสุขภาพทางช่องปากและฟัน
  3. เจริญเติบโตช้า ตัวเหลือง เพราะดูดนมได้ไม่มากพอ น้ำหนักน้อย น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์
  4. แม่จะมีอาการเจ็บเมื่อให้นมลูก หัวนมแตก หัวนมอักเสบ หรือมีผลแทรกซ้อนทำให้เต้านมแม่อักเสบได้

 

หากลูกน้อยมีปัญหาพัฒนาการด้านการพูดช้า หรือ หากคุณแม่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการลูกน้อย สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ โปรแกรม Baby Development เช็คพัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย

 

ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น ควรไปพบแพทย์ไหม

 

ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น ควรไปพบแพทย์ไหม

พังผืดใต้ลิ้น เป็นเยื่อบาง ๆ เกิดเป็นพังผืดที่บริเวณโคนลิ้น ซึ่งในทารกบางรายจะมีพังผืดมากจากโคนลิ้นยาวไปจนถึงปลายลิ้น ทำให้เมื่อทารกดูดนมแม่ จะเกิดปัญหาในการเคลื่อนไหวขยับตัวของลิ้น ทำให้ปลายลิ้นขยับออกมาที่ลานหัวนมไม่ได้ แทนที่จะใช้ลิ้นช่วยในการรีดดูดน้ำนมทารกกลับต้องใช้เหงือกช่วยรีดดูดน้ำนมแทน ทำให้เกิดปัญหาในการงับหัวนม ทารกดูดงับหัวนมไม่ค่อยติด ดูดนมเบา ดูดนมบ่อย ๆ แต่น้ำหนักตัวไม่ได้ตามเกณฑ์ น้ำหนักตัวไม่เพิ่ม มีอาการตัวเหลือง เพราะได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ นอกจากนั้นแล้ว ยังส่งผลให้คุณแม่เกิดความเจ็บปวดเต้านม หัวนมแตก และอาจลุกลามเป็นเต้านมอักเสบ ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการให้นม


ดังนั้น หากทารกมีพังผืดใต้ลิ้น มีอาการและปัญหาในการดูดนมดังที่กล่าวมา คุณแม่ไม่ควรรอช้า ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที


ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า “เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ควรได้ทานนมแม่อย่างเดียว และทานนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ที่ช่วยสร้างความเจริญเติบโต เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายและสมองของทารก หากทารกมีปัญหาในการดูดนมแม่ มีพังผืดใต้ลิ้น ทำให้ได้รับน้ำนมน้อย จนทำให้มีการเจริญเติบโตช้า คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมเพียงพอต่อร่างกาย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. พังผืดใต้ลิ้นไม่ใช่เรื่องเล็ก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. พังผืดใต้ลิ้น ทำให้ลูกดูดนมใม่ได้ พูดไม่ชัด ตัดหรือไม่ตัดดี ?, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
  3. พังผืดใต้ลิ้น ปัญหาที่ถูกซ่อนเร้นของลูกน้อย, โรงพยาบาลพญาไท
  4. “พังผืดใต้ลิ้น” ปัญหาของเจ้าตัวเล็ก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 23 กันยายน 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า
บทความ
โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

8นาที อ่าน

View details เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี
บทความ
เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี

เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี

เชื้อราในปากทารก เกิดจากอะไร ลูกน้อยมีเชื้อราในปาก อันตรายไหม เด็กทารกจะมีอาการอย่างไร หากลูกน้อยมีเชื้อราในปาก พร้อมวิธีดูแลและป้องกันเชื้อราในปากเด็ก

5นาที อ่าน

View details ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม
บทความ
ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details เด็กอมมือ เด็กดูดนิ้ว เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกดูดนิ้ว
บทความ
เด็กอมมือ เด็กดูดนิ้ว เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกดูดนิ้ว

เด็กอมมือ เด็กดูดนิ้ว เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกดูดนิ้ว

เด็กอมมือ เด็กดูดนิ้ว เกิดจากอะไร ทำไมลูกน้อยถึงชอบอมมือตัวเอง หากลูกเอามือเข้าปากบ่อย จะเป็นอันตรายกับสุขภาพของลูกไหม พร้อมวิธีช่วยให้ลูกเลิกดูดนิ้ว

7นาที อ่าน

View details 4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง
บทความ
4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก

4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง

อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการช้า ทั้งร่างกาย สมองและอารมณ์ ไปดูอาหารเสริมธาตุเหล็กที่สำคัญกับลูกน้อยกัน

5นาที อ่าน

View details อุ้มลูกบ่อย เด็กติดมือคุณแม่จริงไหม ลูกติดมือแก้ยังไง
บทความ
อุ้มลูกบ่อย เด็กติดมือคุณแม่จริงไหม ลูกติดมือแก้ยังไง

อุ้มลูกบ่อย เด็กติดมือคุณแม่จริงไหม ลูกติดมือแก้ยังไง

อุ้มลูกบ่อย ทำให้ลูกติดมือคุณแม่จริงไหม สาเหตุที่เด็กติดมือ เกิดจากอะไรได้บ้าง ไม่อยากให้ลูกติดอุ้มหรือติดมือ ควรทำอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันลูกติดมือ

7นาที อ่าน

View details ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
บทความ
ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ลูกมีเสลดในคอทำไงดี เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลูกน้อยมีเสมหะในคอเยอะ คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีเคาะปอดอย่างถูกวิธีและวิธีช่วยให้ลูกขับเสมหะออก

6นาที อ่าน

View details ทารกควรอาบน้ำกี่โมง อาบน้ำทารกตอนไหนดี พร้อมวิธีที่ถูกต้อง
บทความ
ทารกควรอาบน้ำกี่โมง อาบน้ำทารกตอนไหนดี พร้อมวิธีที่ถูกต้อง

ทารกควรอาบน้ำกี่โมง อาบน้ำทารกตอนไหนดี พร้อมวิธีที่ถูกต้อง

ทารกควรอาบน้ำกี่โมง คุณแม่มือใหม่อาบน้ำทารกตอนไหนดีที่สุด ให้ลูกสะอาดและสุขภาพผิวดี อาบน้ำให้ลูกบ่อยเกินไป ลูกจะป่วยไหม ไปดูวิธีอาบน้ำลูกน้อยที่ถูกต้องกัน

6นาที อ่าน

View details ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม
บทความ
ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม

ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม

ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม ทารกเหงื่อออกหัวแบบไหน ควรรีบไปพบแพทย์ พร้อมวิธีสังเกตและวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกเหงื่อออกหัวมาก

5นาที อ่าน

View details ตุ่มขาวในปากทารก คืออะไร ลูกมีตุ่มขาวในปาก ดูแลทารกยังไงดี
บทความ
ตุ่มขาวในปากทารก คืออะไร ลูกมีตุ่มขาวในปาก ดูแลทารกยังไงดี

ตุ่มขาวในปากทารก คืออะไร ลูกมีตุ่มขาวในปาก ดูแลทารกยังไงดี

ตุ่มขาวในปากทารก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มขาวในปาก อันตรายกับลูกไหม ลูกน้อยมีตุ่มขาวในปากปกติไหม พร้อมวิธีป้องกันและรับมือเมื่อลูกน้อยมีตุ่มขาวในปาก

5นาที อ่าน

View details ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม
บทความ
ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้น เกิดจากอะไร เด็กแรกเกิดแลบลิ้นบ่อยผิดปกติไหม อาการแบบไหนบ้างที่คุณแม่ควรสังเกตลูกน้อย เมื่อทารกแลบลิ้นบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยที่ถูกต้อง

5นาที อ่าน

View details วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้
บทความ
วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

การเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน พ่อแม่มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูวิธีดูแลทารกแรกเกิดและการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นกัน

7นาที อ่าน

View details เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง
บทความ
เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี คุณแม่มือใหม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง การเปลี่ยนผ้าอ้อมลูกขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง เวลาไหนถึงเหมาะสมที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี
บทความ
ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน เกิดจากอะไรได้บ้าง ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืนอันตรายไหมคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกมีเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน

6นาที อ่าน

View details เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย
บทความ
เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กปวดท้องบิด เกิดจากอะไร ลูกน้อยมีอาการปวดท้องบิดบ่อย อันตรายกับลูกไหม ทารกปวดท้องบิดทำไงดี ปวดท้องแบบไหนบอกถึงโรคของลูก พร้อมวิธีดูแลที่ถูกต้อง

7นาที อ่าน