ทารกหิวนม ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม สัญญาณที่คุณแม่สังเกตได้
ลูกของคุณแม่กำลังหิวนมอยู่หรือเปล่าอาการทารกหิวนม เป็นอีกหนึ่งเรื่องค่อนข้างยากสำคัญคุณแม่มือใหม่ และต้องหมั่นคอยสังเกตอาการของลูกน้อยด้วยตัวเอง เพราะทารกในช่วงวัยนี้ เป็นวัยที่ยังไม่สามารถพูดได้ว่าพวกเขากำลังหิวนม อิ่มนม หรือว่าต้องการอะไรกันแน่ จึงทำได้เพียงแสดงออกผ่านการร้องไห้และท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้คุณแม่รับรู้ได้ว่าทารกกำลังหิวนมอยู่
PLAYING: ทารกหิวนม ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม สัญญาณที่คุณแม่สังเกตได้
สรุป
- อาการทารกหิวนม สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออกเท่านั้น เนื่องจากทารกยังพูดไม่ได้ คุณแม่จึงควรเฝ้าสังเกตและให้ลูกได้รับนมในปริมาณที่เหมาะสม
- แต่หากดูแล้วไม่ใช่อาการหิวนม แต่เป็นอาการอื่น ควรสังเกตุอย่างรอบคอบ เช่น หากลูกอิ่มนม ก็ควรเว้นการให้นมไปก่อน หรือหากเป็นอาการที่คุณแม่ไม่มั่นใจ ก็ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกหิวนม ต้องการนมเพิ่ม
- จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว
- คุณแม่ไม่ควรให้อาหารเสริมเร็วเกินไป
- ระวัง Overfeeding การกินนมมากเกินไป
- ไม่อยากให้ลูกมีอาการ Overfeeding ต้องทำอย่างไร
สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกหิวนม ต้องการนมเพิ่ม
1. ทารกหิวนม อาการที่บ่งบอกว่า “หนูหิวนมแล้ว”
- ขยับตัว
- อ้าปาก
- หันศีรษะเข้าหาหัวนม
2. ทารกหิวนมจริง หากแม่ยังมองสัญญาณแรกไม่ออก
- เหยียดแขนเหยียดขา
- ขยับตัวมากขึ้น
- เอามือเข้าปาก
3. ทารกหิวนมหิวมาก คุณแม่ต้องปลอบลูกน้อยให้เงียบก่อนแล้วค่อยให้ดูดนม
- ร้องไห้
- ถีบแขนถีบขา
- ร้องหน้าดำหน้าแดง
อาการทารกหิวนมจนร้องไห้ ไม่อยู่นิ่ง ลูกอาจกำลังส่งสัญญาณให้คุณแม่ทราบว่า “หนูหิวนมมาก ๆ แล้ว” สิ่งแรกที่ควรทำคือปลอบประโลมให้สงบลงก่อน ไม่ควรให้กินนมในทันทีขณะร้องไห้อยู่ เพราะอาจทำให้ลูกสำลักนมได้
การปล่อยให้ทารกร้องไห้ด้วยความหิวบ่อย ๆ ยังอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูก หากลูกร้องไห้ด้วยความหิว แม่ควรอุ้มทารกโยกไปมา เพื่อให้ลูกสงบ พร้อมกับพูดคุยกับลูกเพื่อแสดงออกว่า แม่เข้าใจสื่อความหิวที่ลูกได้สื่อสารออกมา
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว
เมื่อลูกหิวนมและดูดนมจนอิ่มแล้ว อาการของทารกที่สังเกตได้ คือ
- ร่างกายของลูกจะผ่อนคลาย มือที่เคยกำไว้จะแบออกมา อาจเอามือไปวางไว้บนเต้านมของแม่ หรือแขนจะตก ห้อยลง ไม่แสดงออกถึงแรงต้านที่ต้องการจะดูดนมแม่อีกต่อไป
- ก่อนทารกจะดูดนมแม่ท้องจะแฟบ แต่เมื่อดูดนมจนอิ่มแล้วท้องจะป่อง
คุณแม่ไม่ควรให้อาหารเสริมเร็วเกินไป
อีกหนึ่งความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า ยิ่งเร่งให้อาหารเสริมเร็วเท่าไร ยิ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ทารกมากขึ้นเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไม่ถูกต้อง ระบบย่อยอาหารของทารกช่วงอายุก่อน 6 เดือนนั้นยังไม่แข็งแรง ลำไส้ยังดูดซึมได้ไม่ดี จึงไม่ควรให้กินอาหารอื่นนอกเหนือจากนม องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (United Nations Children’s Fund: UNICEF) แนะนำว่า ทารกควรได้รับน้ำนมแม่อย่างเดียว นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และควรได้รับต่อเนื่องไปจนอย่างน้อยอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามวัย เพราะน้ำนมแม่ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยคุณประโยชน์จากสารอาหารกว่า 200 ชนิดรวมทั้งวิตามินแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในทุก ๆ ด้าน เช่น
- DHA: มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของสมอง เนื่องจาก DHA ช่วยในการมองเห็น และระบบประสาท
- สฟิงโกไมอีลิน: มีความสำคัญต่อกลไกการทำงานของสมอง ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดี เสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ได้เร็ว
- B. lactis: จุลินทรีย์สุขภาพที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันในช่วงแรกของชีวิตลูกน้อย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ลูกแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย
ระวัง Overfeeding การกินนมมากเกินไป
นอกจากจะร้องไห้เพราะหิวนมแล้ว คุณแม่สงสัยไหมว่าทารกกินไม่รู้จักอิ่มหรือลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม ทารกสามารถร้องไห้เพราะอิ่มนมได้อีกด้วย การเฝ้าสังเกตอาการของทารกจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของพวกเขาอย่างถูกจุด หากลูกอิ่มนมแล้วก็ไม่ควรให้นมเพิ่ม เพราะหากลูกกินนมเข้าไปในปริมาณที่มากเกิน จะทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายตัว รวมถึงอาเจียนออกมา เพราะมีนมในกระเพาะปริมาณมากเกินไป เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า Overfeeding
วิธีสังเกตว่าลูกของคุณแม่มีอาการ Overfeeding
คุณแม่สามารถสังเกต อาการที่บ่งบอกถึงภาวะ Over breastfeeding หรือกินนมเยอะเกินไปได้
- ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม ลูกอาจมีอาการอาเจียน แหวะนม นมไหลออกจากปากหรือจมูก หรือสำลักนม แน่นท้อง ท้องป่องมาก ลูกร้องงอแงหลังกินนม
- มีปัญหาลูกไม่ยอมกินนม ดูไม่สบายตัว ทั้ง ๆ ที่เริ่มดูดนมได้ดี
- มีน้ำหนักตัวขึ้นเร็วมากกว่าปกติ (โดยปกติน้ำหนักลูกจะขึ้นประมาณ 20-60 กรัมต่อวัน)
- ไม่มีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ทีเป็นสาเหตุให้เกิดอาการทารกแหวะนม อาเจียน ปวดท้อง หรือร้องงอแง
ไม่อยากให้ลูกมีอาการ Overfeeding ต้องทำอย่างไร
การ Overfeed แม้อาจไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ก็อาจจะส่งผลให้ทารกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว เขาโตขึ้นได้ ดังนั้น หากไม่อยากให้ลูกมีอาการ Overfeeding คุณแม่จึงควรปฏิบัติดังนี้
- เฝ้าสังเกตอาการอยู่เสมอ หากทารกแสดงสัญญาณว่าอิ่มแล้ว ควรหยุดให้นมทันที
- ให้ทารกกินนมในปริมาณที่เหมาะสม พิจารณาจากช่วงวัยและน้ำหนักตัวของเขา
- หากทารกมีอาการร้องขอกินนมตลอดเวลาหรือทารกกินไม่รู้จักอิ่ม ทั้งที่เพิ่งกินไป คุณแม่หากิจกรรมอื่น ๆ มาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น พาอุ้มเดิน
- หากพบว่าทารกมีอาการแหวะนมหรืออาเจียน ให้หยุดการให้นมไว้ก่อน และอย่าเพิ่งให้นอนราบในทันที
การสังเกตพฤติกรรมของทารกเป็นสิ่งจำเป็นและคุณแม่ทุกบ้านควรให้ความสำคัญ เพื่อที่จะได้ตอบสนองปฏิกิริยาและความต้องการของพวกเขาอย่างถูกต้อง หากทารกได้รับนมแม่ในปริมาณที่เหมาะสมสม่ำเสมอ ไม่มีอาการหิวนมหรือขาดนม ทารกก็จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนจากน้ำนมแม่ เติบโตอย่างสมบูรณ์รอบด้าน สุขภาพดี แข็งแรงสมวัย เป็นพื้นฐานพัฒนาการที่ดีให้กับพวกเขาต่อไปในอนาคต
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม
- สฟิงโกไมอีลิน คืออะไร สำคัญต่ออย่างไรต่อสมองของลูกน้อย
- DHA สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย
- 2’-FL คืออะไร ? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)
- โพรไบโอติก (Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่ มีประโยชน์กับลูก
- พรีไบโอติก มีส่วนช่วยพัฒนาสมองในเด็กทารก
- น้ำนมเหลือง ที่มีสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองจากแม่สู่ลูก
- เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก
- เพิ่มน้ำนมคุณแม่ ด้วยการกระตุ้นน้ำนม จากธรรมชาติ ดีกับคุณแม่และลูก
- นมแม่อยู่ได้กี่ชม น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน เก็บรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี
- อาการทารกหิวนม สัญญาณจากลูกน้อย ที่คุณแม่สังเกตเองได้
- เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ ถึงจะดีที่สุด ปริมาณเท่าไหร่ถึงเรียกว่าพอดี
- วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอช่วยให้ลูกสบายท้อง หลังลูกอิ่มนม
- คัดเต้านมทำยังไงดี คัดเต้ากี่วันหาย พร้อมวิธีบรรเทาอาการนมคัด
- เจ็บหัวนม หัวนมแตก อาการเจ็บหัวนม ต้องรักษาอย่างไร ให้นมลูกต่อได้ไหม
- ทารกไม่ยอมนอน ลูกงอแงไม่ยอมนอนไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ
- วิธีชงนมที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการเตรียมน้ำชงนม สำหรับแม่มือใหม่
อ้างอิง
- WHO และ UNICEF สนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, SDG Move
- These signs can indicate if you’re overfeeding your baby, healthshots
- SIGNS YOUR BABY IS HUNGRY, WIC Breastfeeding Support
- สัญญาณหิวของทารก, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- DHA สารอาหารสำคัญในนมแม่ จุดเริ่มต้นพัฒนาสมองของลูกน้อย, S-MOM Club
- ลูกกินนมแบบไหนเรียก Over breastfeeding, โรงพยาบาลสมิติเวช
อ้างอิง ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566