ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม แม่หลังผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม ห้ามกินอะไรบ้าง

ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม แม่หลังผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม ห้ามกินอะไรบ้าง

21.08.2024

หลังการคลอดลูก ร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้น ทำให้เกิดความกังวลหลังการคลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลตัวเอง หรือเรื่องอาหารการกิน คุณแม่กังวลว่าจะทานอาหารได้ปกติไหม หลังผ่าคลอดจะกินไข่ได้ไหม ห้ามกินอาหารอะไรบ้าง? ซึ่งหลังการคลอดนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้สารอาหารครบถ้วนต่อร่างกาย เพื่อการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดได้ไว ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อที่จะมีสุขภาพที่ดีดูแลเจ้าตัวน้อยต่อไป

headphones

PLAYING: ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม แม่หลังผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม ห้ามกินอะไรบ้าง

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • หลังผ่าคลอด การดูแลร่างกายตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย การทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะเน้นโปรตีนนั้น จะช่วยซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกาย และแผลผ่าตัดของคุณแม่ได้ดี
  • การกินไข่มีประโยชน์ เพราะไข่มีโปรตีน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย อีกทั้งช่วยสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้เซลล์ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ผิวหนังที่ขึ้นใหม่นั้นแข็งแรง โปรตีนที่มีในไข่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลติดเชื้อหลังการผ่าตัดอีกด้วย
  • การที่ร่างกายเกิดแผลเป็นและนูนนั้น อาจเกี่ยวเนื่องมาจากลักษณะที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ไม่ใช่เป็นเพราะการทานไข่
  • เด็กในวัยเจริญเติบโต ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุที่แข็งแรงไม่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง สามารถทานไข่ได้วันละ 1 ฟอง ส่วนผู้มีปัญหาสุขภาพมีปริมาณไขมันในเลือดสูง ควรทานไข่ 2-3 ฟองต่อสัปดาห์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

แผลยังไม่หายดี คุณแม่ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี

หลังการผ่าคลอด การดูแลสุขภาพร่างกายตัวเอง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์คือสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่หลังการคลอดให้มีสุขภาพดี กลับมาแข็งแรง การรับประทานอาหารหลังผ่าตัดคลอดให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะ การผ่าตัดนั้น ร่างกายต้องการสารอาหารประเภทโปรตีนมากกว่าหนึ่งเท่า ไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่หารับประทานได้ง่าย เพื่อช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กับร่างกายหลังการผ่าตัด มีคำแนะนำสารอาหารอ้างอิงประจำวันสำหรับประชานชนไทยในปี พ.ศ. 2563 เด็กในวัยเจริญเติบโต ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุที่แข็งแรงไม่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง สามารถทานไข่ได้วันละ 1 ฟอง ส่วนผู้มีปัญหาสุขภาพมีปริมาณไขมันในเลือดสูง ควรทานไข่ 2-3 ฟองต่อสัปดาห์

 

หลังผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม คนท้องกินไข่ทำให้แผลหายช้าหรือเปล่า

ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม การกินไข่มีข้อดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะในไข่นั้นมีโปรตีนซึ่งช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยสร้างเนื้อเยื่อ เซลล์ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ผิวหนังที่ขึ้นใหม่แข็งแรง

 

คนท้องกินไข่หลังผ่าคลอด จะทำให้เป็นแผลเป็นจริงไหม

ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม การกินไข่หลังผ่าคลอดแล้วเชื่อว่าจะทำให้เป็นแผลเป็น ถือเป็นความเชื่อแบบผิด ๆ เพราะไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นแหล่งโปรตีนที่ใกล้ตัว โปรตีนนี้จำเป็นต่อการสร้างผิวหนังใหม่ช่วยให้แผลหาย การที่ร่างกายเกิดแผลเป็นและนูนนั้น อาจเกี่ยวเนื่องมาจากลักษณะที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ไม่ใช่เป็นเพราะการทานไข่

1. แผลเป็นนูน

แผลผ่าคลอดหรือแผลเป็นนูนเกิน เป็นแผลที่โตขึ้น นูนขึ้น ไม่เกินขอบเขตไปจากแผลเดิม ช่วงแรกจะมีลักษณะแดง นูน และคัน พบมากในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกที่เป็นแผล แผลเป็นนูนเกิดในตำแหน่งที่ตึงมาก จากนั้นช่วงประมาณ 1 ปีหลังเกิดแผล แผลเป็นนูนนี้ก็จะค่อย ๆ ยุบลง จนกลับสู่แผลเป็นปกติ

 

2. แผลเป็นคีลอยด์ 

แผลเป็นที่โตขึ้น นูนขึ้น ขยายใหญ่เกินขนาดของแผลเดิมไปมาก แผลคีลอยด์นั้นไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่นอน แต่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีผิวสีเข้ม เกิดในตำแหน่งที่เกิดแผลได้บ่อย ๆ เช่น ติ่งหู ไหล่ กลางหน้าอก และแผลเป็นคีลอยด์นี้จะพบในผู้ป่วยที่มีประวัติพันธุกรรมเกิดแผลคีลอยด์นี้ในพ่อแม่

 

กินไข่หลังผ่าคลอด ทำให้แผลอักเสบเป็นหนองจริงไหม

 

กินไข่หลังผ่าคลอด ทำให้แผลอักเสบเป็นหนองจริงไหม

คุณแม่ผ่าคลอดอาจจะสงสัยว่า ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน และโปรตีนนี้เป็นสารอาหารที่ดี ที่จะช่วยซ่อมแซมร่างกายขณะที่เป็นแผล ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อสมาน ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ผิวหนังที่ขึ้นใหม่นั้นแข็งแรง โปรตีนที่มีในไข่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลติดเชื้อหลังการผ่าตัดอีกด้วย

 

อาการแผลผ่าคลอดติดเชื้อ ที่ควรรีบไปพบแพทย์

แผลผ่าคลอดติดเชื้อ ไม่เพียงทำให้แผลหายช้า แต่ส่งผลร้ายทำให้เสี่ยงอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิต ดังนั้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองให้ดี หากมีสัญญาณเตือนเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ด่วน

  • แผลผ่าตัดมีรอยแดง บวม เจ็บ
  • แผลผ่าตัดมีความเจ็บตรงที่บาดแผลมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ลดลง
  • แผลผ่าตัดมีหนอง และเลือดไหลออกมา
  • แผลผ่าตัดมีกลิ่นเหม็น
  • เจ็บแผล มีไข้ หนาวสั่น
  • รู้สึกชาบริเวณแผลผ่าตัด
  • แผลฉีกขาด หรือแผลแตก
  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หายใจไม่เต็มที่
  • มีอาการซึมลง

 

เคล็ดลับการดูแลแผลผ่าคลอดให้หายเร็ว

  1. ระวังอย่าให้แผลโดนน้ำ ใน 7 วันแรกหลังการผ่าคลอด เพราะอาจทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบข้างในและหายช้า อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หลังการผ่าตัดคลอด แพทย์จะใช้พลาสเตอร์ปิดแผลเพื่อป้องกันน้ำ คุณแม่ควรระมัดระวังไม่ให้พลาสเตอร์โดนน้ำ หากพลาสเตอร์โดนน้ำ ควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ใหม่ทันที
  2. รักษาความสะอาดแผลให้แห้ง หลังจากคลอดแล้วแพทย์จะนัดตรวจแผลผ่าคลอด หากแผลสมานติดกันแล้ว คุณแม่สามารถอาบน้ำได้โดยไม่ต้องปิดแผล โดยใช้น้ำเกลือเช็ดทำความสะอาดแผลวันละ 2-3 ครั้ง
  3. ไม่แกะ ไม่เกาแผลผ่าคลอด เพราะจะทำให้แผลเสี่ยงติดเชื้อ และหายช้าได้
  4. ใส่ผ้ารัดหน้าท้อง เพื่อพยุงท้อง การใช้ผ้าพยุงท้องจะทำให้ลดการปวดบาดแผล ทำให้บาดแผลไม่ถูกกดทับจากผิวหนังหรือถูกดึงรั้ง
  5. หลังจากผ่าตัดคลอด 3 เดือนแรก คุณแม่ไม่ควรยกของหนัก การออกแรงเยอะ แรงยึดจะทำให้แผลตึง หรือฉีกขาดได้
  6. ขยับตัวตามคำแนะนำของแพทย์ แม้ว่าจะเจ็บปวดจากการผ่าคลอด คุณแม่ควรขยับตัวตั้งแต่วันแรกที่ผ่าคลอด เพื่อป้องกันพังผืด การขยับตัวจะทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายพักผ่อนเต็มที่ ฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง
  8. ทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เน้นทานโปรตีนเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมร่างกาย

 

คุณแม่หลังคลอด นอกจากต้องดูแลลูกน้อยแล้ว สิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องไม่ลืม คือ การทานอาหารหลังผ่าคลอดที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ผ่าคลอดนั้นสามารถกินไข่ได้ ไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลเสียต่อร่างกาย นอกจากนั้นแล้ว คุณแม่ควรดูแลแผลผ่าคลอดตามคำแนะนำของแพทย์ หากรู้สึกตัวว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ ไม่ควรชะล่าใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ลุกลามหรือเสี่ยงอันตรายต่อการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. 5 อาหารที่ควรกิน ถ้าอยากฟื้นตัวเร็วขึ้น...หลังศัลยกรรม, โรงพยาบาลพญาไท
  2. อาหารแสลงกับการผ่าตัด, โรงพยาบาลพญาไท
  3. ในหนึ่งวัน เราควรทานไข่กี่ฟอง?, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  4. แผลเป็น, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ภาวะแผลติดเชื้อ สัญญาณร้ายที่ไม่ควรละเลย!, โรงพยาบาลเปาโล
  6. 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต

อ้างอิง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดสักทับรอยผ่าคลอดเพื่อกลบรอยแผลเป็นได้ไหม คุณแม่สามารถเริ่มสักทับรอยผ่าคลอดได้ตอนไหน อันตรายกับลูกเมื่อต้องให้นมหรือเปล่า ไปดูกัน

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หากคุณแม่ยังไม่หายดีและยกของหนักทันที แบบนี้อันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดหรือเปล่า

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนท่าไหน ท่านอนแบบไหนนอนแล้วไม่เจ็บแผลผ่าคลอดและเหมาะกับแม่ผ่าคลอดที่สุด ไปดูท่านอนหลังผ่าคลอดกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก