ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

12.09.2024

จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คู่สามีภรรยามีอายุเฉลี่ยแต่งงานช้าลง รวมถึงการวางแผนครอบครัวเพื่อเตรียมความพร้อมในการมีลูกช้าลงตามไปด้วย จนทำให้ทั้งสามีและภรรยาอายุเพิ่มมากขึ้น จนอาจเกิดปัญหาภาวะผู้มีบุตรยากได้ โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายหญิงอายุเกิน 35 ปี จะส่งผลต่อคุณภาพความแข็งแรงและจำนวนของไข่ที่พบในรังไข่ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความเครียด อาหารการกินต่าง ๆ ล้วนส่งผลต่อการมีบุตรยากทั้งสิ้น ซึ่งหากคู่สมรสที่แต่งงานและมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และยังไม่มีบุตรภายใน 1 ปี จะถือว่าเป็นภาวะผู้มีบุตรยาก จำเป็นต้องมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำวิธีการดูแลและแก้ปัญหาที่เหมาะสมต่อไป

headphones

PLAYING: ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • การทำกิ๊ฟ คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถช่วยให้มีบุตร โดยการนำไข่และอสุจิกลับไปวางที่ท่อนำไข่โดยทันที เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติภายในร่างกาย
  • การทำกิ๊ฟ เป็นการนำไข่และอสุจิไปวางที่ปลายท่อนำไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกายของผู้หญิง ส่วนการทำเด็กหลอดแก้ว จะเป็นการนำไข่และอสุจิปฏิสนธิกันภายนอกร่างกาย จนได้เป็นตัวอ่อนจึงย้ายกลับสู่โพรงมดลูก
  • การทำกิ๊ฟจะต้องเจาะหน้าท้องของผู้หญิงสำหรับการเก็บไข่ และฉีดกลับไปสู่ท่อนำไข่พร้อมกับอสุจิ ซึ่งจำเป็นต้องมีการเข้าห้องผ่าตัด วางยาสลบและต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล ดังนั้นจึงมีค่าใช้จ่ายที่สูง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การทำกิ๊ฟ คืออะไร

การทำกิ๊ฟ หรือ Gamete Intrafallopian Transfer: GIFT คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถช่วยทำให้มีบุตร ซึ่งเคยได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต โดยมีขั้นตอนในการกระตุ้นไข่และดูดไข่ออกมาจากรังไข่ และคัดเลือกอสุจิที่มีความแข็งแรง จากนั้นจะนำทั้งไข่และอสุจิกลับไปวางที่ท่อนำไข่โดยทันที เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติภายในร่างกาย ซึ่งภายหลังการปฏิสนธิแล้ว ตัวอ่อนจะค่อย ๆ เคลื่อนผ่านท่อนำไข่ไปยังโพรงมดลูกเพื่อเจริญเติบโตต่อไปจนเกิดการตั้งครรภ์ในที่สุด

 

การทำกิ๊ฟ ต่างจากเด็กหลอดแก้วอย่างไร

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น ทำให้ขั้นตอนการช่วยทำให้มีบุตรมีหลากหลายวิธีมากขึ้น โดยการทำกิ๊ฟ คือ การนำไข่และอสุจิไปวางที่ปลายท่อนำไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกายของผู้หญิง แต่การทำเด็กหลอดแก้ว คือ กระบวนการนำไข่และอสุจิปฏิสนธิกันภายนอกร่างกาย และเพาะเลี้ยงตัวอ่อนอีกประมาณ 3-5 วัน ก่อนย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกให้เจริญเติบโตต่อไป

 

การทำกิ๊ฟ เลือกเพศลูกได้ไหม

ในปัจจุบันตามกฎหมายของประเทศไทย การเลือกเพศลูกโดยที่ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ สำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้น ยังถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากคุณหมอพิจารณาจากโรคที่อาจส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมจากประวัติของครอบครัวแล้ว การตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมจากไข่และอสุจิก่อนการทำกิ๊ฟ ก็จะทำให้ทราบเพศได้ทันที

 

เนื่องจากไข่ที่ได้จากฝ่ายหญิงจะมีโครโมโซมเพศเป็น XX และอสุจิของฝ่ายชายจะมีโครโมโซมเพศเป็น XY ซึ่งในอสุจิจะมี 2 ชนิด คือหากอสุจิที่เป็น X ผสมกับไข่ที่เป็น X จะได้โครโมโซม XX หมายถึงลูกเป็นเพศหญิง ส่วนอสุจิที่เป็น Y ผสมกับไข่ที่เป็น X จะได้โครโมโซม XY หมายถึงลูกเป็นเพศชายนั้นเอง ดังนั้น ก่อนการฉีดไข่และอสุจิเข้าสู่ท่อนำไข่ในกระบวนการทำกิ๊ฟมีการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมก่อน ก็จะทำให้เราทราบเพศของตัวอ่อนไปด้วยเช่นกัน

 

การทำกิ๊ฟ เหมาะกับใครบ้าง

การทำกิ๊ฟ เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยรักษาภาวะผู้มีบุตรยากวิธีการหนึ่ง โดยเหมาะสมกับผู้หญิงที่อาจมีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ หรือมีปัญหาการตกไข่ของผู้หญิง แต่ท่อนำไข่มีความสมบูรณ์ หรือสามารถใช้งานได้อย่างน้อย 1 ข้าง หรือปัญหาของอสุจิที่มีจำนวนน้อยและไม่แข็งแรงของผู้ชาย รวมถึงคู่สามีภรรยาที่มีปัญหาภาวะผู้มีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

ทำการทำกิ๊ฟ เหมาะกับใครบ้าง

 

ทำกิ๊ฟ ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์

การที่จะประสบความสำเร็จเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สุขภาพความแข็งแรงของฝ่ายหญิง และระดับปัญหาภาวะมีบุตรยากของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยจากการศึกษาพบว่าเฉลี่ยแล้วผู้หญิงที่มีอายุน้อยจะมีไข่ที่มีคุณภาพดีกว่าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า ซึ่งค่าเฉลี่ยของผู้หญิงอายุน้อยกว่า 38 ปี จะมีโอกาสตั้งครรภ์ที่ 37 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 39 ปีขึ้นไป จะลดลงเหลือเพียง 24 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น

 

การทำกิ๊ฟในปัจจุบัน ยังเป็นที่นิยมอยู่ไหม

เนื่องจากวิธีการเก็บไข่มีความแตกต่างกันระหว่างการทำกิ๊ฟกับการทำเด็กหลอดแก้ว โดยการทำกิ๊ฟจะต้องเจาะหน้าท้องของผู้หญิงสำหรับการเก็บไข่ และฉีดกลับไปสู่ท่อนำไข่พร้อมกับอสุจิ ซึ่งจำเป็นต้องมีการเข้าห้องผ่าตัด เพื่อวางยาสลบก่อนการเจาะหน้าท้องในการเก็บไข่ ดังนั้น ต้องมีการพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน แต่สำหรับขั้นตอนเก็บไข่ของการทำเด็กหลอดแก้วนั้น คุณหมอจะดูดไข่ออกทางช่องคลอด ซึ่งใช้เวลาพักฟื้นหลังการเก็บไข่เพียง 1-2 ชั่วโมงก็สามารถกลับบ้านได้แล้ว อีกทั้งโอกาสในการประสบความสำเร็จในตั้งครรภ์ของการทำเด็กหลอดแก้วมีโอกาสสูงกว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้วิธีการทำกิ๊ฟสำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยากค่อนข้างได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน

 

ค่าใช้จ่ายในการทำกิ๊ฟ มีอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายหลักของการทำกิ๊ฟ คือ กระบวนการฉีดยากระตุ้นไข่ โดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีการนัดตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเก็บไข่โดยการดูดไข่ออกมา และทำการนำไข่พร้อมกับอสุจิกลับเข้าสู่ท่อนำไข่ ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องมีการพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน เนื่องจากต้องมีการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อนำไข่และอสุจิไปวางที่ท่อนำไข่จนเกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ และคุณหมอจะให้ฮอร์โมนเพื่อช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้จึงทำให้กระบวนการทำกิ๊ฟมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะมีการใช้ห้องผ่าตัด การให้ยาสลบ ซึ่งจำเป็นต้องมีการพักฟื้นที่โรงพยาบาล วิธีการนี้จึงอาจลดความนิยมลงในปัจจุบันเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายกับโอกาสประสบผลสำเร็จ

 

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการทำกิ๊ฟ

1. ข้อดีของการทำกิ๊ฟ

  1. เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก หรือการมีลูกยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  2. เหมาะกับฝ่ายหญิงที่มีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ
  3. ช่วยแก้ปัญหาการตกไข่ในฝ่ายหญิง
  4. ช่วยแก้ปัญหาของคุณภาพเชื้ออสุจิในฝ่ายชายไม่แข็งแรง หรือมีจำนวนน้อย

 

2. ข้อเสียของการทำกิ๊ฟ

  1. เนื่องจากกระบวนการทำกิ๊ฟจำเป็นต้องมีการผ่าตัด จึงอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น เจ็บแผล หรือแผลมีเลือดออก
  2. อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  3. สามารถเกิดการตั้งครรภ์ลูกแฝดได้ ซึ่งมีความเสี่ยงภาวะแท้งลูกหรือมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
  4. มีอาการมึนหัว ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน อันเนื่องมาจากผลข้างเคียงของการได้รับยาระหว่างการทำกิ๊ฟ

 

ก่อนทำกิ๊ฟ ว่าที่คุณแม่ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

เนื่องจากการทำกิ๊ฟต้องมีขั้นตอนสำคัญคือการกระตุ้นรังไข่และเก็บไข่ ข้อควรปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ มีดังนี้

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ และนอนหลับอย่างมีคุณภาพ
  • ทำจิตใจให้สบาย รู้สึกสดชื่น ไม่เครียดและวิตกกังวลมากจนเกินไป
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นสารอาหารที่เป็นโปรตีน พยายามลดแป้งและน้ำตาล
  • รับแสงแดดในช่วงเช้าอย่างน้อย 30 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นการนอนหลับให้ดีมากขึ้นได้
  • ไม่ทาเล็บ แต่งหน้า และใส่คอนแทคเลนส์ หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ในระหว่างการเก็บไข่ เพราะคุณหมอจะประเมินโดยการพิจารณาจากนิ้วมือ นิ้วเท้า และใบหน้า
  • อย่าดื่มน้ำมากเกินไป หรือไม่ควรเกินวันละ 1 ลิตร รวมถึงรับประทานโปรตีน เนื่องจากเมื่อรังไข่ถูกกระตุ้นมากขึ้น อาจทำให้ร่างกายบวมน้ำได้

 

การทำกิ๊ฟ เป็นหนึ่งในวิธีการดูแลและแก้ปัญหาภาวะผู้มีบุตรยาก ซึ่งเป็นเทคนิคที่นำไข่และอสุจิใส่กลับไปที่ท่อนำไข่ เพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ ดังนั้น ในช่วงแรกที่ใช้เทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ การทำกิ๊ฟจึงค่อนข้างได้รับความนิยม เนื่องจากมีโอกาสตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนามากยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แบบอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จมากกว่าและลดความเสี่ยงในการผ่าตัด ซึ่งต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็ลดลง จึงทำให้การทำกิ๊ฟค่อย ๆ ลดความนิยมลงในที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. “เด็กหลอดแก้ว” ความหวังของผู้ที่มีบุตรยาก, โรงพยาบาลพญาไท
  2. ทำกิฟต์ (GIFT) ขั้นตอนการช่วยมีบุตรในอดีตเป็นอย่างไร? คืออะไร? ต่างกับเด็กหลอดแก้วอย่างไร?, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  3. การทำ icsi สามารถเลือกเพศได้หรือไม่?, คลินิกมีบุตรยาก GFC
  4. ฝากไข่ (Egg Freezing) การวางแผนเพื่ออนาคตสำหรับคนอยากมีลูกแต่ยังไม่พร้อม, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  5. ทำกิฟต์และเด็กหลอดแก้ว มีบุตรได้แบบสบายใจ, โรงพยาบาลกรุงเทพ

อ้างอิง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องทำอย่างไร ตั้งครรภ์แฝดอันตรายไหม มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก