อยากมีลูก อยากท้อง ทำยังไงดี พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

อยากมีลูก อยากท้อง พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่าย

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
มี.ค. 25, 2024
7นาที

สำหรับหลาย ๆ ท่าน การเป็นคุณพ่อคุณแม่อาจจะเป็นความฝัน หรืออาจเป็นทางเลือกในการเติมเต็มในชีวิต หากคุณผู้อ่านกำลังกังวลอยู่ว่า “ฉันอยากมีลูก แต่ยังไม่เห็นมีได้สักที” คุณผู้อ่านไม่ได้เผชิญอยู่กับสถานการณ์นี้ตามลำพังแน่นอน มีคนที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์เดียวกันอยู่แน่ ๆ บทความนี้จะเปิดประเด็น และนำเสนอความรู้ที่มีประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่อยากมีลูกหรืออยากท้องด้วยวิธีธรรมชาติ

 

สรุป

  • การเตรียมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของคุณแม่และคุณพ่อให้ดี เป็นการวางแผนตั้งครรภ์ ต่างฝ่ายเมื่อไม่เครียดจนเกินไป รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลน้ำหนัก และหมั่นตรวจสอบดูแลสุขภาพ จะเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ขึ้น
  • เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตก ซึ่งการตกไข่มักเกิดประมาณวันที่ 14 ของรอบประจำเดือน การระบุวันไข่ตกสามารถทำได้โดยการติดตามรอบประจำเดือนหรือใช้ชุดทำนายช่วงไข่ตกเพื่อความแม่นยำมากขึ้น
  • ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนระบุว่าท่าทางเมื่อมีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้น คู่รักควรมุ่งเน้นความสบายและดื่มด่ำในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เพราะจะมีความเครียดน้อยลง สร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกหรือฝ่ายหญิงถึงจุดสุดยอด จะทำให้อสุจิเดินทางไปเจอกับไข่ได้ราบรื่นขึ้น
  • หากมีภาวะมีบุตรยาก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เริ่มแรกเลยถ้าคุณผู้อ่านต้องการตั้งท้อง การเตรียมสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งสุขภาพกายและใจหากแข็งแรงดีก็จะเป็นปัจจัยส่งเสริมโอกาสในการตั้งครรภ์ และคุณผู้อ่านคิดเผื่อไว้ก่อนเลยว่า ถ้าตั้งครรภ์สำเร็จโดยที่เป็นคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ก็จะทำให้การเติบโตของสิ่งมีชีวิตน้อย ๆ ในครรภ์สมบูรณ์แข็งแรงไปด้วย ต่อไปนี้คุณผู้อ่านมาดูด้วยกันถึงวิธีการเตรียมพร้อมทั้งกายและใจ

 

การจัดการกับความเครียด

เครียดไม่เพียงแต่มีผลต่อสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้ยากขึ้น ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายผู้หญิงเกิดภาวะไม่สามารถตกไข่ได้ หรือทำให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังทำให้ไข่ฝังตัวในมดลูกได้ยากขึ้นด้วย

 

การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์มากไปและการสูบบุหรี่เป็นประจำมีผลกระทบต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ของผู้หญิง การดื่มเหล้ามากเกินไปสามารถลดโอกาสในการตั้งครรภ์ลงไปถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยทันที เนื่องจากสารพิษในแอลกอฮอล์และบุหรี่อาจทำให้ปริมาณอสุจิในร่างกายลดลง ทำให้ความแข็งแรงของอสุจิเสียไป การเคลื่อนไหวของอสุจิไม่เป็นปกติ และอสุจิมีความเสี่ยงจะมีรูปร่างผิดปกติ นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ยังสามารถลดการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของอสุจิ ซึ่งอาจส่งผลให้ความสามารถในการตั้งครรภ์ลดลงได้อีกด้วย

 

การมีเพศสัมพันธ์ไม่ถูกช่วงเวลา

การตกไข่เป็นกระบวนการธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เกิดขึ้นเดือนละครั้ง ปกติแล้วการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไข่ของผู้หญิงมีการปฏิสนธิในช่วงเวลาที่ไข่ตก ถ้ามีเพศสัมพันธ์ไม่ถูกช่วงก็จะลดโอกาสในการตั้งครรภ์ การนับวันตกไข่ ลองทำแบบนี้ดู

  • ระบุวันแรกของรอบมีประจำเดือนเป็นวันที่ 1
  • หากระยะเวลาของรอบเดือนคงที่ (เช่น 28 วัน) ให้นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนไป 14 วัน ซึ่งช่วงวันที่ 12-14 จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

 

พักผ่อนน้อย

เกี่ยวข้องกับความเครียดด้วย ถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะเครียดและส่งผลถึงฮอร์โมนได้ ควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ หาเวลานอนหลับให้เต็มอิ่ม ไม่เก็บเรื่องราวต่าง ๆ มาคิดจนนอนไม่หลับได้

 

การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์

การบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์เป็นประจำอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นได้ และมีผลต่อภาวะการมีบุตรยากด้วย ดังนั้น ควรเลือกบริโภคอาหารที่หลากหลายและเหมาะสม โดยเฉพาะอาหารที่มีการรวมผักและผลไม้เข้าไปในอาหารของเราเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล

 

น้ำหนักมากเกินไป หรือน้อยเกินไป

น้ำหนักของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักขึ้นและลง หรือน้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไป อาจมีผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ของผู้หญิง การปรับตัวของร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมต่อการตั้งครรภ์อาจทำให้การเจริญพันธุ์มีความยากลำบากมากขึ้น และเสี่ยงต่อการแท้งง่ายอีกด้วย มีงานศึกษาวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน อาจต้องใช้เวลานานกว่าเพื่อตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการเตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์ อาจใช้เวลานานถึง 4 เท่า ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์อาจต้องใช้เวลานานถึง 2 เท่า จึงจะตั้งครรภ์ได้ ในผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินค่ามาตรฐาน จำนวนอสุจิอาจลดลงถึง 22 เปอร์เซ็นต์ และความเข้มข้นลดลงถึง 24 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจมีผลต่อการพยายามตั้งครรภ์ของภรรยา

 

ปัญหาสุขภาพ

กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (PCOS) ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือความผิดปกติของฮอร์โมน อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเจริญพันธุ์ได้ การระบุและแก้ไขปัญหาสุขภาพเหล่านี้ด้วยคำแนะนำของคุณหมอสามารถช่วยให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะตั้งครรภ์

 

อยากท้อง ต้องมีเพศสัมพันธ์ช่วงไข่ตก

“ถ้าจะท้องต้องมีเพศสัมพันธ์ตอนไข่ตก” ข้อความนี้ไขความลับการปฏิสนธิตามธรรมชาติ การที่ไข่ตกหรือการตกไข่เป็นกระบวนการที่ไข่ที่โตเต็มที่จะถูกปล่อยออกจากรังไข่ และพร้อมที่จะปฏิสนธิด้วยอสุจิ ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ว่านี้

  • การตกไข่มักเกิดขึ้นประมาณวันที่ 14 ของรอบประจำเดือน แต่อาจคลาดเคลื่อนกันไปบ้างระหว่างผู้หญิงแต่ละคน
  • วิธีการระบุหาวันไข่ตก เช่น การติดตามรอบประจำเดือน หรือใช้ชุดทำนายช่วงไข่ตกเพื่อความแม่นยำมากขึ้น
  • ไข่มีชีวิตอยู่เพียง 12-24 ชั่วโมงหลังไข่ตก ส่วนอสุจิมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์ได้นานถึง 2 วัน เวลามีจำกัดสำหรับไข่ การมีเพศสัมพันธ์ช่วงก่อนไข่ตกหรือระหว่างไข่ตกจะสร้างโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์

 

อยากมีลูกง่าย ต้องมีเพศสัมพันธ์ท่าไหน

เรื่องลับเฉพาะบนเตียงที่ต้องตกลงกันกับคู่รักของคุณ แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องท่าเพศสัมพันธ์กับโอกาสในการตั้งครรภ์มีปรากฏดังนี้

  • ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเพศสัมพันธ์ท่าไหนจะช่วยให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายกว่ากัน
  • อสุจิสามารถเข้าถึงปากมดลูกได้ภายในไม่กี่วินาทีหลังจากการหลั่ง โดยไม่คำนึงถึงท่วงท่าสอดใส่ขณะมีเพศสัมพันธ์ ความแข็งแรงของอสุจิสำคัญกับการเดินทางไปให้ถึงไข่ หลังการสอดใส่และการหลั่งของฝ่ายชาย เป็นธรรมชาติของอสุจิที่จะแหวกว่ายไปหาเป้าหมายอย่างสุดกำลัง
  • การมีเพศสัมพันธ์ควรมุ่งเน้นไปที่การหาตำแหน่งที่สะดวกสบายและสนุกสนานสำหรับคู่รัก ความพยายามที่ปราศจากความเครียดและสนุกสนานอาจสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวก ร่างกายไม่เครียด มีผลดีต่อการปฏิสนธิ
  • การถึงจุดสุดยอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์อาจมีส่วนช่วยอสุจิให้เดินทางไปเจอกับไข่ได้ แต่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับอัตราการปฏิสนธิที่สูงขึ้น

 

อยากมีลูก ต้องใส่ใจกับการกินให้มากขึ้น

  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ไขมันสูง และไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม ของทอด ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
  • เพิ่มการรับประทาน ถั่วและธัญพืช เพื่อเพิ่มโปรตีนและธาตุเหล็ก ผักใบเขียว เพื่อเพิ่มโฟเลตและวิตามินบี นมและโยเกิร์ต เพื่อความแข็งแรงของระบบสืบพันธุ์
  • อาหารที่ควรรับประทานให้น้อยลง น้ำตาลและแป้งขัดขาว เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ชา กาแฟ และน้ำอัดลม และควรงดการรับประทานแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากส่งผลเสียต่อสุขภาพและลดโอกาสตั้งครรภ์ได้สำเร็จ

 

วิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่ายขึ้น สำหรับคนอยากมีลูก

 

วิธีเตรียมความพร้อมให้มีลูกง่ายขึ้น สำหรับคนอยากมีลูก

ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร

การออกกำลังกายเป็นประจำเข้ากับกิจวัตรประจำวัน อาจส่งผลดีต่อการเจริญพันธุ์ได้ การออกกำลังกายจะช่วยรักษาน้ำหนัก ทำให้ร่างกายแข็งแรง ควบคุมฮอร์โมน และลดความเครียดได้พร้อม ๆ กัน ควรตั้งเป้าออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 30 นาทีเกือบทุกวันในสัปดาห์ อาจจะเป็นกิจกรรมง่าย ๆ เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิค เป็นต้น

 

ผ่อนคลาย ไม่เครียด

ระดับความเครียดที่สูงอาจรบกวนสมดุลของฮอร์โมนและส่งผลเสียต่อการเจริญพันธุ์ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในช่วงต้น ดังนั้นควรหากิจกรรมลดความเครียดในชีวิตประจำวัน เช่น การทำสมาธิ การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ การมีสติ หรือหาเวลาทำงานอดิเรกที่ทำให้คุณมีความสุข

 

ควบคุมน้ำหนัก ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป

การรักษาน้ำหนักให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญพันธุ์ การมีน้ำหนักน้อยเกินไปหรือมีน้ำหนักเกินอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อพัฒนาแผนการรับประทานอาหารที่สมดุล ช่วยสนับสนุนเป้าหมายที่จะมีน้ำหนักที่ต้องการและการตั้งครรภ์

 

อยู่ให้ห่างจากสารเสพติด

การใช้สารเสพติด ซึ่งรวมถึงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และการใช้ยาเพื่อความบันเทิง อาจทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ในทั้งชายและหญิงลดลงอย่างมาก การเลิกหรือลดนิสัยเหล่านี้สามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

 

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์

งดขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันทรานส์ เพราะของเหล่านี้มีไขมันที่เป็นตัวลดความสามารถของอินซูลินในร่างกายที่มีผลกระทบต่อการตกไข่ได้

  • เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • แนะนำต่อผู้ชายอยากมีลูก: อาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่น เนื้อปลา อาหารที่มีโฟลิก และอาหารที่มีสังกะสี
  • แนะนำต่อผู้หญิงอยากมีลูก: คือ โฮลเกรน ธัญพืชขัดสีน้อย ผักผลไม้ และปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณมาก

 

นอนและพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับที่มีคุณภาพถือเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมฮอร์โมน การรักษารูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความสมดุลและการลดความเครียดสามารถมีผลบวกต่อระบบสืบพันธุ์ของคู่สามีภรรยาที่ต้องการมีลูกได้ การพักผ่อนที่เพียงพอและการลดความเครียดสามารถช่วยปรับปรุงระบบฮอร์โมนของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ทำให้เกิดโอกาสตั้งครรภ์และการมีบุตรมากขึ้น

 

อาการของผู้หญิงที่เข้าข่ายมีลูกยาก

  • ประจำเดือนไม่มาตามปกติ มาไม่สม่ำเสมอ หรือหมดประจำเดือนเร็ว
  • ปวดท้องน้อยตอนมีประจำเดือน
  • รู้สึกไม่ดี เจ็บ ระคายเคืองขณะมีเพศสัมพันธ์
  • พบเลือดออกอย่างผิดปกติในช่องคลอดหรือพบการติดเชื้อที่กระดูกเชิงกราน มีผลทำให้ท่อนำไข่ในตัวผู้หญิงอุดตัน
  • เคยผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกรานมาก่อน
  • เคยแท้งบุตรมาก่อน
  • เคยเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์ หรือป่วยอยู่และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

 

อาการของผู้ชายที่เข้าข่ายมีลูกยาก

  • น้ำเชื้ออสุจิมีปริมาณน้อย การหลั่งน้ำอสุจิมีปัญหา
  • อวัยวะเพศอ่อนตัว
  • เคยผ่าตัดหรือติดเชื้อที่มีผลต่อการหลั่งน้ำอสุจิ เช่น เชื้ออัณฑะอักเสบ หรือการผ่าตัดที่บริเวณถุงอัณฑะ
  • เคยติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และมีอาการที่อวัยวะเพศ อาจจะมีผลให้ทางเดินน้ำอสุจิแคบ หรือร่างกายมีปัญหาในการสร้างเชื้ออสุจิ

 

การวางแผนเพื่อตั้งครรภ์ ถ้าวางแผนดี ผู้เป็นภรรยาก็มีโอกาสตั้งท้องได้สำเร็จ โดยปัจจัยหลักคือสุขภาพร่างกายของทั้งพ่อและแม่ ควรรักษาสมดุลในการกินอาหารและการใช้ชีวิต ไม่ให้มีความเครียดเกินไป ให้เวลาพักผ่อนเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยระวังไม่รับประทานมากเกินไปจนเกิดความอ้วนขึ้น นอกจากนี้ควรจะปรึกษาคุณหมอด้วย หากใช้วิธีธรรมชาติ นับวันไข่ตกได้ ก็ถือว่าดีไป แต่เผื่อว่าเข้าเกณฑ์มีบุตรยาก จะได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์จากคุณหมอต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. 10 พฤติกรรมที่ส่งผลให้มีลูกยาก อยากมีลูกเช็กด่วน!!, โรงพยาบาลพญาไท
  2. นับวันตกไข่ให้เป๊ะ! ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  3. 3 ด้านต้องรู้ ในการเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  4. ถุงน้ำในรังไข่หลายใบคืออะไรรักษาอย่างไร, โรงพยาบาลเพชรเวช
  5. ฟังคำตอบจากคุณหมอ! โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คืออะไรกันแน่นะ, โรงพยาบาลพญาไท
  6. Are Certain Sex Positions Better for Getting Pregnant?, What to Expect
  7. 9 อาหาร(เสริม) คนอยากมีลูก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  8. การออกกำลังกายอย่างไร...ช่วยให้ตั้งครรภ์ ลดภาวะการมีบุตรยาก?, ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจินตบุตร
  9. 5 วิธีจัดการความเครียดง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้, โรงพยาบาลเปาโล
  10. ภาวะมีบุตรยากคืออะไร? มีสัญญาณอะไรบ้าง มีลูกยากอยากมีลูกต้องทำอย่างไร?, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  11. อาหารแนะนำสำหรับคนอยากมีลูก, โรงพยาบาลเปาโล
  12. เตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร, MedPark Hospital
  13. พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก! มีอะไรบ้าง?, ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเจตนิน
  14. ภาวะมีบุตรยากคืออะไร? มีสัญญาณอะไรบ้าง มีลูกยากอยากมีลูกต้องทำอย่างไร?, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

อ้างอิง ณ วันที่ 20 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ
บทความ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

5นาที อ่าน

View details อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม
บทความ
อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูกได้จริงไหม สัญญาณท้องลูกชายและอาการแพ้ท้องลูกสาวเป็นยังไง อาการแบบไหนที่บอกให้คุณแม่รู้ว่ากำลังจะได้ลูกสาวหรือลูกชาย

4นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้
บทความ
คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้ ลูกน้อยในครรภ์ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ท้อง 9 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง
บทความ
ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย ลูกไม่ดิ้นบ่งบอกถึงอะไรได้บ้างสำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ไปดูสัญญาณเตือนเมื่อลูกไม่ดิ้นและการนับลูกดิ้นกัน

8นาที อ่าน

View details อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง
บทความ
อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม หลังคลอดควรอยู่ไฟวันละกี่ชั่วโมง

การอยู่ไฟหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหม การอยู่ไฟ มีประโยชน์กับคุณแม่อย่างไร ไปดูวิธีเตรียมตัวเมื่อคุณแม่ต้องอยู่ไฟหลังคลอดกัน

6นาที อ่าน

View details มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม
บทความ
มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือน 1 วัน มีโอกาสท้องไหม

มีเพศสัมพันธ์หลังเป็นประจำเดือน 1 วันจะท้องไหม มีเพศสัมพันธ์หลังมีเมนกี่วันถึงท้อง มาทำความเข้าใจเรื่องวงจรการตกไข่ เพื่อประเมินว่ามีเกณฑ์ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร สัญญาณเตือนท้องลมของคุณแม่ตั้งครรภ์

ท้องลม คืออะไร อันตรายไหม เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์แล้ว สัญญาณเตือนท้องลมมีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง ไปดูอาการท้องลมที่บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังท้องลมอยู่กัน

5นาที อ่าน

View details โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง
บทความ
โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง

โครโมโซม คืออะไร การคัดกรองโครโมโซมบอกอะไรได้บ้าง

โครโมโซม คืออะไร โครโมโซม มีกี่คู่ ทำความรู้จัก โครโมโซม และวิธีการตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ เพื่อเช็กความผิดปกติของทารก พร้อมวิธีตรวจคัดกรองโครโมโซมอย่างละเอียด

9นาที อ่าน

View details อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน
บทความ
อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน

อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร แม่ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน

อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร ตั้งครรภ์คัดเต้าตอนไหน สังเกตอาการคนท้องคัดเต้า เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ พร้อมวิธีบรรเทาอาการคัดเค้าที่คุณแม่ทำได้เอง

6นาที อ่าน

View details หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย
บทความ
หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่ คุณแม่อยากมีลูกหัวปีท้ายปี ต้องทำอย่างไร แบบไหนไม่อันตราย ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายหรือไม่ จะส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม หากคุณแม่ท้องกินหอยนางรมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

6นาที อ่าน

View details ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ตัวช่วยบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง
บทความ
ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ตัวช่วยบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ตัวช่วยบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ช่วยบำรุงครรภ์มีอะไรบ้าง คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดไหม คนท้องอ่อนห้ามกินผลไม้อะไร ไปดูผลไม้ที่คนท้องควรกินและมีประโยชน์กัน

6นาที อ่าน

View details โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์แค่ไหน
บทความ
โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์แค่ไหน

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งและทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีโฟเลตสูงก่อนท้อง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี

6นาที อ่าน

View details คนท้องกินเผ็ดได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินเผ็ดได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผ็ดได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผ็ดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์ชอบกินของเผ็ดจะอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ระดับความเผ็ดแค่ไหนที่คุณแม่สามารถทานได้และไม่เป็นอันตรายกับลูก

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ
บทความ
คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

6นาที อ่าน

View details อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้คันท้องคนท้อง
บทความ
อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้คันท้องคนท้อง

อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้คันท้องคนท้อง

อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร คุณแม่มีอาการคันตามร่างกาย อันตรายไหม พร้อมวิธีบรรเทาอาการคันของคนท้อง สำหรับคุณแม่ที่มีผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์

5นาที อ่าน

View details คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี
บทความ
คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

6นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร
บทความ
ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึก ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ เกิดจากอะไร ลูกในท้องสะอึกบ่อยจะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่ วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกในครรภ์หยุดสะอึก

4นาที อ่าน