คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

19.02.2024

ในที่สุดก็มาถึงสัปดาห์ที่ 40 หรือช่วงท้อง 9 เดือน แล้ว ถือเป็นเดือนสุดท้ายที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงเตรียมคลอดด้วย เพราะลูกน้อยพร้อมจะคลอดได้ตลอดเวลา ช่วงนี้สิ่งที่ต้องระวังคงหนีไม่พ้นภาวะก่อนคลอด และอาการต่าง ๆ รวมถึงทั้งเรื่องโภชนาการและกิจกรรมประจำวัน 

headphones

PLAYING: คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ช่วงท้อง 9 เดือนถือเป็นเดือนสุดท้ายที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมคลอด เพราะลูกน้อยพร้อมจะคลอดได้ตลอดเวลา ในช่วงนี้ลูกจะอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมคลอด ศีรษะจะเคลื่อนลงมาอยู่ใกล้ปากมดลูก
  • อาการต่าง ๆ ที่คุณแม่ท้อง 9 เดือนต้องเจอกับความอึดอัด ไม่สบายตัว จากน้ำหนักตัวที่มากขึ้น เพราะลูกตัวโตขึ้นจนเต็มมดลูกไปเบียดอวัยวะอื่น ๆ จนทำให้เกิดอาการท้องผูก ปัสสาวะบ่อย อาการท้องแข็ง เจ็บท้องเตือนและเจ็บท้องคลอด
  • อาการเวียนหัวคลื่นไส้ ในตอนท้อง 9 เดือน อาจเกิดจากอาการแพ้ท้องต่อเนื่อง ปอดได้รับออกซิเจนน้อยลง จากการที่มดลูกขยายตัว และไมเกรนในคุณแม่ตั้งครรภ์
  • ไม่ควรมีเซ็กส์ช่วงใกล้คลอด เพราะอาจจะทำให้ถุงน้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวเด็กเกิดการแตกหรือรั่ว ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมาก่อนเจ็บครรภ์คลอดได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ในเดือนที่ 9 นี้มีเรื่องที่คุณแม่ต้องสงสัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน ว่าจะต้องกินอาหารอะไรเพื่อบำรุงลูกในโค้งสุดท้าย อาการต่าง ๆ ของร่างกายและจิตใจนั้นผิดปกติหรือไม่ เช่น การปวดตามที่ต่าง ๆ อาการบวม หรือแม้แต่เวียนหัวคลื่นไส้ รวมถึงว่าสามารถมีเซ็กส์ในช่วงใกล้คลอดนี้ได้หรือเปล่า? เรามีคำตอบมาบอกกัน

 

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ช่วง 9 เดือน เป็นอย่างไร

ในช่วงนี้ลูกจะอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมคลอด ศีรษะจะเคลื่อนลงมาอยู่ใกล้ปากมดลูก ลูกจะมีการพัฒนาผิว ผม และเล็บจะยาวขึ้นเพื่อปกป้องปลายนิ้ว มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,800-3,000 กรัม และคุณแม่ก็พร้อมจะคลอดได้ทุกเมื่อ ส่วนใหญ่แล้ว คุณแม่จะคลอดประมาณ 1–2 สัปดาห์ก่อนครบกำหนด (สัปดาห์ที่ 40)

 

อาการต่าง ๆ ที่คุณแม่ท้อง 9 เดือนต้องเจอ

  1. ความอึดอัด ไม่สบายตัว จากน้ำหนักตัวที่มากขึ้น เพราะลูกตัวโตขึ้นจนเต็มมดลูก และดันกระเพาะและกะบังลมทำให้แน่นท้องหายใจตื้นและเร็วอาจมีอาการจุกเสียดหน้าอก
  2. ปวดท้อง เจ็บท้องบ่อยขึ้น จากการที่ลูกน้อยพร้อมคลอดได้ตลอดเวลาในช่วงเดือนนี้
  3. ปวดหลัง และอุ้งเชิงกราน เกิดจากคุณแม่ต้องแบกน้ำหนักมดลูกและลูกน้อยที่ใหญ่ขึ้น คุณแม่ส่วนใหญ่อาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยนาน ๆ ครั้งต่อวัน (ไม่เกิน 5 ครั้งต่อวัน) เกิดจากมีการเกร็งตัวของมดลูกเล็กน้อยไม่รุนแรง พบได้ในภาวะปกติระหว่างการตั้งครรภ์
  4. ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด ที่ศีรษะลูกเคลื่อนต่ำลง
  5. นอนไม่หลับหรือหลับไม่สบาย อึดอัด จากภาวะที่มดลูกโตขึ้น
  6. รู้สึกหิวมากขึ้น หรือน้อยลงกว่าเดิม
  7. ท้องผูก เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อยเกินไปและผลจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้การบีบตัวของลำไส้ใหญ่ลดลง ร่วมกับขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นไปกดลำไส้ใหญ่ ทำให้ท้องผูกได้ง่ายขึ้น

 

ท้อง 9 เดือน คุณแม่ยังมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ หน้ามืด หรือไม่

  1. เกิดจากอาการแพ้ท้องต่อเนื่องในคุณแม่บางราย โดยอาการแพ้ท้อง สามารถเกิดขึ้นได้จนกว่าจะคลอด
  2. เกิดจากปอดได้รับออกซิเจนน้อยลง จากการที่มดลูกขยายตัวไปตามการเจริญเติบโตของทารกน้อยก็จะมีการเข้าไปเบียดกับปอดและกะบังลม จนทำให้ปอดมีพื้นที่ในการขยายตัวลดลงตาม ส่งผลทำให้ปอดได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย คุณแม่จึงมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรงและหน้ามืดตามมา

 

ไมเกรนในคุณแม่ตั้งครรภ์

เป็นอาการยอดฮิตอีกหนึ่งอาการในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 9 เดือน ซึ่งมักเกิดจากการยืนหรือการนั่งที่ไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่เกิดในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ซึ่งท้องของคุณแม่เริ่มใหญ่ขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาการนี้ต้องระวัง เภาวะปวดศีรษะในช่วงนี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือครรภ์เป็นพิษได้ด้วย

 

การดูแลตัวเองอย่างเข้าใจในช่วงไตรมาสสุดท้าย

เราขอแบ่งการดูแลเป็น 4 หัวข้อหลัก ๆ

  1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งตัว และนมพร่องมันเนย
  2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน เช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
  3. การดูแลเต้านม คุณแม่บางรายเต้านมจะมีการสร้างน้ำนมในช่วงนี้ การดูแลเต้านมจึงสำคัญ ในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
  4. ดูแลจิตใจ ควรผ่อนคลายทำใจให้สบาย ไม่กังวลเรื่องการคลอดจนเกินไป เพราะความเครียดก็ส่งผลต่อลูกในท้องด้วยเช่นกัน

 

อาหารบำรุงครรภ์ ที่เหมาะกับคุณแม่ท้อง 9 เดือน

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 9 เดือน หรือ ท้อง 40 สัปดาห์ เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 300 กิโลแคลอรี ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการรับประทานอาหารหลัก 1 มื้อ คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เช่นเดิม โดยให้เน้นโปรตีนเป็นพิเศษ เพราะระยะนี้เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการโปรตีนสูงที่สุด

 

ควรระมัดระวังเรื่องการทานของหวาน และเรื่องน้ำหนักที่ขึ้นมากเกินไป เพราะอาจเสี่ยงเป็นเบาหวานได้ ไม่ควรรับประทานของหมักดอง งดอาหารรสจัดและอาหารปรุงไม่สุก ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่รวมถึงหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีควันบุหรี่

 

ปัญหายอดฮิตท้อง 9 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม

ในความเป็นจริงแล้ว การมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคู่ ขณะตั้งครรภ์คุณแม่สามารถมีเซ็กส์ได้ตามปกติ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งใกล้คลอด จะมีแค่บางช่วงที่ควรลดการมีเซ็กส์ลงบ้าง เช่น ตอนตั้งครรภ์ใหม่ ๆ เพราะคุณแม่ส่วนมากมักมีอาการแพ้ท้อง เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย

 

อีกช่วงหนึ่งที่ควรจะงดเว้นการมีเซ็กส์ก็คือ ช่วงใกล้คลอดมาก ๆ แล้ว เพราะช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่จะดูค่อนข้างอึดอัดอุ้ยอ้าย แค่นั่งหรือเดินตามปกติก็เหนื่อยอยู่แล้ว ถ้ามามีเซ็กส์ตอนนี้อาจจะทำให้เหนื่อยได้มากกว่าปกติ นอกจากนี้การมีเซ็กส์ตอนที่ใกล้คลอดอาจจะทำให้ถุงน้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวเด็กเกิดการแตกหรือรั่ว ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมาก่อนเจ็บครรภ์คลอดได้ ซึ่งผลดังกล่าวจะทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกได้

 

มีเพียงคุณแม่บางคนเท่านั้นที่จำเป็นต้องงดการมีเซ็กส์ขณะตั้งครรภ์ไปเกือบตลอดช่วงการตั้งครรภ์ เช่น คุณแม่ที่เคยแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนดมาก่อน เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาซ้ำได้ นอกจากนี้คุณแม่ที่มีภาวะรกเกาะต่ำก็ควรงดการมีเซ็กส์โดยเด็ดขาด เพราะอาจไปกระตุ้นให้มีเลือดออกมากจนเป็นอันตรายได้

 

ในที่สุดก็เดินทางมาสู่เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่คงตื่นเต้นที่จะได้เห็นเจ้าตัวเล็กไว ๆ นอกจากเรื่องของการดูแลร่างกายของตนเองแล้ว เราอยากให้คุณแม่เตรียมพร้อม เรื่องของเจ้าตัวเล็กด้วย เราแนะนำให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ เป็นสารอาหารหลัก องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เพราะนมแม่เป็นอาหารจากธรรมชาติที่มีสารอาหารมากมาย และเหมาะที่สุดสำหรับเจ้าตัวเล็กอีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. 9 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  2. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. แพ้ท้องอยู่ใช่ไหม ต้องทำอย่างไรมีคำตอบ, โรงพยาบาลเพชรเวช
  4. อาการหน้ามืด อ่อนเพลียในคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  5. คำแนะนำ คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน), โรงพยาบาลเปาโล
  6. ทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ทั้งแม่และลูกเมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์, โรงพยาบาลบางปะกอก
  7. 6 คำถามยอดฮิต ...ท้องแล้วมีเซ็กส์ได้ไหม, คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. อาการระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 8 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม ว่าที่คุณแม่เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้องได้

หยุดกินยาคุม 1 เดือน จะท้องไหม เลิกกินยาคุมกี่เดือนท้อง กินยาคุมมานาน เสี่ยงมีลูกยากจริงไหม ว่าที่คุณแม่ควรทำอย่างไร ถ้าอยากมีลูกเร็วหลังหยุดยาคุม

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

ท้องลด คืออะไร อาการท้องลดขณะตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นตอนไหน อาการท้องลดของคุณแม่ คือสัญญาณใกล้คลอดจริงไหม หลังเกิดอาการท้องลด นานแค่ไหนถึงจะคลอด ไปดูกัน

คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด

คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด

คนท้องปวดก้นกบ เกิดจากอะไร คุณแม่ปวดก้นกบบ่อย อันตรายไหม ส่งผลอะไรกับลูกหรือเปล่า ถ้าไม่กินยา คนท้องปวดก้นหายเองได้ไหม ต้องทำยังไงให้อาการปวดหายไป

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ คนท้องเจ็บสะดือ ลูกในครรภ์จะเป็นอะไรไหม

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ คนท้องเจ็บสะดือ ลูกในครรภ์จะเป็นอะไรไหม

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ อันตรายไหม อาการคนท้องเจ็บสะดือ เกิดจากสาเหตุอะไร อาการที่ชัดเจนต้องเจ็บลักษณะไหน คนท้องเจ็บสะดือแบบไหนอันตรายกับลูกในครรภ์

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย กินขนมคนท้องอะไรได้บ้าง

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย กินขนมคนท้องอะไรได้บ้าง

เมนูอาหารว่างสำหรับคนท้อง ขนมที่คนท้องกินได้ระหว่างวัน ช่วยบำรุงครรภ์และดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง อาหารว่างสำหรับคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์ ไปดูกัน

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน เพราะอะไร จะได้ลูกสาวหรือลูกชายดูจากท้องกลมท้องแหลมได้จริงไหม เป็นไปได้กี่เปอร์เซ็นต์

ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

ท้องแตกลายลายตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร หน้าท้องแตกลาย ผิวไม่เรียบเนียนช่วงตั้งท้อง ผิวที่หน้าท้องคุณแม่จะเป็นอย่างไร พร้อมวิธีลดอาการท้องแตกลายจากการตั้งครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก