อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง คืออะไร พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง คืออะไร พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

23.08.2024

อาการมโนว่าท้อง ท้องหลอก ท้องทิพย์ อาการนี้มีอยู่จริง ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า Spurious Pregnancy หรือ Pseudocyesis อาการที่คุณผู้หญิงรู้สึกว่าตัวเองกำลังตั้งท้อง แต่ในความเป็นจริงไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น อาการมโนว่าท้องจัดเป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ 

headphones

PLAYING: อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง คืออะไร พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • อาการมโนว่าท้อง ท้องหลอก ท้องทิพย์ ในทางการแพทย์เรียกว่า (Pseudocyesis) เป็นอาการผิดปกติทางจิต ที่เกิดจากความเครียดในการอยากมีลูก
  • อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง จะมีอาการแสดงเหมือนกับอาการคนท้องปกติทั่วไป เช่น ประจำเดือนขาด คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกคัดตึงเต้านม ปัสสาวะบ่อย และรู้สึกว่ามีลูกกำลังดิ้นอยู่ในท้อง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

รู้สึกเหมือนท้อง แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ท้อง เคยไหม รู้สึกว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ มีอาการแพ้ท้อง ท้องโต คัดตึงเต้านม ประจำเดือนขาด รู้สึกเหมือนลูกดิ้นในท้อง แต่พอไปตรวจกับคุณหมอ กลับไม่พบการตั้งครรภ์ อาการเหล่านี้คือ "ภาวะท้องหลอก” (Pseudocyesis) นั่นเอง ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อย แต่ก็สร้างความสับสนและกังวลให้กับผู้หญิงที่ประสบอยู่ไม่น้อย วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัย ล้วงลึกถึงสาเหตุ อาการมโนว่าท้องกัน

 

อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง คืออะไร

อาการมโนว่าท้อง หรือ ท้องหลอก ท้องทิพย์ ทางการแพทย์เรียกว่า Spurious Pregnancy หรือ Pseudocyesis ถือเป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ในผู้หญิงที่มีอาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง มักจะมีอาการทุกอย่างเหมือนคนท้อง ซึ่งสาเหตุของอาการท้องหลอก เกิดขึ้นมาจากสภาพทางจิตใจ ที่มีความเครียดเพราะอยากมีลูก แต่ไม่มีลูก ไม่ท้องสักที ความเครียดที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบทำให้ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นที่รังไข่ พอรังไข่ถูกกระตุ้น รังไข่ก็จะสร้างฮอร์โมนเพื่อไปกระตุ้นมดลูกทำให้ผนังมดลูกเกิดการหนาตัวขึ้นทำให้ไม่มีประจำเดือน พอไม่มีประจำเดือนก็คิดไปว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์

 

อาการมโนว่าท้อง จำเป็นต้องพบแพทย์ไหม

สำหรับผู้หญิงที่มีอาการมโนว่าท้อง จะมีอาการคนท้องเริ่มแรก เหมือนกับคนท้องปกติ ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน คัดตึงเต้านมทั้งสองข้าง ประจำเดือนไม่มา รู้สึกว่าตัวเองมีขนาดท้องโตขึ้น หรือในบางคนก็คิดว่าลูกกำลังดิ้นอยู่ในท้อง ในผู้หญิงที่มีอาการท้องหลอกเกิดขึ้น แนะนำให้ไปโรงพยาบาลพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เนื่องจากอาจเป็นการเจ็บป่วยที่มีอาการแสดงเหมือนกับการตั้งครรภ์ อาทิเช่น โรคของต่อมใต้สมองที่อาจมีการสร้างฮอร์โมนบางชนิดมากเกินไป หรือในคนที่กินยารักษาโรค เช่น ยากันชัก และยารักษาอาการนอนไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด

 

ประจำเดือนไม่มาหลายเดือน จะท้องไหม

ผู้หญิงที่สังเกตตัวเองว่าประจำเดือนไม่มา 1-2 เดือน เพื่อเป็นการยืนยันว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่ แพทย์อาจจะใช้การตรวจภายใน ซึ่งหากตรวจภายในแล้วพบว่าช่องคลอดและปากมดลูกมีสีม่วงคล้ำจากการที่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก และมดลูกโตจนคลำได้ชัดเจน แสดงว่าอาจมีการตั้งครรภ์ หรือถ้าหากตรวจภายในแล้วได้ผลที่ไม่ชัดเจนว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ แพทย์จะใช้วิธีการตรวจด้วยผลเลือดอีกครั้ง

 

สังเกตอาการให้ชัวร์ ท้องจริง หรือท้องทิพย์

 

สังเกตอาการให้ชัวร์ ท้องจริง หรือท้องทิพย์

1.    อาการท้องจริง หรือ (Symptoms of pregnancy) เป็นอาการเริ่มแรกที่เกิดขึ้น 1-2 สัปดาห์หลังจากประจำเดือนไม่มาในรอบการมีประจำเดือนปกติ ได้แก่

 

2.    อาการท้องทิพย์ (Pseudocyesis) เป็นอาการผิดปกติทางจิต ที่มาจากความเครียดมากในการอยากมีลูก ซึ่งจะทำให้รู้สึกมีอาการเหมือนกับคนท้องปกติ ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ประจำเดือนขาด
  • รู้สึกคัดตึงเต้านม
  • รู้สึกว่ามีลูกกำลังดิ้นในท้อง
  • รู้สึกว่ามีขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น

 

ในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และรู้สึกเหมือนมีอาการตั้งครรภ์ขึ้น เพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริงหรือไม่ แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ก็จะทราบผลที่ถูกต้องและชัวร์กว่าค่ะ

 

อาการแบบไหน ที่บ่งบอกว่าเริ่มตั้งครรภ์

อาการคนท้องเริ่มแรกที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ เป็นอาการแสดงที่เกิดขึ้น 1-2 สัปดาห์ หลังจากที่ประจำเดือนขาดไป คุณแม่สามารถสังเกตตัวเองได้ดังนี้

  • รู้สึกคัดตึงที่เต้านม
  • เลือดออกกะปริดกะปรอย
  • รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน แพ้ท้อง
  • ตกขาวมากกว่าปกติ
  • รู้สึกปวดหน่วงที่ตรงบริเวณท้องน้อย
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

 

วิธีตรวจครรภ์ที่ถูกต้อง ป้องกันอาการมโนว่าท้อง

เช็กให้แน่ใจว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริงหรือไม่ สามารถทดสอบหาฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin) ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การตรวจครรภ์ด้วยตัวเองโดยใช้อุปกรณ์ทดสอบการตั้งครรภ์ และการตรวจครรภ์โดยแพทย์

  1. การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง ใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ หรือที่ตรวจครรภ์ จะทดสอบด้วยการใช้ปัสสาวะของคุณแม่ ซึ่งที่ตรวจครรภ์จะมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่ แบบปัสสาวะแบบปล่อยผ่าน แบบหยด หรือแบบตลับ และ แบบแถบจุ่ม สำหรับการแสดงผลของชุดตรวจครรภ์หากขึ้น 2 ขีด (ขีด C และ T) คือ ผลบวก แสดงว่า มีโอกาสตั้งครรภ์ และ ขึ้นขีดเดียวที่ขีด C คือ ผลลบ แสดงว่า ไม่มีการตั้งครรภ์
  2. การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยแพทย์ เป็นการตรวจหาค่าฮอร์โมน hCG ด้วยการตรวจเลือด ซึ่งจะใช้เวลาในการรอผลตรวจประมาณ 1-2 ชั่วโมง การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยแพทย์เป็นวิธีที่บอกผลการตั้งครรภ์ได้แม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์

 

ในคู่รัก หรือคู่แต่งงาน หากฝ่ายหญิงมีอาการท้องหลอก ท้องทิพย์ กังวลไปเองว่าท้อง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการมโนว่าท้องเป็นอาการผิดปกติทางจิต ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาสภาวะทางจิตใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติและมีความสุข จะได้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์จริงตามที่ตั้งใจไว้ให้ประสบผลสำเร็จ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องลม...ท้องหลอก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ท้องลม (Blighted Ovum) คืออะไร?, โรงพยาบาลพระราม 9
  3. อาการคนท้อง ระยะแรก ยืนยันว่าคุณตั้งครรภ์แล้วแน่ๆ, สมาคมแพทย์สตรี
  4. 18 อาการคนท้องเริ่มแรก ข้อสังเกต วิธียืนยันการตั้งครรภ์, โรงพยาบาล MedPark
  5. ท้องไม่ท้อง รู้ให้แน่ ด้วยการตรวจครรภ์หาค่าเอชซีจี (hCG), โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องทำอย่างไร ตั้งครรภ์แฝดอันตรายไหม มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก