3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

คุณแม่ให้นมบุตร
บทความ
มี.ค. 24, 2021

เพราะ “นมแม่” เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ที่คุณแม่สามารถผลิตได้เองด้วยกลไกตามธรรมชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนวัคซีนที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่าง ๆ เพราะมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดให้แก่ลูกน้อย รวมไปถึงเป็นแหล่งอาหารหลักและเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของลูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัย 6 เดือน ซึ่งการเก็บรักษา รวมไปถึงการนำออกมาใช้ให้ลูกน้อยได้ดื่มกิน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีวิธีการคงคุณค่าของนมแม่ให้ได้มากที่สุด

 

สรุป

  • การนำนมแม่ที่สต็อกไว้ในช่องแข็งมาละลาย ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยคงคุณค่าสารอาหารไว้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งคุณแม่ควรรู้วิธีละลายนมแม่ที่ถูกต้อง เพื่อคงคุณค่าของสารอาหารในนมแม่ไว้ให้ครบถ้วนที่สุด
  • วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ที่ดี ไม่ควรให้นมแช่แข็งละลายเองด้วยอุณหภูมิห้อง ควรแช่ในน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติแล้วจึงนำไปแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อนทารก
  • หากนำนมมาป้อนลูกแล้วเหลือจากการป้อนในมื้อนั้น สามารถเก็บให้ลูกกินได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น ไม่ควรนำน้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมลูกกลับไปแช่แข็งอีก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การอุ่นนม คืออะไร

  • หลังจากที่คุณแม่ปั๊มนมให้ลูกน้อยและเก็บสะสมนมสต๊อกได้แล้ว ซึ่งนมแม่ที่สต๊อกไว้ไม่ควรมีอายุเกิน 1 ปี เพราะนอกจากจะมีกลิ่นหืนซึ่งเกิดจากปฏิกิริยากับอากาศแล้ว เซลล์เม็ดเลือดขาวและสารภูมิคุ้มกันที่มีในนมแม่จะทยอยเสื่อมสลายไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาและอุณหภูมิที่เก็บ นอกจากนี้ยังอาจมีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียขึ้นได้ 
  • เมื่อต้องการนำน้ำนมแม่ที่สต๊อกออกมาให้นมลูก คุณแม่ต้องมีการวางแผนถึงปริมาณน้ำนมในแต่ละมื้อสำหรับลูก เตรียมภาชนะหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับละลายน้ำนมโดยที่ยังคงคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ ในน้ำนมแม่ให้ครบถ้วนที่สุด เพราะความร้อนที่เกิน 40 องศาเซลเซียส จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวในนมแม่ ส่วนนมที่เย็นเกินไป จะทำให้เด็กมีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ อาจส่งผลอันตรายต่อเด็กแรกเกิดได้
  • วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ ห้ามใช้น้ำร้อนหรือนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะการอุ่นในไมโครเวฟทำให้ความร้อนในนมไม่สม่ำเสมอ มีความร้อนสูง อาจทำลายคุณค่าสารอาหารของนมแม่ นอกจากนี้อาจทำให้ลวกปากและลิ้นของลูกน้อยได้

 

วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง

 

วิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ทำอย่างไรได้บ้าง

  • คุณแม่ควรวางแผนว่าต้องการใช้ปริมาณน้ำนมแม่ในแต่ละวันเท่าใด และนำนมแม่จากสต็อกที่แช่แข็ง ย้ายมาแช่ในช่องธรรมดาก่อน 1 คืน (12 ชั่วโมง) จนละลายเป็นน้ำ แล้วจึงแบ่งใส่ขวด ก่อนนำมาอุ่นให้เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยนมแม่ที่ละลายแล้วจะสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง แต่ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก
  • เติมน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส ใส่แก้วกาแฟที่มีหูจับ ประมาณครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำอุณหภูมิห้องอีกครึ่งแก้ว (สัดส่วน 1:1) จะได้น้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมต่อการอุ่นน้ำนมแม่ กรณีใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส ให้ผสมน้ำร้อน 1 ส่วน กับ น้ำอุณหภูมิห้อง 4 ส่วน (สัดส่วน 1:4) แล้วค่อยแช่ขวดนมลงไป
  • แช่ขวดนมที่บรรจุน้ำนมแม่ที่เย็นลงไปแช่ในแก้วกาแฟที่ใส่น้ำอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 5-10 นาที คุณแม่จะได้นมที่มีอุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมต่อการให้ลูกน้อยดื่มได้แล้วค่ะ 
  • วิธีการทดสอบอุณหภูมิแบบง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ สามารถทำได้โดยการหยดน้ำนมที่อุ่นแล้วใส่หลังมือ เพื่อวัดอุณหภูมิโดยจะต้องไม่รู้สึกร้อนหรือเย็น หมายถึงว่า ได้นมที่อุณหภูมิใกล้เคียงกับหลังมือของคุณแม่นั้นเอง
  • โดยปกตินมแม่ที่อุ่นแล้วสามารถเก็บได้อีก 2-3 ชั่วโมง ในอุณภูมิห้อง และหากลูกดูดนมขวดนั้นไปแล้ว คุณแม่สามารถเก็บต่อได้อีกไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น

 

1. วิธีละลายนมแม่ ด้วยการวางทิ้งไว้เฉย ๆ

วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ โดยการวางทิ้งไว้เฉย ๆ เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยคุณแม่สามารถนำนมแม่ที่แช่ตู้เย็นในช่องธรรมดาออกมาวางในภาชนะที่สะอาดที่จัดเตรียมไว้ โดยวางให้นมมีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้องก่อนนำไปให้ลูกกิน 

  • ข้อดี: ง่าย สะดวก และคุณแม่สามารถไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ โดยคอยสังเกตระยะเวลาที่วางนอกตู้เย็นไม่ให้นานเกินไป
  • ข้อเสีย: น้ำนมแม่อาจจะมีกลิ่นหืน  และมีชั้นไขมันแยกตัว ต้องเขย่าเบา ๆ ให้ลูกก่อนกิน และคุณแม่อาจเผลอลืมวางทิ้งไว้นานจนเกินไป จนนมแม่เสียได้

 

2. วิธีละลายนมแม่ ด้วยการนำไปแกว่งในน้ำ หรือน้ำอุ่น

วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ โดยการน้ำไปแกว่งในน้ำอุ่น การเตรียมภาชนะใส่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศา และนำนมแม่ลงไปแช่ประมาณ 5 – 10 นาที ซึ่งจะได้นมแม่มี่มีอุณหภูมิเหมาะสมต่อลูกน้อย

  • ข้อดี: นมแม่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่ลูก โดยใช้เวลาอุ่นนมไม่นานมากนักก็สามารถให้ลูกดื่มได้
  • ข้อเสีย: หากเตรียมน้ำสำหรับแช่นมร้อนจัดเกินไป จะทำให้เม็ดเลือดขาวในน้ำนมแม่ ที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันถูกทำลายได้ และคุณค่าสารอาหารในน้ำนมก็จะเสียไปด้วย และควรระวังหยดน้ำที่แช่นมอาจปนเปื้อนระหว่างให้นมลูกน้อยได้

 

3. วิธีละลายนมแม่ โดยใช้เครื่องอุ่นนม

วิธีละลายนมแม่หรือวิธีอุ่นนมแม่ โดยการใช้เครื่องอุ่นนม ที่ปัจจุบันมีมากมายในท้องตลาด บางรุ่นสามารถอุ่นนมและฆ่าเชื้อขวดนมได้ด้วย รวมถึงประหยัดเวลาในการอุ่นนม  

  • ข้อดี: สะดวก ลดระยะเวลาในการอุ่นนมในลูก ดูแลความสะอาดได้ง่าย ปลอดภัยต่อลูกน้อย และมีอุณหภูมิเหมาะสมคงที่
  • ข้อเสีย: เพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องอุ่นนม และมีค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งาน

 

นมแม่แช่แข็งอยู่ได้นานเท่าไหร่

คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมแม่ หรือการทำสต๊อก เพื่อจะสามารถให้นมแม่แก่ลูกได้อย่างยาวนานที่สุดได้ ทั้งนี้ปัจจัยในการเก็บรักษาให้มีระยะเวลายาวนาน ขึ้นกับรูปแบบของการเก็บด้วยเช่นกัน โดยแบ่งเป็น ดังนี้

  • 3-4 ชั่วโมง เมื่อวางไว้ในห้องอุณหภูมิ 27-32 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิห้อง 16-26 องศาเซลเซียส จะเก็บได้ 4-8 ชั่วโมง
  • 1 วัน ในกระติกที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส
  • 3-5 วัน ในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับความเย็นที่รั่วออกไปมากน้อยเมื่อเปิด-ปิดตู้เย็น)
  • 2 สัปดาห์ ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูเดียว อุณหภูมิประมาณ -15 องศาเซลเซียส
  • 3-6 เดือน สำหรับช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบสองประตู อุณหภูมิประมาณ -18 องศาเซลเซียส
  • 6-12 เดือน เมื่อเก็บในช่องแช่แข็งเย็นจัด หรือ ตู้เย็นชนิดตู้แช่แข็ง อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส 
  • ไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ที่ประตูตู้เย็น

 

วิธีละลายนมแม่หรือการให้นมแม่อย่างปลอดภัยและยาวนานที่สุด เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องหมั่นศึกษาและทำความเข้าใจ รวมถึงวิธีเก็บน้ำนม ที่คุณแม่ควรศึกษาเอาไว้เบื้องต้นด้วย เพื่อแนวทางที่เหมาะสมกับครอบครัว และรูปแบบการเลี้ยงดูลูกน้อย S-Mom Club เชื่อว่าคุณแม่ทุกท่านจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ เพื่อช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและพัฒนาการที่ดีต่อร่างกายและสมอง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. นมแม่เก็บแค่ไหน ใช้เท่าไหร่ ถึงจะดีที่สุด, โรงพยาบาลเปาโล
  2. ให้นมแม่อย่างปลอดภัย สบายใจยิ่งขึ้น ด้วยหลัก “1 2 3”, โรงพยาบาลพญาไท
  3. คำแนะนำวิธีการเก็บน้ำนมแม่, โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
  4. นมแม่เก็บแค่ไหน ใช้เท่าไหร่ ถึงจะดีที่สุด, โรงพยาบาลเปาโล
  5. วิธีเก็บรักษานมแม่, breastfeedingthai

อ้างอิง ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่
บทความ
ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารกและตารางให้นมทารก ในแต่ละวันลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้งและปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีและครบถ้วน

6นาที อ่าน

View details เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง
บทความ
เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อันตรายไหม

เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง

คุณแม่เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม บางครั้งเจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อาการแบบนี้เกิดจากอะไร หากเจ็บเต้านมบ่อยจะเป็นอันตรายกับแม่ให้นมไหม ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่
บทความ
แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

4นาที อ่าน

View details วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ
บทความ
วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

คุณแม่น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ช่วงให้นม อาหารกระตุ้นน้ำนมจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้จริงไหม อาหารเพิ่มน้ำนมแม่มีอะไรบ้าง

8นาที อ่าน

View details อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง
บทความ
อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

3นาที อ่าน

View details 10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล
บทความ
10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

รวมวิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อคุณแม่มีน้ำนมไม่พอและน้ำนมไม่ไหล เมื่อต้องให้นมลูกน้อย ไปดูวิธีกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ให้นม พร้อมอาหารบำรุงน้ำนมคุณแม่กัน

View details วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย
บทความ
วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย

รวมวิธีนวดเปิดท่อน้ำนมและนวดเต้าหลังคลอด คุณแม่มือใหม่สามารถนวดกระตุ้นน้ำนมและนวดเปิดท่อน้ำนมได้อย่างไรบ้าง ไปดูวิธีนวดเต้าหลังคลอดที่ถูกต้องกัน

6นาที อ่าน

View details วิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย ให้แผลผ่าคลอดสวยเรียบเนียน
บทความ
วิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย ให้แผลผ่าคลอดสวยเรียบเนียน

วิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย ให้แผลผ่าคลอดสวยเรียบเนียน

วิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย ดูแลรอยแผลผ่าคลอดอย่างไร ให้แผลสวยเรียบเนียน ไม่นูนแดงและทิ้งรอยแผลเป็นที่หน้าท้อง พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย

5นาที อ่าน

View details ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน
บทความ
ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ลมพิษในเด็ก อาการผื่นนูนแดงที่เกิดขึ้นตามร่างกายของลูก ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร หากเป็นผื่นลมพิษ พร้อมวิธีป้องกันลมพิษในเด็ก

7นาที อ่าน

View details ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน
บทความ
ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

6นาที อ่าน

View details เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า พร้อมตารางปั๊มนมและวิธีปั๊มนมให้ลูก
บทความ
เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า พร้อมตารางปั๊มนมและวิธีปั๊มนมให้ลูก

เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า พร้อมตารางปั๊มนมและวิธีปั๊มนมให้ลูก

เทคนิคการปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าพร้อมตารางปั๊มนม ช่วยให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ตามเวลาที่เหมาะสมและได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ไปดูวิธีปั๊มนมให้ลูกที่ถูกต้องกัน

View details หัวนมบอด ปัญหาของคุณแม่ให้นม ที่คุณแม่แก้ไขได้
บทความ
หัวนมบอด ปัญหาของคุณแม่ให้นม ที่คุณแม่แก้ไขได้

หัวนมบอด ปัญหาของคุณแม่ให้นม ที่คุณแม่แก้ไขได้

หัวนมบอด คืออะไร คุณแม่หัวนมบอดและหัวนมสั้น สามารถให้นมลูกได้ปกติไหม ลูกจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอหรือเปล่า ไปรู้จักอาการหัวนมบอดที่แม่ควรรู้กัน

7นาที อ่าน

View details วิธีให้นมลูก การให้นมลูกหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่
บทความ
วิธีให้นมลูก การให้นมลูกหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่

วิธีให้นมลูก การให้นมลูกหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่

รวมวิธีให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ พร้อมการให้นมลูกหลังคลอดที่ถูกต้อง ด้วยการเข้าเต้า 3 ดูด ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ให้เพียงพอ ไปดูวิธีให้นมลูกที่ถูกต้องกัน

View details ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี
บทความ
ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน เกิดจากอะไร สาเหตุอะไรได้บ้าง ที่ทำให้ลูกมีผดร้อนทารกและลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกมีผื่นคัน

11นาที อ่าน

View details คันแผลผ่าคลอด ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าตัด
บทความ
คันแผลผ่าคลอด ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าตัด

คันแผลผ่าคลอด ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าตัด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้

5นาที อ่าน

View details วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง
บทความ
วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงที่ถูกต้องสำหรับคุณแม่มือใหม่ ชงนมผงให้ลูกแบบไหนปลอยภัยและป้องกันทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ไปดู 4 วิธีชงนมผงให้ลูกน้อย ด้วยวิธีที่ถูกต้อง

4นาที อ่าน

View details เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล
บทความ
เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

7นาที อ่าน

View details วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ
บทความ
วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ

วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ

รวมวิธีเก็บนมแม่และการเก็บน้ำนมแม่สำหรับแม่มือใหม่ ด้วยวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัย ช่วยให้คุณแม่สามารถคงคุณภาพของน้ำนมได้ยาวนานมากขึ้น ไปดูวิธีเก็บน้ำนมคุณแม่กัน

View details วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
บทความ
วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ เมื่อลูกไม่เรอสำหรับลูกน้อย ช่วยป้องกันอาการแหวะนม ไปดูวิธีจับลูกเรอและท่าอุ้มเรอที่ช่วยให้ลูกเรอง่ายและท้องไม่อืดหลังกินนม

4นาที อ่าน