ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก
ผื่นแดงในทารกเป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งเกิดจากผิวของทารกที่บอบบางและไวต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอก อาจทำให้เกิดผื่นขึ้นตามตัวหรือใบหน้า เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นผื่นแดงที่ตัวลูก ควรให้ความใส่ใจในการดูแลผิวของลูกอย่างถูกต้องเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัวและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและระคายเคืองเพิ่มเติม อีกทั้งการดูแลที่ถูกวิธียังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยให้เป็นไปอย่างราบรื่นในระยะยาว
สรุป
- ทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี มักพบผื่นขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ผื่นที่พบได้บ่อยคือ ผื่นต่อมไขมันอักเสบ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และผื่นผดร้อน
- ผื่นแพ้ทารกเป็นโรคเรื้อรัง รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อลูกโต ควรได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี
- นมแม่มีสารอาหารครบถ้วน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารก ควรให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน หรือให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
- หากผื่นแพ้ในเด็กลุกลาม ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผิวของทารก การเลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำและโลชั่นที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกันผื่นจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ยุง แมลง สารเคมี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ผื่นทารกในเด็ก คืออะไร
- ลักษณะผื่นแพ้ทารก มีแบบไหนบ้าง
- ผื่นทารก รักษาให้หายขาดได้ไหม
- วิธีดูแลลูกน้อย เมื่อเป็นผื่นแดงทั้งตัว
- วิธีป้องกันผื่นแพ้ทารกให้ห่างไกลผื่นแพ้
ผื่นในทารกเป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยและสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่หลายคน หากปล่อยไว้โดยไม่ดูแลหรือรักษาตั้งแต่ต้น ผื่นเล็ก ๆ อาจลุกลามกลายเป็นผื่นแดงทั้งตัว ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัวแล้ว ยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจในระยะยาวได้ ดังนั้นการใส่ใจดูแลอย่างถูกวิธีและการเข้าใจสาเหตุของผื่นในทารกจะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการได้ดีขึ้น
ผื่นทารกในเด็ก คืออะไร
ผื่นทารก หรือผื่นแพ้ในเด็ก เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด ผื่นในเด็กอาจปรากฏขึ้นได้หลายจุดบนร่างกาย เช่น ใบหน้า แก้ม คอ ข้อพับ ขาหนีบ และหลัง ซึ่งแต่ละชนิดของผื่นมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันออกไป บางชนิดหายได้เอง แต่บางชนิดอาจต้องการการดูแลเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้อาการลุกลามและเพื่อความสบายตัวของทารก
ลักษณะผื่นแพ้ทารก มีแบบไหนบ้าง
ลูกเป็นผื่นบนผิวหนัง เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถรักษาความสะอาดของผิวหนัง และผิวหนังของเด็กมีความบอบบาง ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการแพ้ เมื่อสัมผัสกับสารเคมีและวัสดุอื่น ๆ รวมทั้งแมลงกัดต่อย โดยทั่วไป ผื่นที่ผิวหนังมักมีลักษณะเป็นผื่นราบ ตุ่มนูน ตุ่มใส หรือผื่นลมพิษ หากลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัวหรือลูกเป็นผื่นที่มีอาการคันและเด็กเกา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา ทำให้ผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มหนองที่เรียกว่า "พุพอง" หรือเกิดเป็นฝีหนองได้ ผื่นคันในเด็กมีหลากหลายชนิด ได้แก่
1. ผดผื่นทารก ที่เกิดจากต่อมเหงื่อ
เมื่อลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว อาจเกิดจากต่อมเหงื่อของเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการอุดตัน กลายเป็นผดผื่นได้ง่าย ซึ่งได้แก่ ผดใส ผดแดง และผดลึก ที่มักเกิดในฤดูร้อน ผดแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับ ความลึกของการอุดตันของต่อมเหงื่อที่ชั้นผิวหนัง ถ้าอุดตันที่ผิวหนังตื้น ก็จะเห็นเป็นผดใส ถ้าอุดตันที่ผิวหนังระดับกลางก็จะเห็นเป็นผดแดง และถ้าอุดตันที่ผิวหนังระดับล่าง ก็จะเป็นผดสีขุ่น
2. ผื่นทารก ที่เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมัน
อาการลูกเป็นผื่น โดยเฉพาะทารกอายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากต่อมไขมันมีการทำงานมากจากฮอร์โมนของมารดาที่ส่งผ่านมายังทารกในครรภ์ บริเวณใบหน้าร่วมกับเชื้อยีสต์บางชนิดบนผิวหนังทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ แก้ม ตามซอกข้อพับ ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ หน้าอก และแผ่นหลังช่วงบน โดยเฉพาะที่ ศีรษะ บริเวณคิ้ว ใบหู หลังหู จะมีต่อมไขมันมากกว่าส่วนอื่น ทำให้เห็นคราบไขมันเหลืองหนา แห้งเป็นเกร็ดติดอยู่ และจะผลิตออกมาเรื่อย ๆ ของเก่าแห้งไป ของใหม่มาอีก แต่จะไม่ค่อยมีอาการคัน ทารกจึงไม่หงุดหงิด
3. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว เป็นผื่นแพ้เรื้อรัง ที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ในช่วงวัยทารก เมื่อมีผื่นแดงขึ้นตามลำดับ โดยผื่นจะมีลักษณะเป็นตุ่ม แดงคัน หรือ ตุ่มน้ำใส โดยผื่นทารกจะขึ้นบ่อย ผื่นขึ้นหน้าทารก บริเวณใบหน้า คอ ด้านนอกของแขนขาและอาจมีน้ำเหลืองไหลได้ ในเด็กโต ผื่นจะขึ้นเป็นตุ่ม หรือปื้นแดงหนาที่ คอ ข้อพับต่าง ๆ ในรายที่เป็นมาก ผื่นสามารถขึ้นได้ทั่วร่างกายและมีอาการคันมาก
เด็กบางคนมีอาการลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว สาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน พันธุกรรมจากคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าและไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าเด็กทั่วไป หากเด็กเล็กมีพันธุกรรมผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมา ผิวหนังก็จะไวและแพ้ได้ ง่ายต่อสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือ พ่อแม่มักอาบน้ำอุ่นมากให้ลูก จึงทำให้ผิวแห้งและคันได้ หรืออาจเกิดจากการเด็กแพ้อาหาร หรือแม้แต่เหงื่อของตัวเอง จึงทำให้เกิดผื่นขึ้นมา
4. ผื่นแพ้ผ้าอ้อม
ผื่นแพ้ผ้าอ้อมในเด็ก สาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน พันธุกรรมจากคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าและไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งผื่นที่เกิดขึ้นจากการแพ้สัมผัสกับปัสสาวะหรืออุจจาระที่อยู่ในผ้าอ้อมเป็นเวลานาน
ในปัจจุบันมีการใช้ผ้าอ้อมน้อยลงมาก ส่วนใหญ่นิยมใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแทน เพราะสะดวก สะอาดและไม่ทำให้เปื้อนเสื้อผ้าหรือที่นอนเหมือนหุ้มด้วยพลาสติกเอาไว้ ข้อเสียคือราคาแพง ถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนทุกครั้งที่เด็กปัสสาวะหรืออุจจาระออกมาจะทำให้สิ้นเปลืองมาก โดยปกติไม่ควรปล่อยให้เด็กแช่แบบนั้นอยู่เป็นเวลานาน ต้องรีบล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ เช็ดให้แห้งและเปลี่ยนผืนใหม่ทันที ในเด็กที่แพ้สัมผัสจะเกิดผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศและก้น อาจลามไปถึงขาหนีบและเกิดเป็นเชื้อราขึ้นมาได้ง่ายด้วย เด็กมักมีอาการแสบและคัน ทำให้มีอาการร้องกวน
5. ผื่นลมพิษ
ผื่นลมพิษ ผื่นทารกที่ชอบทำให้ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว จะมีลักษณะเป็นผื่นบวมแดง มีขอบนูนชัดเจน จะเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการคันมาก ยิ่งถ้าลูกเกาก็จะยิ่งกระตุ้นให้มีผื่นมากขึ้นและคันมากขึ้น สาเหตุของ ลมพิษ นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แพ้ยา การติดเชื้อ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้อาหาร ในกรณีที่มีอาการแพ้แบบรุนแรงเฉียบพลัน อาจพบว่าจะมีอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ คือ
- ผื่นทารกหรืออาการทางผิวหนัง ผื่นขึ้นหน้าทารก หรือลูกน้อยเป็นผื่นลมพิษ มีอาการเป็นผื่นนูนแดง คัน ยิ่งเกายิ่งเห่อขึ้น อาจจะขึ้นทั้งตัว มีปากบวม ตาบวมร่วมด้วย หรือบวมตามมือและเท้า
- ระบบทางเดินอาหาร มีอาการคือ ริมฝีปากบวม เยื่อบุช่องปากบวม หรือระบบทางเดินอาหารมีความผิดปกติ เช่น เด็กอาจแสดงอาการปวดท้อง อาเจียนและท้องเสียได้
- ระบบทางเดินหายใจ มีอาการ ไอ หลอดลมจะบวมและตีบ ทำให้ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หมดสติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันการ อาจถึงขั้นช็อก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ผื่นทารก รักษาให้หายขาดได้ไหม
ผื่นแพ้นั้นเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไปในเด็กแต่ละคน โดยเด็กที่มีอาการผื่นแพ้อาจจะมีผื่นเห่อขึ้นมาเป็นระยะ เป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การดูแลผิวหนังของลูก การสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่น เป็นต้น โดยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี มักจะมีอาการมาก และอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงเมื่อลูกอายุมากขึ้น จึงควรได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
วิธีดูแลลูกน้อย เมื่อเป็นผื่นแดงทั้งตัว
กรณีที่ลูกเป็นผื่นและมีอาการคันมาก หรือลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ โดยเฉพาะผื่นลมพิษ หากคุณแม่กังวลใจ สามารถพาลูกน้อยไปปรึกษาแพทย์ได้้ และควรถ่ายรูปลักษณะผื่นเก็บไว้ด้วยเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง หากทราบหรือคาดเดาถึงสาเหตุการแพ้ได้ ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านั้น กรณีลูกเป็นผื่นที่ผิวหนังไม่หายหรือไม่ดีขึ้นภายใน 1 วัน ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัวหรือผื่นลมพิษที่มีอาการบวม หรือมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย หรือเป็นโรคลมพิษชนิดเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางโดยทันที
นอกจากนี้ควรดูแลรักษาความสะอาดของผิวเด็กเล็กและเสื้อผ้าเครื่องใช้ เพราะอาจทำให้เกิดการอับชื้น หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณยุงชุมและระวังแมลงกัดต่อย หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้อักเสบหากไม่จำเป็น บันทึกชื่อยาที่เด็กแพ้หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นผื่นคันทั้งตัว และแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นไข้ออกผื่น
วิธีป้องกันผื่นแพ้ทารกให้ห่างไกลผื่นแพ้
1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีสูตรเฉพาะสำหรับเด็ก ทุกรายการควรปราศจากน้ำหอม สารเคมีรุนแรง และสารสกัดจากอาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ เช่น นม ข้าวโอ๊ต หรือแป้งสาลี
2. รักษาความสะอาด
ดูแลให้ผิวของทารกสะอาด โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่เกิดผื่น และหลีกเลี่ยงการถูหรือขัดแรง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
3. อาบน้ำอย่างเหมาะสม
อาบน้ำให้ทารกด้วยน้ำอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ควรอาบน้ำร้อนหรือเย็นจัด ใช้สบู่อ่อนโยนที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ และอาบน้ำเพียงครั้งเดียวในตอนเย็นเพื่อไม่ให้ผิวแห้งกร้าน
4. บำรุงผิวหลังอาบน้ำ
หลังการอาบน้ำ ควรทาโลชั่นบำรุงผิวทันทีในขณะที่ผิวยังชื้นอยู่ เพื่อช่วยล็อกความชุ่มชื้นและป้องกันการแห้งกร้าน โดยควรทาอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่ระคายเคือง
สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ทารก เช่น ผ้าที่ใช้ ผ้าห่ม หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ที่ทารกสัมผัส ให้เลือกวัสดุที่เป็นมิตรต่อผิวและไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง
การได้รับนมแม่จึงช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมที่แข็งแกร่งให้กับร่างกายลูกด้วยค่ะ โปรตีนนมแม่เป็นชนิดที่ไม่แปลกปลอม จึงมักไม่ก่อให้เกิดการแพ้ เมื่อลูกกินนมแม่ก็จะทำให้ได้รับโปรตีนชนิดดี ย่อยง่าย และมีสารภูมิคุ้มกัน เปรียบเหมือนเป็นการสร้างเกราะป้องกัน้ให้กับลูกน้อย เพื่อลดความเสี่ยงอาการแพ้ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือทำให้ลูกเป็นผื่นได้
นอกจากนี้ยังพบว่า นมแม่ยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด โดยมี 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharides หรือ 5 HMOs เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก และในนมแม่ยังมีพรีไบโอติกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่จะมีการเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- โกนผมไฟให้ลูก ใช้อะไรบ้าง พิธีโกนผมไฟ มีขั้นตอนอย่างไร
- การมองเห็นของทารก ในแต่ละช่วงวัย ลูกน้อยมองเห็นอะไรบ้าง
- ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายควรรู้
- ล้างจมูกทารก แบบไหนปลอดภัย ล้างยังไงไม่ให้ลูกกลัว
- ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง
- ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง
- ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี
- ลูกอ้วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ รับมืออย่างไรดี
- ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม
- วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย เมื่อลูกไอไม่หยุด พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน
อ้างอิง:
- ผื่นในลูกน้อย ปัญหากังวลใจของพ่อแม่, โรงพยาบาลเวชธานี
- มารู้จัก โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก...แบบเจาะลึกกัน!, โรงพยาบาลพญาไท
อ้างอิง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง