ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม
ทารกเหงื่อออกหัวเป็นกรณีที่พบได้บ่อย ซึ่งส่วนใหญ่ถือว่าปกติ แต่ก็พบในเด็กทารกบางรายเท่านั้น ทารกเหงื่อออกหัวอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน การสังเกตอาการต่าง ๆ ของลูกเป็นหนึ่งในวิธีการดูแลที่สำคัญที่สุด บทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ถึงสาเหตุที่ทำให้ทารกเหงื่อออกหัว เพื่อจะได้ดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้องต่อไป
สรุป
- ทารกเหงื่อออกหัว อาจเป็นสัญญาณของโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea syndrome) ซึ่งโรคนี้จะทำให้มีเหงื่อออกที่ศีรษะมากกว่าปกติ และมักเกิดกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด เวลาทารกหายใจจะมีเสียงหวีด และที่ผิวหนังจะมีสีเขียวคล้ำ
- ทารกเหงื่อออกหัว เป็นกลไกระบายความร้อนของร่างกาย สาเหตุเพราะในเด็กทารกแรกเกิด ระบบประสาทยังไม่พัฒนาเต็มที่ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ดีเท่าที่ควร
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร
- อาการทารกเหงื่อออกหัว ตอนกลางคืน
- ทารกเหงื่อออกหัว เสี่ยงเป็นโรคร้ายไหม
- ทารกเหงื่อออกหัว ให้พ่อแม่แก้ไขแบบนี้
ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร
ทารกเหงื่อออกหัว เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวลใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ทารกเหงื่อออกหัว เกิดขึ้นได้จากสาเหตุเหล่านี้ ได้แก่
1. ศีรษะทารกมีต่อมเหงื่อจำนวนมาก
ในเด็กเล็กต่อมเหงื่อส่วนใหญ่จะอยู่ที่ศีรษะ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่จัดที่นอนให้ลูกในสภาพแวดล้อมที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ห้องนอนไม่มีการระบายอากาศ ก็จะทำให้ทารกเหงื่อออกหัวมาก
2. เป็นกลไกระบายความร้อนของทารก
เด็กทารกโดยเฉพาะทารกแรกเกิด มีระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ดีเท่าผู้ใหญ่ ดังนั้นหากลูกน้อยมีเหงื่อออก ให้คุณพ่อคุณแม่ทำให้อุณหภูมิในร่างกายของลูกเย็นลง อาจจะด้วยการให้ใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาจนเกินไป
3. ทารกกำลังหลับลึก ทำให้มีเหงื่อออกมาก
เด็กทารกใช้เวลานานกว่าวัยอื่นในการอยู่ในช่วง REM sleep ซึ่งเป็นช่วงหลับลึกที่สุดของการนอนหลับ ทำให้เด็กทารกมีแนวโน้มที่จะเหงื่อออกมากในเวลากลางคืนในช่วงดังกล่าว
อาการทารกเหงื่อออกหัว ตอนกลางคืน
ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่สบายตัวมาตลอดทั้งวัน แต่ช่วงเวลานอนกลางคืนกลับมีเหงื่อออกที่หัวควรสังเกตลูกน้อยจากอาการดังต่อไป
1. เหงื่อออกเฉพาะที่
เป็นอาการที่เหงื่อออกมากในบริเวณเดียว อาจเป็นแค่หนังศีรษะหรือทั้งศีรษะ ใบหน้า และลำคอ คุณแม่อาจสังเกตพบว่าที่นอนส่วนหัวของลูกเปียกโชกในขณะที่เตียงแห้งสนิท
2. เหงื่อออกทั่วไป
เป็นอาการที่เหงื่อออกมากทั่วทั้งร่างกาย ผ้าปูที่นอนและหมอนของลูกเปียกโชกด้วยเหงื่อ นอกจากเหงื่อออกแล้ว ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่อาจมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ
- หน้าหรือตัวแดงก่ำ
- มือหรือร่างกายอุ่น
- ตัวสั่นหรือผิวหนังชื้น
- หงุดหงิดหรือน้ำตาไหลตอนกลางคืนเพราะเหงื่อออกมาก
- ง่วงนอนในระหว่างวันเพราะการนอนหลับถูกรบกวนจากเหงื่อที่ออกมากเกินไป
ทารกเหงื่อออกหัว เสี่ยงเป็นโรคร้ายไหม
ทารกเหงื่อออกหัว ถึงแม้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับลูกน้อย แต่รู้หรือไม่ว่า อาการเหงื่อออกหัว อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรีบสังเกตและหากพบความผิดปกติ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ทันที
1. โรคหัวใจพิการ
ทารกเหงื่อออกหัวอาจไม่ใช่แค่เฉพาะขณะนอนหลับ แต่มีเหงื่อออกมากขณะทำกิจกรรมง่าย ๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่าลูกน่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาจเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
2. โรคหยุดหายใจขณะหลับ
โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea syndrome) ก็สามารถทำให้เกิดเหงื่อออกที่ศีรษะมากเกินไปได้ ซึ่งมักเกิดกับทารกคลอดก่อนกำหนด โดยจะมีอาการหายใจมีเสียงหวีด ผิวเขียวคล้ำร่วมด้วย
3. ระบบประสาทยังไม่สมบูรณ์
ในทารกระบบประสาทยังไม่เจริญเติบโตและพัฒนาเต็มที่ จึงไม่สามารถช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายของทารกได้เหมือนผู้ใหญ่ ทำให้ทารกเหงื่อออกหัว
4. ภาวะไทรอยด์ทำงานหนัก
หรือไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนมีการหลั่งออกมามากกว่าปกติ เกินความจำเป็นของร่างกาย ซึ่งอาการที่พบได้ คือ มีเหงื่อออกง่าย ไม่สามารถอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนได้นาน เป็นต้น
5. โรคเหงื่อออกมากผิดปกติ Hyperhidrosis
คือ โรคที่มีเหงื่อออกง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งไม่เกี่ยวกับสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิร้อนเกินไป โรคเหงื่อออกมากผิดปกติ จะมีอาการผิดปกติที่ต้องได้รับการรักษา ได้แก่ มีเหงื่อออกโดยเฉพาะตอนกลางคืน มีเหงื่อออกมากจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ฯลฯ
ทารกเหงื่อออกหัว ให้พ่อแม่แก้ไขแบบนี้
ทารกเหงื่อออกหัว หากเหงื่อที่ออกมากไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ แต่เป็นอาการเหงื่อออกตามปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยในเบื้องต้นได้ ดังนี้
- แต่งกายลูกให้เหมาะสม: ชุดนอนลูกควรเลือกสวมใส่ที่เนื้อผ้าเบาสบาย ระบายอากาศได้ดี
- ปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม: ห้องนอนลูกต้องมีอากาศถ่ายเทดี ไม่ร้อนมากเกินไปหรือเย็นมากจนเกินไป
ทารกเหงื่อออกหัว หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น นอนกรน หายใจเสียงดัง มีเสียงหวีด มีการหายใจผ่านทางปาก รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีอาการคอแข็ง และอาเจียนรุนแรง เป็นต้น ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที และเพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมวัย แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่แรกเกิดเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมทั้งยังมีจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น บีแล็กทิส (B.lactis) หนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และยังเป็นโพรไบโอติก ที่สามารถส่งต่อผ่านนมแม่เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้อีกด้วย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด
- กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม
- ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี
- วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่
- โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า
- ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น
- วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย เมื่อลูกไอไม่หยุด พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน
- จุกหลอก ดีกับลูกน้อยจริงไหม จุกนมหลอก ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
- วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด อาการทารกเป็นไข้ ทารกตัวร้อน พร้อมวิธีวัดไข้
- นิทานเด็กทารกสำคัญกับลูกไหม คุณแม่ควรอ่านเรื่องอะไรให้ลูกน้อยฟังดี
อ้างอิง:
- Is a child's head sweating a lot?, Vinmec healthcare
- Why does my baby sweat so much while sleeping?, Babycenter
- Why Is My Child Sweating at Night and What Can I Do?, Healthline
- เช็ก! คุณมีอาการไทรอยด์ผิดปกติหรือไม่?, โรงพยาบาลศิครินทร์
- ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ บริเวณฝ่ามือ (Hyperhidrosis), โรงพยาบาลเปาโล
- เมื่อลูกน้อยไข้ขึ้น ลดไข้อย่างไรให้ถูกวิธี, โรงพยาบาลศิครินทร์
อ้างอิง ณ วันที่ 16 กันยายน 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง