ตารางวัคซีนเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

ตารางวัคซีนเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

ตารางวัคซีนเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

ดูแลลูกตามช่วงวัย
บทความ
มี.ค. 3, 2020

“วัคซีน” เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานของสุขภาพ ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ปกป้องลูกจากเชื้อโรค และลดโอกาสการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ เด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนพื้นฐานตามวัยตั้งแต่แรกเกิดไปจนกระทั่งโตอย่างน้อยถึงวัย 12 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้มีการคิดค้นพัฒนา วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนเสริม เพื่อครอบคลุมและปกป้องเชื้อโรคได้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อเด็ก ๆ จะได้เตรียมความพร้อมที่จะเติบโต มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการรอบด้านที่ดีสมวัย

สรุป

  • การฉีดวัคซีนให้เด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก วัคซีนเป็นหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เสริมเกราะป้องกันเชื้อโรคให้ลูก วัคซีนฉีดได้ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ในแต่ละช่วงวัยจะมีวัคซีนแตกต่างชนิด ที่จะฉีดสำหรับช่วงวัยนั้น ๆ
  • วัคซีนมี 2 ประเภทคือ 1.วัคซีนขั้นพื้นฐาน เป็นวัคซีนหลักที่กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ พาเด็ก ๆ ไปรับวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามวัย 2.วัคซีนเสริม คือ วัคซีนที่นอกเหนือจากวัคซีนขั้นพื้นฐาน เพื่อเสริมภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถพาเด็ก ๆ เข้ารับวัคซีนพื้นฐานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น โรงพยาบาลของรัฐ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  • ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนให้ตรงตามนัด ในกรณีที่พาไปล่าช้า หรือลืมนัด สามารถขอเข้ารับบริการได้ ก่อนไปฉีดวัคซีนควรเตรียมสมุดสุขภาพ หรือสมุดฉีดวัคซีนให้พร้อม หากลูกมีไข้ ควรงดการฉีดวัคซีนไปก่อน จนกระทั่งลูกหายดีขึ้นก่อนฉีดวัคซีนควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึง ยาที่แพ้ อาหารที่แพ้ รวมไปถึงวัคซีนที่แพ้ หลังจากฉีดวัคซีน ควรสังเกตอาการของลูกที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการแพ้ บวม แดงที่ใบหน้า ปาก หายใจติดขัด หรือมีอาการอื่นแทรกซ้อนเมื่อกลับบ้าน ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

วัคซีนเด็กตั้งแต่แรกเกิด สำคัญมากแค่ไหน

เมื่อทารกน้อยลืมตาดูโลก นอกเหนือจากนมแม่ แล้วนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรคร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น คือการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กแรกเกิด ไปจนถึงอายุ 1 ปี ทารกแรกเกิดในช่วงขวบปีแรกนี้ จะยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีพอที่จะต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อรับเชื้อมา อาจส่งผลร้ายแรงถึงสุขภาพและชีวิตได้

 

ดังนั้นวัคซีนสำหรับเด็กทารกแรกเกิด จึงจำเป็นมาก ๆ ในการที่จะกระตุ้นเสริมภูมิคุ้มกัน และต้านทานโรคต่าง ๆ ให้กับเด็ก ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต เสี่ยงพิการ และไม่แพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อนั้นไปให้กับเด็กคนอื่น ๆ อีกด้วย

 

แจกตารางวัคซีนเด็ก แบบฉบับเข้าใจง่าย

1. วัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนหลัก

เป็นวัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แนะนำให้เป็นวัคซีนขั้นพื้นฐาน ที่ให้เด็กไทยทุกคนจำเป็นต้องได้รับวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามวัย เช่น

  • วัคซีนป้องกันโรควัณโรค หรือ BCG Vaccine เป็นวัคซีนสำคัญที่ทารกหลังคลอดจะต้องได้รับการฉีดก่อนออกจากโรงพยาบาล วัคซีนวัณโรคนี้ฉีดครั้งเดียว ไม่ต้องฉีดซ้ำ ถ้าไม่มีหลักฐานว่าเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรควัณโรคมาก่อนหน้า ควรให้ฉีดวัคซีนนี้ทันที
  • วัคซีนตับอักเสบบี หรือ HBV Hepatitis B Vaccine วัคซีนชนิดนี้จะได้รับอย่างน้อย 3 เข็ม เข็มแรกฉีดตั้งแต่แรกเกิด เข็มที่ 2 อายุครบ 1 เดือน และเข็มที่ 3 เมื่ออายุครบ 6 เดือน
  • วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน มีแบบชนิดไร้เซลล์ DTaP แทนชนิดทั้งเซลล์  DTwP ได้ทุกครั้ง
    สามารถฉีดวัคซีน hexavalent ชนิดไร้เซลล์ และชนิดทั้งเซลล์เมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน ควรฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันทุกครั้ง หากไม่สามารถหาชนิดเดียวกันได้ ให้ใช้ชนิดใดแทนก็ได้
    สำหรับเข็มกระตุ้น 18 เดือน จะใช้วัคซีน DTwP หรือ DTap ชนิด pentavalent หรือ hexavalent ก็ได้
    สำหรับอายุ 4-6 ปี ใช้ DTwP หรือ DTap, Tdap ก็ได้
    สำหรับอายุ 11-12 ปี ควรรับการฉีด Td, Tdap หรือ TdaP แม้ว่าจะเคยได้รับ Tdap หรือ TdaP เมื่ออายุ 4-6 ปีมาก่อนหน้านี้หรือไม่ หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นด้วย Td, Tdap หรือ TdaP ทุก 10 ปี
  • วัคซีนฮิบ เป็นวัคซีนรวมที่มีคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ ตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข ให้วัคซีนในเด็กในอายุ 2, 4, 6 เดือน และฉีดกระตุ้นสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยง เช่น ม้ามทำงานผิดปกติ ไม่มีม้าม ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • วัคซีนโปลิโอ หรือ Polio วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอนี้ มีสองชนิดคือ ในแบบวัคซีนฉีด และหยอดกิน
  • วัคซีนโปลิโอแบบฉีด จะให้ 2 ครั้งคือ อายุ 2 เดือน, 4 เดือน และวัคซีนโปลิโอแบบหยอดกิน ตอนอายุ 6 และ 18 เดือนและเมื่ออายุ 4-6 ปี หากใช้วัคซีนโปลิโอแบบฉีดอย่างเดียวตลอดให้เพียง 4 ครั้ง และให้งดเมื่ออายุ 18 เดือน วัคซีนชนิดฉีดสามารถใช้แทนชนิดหยอดกินได้ทุกครั้ง
  • วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี หรือ JE Japanese encephalitis virus วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีแบบเชื้อมีชีวิต เริ่มฉีดอายุ 9 เดือนถึง 12 เดือน และเข็มที่ 2 ตอน 1 ขวบ ถึง 2 ขวบ
  • วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีแบบเชื้อไม่มีชีวิต ให้วัคซีน 3 ครั้ง เข็มแรกเริ่มต้นที่ 6 เดือนขึ้นไป เข็มที่สอง 1-4 สัปดาห์ถัดมา และเข็มที่สาม 1 ปีตามลำดับ
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza Vaccine เข็มแรกเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นโรครุนแรง โรคเรื้อรังอื่น ๆ หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยให้ฉีดวัคซีนปีละครั้ง ตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข ช่วงก่อนฤดูฝน

 

ในกรณีที่เด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปี วัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สอง ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน หากปีแรกฉีดวัคซีนครั้งเดียว ปีต่อมาให้ฉีดวัคซีน 2 ครั้ง หลังจากนั้นสามารถฉีดได้ปีละ 1 ครั้ง

  • วัคซีนเอชพีวี หรือ HPV เป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ฉีดวัคซีนนี้ในผู้ชายและผู้หญิง อายุ 9-26 ปี เน้นให้ฉีดในอายุ 11-12 ปี ฉีด 3 เข็ม ในเดือนที่ 0, 1-2 และ 6 ตามแผนของกระทรวงสาธารณสุขให้ฉีดในเด็กหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  2 เข็ม ห่างกัน 6-12 ปี หากฉีดในวัยรุ่นที่มีสุขภาพแข็งแรง ให้ฉีด 2 เข็ม ได้ที่ 0, 6-12 เดือน
  • วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน ให้ฉีดวัคซีนครั้งแรกอายุ 9-12 เดือน เข็มที่ 2 อายุ 1 ปี 6 เดือน ในพื้นที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อย ฉีดเข็มแรกเมื่ออายุครบ 1 ปี
  • วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน กรณีที่มีการสัมผัสโรคหรือระบาด ให้ฉีดวัคซีนให้เร็วและครบ คือเริ่มฉีดเข็มแรก 6-9 เดือน ฉีดเข็มที่ 2 ซ้ำเมื่ออายุ 12 เดือน และเข็มที่ 3 อายุ 1 ปี 6 เดือน หากเริ่มฉีดเข็มแรกอายุ 9- น้อยกว่า12 เดือน ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน หากเด็กได้รับวัคซีน 2 เข็มถือว่าฉีดครบแล้ว
  • วัคซีนโควิด-19  ปรึกษาแพทย์ และดูตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค
  • วัคซีนโรต้า ชนิด monovalent มี 2 ชนิด คือ human monovalent กิน 2 ครั้ง โดยเริ่มกิน 2 เดือน และ 4 เดือน และ human bovine monovalent กิน 3 ครั้ง 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน
  • วัคซีนโรต้าชนิด human-bovine pentavalent กิน 3 ครั้ง 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน
  • วัคซีนโรต้า สามารถเริ่มให้ครั้งแรก อายุ 6-15 สัปดาห์ครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 เดือน แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ หรืออาจพิจารณาให้ในเด็กมากกว่าที่กำหนดได้ แต่อายุของเด็กต้องไม่เกิน 2 ปี ตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก

 

2. วัคซีนอื่น ๆ ที่เสริม หรือทดแทน

คือวัคซีนที่เสริมภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ให้ครอบคลุมขึ้นจากวัคซีนขั้นพื้นฐาน หรือทดแทน เช่น

  • วัคซีนนิวโมคอคคัส คอนจูเกต ชนิด PCV วัคซีน ชนิด 10 สายพันธุ์ 13 สายพันธุ์ และแบบ 15 สายพันธุ์ นั้น ให้วัคซีน 3 ครั้ง อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และกระตุ้น 12-15 เดือน ห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน
  • วัคซีน คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ หรือทั้งเซลล์ หรือตับอักเสบบี โปลิโอ ชนิดฉีด, ฮิบ ให้ 3 เข็ม อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และฉีดกระตุ้นเข็มที่ 1 อายุ 1ปี 6 เดือน กระตุ้นเข็มที่ 2  4-6 ปี และอายุ 11-12 ปี กระตุ้นในทุก 10 ปี
  • วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดไม่มีชีวิต ฉีด 3 เข็ม เริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกได้อายุ 6 เดือนขึ้นไป เข็มที่ 2 อีก 1-4 สัปดาห์ และเข็มที่ 3  1 ปี
  • วัคซีนอีวี 71 เป็นวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต ป้องกันมือเท้าปากจากเชื้อไวรัสอีวี 71 ฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน ฉีดได้ตั้งแต่ อายุ 6 เดือนขึ้นไป
  • วัคซีนอีสุกอีใส ฉีดได้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยฉีดเข็มแรกที่ 12-15 เดือน เข็มที่ 2  18 เดือน ถึง 4 ปี อาจฉีดเข็มที่ 2 ก่อนอายุ 4 ปี ในกรณีที่มีการระบาดของโรคอีสุกอีใส โดยฉีดวัคซีนให้ห่างจากเข็มแรก 3 เดือน, ถ้ามีอายุ 13 ปี ให้ฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
  • วัคซีนไข้เลือดออก live-attenuated chimeric yellow fever dengue สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อน  สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อนควรตรวจเลือดก่อน แนะนำให้ฉีดในผู้ที่ตรวจเลือดพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเดงกี่ วัคซีนชนิดนี้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6-45 ปี ทั้งหมด 3 เข็มในช่วง 0 เดือน 6 เดือน 12 เดือน
  • วัคซีนไข้เลือดออก live-attenuated dengue2-dengue สำหรับผู้ที่เคยเป็น หรือไม่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อน ไม่จำเป็นต้องตรวจภูมิ ฉีดได้ตั้งแต่ 4-60 ปี ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
  • วัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนการสัมผัสโรค ฉีดวัคซีนให้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ หรือสุนัขกัด ฉีดได้ทุกอายุ โดยฉีด 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ฉีดห่างกันอย่างน้อย 7 วัน หรือ 21 วัน
  • วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนตับอักเสบเอชนิดไม่มีชีวิต ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป,  วัคซีนตับอักเสบชนิดมีชีวิต ฉีดเข็มเดียว และใช้แทนวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต ฉีดได้ตั้งแต่ 18 เดือนขึ้นไป เด็กที่จำเป็นต้องเดินทาง หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคตับอักเสบเอ สามารถให้วัคซีนเชื้อไม่มีชีวิตได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนไม่นับวัคซีนเข็มที่ฉีดก่อนอายุ 1 ปี และต้องฉีดใหม่หลังอายุ 1 ปี
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza Vaccine เข็มแรกเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นโรครุนแรง โรคเรื้อรังอื่น ๆ หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยให้ฉีดวัคซีนปีละครั้ง ตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข ช่วงก่อนฤดูฝน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดที่ผลิตจากเซลล์ ไม่ใช้ไข่ไก่ฟัก ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป

 

ตารางวัคซีนจำเป็นเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 12 ปี

อายุ

วัคซีนพื้นฐาน

วัยแรกเกิด

- ตับอักเสบบี ครั้งที่ 1
- วัณโรคบีซีจี

1 เดือน

- ตับอักเสบบี ครั้งที่ 2

2 เดือน

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ ครั้งที่ 1
- โปลีโอชนิดฉีด ครั้ง ที่ 1
-  ฮิบ ครั้งที่ 1
- โรต้า ครั้งที่ 1

4 เดือน

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ ครั้งที่ 2
- โปลีโอชนิดฉีด ครั้ง ที่ 2
-  ฮิบ ครั้งที่ 2
- โรต้า ครั้งที่ 2

6 เดือน

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ ครั้งที่ 3
- โปลีโอ ชนิดกิน 
-  ฮิบ ครั้งที่ 3
- โรต้า ครั้งที่ 3
- ไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง เด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ให้ 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน
- โควิด 19 ดูคำแนะนำในการฉีดตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุขและราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

9 - 12 เดือน

- หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1
- ไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อมีชีวิต ครั้งที่ 1

18 เดือน

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ ฉีดกระตุ้น ครั้งที่ 1
- โปลิโอชนิดกิน กระตุ้น ครั้งที่ 1
- หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 2

2 ปี - 2 ปีครึ่ง

- ไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อมีชีวิต ครั้งที่ 2

4 - 6 ปี

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ ฉีดกระตุ้น ครั้งที่ 2
- โปลิโอชนิดกิน กระตุ้น ครั้งที่ 2

11 - 12 ปี

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน Td กระตุ้นทุก 10 ปี
- เอชพีวี เด็กหญิงประถม 5 ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน

 

ตารางวัคซีนอื่น ๆ  วัคซีนที่อาจให้เสริมหรือทดแทน ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 15 ปี

อายุ

วัคซีนเสริม

2 เดือน

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ หรือ ชนิดทั้งเซลล์ , ตับอักเสบบี , โปลิโอชนิดฉีด , ฮิบ ครั้งที่ 1
- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต ครั้งที่ 1
- โรคพิษสุนัขบ้า เริ่มได้ในทุกอายุ  ฉีดวัคซีน 2 ครั้ง อย่างน้อย 7 วัน หรือ 21 วัน

4 เดือน

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ หรือ ชนิดทั้งเซลล์ , ตับอักเสบบี , โปลิโอชนิดฉีด , ฮิบ ครั้งที่ 2
- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต ครั้งที่ 2

6 เดือน

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ หรือ ชนิดทั้งเซลล์ , ตับอักเสบบี , โปลิโอชนิดฉีด , ฮิบ ครั้งที่ 3
- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต ครั้งที่ 3
- ไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อไม่มีชีวิต ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์  และ ไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อไม่มีชีวิต ครั้งที่ 3 อีก 1 ปี
- อีวี 71  2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน  
- ไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี  ให้ 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน

12-15 เดือน

- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต ครั้งที่ 4
- ตับอักเสบเอ ชนิดไม่มีชีวิต 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน
 ชนิดมีชีวิต ฉีดครั้งเดียว อายุ 18 เดือนขึ้นไป
- อีกสุกอีใส หรือ วัคซีนรวม หัด คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีกใส ครั้งที่ 1

18 เดือน

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ , โปลิโอชนิดฉีด  ฉีดกระตุ้นครั้งที่ 1
- ฮิบครั้งที่ 4
- อีกสุกอีใส หรือ วัคซีนรวม หัด คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีกใส ครั้งที่ 2

4 – 6  ปี

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ , โปลิโอชนิดฉีด ฉีดกระตุ้นครั้งที่ 2 หรือ Tdap
- ไข้เลือดออก เริ่มต้นที่อายุ 4 ปี วัคซีนไข้เลือดออก 2 หรือ 3 เข็มขึ้นอยู่ชนิดวัคซีน

9 ปี 

- เอชพีวี 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน

11 - 12 ปี 

- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน Tdap หรือ TdaP ต่อไป Td หรือ Tdap/TdaP ทุก 10 ปี

 

วัคซีนพื้นฐานฟรี ฉีดที่ไหนได้บ้าง สิทธิ์ที่พ่อแม่ต้องรู้

คุณพ่อคุณแม่ สามารถพาเด็ก ๆ รับวัคซีนพื้นฐานได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

พาลูกไปฉีดวัคซีนช้า จะเป็นอะไรไหม

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ ไม่สามารถพาลูกมารับวัคซีนได้ตามเวลา หรือพามาล่าช้า สามารถพาลูกไปรับวัคซีนย้อนหลังได้ เช่น มารับวัคซีนช้า ไม่ตรงตามกำหนด และเป็นวัคซีนเข็มแรก สามารถรับวัคซีนได้เลย หากพาลูกไปรับวัคซีน เข็มที่ 2 ล่าช้า ก็สามารถพาลูกไปรับวัคซีนต่อได้เลยเช่นกัน โดยไม่ต้องฉีดซ้ำเข็มแรกใหม่

 

ก่อนพาลูกไปฉีดวัคซีน ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

  • เช็กตารางวันซีนเด็ก ว่าต้องฉีดเมื่อไหร่ ควรไปให้ตรงนัด เตรียมสมุดวัคซีน หรือสมุดบันทึกสุขภาพของลูกไปด้วยทุกครั้ง
  • หากลูกมีไข้ ไม่สบาย ควรเลื่อนนัดไปก่อน
  • หากลูกเคยมีอาการแพ้วัคซีนชนิดใดมาก่อน ควรแจ้งให้พยาบาล และแพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง
  • หากลูกมีโรคประตัวตัว แพ้ยา แพ้อาหาร ควรแจ้งให้พยาบาล และแพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง

 

ข้อควรระวังหลังการฉีดวัคซีนของลูก

  • เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว ควรรอดูอาการของลูกหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 30 นาที เพื่อรอดูว่ามีผลข้างเคียง หรือมีอาการแพ้หรือไม่
  • ควรเช็กสมุดจดบันทึกว่าคุณหมอได้ลงบันทึก วัน เวลา ที่ฉีดชนิดวัคซีนให้ครบ
  • หลังฉีดวัคซีน เมื่อลูกกลับถึงบ้านอาจมีไข้ ควรสังเกตอาการของลูกให้ดี หากลูกมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวลูก วัดไข้เป็นระยะ หากมีไข้ควรใช้ยาลดไข้ตามที่แพทย์ให้มา และรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น โดยไม่ซื้อยามาทานเอง
  • หากลูกมีอาการบวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ให้บรรเทาด้วยการประคบเย็น หากมีอาการบวมมากจนเกิดหนอง ให้รีบไปพบแพทย์
  • หากมีผดผื่น บวมรอบดวงตา รอบคอ หายใจไม่ออก หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ หลังฉีดวัคซีน ให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน

 

ตารางฉีดวัคซีนเด็ก เสริมเกราะป้องกันให้ลูกน้อยห่างไกลโรค

 

ลูกน้อยไม่ควรฉีดวัคซีนตอนไม่สบาย หรือมีไข้ เพราะอะไร

หากเช็กตารางวัคซีนเด็กแล้วพบว่า วันที่มีนัดฉีดวัคซีนลูกมีอาการไม่สบาย เจ็บป่วย มีไข้สูง ไม่ควรให้ฉีดวัคซีน เพราะวัคซีนบางชนิดหลังฉีดอาจเกิดอาการข้างเคียงได้

 

อาการแพ้วัคซีนในเด็ก มีอะไรบ้าง

หลังจากฉีดวัคซีน เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ที่คนเป็นพ่อแม่ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะในเด็กบางรายอาจเกิดอาการแพ้วัคซีนขึ้นได้ อาการแพ้วัคซีนแบ่งเป็น อาการแพ้แบบเฉียบพลัน และ อาการแพ้ไม่เฉียบพลัน

1. อาการแพ้เฉียบพลัน

จะมีอาการตาบวม ปากบวม หายใจไม่ออก หรือปวดท้อง เกิดได้ไม่กี่นาทีถึงชั่วโมงหลังจากได้รับการฉีด จากการแพ้ส่วนประกอบในวัคซีนหรือจากกระบวนการผลิต เช่น ไข่ไก่ นมวัว ยีสต์ เจลาติน

 

2. อาการแพ้ไม่เฉียบพลัน

เช่น มีก้อนใต้ผิวหนังตรงจุดที่ฉีด บวมแดง มีผื่นแดงตามตัว แสดงอาการ 2-8 ชั่วโมงหลังการฉีด หรือ 48 ชั่วโมง

 

อาการแพ้วัคซีนสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของคุณพ่อคุณแม่ หากลูกมีอาการผิดปกติใด ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มั่นใจ แนะนำให้พาลูกน้อยไปพบคุณหมอค่ะ

 

นอกจากอาหารเสริมภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้ลูกสุขภาพดี แล้ว วัคซีนพื้นฐาน และ วัคซีนเสริม มีความสำคัญในการเป็นเกราะป้องกันโรคต่าง ๆ ให้ลูก และยังช่วยลดการเจ็บป่วยรุนแรง พิการ และเสียชีวิตในเด็กได้ด้วย ดังนั้น จะเป็นการดีหากผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่พาเด็ก ๆ เข้ารับวัคซีนตามวัยให้ครบตามที่ กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยแนะนำ หากมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษากุมารแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อสุขภาพ และพัฒนาการที่ดีของลูก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกน้อยแข็งแรง ด้วยการรับวัคซีนพื้นฐานตั้งแต่แรกเกิด - 1 ปี, โรงพยาบาลนครธน
  2. วัคซีนสำหรับเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดต้องฉีดอะไรบ้าง, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  3. ตารางการรับวัคซีนสำหรับลูกน้อย, โรงพยาบาลพิษณุเวช
  4. วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
  5. การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน, โรงพยาบาลเปาโล
  6. ไขข้อข้องใจ...ทำไมหลังฉีดวัคซีนลูกถึงเป็นไข้, โรงพยาบาลเปาโล
  7. เรื่องที่คุณแม่ควรรู้ เมื่อลูกต้องฉีดวัคซีน, โรงพยาบาลขอนแก่น ราม
  8. อาการแพ้วัคซีนแบบรุนแรงในลูกน้อย, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  9. เข้าใจอาการ “แพ้วัคซีน”, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  10. วัคซีนในเด็ก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  11. วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กแรกเกิด- 12 ปีที่พ่อแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลเปาโล
  12. ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย แนะนำโดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2567, สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย

อ้างอิง ณ วันที่ 2 เมษายน 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง
บทความ
อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

3นาที อ่าน

View details ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายไหม ลูกหัวโนกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายไหม ลูกหัวโนกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแล

ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายไหม ลูกหัวโนกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแล

ลูกหัวโน ลูกหกล้มจนหัวปูด อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการหัวโนของลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกหกล้มหัวโน อาการแบบไหนที่ควรรีบพาลูกไปหาหมอ

5นาที อ่าน

View details เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล
บทความ
เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

7นาที อ่าน

View details โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า
บทความ
โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

8นาที อ่าน

View details ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต
บทความ
ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

8นาที อ่าน

View details น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย
บทความ
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงทารก น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็กตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสุขภาพที่ดีและพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

7นาที อ่าน

View details แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่
บทความ
แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

1นาที อ่าน

View details ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการเตรียมเอกสาร
บทความ
ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการเตรียมเอกสาร

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการเตรียมเอกสาร

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่อยากย้ายทะเบียนบ้านลูกต้องเตรียมเอกสารอะไร สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ไหม พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูกที่ถูกต้อง

7นาที อ่าน

View details วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัย
บทความ
วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัย

วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัย

วิธีทำสไลม์ ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับลูกน้อย สูตรทำสไลม์แบบง่าย ๆ และปลอดภัย ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายกับผิวลูก จะมีวิธีทำยังไงบ้าง ไปดูกัน

9นาที อ่าน

View details ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี
บทความ
ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

พ่อแม่ยุคใหม่ อยากเปิดบัญชีให้ลูกทำยังไงได้บ้าง เปิดบัญชีให้ลูกได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ ต้องเตรียมเอกสารและมีขั้นตอนอย่างไร เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

3นาที อ่าน

View details ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรดี พร้อมขั้นตอนขอสูติบัตรใหม่
บทความ
ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรดี พร้อมขั้นตอนขอสูติบัตรใหม่

ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรดี พร้อมขั้นตอนขอสูติบัตรใหม่

ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรได้บ้าง อยากขอใบเกิดและสูติบัตรใหม่ต้องแจ้งที่ไหน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คัดลอกสำเนานานไหม พร้อมขั้นตอนการขอสูติบัตรใหม่

1นาที อ่าน

View details ไอเดียแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นอวดลูกสาว สำหรับคุณแม่สายโซเชียล
บทความ
ไอเดียแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นอวดลูกสาว สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นอวดลูกสาว สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกสาว โพสอวดลูกสาวได้ไม่ซ้ำวัน แคปชั่นลูกสาวโดนใจ ให้คุณแม่เลือกใช้ได้ง่าย ๆ แคปชั่นรักลูกสาวบอกรักลูก ช่วยเรียกเสียงหัวเราะในโซเชียลให้ลูกรัก

8นาที อ่าน

View details เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้
บทความ
เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้

เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

6นาที อ่าน

View details เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง
บทความ
เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร ลูกเป็นเหา คันหนังศีรษะ คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาอย่างไร หากปล่อยไว้นาน ไม่กำจัดเหา จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม พร้อมวิธีป้องกันเหาในเด็ก

10นาที อ่าน

View details เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก
บทความ
เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไรบ้าง ทำผ่านออนไลน์ได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไร ลูกน้อยต้องอายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนนามสกุลได้ พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

4นาที อ่าน

View details พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
บทความ
พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง

View details พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน วิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
บทความ
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน วิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 9-10 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 9-10 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details 100 ไอเดียชื่อภาษาอังกฤษลูกสาว อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)
บทความ
100 ไอเดียชื่อภาษาอังกฤษลูกสาว อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

100 ไอเดียชื่อภาษาอังกฤษลูกสาว อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

รวมชื่อภาษาอังกฤษลูกสาว ชื่อภาษาอังกฤษผู้หญิง ชื่อเพราะน่ารัก ไอเดียตั้งชื่อลูกสาวภาษาอังกฤษ รับปีมังกรทอง ชื่อไหนเพราะ เป็นมงคล เหมาะกับลูกสาว ไปดูกัน

View details พัฒนาการเด็ก 10 เดือน เจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการทารก 10 เดือน อย่างไรบ้าง
บทความ
ทำความรู้จัก 'สฟิงโกไมอีลิน' หนึ่งในสารอาหารพัฒนาสมอง

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน เจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการทารก 10 เดือน อย่างไรบ้าง

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน ลูกมีพัฒนาการด้านร่างกายและสังคมอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็กทารก 10 เดือน ให้ลูกเรียนรู้ได้เร็ว พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย

3นาที อ่าน