เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกตอนไหนดี ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง

เคล็ดลับการดูแลลูก
บทความ
พ.ย. 25, 2024
6นาที

การเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นกิจวัตรประจำวัน ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเพื่อสุขอนามัยที่ดีของลูกน้อย แล้วคุณพ่อคุณแม่มือใหม่รู้ไหมว่า ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง บทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยกัน ตั้งแต่เรื่องของความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อม เคล็ดลับในการเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างถูกวิธี ไปจนถึงการเลือกซื้อผ้าอ้อมที่เหมาะสม เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจและสามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างสบายใจ

 

สรุป

  • การเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยเป็นประจำมีข้อดีหลายประการ ดีต่อสุขอนามัยของลูกน้อย ป้องกันผื่นผ้าอ้อมและการติดเชื้อ ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว ช่วยประหยัดเวลาคุณพ่อคุณแม่ และยังช่วยเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัวได้อีกด้วย
  • ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยทุกครั้งที่อุจจาระและปัสสาวะ หรือเปลี่ยนทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อสุขอนามัยที่ดีของลูกน้อย
  • ผ้าอ้อมเปียกชื้นอาจทำให้ลูกน้อยหงุดหงิดไม่สบายตัว และไม่ยอมอยู่นิ่งระหว่างเปลี่ยนผ้าอ้อม ลองหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อให้ลูกน้อยอยู่นิ่งได้นานขึ้น ทำให้การเปลี่ยนผ้าอ้อมกลายเป็นเรื่องง่าย
  • วิธีเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูป ควรเลือกที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม อ่อนโยนกับผิวเด็ก ซึมซับได้ดีเยี่ยม แห้งไว ขนาดพอดีกับตัวลูก ไม่หลวมหรือรัดแน่นเกินไป ระบายอากาศได้ดี มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ ไร้สารที่ก่อให้เกิดการแพ้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทำไมต้องกำหนดเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกด้วย

การกำหนดเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยเป็นประจำ มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อลูกน้อยมากกว่าที่คิด มาดูกันว่าการเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นประจำนั้นดีต่อลูกน้อยอย่างไรบ้าง

1. ดีต่อสุขอนามัยของลูกน้อย

เมื่อลูกน้อยปัสสาวะหรืออุจจาระ ผ้าอ้อมจะอับชื้น ทำให้ผิวของลูกน้อยระคายเคืองได้ง่าย การเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นประจำจะช่วยรักษาผิวให้แห้ง สบายตัว

2. ป้องกันผื่นผ้าอ้อมและการติดเชื้อ

สิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ อาจสะสมอยู่ในผ้าอ้อมที่เปียกชื้น การเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดผื่นผ้าอ้อมในเด็กเล็ก และการติดเชื้อได้

3. ช่วยประหยัดเวลาให้คุณพ่อคุณแม่

เมื่อรู้เวลาการเปลี่ยนผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความยุ่งยากในการดูแลลูกน้อย

4. ทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว

การเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นการดูแลเอาใจใส่ลูกน้อย ทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยและมีความสุข เมื่อลูกน้อยรู้สึกสะอาด สบายตัว ก็จะหลับได้สนิทมากขึ้น

5. เสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว

ทำให้ลูกน้อยได้ใกล้ชิดกับพ่อแม่ การสัมผัสและพูดคุยกับลูกน้อยในระหว่างการเปลี่ยนผ้าอ้อม จะช่วยเสริมสร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูก

 

ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกกี่ชั่วโมง เพื่ออนามัยที่ดีกับลูก

เพื่อสุขอนามัยที่ดีที่สุด ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยทุกครั้งที่ลูกถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ แต่ทารกแรกเกิดนั้นปัสสาวะบ่อยมากถึงวันละ 20 ครั้งเลยทีเดียว การเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยขนาดนั้นอาจทำให้คุณแม่เหนื่อยและยุ่งยาก

 

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ด้วยการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยหลับอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องปลุกขึ้นมา แต่ควรเปลี่ยนให้ทันทีที่ลูกตื่น เพราะปัสสาวะและอุจจาระอาจทำให้ผิวหนังของลูกน้อยระคายเคืองและเกิดผื่นผ้าอ้อมได้


 

ขั้นตอนการเปลี่ยนผ้าอ้อม พ่อแม่มือใหม่ก็ทำได้

คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม ทั้งผ้าอ้อมสำเร็จรูปชิ้นใหม่และทิชชูเปียกเช็ดทำความสะอาด หากลูกน้อยมีอายุต่ำกว่า 1 เดือนหรือเป็นผื่นผ้าอ้อม ควรเตรียมสำลี ผ้าขนหนู น้ำอุ่น และครีมทาผื่นผ้าอ้อมไว้ด้วย เมื่ออุปกรณ์พร้อมแล้ว เรามาลงมือเปลี่ยนผ้าอ้อมกันเลย

1. ให้ลูกนอนหงาย และถอดผ้าอ้อมเดิมออก

คุณแม่ควรล้างมือให้สะอาด วางลูกน้อยบนโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม ถอดผ้าอ้อมเก่าออกอย่างเบามือ

2. ใช้มือหนึ่งข้างรวบขาทั้งสองข้างของลูกแล้วยกขึ้น

จากนั้นใช้ทิชชูเปียกสำหรับเด็กเช็ดทำความสะอาดก้นและจุดซ่อนเร้นของลูกน้อยเบา ๆ โดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ และเปลี่ยนแผ่นใหม่ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนจุดที่เช็ด

3. ใช้ครีมป้องกันผื่นผ้าอ้อมที่ก้นและขาหนีบ เพื่อป้องกันความชื้น

สำหรับทารกแรกเกิดหรือเด็กที่มีผื่นผ้าอ้อม ให้ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาด และใช้ผ้าสะอาดซับก้นลูกน้อยให้แห้งก่อนทาครีม

4. ใส่ผ้าอ้อมชิ้นใหม่ให้ลูกได้เลย

กางผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบเทปชิ้นใหม่ จับขาทั้งสองข้างของลูกน้อยยกขึ้น แล้วสอดผ้าอ้อมเข้าไปใต้ตัวลูก พับผ้าอ้อมทบขึ้นมาด้านหน้า แล้วติดแถบกาวให้กระชับพอดีตัว จากนั้นสอดนิ้ว 2 นิ้วระหว่างเอวของลูกน้อยและผ้าอ้อม เพื่อตรวจสอบว่าผ้าอ้อมแน่นเกินไปหรือไม่ สำหรับทารกแรกเกิดให้พับผ้าอ้อมส่วนบนลงมาเพื่อป้องกันสะดือที่ยังแห้งไม่สนิทเสียดสีกับผ้าอ้อม

5. ม้วนผ้าอ้อมเก่า แล้วใช้เทปพันผ้าอ้อมให้เรียบร้อย

โดยให้สิ่งสกปรกอยู่ด้านใน ใส่ผ้าอ้อมลงในถุงพลาสติกก่อนนำไปทิ้งถังขยะ เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อโรค จากนั้นล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง

 

ยังไงให้ลูกอยู่นิ่ง ไม่งอแงระหว่างเปลี่ยนผ้าอ้อม

ทำยังไงให้ลูกอยู่นิ่ง ไม่งอแงระหว่างเปลี่ยนผ้าอ้อม

ผ้าอ้อมที่เปียกชื้นอาจทำให้ลูกน้อยหงุดหงิดไม่สบายตัว และไม่ยอมอยู่นิ่งระหว่างเปลี่ยนผ้าอ้อม ลองทำตามเคล็ดลับเหล่านี้ รับรองว่าลูกน้อยจะนิ่งสนิทและเพลิดเพลินไปกับช่วงเวลานี้มากขึ้น

1. พูดคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล

พูดคุยกับลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ บอกลูกน้อยว่ากำลังจะทำอะไร เช่น "เดี๋ยวแม่จะเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกนะ" หรือ "เสร็จแล้วลูกจะได้เล่นของเล่นแล้วนะ" การสื่อสารจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกมั่นคงและเข้าใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

2. เปิดเพลงให้ลูกฟัง

เลือกเพลงกล่อมเด็ก ที่มีทำนองสนุกสนานและจังหวะที่ผ่อนคลาย เปิดให้ลูกน้อยฟังขณะเปลี่ยนผ้าอ้อม จะช่วยสร้างความเพลิดเพลินและทำให้ลูกน้อยรู้สึกดี

3. เล่นจ๊ะเอ๋เบี่ยงเบนความสนใจ

เล่นจ๊ะเอ๋ ทำหน้าตลก ๆ ให้ลูกน้อยหัวเราะอย่างมีความสุข เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความไม่สบายตัว

4. ให้ลูกถือของเล่นชิ้นโปรดไว้

ให้ลูกน้อยถือของเล่นชิ้นโปรด หรือแขวนของเล่นที่ลูกน้อยชอบไว้เหนือโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อดึงดูดความสนใจ เล่นกับของเล่นที่ลูกน้อยชอบ หรือแขวนของเล่นบนโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม

5. ให้เปลี่ยนสถานที่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อมบ้าง

เปลี่ยนบรรยากาศ โดยเปลี่ยนผ้าอ้อมในจุดที่ลูกน้อยสามารถมองเห็นสิ่งรอบตัวได้อย่างเพลิดเพลิน เช่น หน้าต่าง หรือวอลเปเปอร์ที่มีภาพการ์ตูน

 

เคล็ดลับเลือกซื้อผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย

การเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูปเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจให้มาก เพราะสัมผัสกับผิวบอบบางของลูกน้อยโดยตรง ลองมาดูเคล็ดลับในการเลือกซื้อผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่เหมาะสมกับลูกน้อย ดังต่อไปนี้

เนื้อสัมผัสนุ่ม อ่อนโยนกับผิวเด็ก

เลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม อ่อนโยนต่อผิว ไม่ระคายเคือง ผ้าอ้อมควรมีความยืดหยุ่น ช่วยลดการเสียดสีและการระคายเคือง

ซึมซับได้ดีเยี่ยม แห้งไว

เลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ซึมซับได้ดีเยี่ยม ช่วยให้ผิวลูกน้อยแห้งสบายตลอดเวลา อย่างไรก็ตามควรเลือกให้เหมาะกับวัยด้วยเช่นกัน สำหรับทารกแรกเกิดที่ถ่ายบ่อย อาจไม่จำเป็นต้องเลือกผ้าอ้อมที่ดูดซับได้มากที่สุด แต่เมื่อลูกโตขึ้นและเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น ควรเลือกผ้าอ้อมสำหรับกลางคืนที่มีประสิทธิภาพในการซึมซับสูงขึ้น เพื่อป้องกันการรั่วซึม

ขนาดพอดีกับตัวลูก ไม่หลวมหรือรัดแน่นเกินไป

เลือกขนาดผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับน้ำหนักของลูกน้อย ตามคำแนะนำของแต่ละยี่ห้อผ้าอ้อมที่พอดีตัวจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวและป้องกันการรั่วซึม

ระบายอากาศได้ดี

เลือกผ้าอ้อมที่ระบายอากาศได้ดี ช่วยให้ผิวลูกน้อยแห้งสบายและลดความเสี่ยงต่อการเกิดผื่นผ้าอ้อม

มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ ไร้สารที่ก่อให้เกิดการแพ้

เพราะผิวทารกบอบบางแพ้ง่าย การเลือกซื้อผ้าอ้อมจึงควรเลือกผ้าอ้อมที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพ้และระคายเคือง

 

3 เรื่องที่ต้องระวังตอนเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก

แม้คุณแม่จะทราบวิธีการเลือกซื้อและการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยไปแล้ว แต่ก็มีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเพิ่มเติม เพื่อสุขอนามัยที่ดีของลูกน้อย ลองมาดู 3 สิ่งที่ควรระวัง ดังนี้

1. ล้างมือให้สะอาดก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง

การล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปสู่ลูกน้อย และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคต่าง ๆ ติดมือคุณแม่เข้าสู่ร่างกาย

2. เช็ดผิวลูกเบาๆ ไม่ต้องถูแรง

ผิวของลูกน้อยบอบบางมาก ควรเช็ดทำความสะอาดเบา ๆ เพื่อป้องกันการระคายเคืองผิวหนัง

3. เช็ดจากหน้าไปหลัง

การเช็ดทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศของลูกน้อย ควรเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียจากทวารหนักเข้าสู่ช่องทางเดินปัสสาวะ

 

การเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของลูกน้อย แต่การเปลี่ยนผ้าอ้อมไม่ใช่เพียงแค่การทำความสะอาด แต่ยังเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกน้อยอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้ช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เกิดประโยชน์และมีค่ามากที่สุดเช่นกัน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. ผ้าอ้อม เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งานและวัยของลูกน้อย ?, Pobpad
  2. ผ้าอ้อมเด็กแรกเกิด เลือกแบบไหนดี และวิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อม, Hellohunmor
  3. การดูแลทารกแรกเกิด, โรงพยาบาลยันฮี
  4. 5 ways to keep your baby happy while you change his diaper !, Shivalik Hospital
  5. เทคนิคเลี้ยงลูก 101: เทคนิคเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูป เทคนิคการเปลี่ยนผ้าอ้อม (All about diaper), Dr.Noi TheFamily
  6. ผื่นผ้าอ้อมในเด็ก เรื่องเล็กที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 15 กันยายน 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้
บทความ
วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

การเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน พ่อแม่มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูวิธีดูแลทารกแรกเกิดและการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นกัน

7นาที อ่าน

View details เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย
บทความ
เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กปวดท้องบิด ทารกปวดท้องบิดทําไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

เด็กปวดท้องบิด เกิดจากอะไร ลูกน้อยมีอาการปวดท้องบิดบ่อย อันตรายกับลูกไหม ทารกปวดท้องบิดทำไงดี ปวดท้องแบบไหนบอกถึงโรคของลูก พร้อมวิธีดูแลที่ถูกต้อง

7นาที อ่าน

View details ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี
บทความ
ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน เกิดจากอะไรได้บ้าง ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืนอันตรายไหมคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกมีเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน

2นาที อ่าน

View details เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี
บทความ
เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี

เชื้อราในปากทารก อันตรายไหม ดูแลทารกมีเชื้อราในปากยังไงดี

เชื้อราในปากทารก เกิดจากอะไร ลูกน้อยมีเชื้อราในปาก อันตรายไหม เด็กทารกจะมีอาการอย่างไร หากลูกน้อยมีเชื้อราในปาก พร้อมวิธีดูแลและป้องกันเชื้อราในปากเด็ก

5นาที อ่าน

View details โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า
บทความ
โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

8นาที อ่าน

View details ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม
บทความ
ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details 4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง
บทความ
4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก

4 อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง

อาหารเสริมธาตุเหล็กทารก สำหรับเด็กขาดธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการช้า ทั้งร่างกาย สมองและอารมณ์ ไปดูอาหารเสริมธาตุเหล็กที่สำคัญกับลูกน้อยกัน

5นาที อ่าน

View details ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
บทความ
ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ลูกมีเสลดในคอทําไงดี พร้อมวิธีเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ลูกมีเสลดในคอทำไงดี เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลูกน้อยมีเสมหะในคอเยอะ คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีเคาะปอดอย่างถูกวิธีและวิธีช่วยให้ลูกขับเสมหะออก

6นาที อ่าน

View details ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม
บทความ
ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม

ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม

ทารกเหงื่อออกหัว เกิดจากอะไร ลูกเหงื่อออกหัวมากผิดปกติไหม ทารกเหงื่อออกหัวแบบไหน ควรรีบไปพบแพทย์ พร้อมวิธีสังเกตและวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกเหงื่อออกหัวมาก

5นาที อ่าน

View details ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม
บทความ
ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้น เพราะอะไร ทารกแลบลิ้นบ่อย ผิดปกติไหม

ทารกชอบแลบลิ้น เกิดจากอะไร เด็กแรกเกิดแลบลิ้นบ่อยผิดปกติไหม อาการแบบไหนบ้างที่คุณแม่ควรสังเกตลูกน้อย เมื่อทารกแลบลิ้นบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยที่ถูกต้อง

5นาที อ่าน