ทารกหิวนม ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม สัญญาณที่คุณแม่สังเกตได้

ทารกหิวนม ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม สัญญาณที่คุณแม่สังเกตได้

ทารกหิวนม ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม สัญญาณที่คุณแม่สังเกตได้

คุณแม่ให้นมบุตร
บทความ
มี.ค. 3, 2021

ลูกของคุณแม่กำลังหิวนมอยู่หรือเปล่าอาการทารกหิวนม เป็นอีกหนึ่งเรื่องค่อนข้างยากสำคัญคุณแม่มือใหม่ และต้องหมั่นคอยสังเกตอาการของลูกน้อยด้วยตัวเอง เพราะทารกในช่วงวัยนี้ เป็นวัยที่ยังไม่สามารถพูดได้ว่าพวกเขากำลังหิวนม อิ่มนม หรือว่าต้องการอะไรกันแน่ จึงทำได้เพียงแสดงออกผ่านการร้องไห้และท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้คุณแม่รับรู้ได้ว่าทารกกำลังหิวนมอยู่

 

สรุป

  • อาการทารกหิวนม สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออกเท่านั้น เนื่องจากทารกยังพูดไม่ได้ คุณแม่จึงควรเฝ้าสังเกตและให้ลูกได้รับนมในปริมาณที่เหมาะสม
  • แต่หากดูแล้วไม่ใช่อาการหิวนม แต่เป็นอาการอื่น ควรสังเกตุอย่างรอบคอบ เช่น หากลูกอิ่มนม ก็ควรเว้นการให้นมไปก่อน หรือหากเป็นอาการที่คุณแม่ไม่มั่นใจ ก็ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกหิวนม ต้องการนมเพิ่ม

1. ทารกหิวนม อาการที่บ่งบอกว่า “หนูหิวนมแล้ว”

  • ขยับตัว
  • อ้าปาก
  • หันศีรษะเข้าหาหัวนม

 

2. ทารกหิวนมจริง หากแม่ยังมองสัญญาณแรกไม่ออก

  • เหยียดแขนเหยียดขา
  • ขยับตัวมากขึ้น
  • เอามือเข้าปาก

 

3. ทารกหิวนมหิวมาก คุณแม่ต้องปลอบลูกน้อยให้เงียบก่อนแล้วค่อยให้ดูดนม

  • ร้องไห้
  • ถีบแขนถีบขา
  • ร้องหน้าดำหน้าแดง

 

อาการทารกหิวนมจนร้องไห้ ไม่อยู่นิ่ง ลูกอาจกำลังส่งสัญญาณให้คุณแม่ทราบว่า “หนูหิวนมมาก ๆ แล้ว” สิ่งแรกที่ควรทำคือปลอบประโลมให้สงบลงก่อน ไม่ควรให้กินนมในทันทีขณะร้องไห้อยู่ เพราะอาจทำให้ลูกสำลักนมได้

 

การปล่อยให้ทารกร้องไห้ด้วยความหิวบ่อย ๆ ยังอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูก หากลูกร้องไห้ด้วยความหิว แม่ควรอุ้มทารกโยกไปมา เพื่อให้ลูกสงบ พร้อมกับพูดคุยกับลูกเพื่อแสดงออกว่า แม่เข้าใจสื่อความหิวที่ลูกได้สื่อสารออกมา

 

ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว

เมื่อลูกหิวนมและดูดนมจนอิ่มแล้ว อาการของทารกที่สังเกตได้ คือ

  • ร่างกายของลูกจะผ่อนคลาย มือที่เคยกำไว้จะแบออกมา อาจเอามือไปวางไว้บนเต้านมของแม่ หรือแขนจะตก ห้อยลง ไม่แสดงออกถึงแรงต้านที่ต้องการจะดูดนมแม่อีกต่อไป
  • ก่อนทารกจะดูดนมแม่ท้องจะแฟบ แต่เมื่อดูดนมจนอิ่มแล้วท้องจะป่อง

 

คุณแม่ไม่ควรให้อาหารเสริมเร็วเกินไป

อีกหนึ่งความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า ยิ่งเร่งให้อาหารเสริมเร็วเท่าไร ยิ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ทารกมากขึ้นเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไม่ถูกต้อง ระบบย่อยอาหารของทารกช่วงอายุก่อน 6 เดือนนั้นยังไม่แข็งแรง ลำไส้ยังดูดซึมได้ไม่ดี จึงไม่ควรให้กินอาหารอื่นนอกเหนือจากนม องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (United Nations Children’s Fund: UNICEF) แนะนำว่า ทารกควรได้รับน้ำนมแม่อย่างเดียว นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และควรได้รับต่อเนื่องไปจนอย่างน้อยอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามวัย เพราะน้ำนมแม่ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยคุณประโยชน์จากสารอาหารกว่า 200 ชนิดรวมทั้งวิตามินแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในทุก ๆ ด้าน เช่น

  • DHA: มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของสมอง เนื่องจาก DHA ช่วยในการมองเห็น และระบบประสาท
  • สฟิงโกไมอีลิน: มีความสำคัญต่อกลไกการทำงานของสมอง ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดี เสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ได้เร็ว
  • B. lactis: จุลินทรีย์สุขภาพที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันในช่วงแรกของชีวิตลูกน้อย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ลูกแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย

 

คุณแม่ไม่ควรให้อาหารเสริมเร็วเกินไป

 

ระวัง Overfeeding การกินนมมากเกินไป

นอกจากจะร้องไห้เพราะหิวนมแล้ว คุณแม่สงสัยไหมว่าทารกกินไม่รู้จักอิ่มหรือลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม ทารกสามารถร้องไห้เพราะอิ่มนมได้อีกด้วย การเฝ้าสังเกตอาการของทารกจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของพวกเขาอย่างถูกจุด หากลูกอิ่มนมแล้วก็ไม่ควรให้นมเพิ่ม เพราะหากลูกกินนมเข้าไปในปริมาณที่มากเกิน จะทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายตัว รวมถึงอาเจียนออกมา เพราะมีนมในกระเพาะปริมาณมากเกินไป เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า Overfeeding

 

วิธีสังเกตว่าลูกของคุณแม่มีอาการ Overfeeding

คุณแม่สามารถสังเกต อาการที่บ่งบอกถึงภาวะ Over breastfeeding หรือกินนมเยอะเกินไปได้

  • ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม ลูกอาจมีอาการอาเจียน แหวะนม นมไหลออกจากปากหรือจมูก หรือสำลักนม แน่นท้อง ท้องป่องมาก ลูกร้องงอแงหลังกินนม
  • มีปัญหาลูกไม่ยอมกินนม ดูไม่สบายตัว ทั้ง ๆ ที่เริ่มดูดนมได้ดี
  • มีน้ำหนักตัวขึ้นเร็วมากกว่าปกติ (โดยปกติน้ำหนักลูกจะขึ้นประมาณ 20-60 กรัมต่อวัน)
  • ไม่มีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ทีเป็นสาเหตุให้เกิดอาการทารกแหวะนม อาเจียน ปวดท้อง หรือร้องงอแง

 

ไม่อยากให้ลูกมีอาการ Overfeeding ต้องทำอย่างไร

การ Overfeed แม้อาจไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ก็อาจจะส่งผลให้ทารกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว เขาโตขึ้นได้ ดังนั้น หากไม่อยากให้ลูกมีอาการ Overfeeding คุณแม่จึงควรปฏิบัติดังนี้

  • เฝ้าสังเกตอาการอยู่เสมอ หากทารกแสดงสัญญาณว่าอิ่มแล้ว ควรหยุดให้นมทันที
  • ให้ทารกกินนมในปริมาณที่เหมาะสม พิจารณาจากช่วงวัยและน้ำหนักตัวของเขา
  • หากทารกมีอาการร้องขอกินนมตลอดเวลาหรือทารกกินไม่รู้จักอิ่ม ทั้งที่เพิ่งกินไป คุณแม่หากิจกรรมอื่น ๆ มาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น พาอุ้มเดิน
  • หากพบว่าทารกมีอาการแหวะนมหรืออาเจียน ให้หยุดการให้นมไว้ก่อน และอย่าเพิ่งให้นอนราบในทันที

 

การสังเกตพฤติกรรมของทารกเป็นสิ่งจำเป็นและคุณแม่ทุกบ้านควรให้ความสำคัญ เพื่อที่จะได้ตอบสนองปฏิกิริยาและความต้องการของพวกเขาอย่างถูกต้อง หากทารกได้รับนมแม่ในปริมาณที่เหมาะสมสม่ำเสมอ ไม่มีอาการหิวนมหรือขาดนม ทารกก็จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนจากน้ำนมแม่ เติบโตอย่างสมบูรณ์รอบด้าน สุขภาพดี แข็งแรงสมวัย เป็นพื้นฐานพัฒนาการที่ดีให้กับพวกเขาต่อไปในอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง

  1. WHO และ UNICEF สนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, SDG Move
  2. These signs can indicate if you’re overfeeding your baby, healthshots
  3. SIGNS YOUR BABY IS HUNGRY, WIC Breastfeeding Support
  4. สัญญาณหิวของทารก, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  5. DHA สารอาหารสำคัญในนมแม่ จุดเริ่มต้นพัฒนาสมองของลูกน้อย, S-MOM Club
  6. ลูกกินนมแบบไหนเรียก Over breastfeeding, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details นมแม่เสริมภูมิต้านทาน พร้อมประโยนชน์ของน้ำนมแม่สู่ลูกน้อย
บทความ
นมแม่เสริมภูมิต้านทาน พร้อมประโยนชน์ของน้ำนมแม่สู่ลูกน้อย

นมแม่เสริมภูมิต้านทาน พร้อมประโยนชน์ของน้ำนมแม่สู่ลูกน้อย

น้ำนมแม่ดีกับลูกน้อยอย่างไร ประโยชน์ของนมแม่มีอะไรบ้าง ทำไมคุณแม่ถึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดในช่วง 6 เดือนแรก ไปดูประโยชน์ของนมแม่กัน

View details 3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ
บทความ
3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

รวมวิธีละลายนมแม่สำหรับคุณแม่มือใหม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง เมื่อลูกน้อยต้องกินนมสต๊อก ไปดูวิธีละลายนมแม่และวิธีอุ่นนมแม่ไม่ให้น้ำนมเสียคุณภาพ

View details วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง
บทความ
วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงที่ถูกต้องสำหรับคุณแม่มือใหม่ ชงนมผงให้ลูกแบบไหนปลอยภัยและป้องกันทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ไปดู 4 วิธีชงนมผงให้ลูกน้อย ด้วยวิธีที่ถูกต้อง

4นาที อ่าน

View details น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า
บทความ
น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ดีกับระบบขับถ่ายลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส ช่วยพัฒนาระบบสมอง

6นาที อ่าน

View details พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก
บทความ
พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

Prebiotic คืออะไร พรีไบโอติกสำหรับเด็ก จุลินทรีย์ชนิดดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลในลำไส้ให้ลูกน้อย พรีไบโอติกเด็กมีอยู่ในอาหารหลายชนิด มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการลูกแพ้เหงื่อตัวเอง มักเกิดขึ้นหลังเด็กมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปรู้จักอาการลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลลูก

8นาที อ่าน

View details เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล
บทความ
เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

7นาที อ่าน

View details เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม
บทความ
เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดทันทีหลังผ่าตัดคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรทำอย่างไร หากเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ และปวดแผลผ่าคลอด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

6นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด ทำยังไงดี
บทความ
ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

5นาที อ่าน

View details Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน
บทความ
Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

6นาที อ่าน

View details ลูกไม่กินนม ลูกกินนมน้อย พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อลูกไม่ยอมดูดนม
บทความ
ลูกไม่กินนม ลูกกินนมน้อย พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อลูกไม่ยอมดูดนม

ลูกไม่กินนม ลูกกินนมน้อย พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อลูกไม่ยอมดูดนม

ลูกไม่กินนม ลูกกินนมน้อย คุณแม่มือใหม่แก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมยังไงดี ไปดูสาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่ พร้อมวิธีที่จะช่วยให้ลูกกินนมคุณแม่ได้มากขึ้น

View details เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก
บทความ
เทคนิคเลี้ยงลูกด้วย นมแม่

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาฝาก เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตด้วยน้ำนมแม่อย่างมีคุณภาพ

View details วิธีกู้น้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมหด น้ำนมไม่ไหล กู้น้ำนมยังไงดี
บทความ
วิธีกู้น้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมหด น้ำนมไม่ไหล กู้น้ำนมยังไงดี

วิธีกู้น้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมหด น้ำนมไม่ไหล กู้น้ำนมยังไงดี

คุณแม่น้ำนมหด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล เกิดจากอะไร ควรกู้น้ำนมแบบไหนถึงดีที่สุด ไปดูวิธีกู้น้ำนมแม่ที่ถูกต้อง เมื่อคุณแม่น้ำนมไม่พอ พร้อมวิธีเพิ่มน้ำนม

7นาที อ่าน

View details ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น
บทความ
ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าได้ง่ายขึ้นและลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ ไปดูวิธีเอาลูกเข้าเต้าที่ถูกต้องกัน

8นาที อ่าน

View details นมย่อยง่าย เหมาะสำหรับเด็กเสี่ยงภูมิแพ้ จริงหรือไม่?
บทความ
นมย่อยง่าย เหมาะสำหรับเด็กเสี่ยงภูมิแพ้ จริงหรือไม่?

นมย่อยง่าย เหมาะสำหรับเด็กเสี่ยงภูมิแพ้ จริงหรือไม่?

นมย่อยง่าย คืออะไร เหมาะสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้จริงไหม ทำไมคุณแม่ถึงควรรู้เกี่ยวกับนมย่อยง่าย สำหรับลูก ไปทำความรู้จักและหาคำตอบพร้อมกัน

6นาที อ่าน

View details ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน
บทความ
ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ลมพิษในเด็ก อาการผื่นนูนแดงที่เกิดขึ้นตามร่างกายของลูก ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร หากเป็นผื่นลมพิษ พร้อมวิธีป้องกันลมพิษในเด็ก

7นาที อ่าน

View details ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต
บทความ
ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

8นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี
บทความ
ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดน่ากลัวไหม คุณแม่ผ่าคลอดดีไหม มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้ก่อนการผ่าคลอดบ้าง พร้อมข้อดีข้อเสียและวิธีดูแลแผลแม่ผ่าคลอดให้หายไว

4นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า
บทความ
ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

5นาที อ่าน