ลูกในท้องสะอึก ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะบอกอะไร ต่างจากลูกดิ้นไหม
คุณแม่ตั้งครรภ์มีความรู้สึกว่าลูกในท้องกระตุก และเกิดความกังวลว่าจะเป็นอันตรายอะไรหรือไม่กับลูกน้อย สำหรับการกระตุกของทารกในครรภ์ที่คุณแม่รู้สึกได้นั้นความจริงแล้วคือ ลูกในท้องสะอึก (hiccups) ซึ่งจะมีการกระตุกเป็นจังหวะ แต่เพราะเหตุใดทารกในครรภ์จึงมีอาการสะอึกเกิดขึ้น ไปหาคำตอบพร้อมกันค่ะ
สรุป
- อาการสะอึกของทารกในครรภ์ จะเริ่มขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 16-20 สัปดาห์เป็นต้นไป ลูกในท้องสะอึกไม่เป็นอันตรายทั้งกับคุณแม่และลูกในท้อง
- อาการสะอึกของทารกในครรภ์ จะเป็นจังหวะสม่ำเสมอเหมือนกับการสะอึกของคุณแม่ และบ่งบอกถึงทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดี
- อาการสะอึกของทารกในครรภ์ ไม่ควรเกิดเมื่ออายุครรภ์ของคุณแม่ผ่าน 32 สัปดาห์ขึ้นไป หากคุณแม่ยังรู้สึกได้ว่าลูกในท้องสะอึก แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ลูกในท้องสะอึกไม่ควรนานเกิน 15 นาที วิธีช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายจากอาการสะอึกของทารกในครรภ์ ได้แก่ การนอนตะแคงซ้าย การดื่มน้ำอย่างเพียงพอในทุกวัน และการนอนพักงีบหลับระหว่างวัน ฯลฯ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- สาเหตุที่ลูกในท้องสะอึก
- ลูกในท้องสะอึก จะทำให้คุณแม่รู้สึกอย่างไร
- รู้หรือไม่ การสะอึกของลูกในท้อง เป็นการส่งสัญญาณดี
- การสะอึกแบบไหนของลูก ที่ควรไปปรึกษาแพทย์
- ช่วงไตรมาสไหน ที่ลูกในครรภ์จะสะอึกบ่อยที่สุด
- วิธีหยุดสะอึก ที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ
สาเหตุที่ลูกในท้องสะอึก
ในระหว่างอายุ 16 สัปดาห์ ถึง 20 สัปดาห์ คุณแม่สามารถรู้สึกได้ถึงการกระตุกที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอของลูกในท้อง สำหรับการกระตุกที่เกิดขึ้นคืออาการสะอึก การที่ลูกในท้องสะอึกมีสาเหตุมาจากการที่ปอดกำลังพัฒนาและมีของเหลวไหลเข้า ไหลออก จนทำให้เกิดการหดตัวอย่างฉับพลันขึ้นของกล้ามเนื้อกะบังลม
- ระบบทางเดินหายใจ: การสะอึกของทารกในครรภ์มาจากการที่กำลังฝึกการหายใจเข้า หายใจออก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกถึงว่ากะบังลมของทารกมีการพัฒนาการขึ้นอย่างดีและจะสมบูรณ์มากขึ้นไปจนกว่าทารกจะคลอด
- ระบบประสาท: การสะอึกของทารกในครรภ์มาจากระบบเส้นประสาทที่ควบคุมกะบังลมกำลังพัฒนาขึ้นอย่างดี รวมถึงสมองและไขสันหลังของทารกยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ
- การตอบสนองของทารก: การหายใจ การดูดนิ้วหัวแม่มือ และการหาว จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีอาการสะอึกออกมา
ลูกในท้องสะอึก จะทำให้คุณแม่รู้สึกอย่างไร
การดิ้นของลูกในท้อง
เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้า 16-20 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้อง ที่บางครั้งจะเหมือนกับว่าลูกกำลังกระทุ้ง เตะ ต่อย และขยับเคลื่อนไหวพลิกหมุนกลิ้งตัวไปรอบ ๆ ภายในท้องของคุณแม่ ซึ่งการเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้เป็นการดิ้นของลูกในท้อง ลูกจะเพิ่มระดับการดิ้นแรงขึ้นจนทำให้คุณแม่รู้สึกจุกและเจ็บได้ในบางครั้ง ลูกจะดิ้นแรงไปจนถึงอายุครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ จากนั้นระดับการดิ้นของลูกจะอยู่ในระดับปกติ
การสะอึกของลูกในท้อง
ลักษณะการสะอึกของลูกในท้องจะไม่เหมือนกับเวลาลูกดิ้น การดิ้นจะมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ขณะที่ลูกสะอึกคุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการกระตุกภายในครรภ์ที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ซึ่งจังหวะของการกระตุกก็จะเหมือนกับเวลาที่คุณแม่สะอึกนั่นเอง
รู้หรือไม่ การสะอึกของลูกในท้อง เป็นการส่งสัญญาณดี
- ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่รู้สึกได้ถึงการสะอึกของทารกในครรภ์ และมีความกังวลว่าจะเป็นอันตราย สำหรับการสะอึกของทารกในครรภ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกถึงพัฒนาการต่าง ๆ ของทารกมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ได้แก่ การทำงานของกะบังลมที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ การทำงานของระบบประสาทและไขสันหลัง และการทำงานของปอด ดังนั้นอาการสะอึกของทารกในครรภ์ จึงไม่ส่งผลอันตรายต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
- การสะอึกของทารกในครรภ์บอกถึงการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี นอกจากการสะอึกแล้ว ลูกน้อยยังสามารถเตะ กระทุ้ง หมุนและกลิ้งตัวไปมา สามารถดมกลิ่น มองเห็น และได้ยินตั้งแต่ที่อยู่ในครรภ์ พัฒนาการทั้งหมดนี้จะค่อย ๆ มีการพัฒนาการขึ้นอย่างสมบูรณ์ไปจนกว่าลูกน้อยจะคลอด
การสะอึกแบบไหนของลูก ที่ควรไปปรึกษาแพทย์
การสะอึกถือเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามในคุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านอาการสะอึกของทารกในครรภ์อาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือสุขภาพทารกในครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยให้คุณแม่สังเกตการสะอึกของทารกในครรภ์ โดยที่หลังจากอายุครรภ์ผ่านไป 32 สัปดาห์ หากคุณแม่ยังรู้สึกได้ถึงการสะอึกของทารกในครรภ์ทุกวัน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์โดยละเอียด
ช่วงไตรมาสไหน ที่ลูกในครรภ์จะสะอึกบ่อยที่สุด
ลูกในท้องสะอึกจะเกิดขึ้นช่วงอายุครรภ์คุณแม่เข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 การสะอึกของทารกในครรภ์บอกถึงพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจของทารก เพราะทารกจะมีการกลืนน้ำคร่ำ ทำให้เกิดการสำลัก ส่งผลให้เกิดอาการสะอึกขึ้น
วิธีหยุดสะอึก ที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ
อาการสะอึกของทารกในครรภ์ไม่ได้ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด แต่การที่ลูกในท้องสะอึกก็ไม่ควรนานเกิน 15 นาที ดังนั้นเพื่อช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายลงจากอาการสะอึกของทารกในครรภ์ คุณแม่สามารถทำได้ตามวิธีนี้ ได้แก่
- นอนตะแคงซ้าย
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- นอนพักงีบระหว่างวัน
- ใช้หมอนรองตรงบริเวณกระดูกสันหลังของคุณแม่ เพื่อช่วยลดแรงกดที่เกิดขึ้นจากการสะอึกของทารก
- รับประทานอาหารสำหรับคนท้องที่หลากหลายและมีคุณค่าทางโภชนาการ
- ออกกำลังกายเบา ๆ ที่เหมาะกับการตั้งครรภ์และปลอดภัยต่อทารกในครรภ์
การดิ้นของทารกในครรภ์จะเกิดขึ้นไปจนกว่าคุณแม่จะคลอด ซึ่งหากระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่รู้สึกได้ว่าทารกในครรภ์มีการดิ้นที่น้อยลงหรือหยุดดิ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที สำหรับอาการสะอึกของทารกในครรภ์ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ และก็เป็นสัญญาณที่ดีของพัฒนาการทารกในครรภ์ แต่หลังจากตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ คุณแม่รู้สึกได้ว่าทารกในครรภ์ยังมีอาการสะอึกทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าทารกในครรภ์ปลอดภัย แนะนำคุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจพัฒนาการครรภ์อย่างละเอียด
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ
- อาการท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายหรือไม่ ทำไมคุณแม่ต้องรู้
- เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- อาหารคนท้องไตรมาสแรก โภชนาการที่สำคัญสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- ลูกในครรภ์สะอึก, โรงพยาบาลศรีสวรรค์
- Fetal Hiccups: Why Do Babies Get Hiccups in the Womb?, theBUMP
- การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
- What causes hiccups in babies in the womb?, MedicalNewsToday
อ้างอิง ณ วันที่ 1 มกราคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง