ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น
ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เรื่องกวนใจที่แม่ท้องหลาย ๆ ท่านมักเจอ อาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหากคุณแม่มีอาการท้องผูกที่มากขึ้นจนขับถ่ายได้ยาก ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่ เพื่อรับคำแนะนำและการดูแลที่ถูกต้องปลอดภัย ทั้งนี้ไม่แนะนำให้คุณแม่ซื้อยาระบาย ยาแก้ท้องผูกมารับประทานเองเด็ดขาด
สรุป
- ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ สาเหตุมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีการสร้างมากขึ้น ทำให้ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวลดลง ร่วมกับขนาดที่ใหญ่ขึ้นของมดลูกและไปกดทับลำไส้ใหญ่ จนทำให้อุจจาระแข็งและถ่ายยาก
- อาการท้องผูก (Constipation) พบได้บ่อยในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ทำให้คุณแม่เริ่มมีอาการท้องผูกได้ตั้งแต่อายุครรภ์เดือนที่ 2 และ 3
- การป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ เช่น โยเกิร์ต บัตเตอร์มิลค์ ขนมปังซาวโดวจ์ และซุปมิโซะ เป็นต้น เพื่อช่วยในการทำงานของลำไส้ทำให้การขับถ่ายดีขึ้น และช่วยลดอาการท้องผูก
- ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก เพื่อความปลอดภัยกับคุณแม่และทารกในครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- คุณแม่ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เป็นเรื่องปกติไหม
- คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
- ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะเป็นไปจนครบ 9 เดือนเลยไหม?
- ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ การเบ่งถ่ายเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์หรือไม่
- คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูก ควรกินอะไรให้ถ่ายง่าย
- วิธีดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ
- คุณแม่ท้องผูกหนักมาก ระวังริดสีดวงทวาร!
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายตลอด 9 เดือนของการตั้งครรภ์ นอกจากจะส่งผลต่อภาวะอารมณ์ของคุณแม่ท้องแล้ว ก็ยังอาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูกอีกด้วย สำหรับอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์สาเหตุหนึ่งนั้น เป็นผลมาจากการที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีการสร้างมากขึ้น จึงทำให้ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวได้ลดลง ร่วมกับขนาดที่ใหญ่ขึ้นของมดลูกและไปกดทับลำไส้ใหญ่ จนทำให้อุจจาระแข็งและขับถ่ายได้ยากขึ้น
คุณแม่ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เป็นเรื่องปกติไหม
อาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ กับคุณแม่ท้อง และเมื่ออายุครรภ์เพิ่มมากขึ้นก็จะยิ่งทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย อาการท้องผูก (Constipation) พบได้บ่อยในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณแม่เริ่มมีอาการท้องผูกได้ตั้งแต่อายุครรภ์เดือนที่ 2 และ 3 และจะมีอาการท้องผูกเพิ่มมากขึ้น เมื่อมดลูกมีการขยายตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
อาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ระหว่างตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีการสร้างที่เพิ่มมากขึ้น
- การทำงานของลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการตั้งครรภ์
- กินอาหารที่มีกากใยน้อยลง
- ไม่ได้ออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะเป็นไปจนครบ 9 เดือนเลยไหม?
ในคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะเกิดอาการท้องผูกได้ง่ายมาก เนื่องมาจากการขยายใหญ่ขึ้นของมดลูกจนไปกดทับลำไส้ใหญ่ ส่งผลทำให้การทำงานของระบบขับถ่ายทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มมีอาการท้องผูกได้ตั้งแต่อายุครรภ์เดือนที่ 2 และ 3 และจะมีอาการท้องผูกเพิ่มมากขึ้น เมื่อมดลูกมีการขยายตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ การเบ่งถ่ายเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์หรือไม่
คุณแม่ที่มีอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ หากมีการเบ่งถ่ายที่ไม่ได้เป็นการออกแรงเบ่งรุนแรงมากไป แต่เป็นเพียงการเบ่งถ่ายระดับปกติ และช่องคลอดไม่ได้มีเลือดออกมา ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ แต่ทั้งนี้หากคุณแม่เบ่งถ่ายบ่อยมาก ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดเป็นริดสีดวงทวารขึ้นได้
คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องผูก ควรกินอะไรให้ถ่ายง่าย
การปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ เป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยต่อทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ การดูแลให้ระบบขับถ่ายมีการทำงานได้ดีมากขึ้น คุณแม่สามารถเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงเพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นค่ะ
- ผัก เช่น แครอท ถั่วฝักยาว หน่อไม้ฝรั่ง หัวหอม บรอกโคลี เป็นต้น
- ผลไม้ เช่น ลูกพรุน เบอร์รี แอปเปิล มะละกอ แก้วมังกร กล้วย มะขามหวาน ฝรั่ง เป็นต้น
- ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วลันเตา เป็นต้น
- ข้าว แป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น
วิธีดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ
คุณแม่สามารถป้องกันและดูแลบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ได้ตามคำแนะนำดังนี้
1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอให้ได้วันละ 8-12 แก้ว การดื่มน้ำจะช่วยลดการเกิดอาการท้องผูก ช่วยทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ไม่แข็งขณะขับถ่าย
2. เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ ออกกำลังกายเบา ๆ
การออกกำลังกายเบา ๆ ขณะตั้งครรภ์จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ให้ทำงานได้ดีขึ้น เช่น การเดินช้า ๆ ว่ายน้ำ และโยคะสำหรับคนท้อง ครั้งละ 20-30 นาที ให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำจากแพทย์
3. กินอาหารที่มีโพรไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์มีส่วนช่วยในการทำงานของลำไส้และการขับถ่ายให้ดีมากขึ้น ช่วยลดอาการท้องผูก อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ ได้แก่ โยเกิร์ต บัตเตอร์มิลค์ ขนมปังซาวโดวจ์ และซุปมิโซะที่ไม่เค็มจนเกินไป เป็นต้น
4. กินอาหารที่มีไฟเบอร์
เพิ่มการกินอาหารที่มีไฟเบอร์ในมื้ออาหารให้มากขึ้น เพราะจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายและช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น เช่น ลูกพรุน ผักโขม อัลมอนด์ เป็นต้น
5. การใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์
การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยกับคุณแม่และทารกในครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนมีการใช้ยา ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง
6. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟ
7. ไม่นั่งเบ่งถ่ายนาน
8. ขณะขับถ่ายไม่เบ่งอุจจาระแรง ๆ
คุณแม่ท้องผูกหนักมาก ระวังริดสีดวงทวาร!
ท้องผูกคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นริดสีดวงทวารในคุณแม่ตั้งครรภ์ ท้องผูกมักทำให้คุณแม่ต้องเบ่งขณะขับถ่าย จนทำให้เป็นริดสีดวง อุจจาระที่แข็งจนทำให้รู้สึกเจ็บปวดและมีเลือดออกขณะขับถ่ายอุจจาระ
- อาการของริดสีดวงขณะตั้งครรภ์ที่สามารถสังเกตได้
- รู้สึกเจ็บตรงขอบทวารหนัก
- รอบทวารหนักมีอาการบวม และมีติ่งเนื้อ
- ปวดเวลาถ่ายอุจจาระมีเลือดออกเล็กน้อย
- อุจจาระค้างและแข็ง
- ถ่ายอุจจาระยาก และถ่ายอุจจาระออกมาไม่สุด
- การป้องกันริดสีดวงทวารในคุณแม่ตั้งครรภ์
- เข้าห้องน้ำทันทีเมื่อปวดอุจจาระ และไม่เบ่งถ่ายอุจจาระแรง ๆ
- ดื่มน้ำต่อวันให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายเบา ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
- ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอด
- ไม่ยกของหนัก
- งดเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
- นอนตะแคง การนอนในท่าตะแคงจะช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น ช่วยให้มดลูกไม่ไปกดทับเส้นเลือดดำที่อยู่ตรงบริเวณช่องท้องและลำไส้ใหญ่ แนะนำให้คุณแม่นอนตะแคงทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดความดันในช่องท้อง
หลังคลอดลูกเพื่อให้ร่างกายคุณแม่ฟื้นฟูได้เร็วและมีน้ำนมสำหรับให้ลูกน้อย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลาย ให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ซึ่งองค์การยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลก แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก เพราะจะช่วยเสริมพัฒนาการด้านประสาท การรับรู้ การรู้คิด และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก รวมทั้งยังมีจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น บีแล็กทิส (B. lactis) หนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และยังเป็นโพรไบโอติกส์ ที่สามารถส่งต่อเพื่อ สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้อีกด้วย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ
- อาการท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายหรือไม่ ทำไมคุณแม่ต้องรู้
- เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- อาหารคนท้องไตรมาสแรก โภชนาการที่สำคัญสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- การผ่าคลอดและคลอดธรรมชาติ ต่างกันยังไง พร้อมขั้นตอนเตรียมผ่าคลอด
- ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที พร้อมข้อดี-ข้อเสีย คลอดเองกับผ่าคลอด
- แผลผ่าคลอดกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดให้ฟื้นตัวไว
- แผลฝีเย็บหลังคลอด แผลคลอดธรรมชาติ ดูแลยังไงให้ปลอดภัย
- หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คนผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้างช่วยให้แผลหายเร็ว
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- อาการระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, โรงพยาบาลพญาไท
- วิธีรับมืออาการท้องผูก ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
- แก้ปัญหาอาการท้องผูกในช่วงท้องยังไงดี? (Constipation in pregnancy), แพทย์หญิงทานตะวัน พระโสภา Dr.Noi The family
- ท้องผูก เรื่องอึดอัดของว่าที่คุณแม่, โรงพยาบาลเปาโล
- ปรับการกิน...แก้ท้องผูก, โรงพยาบาลเทพธารินทร์
- คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี, โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
- โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์นักรบช่วยปกป้องร่างกาย, MedPark Hospital
- ริดสีดวงกับคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด: อะไรเวิร์ก อะไรไม่เวิร์ก?, Unicef Thailand
- Maternal breast-milk and intestinal bifidobacteria guide the compositional development of the Bifidobacterium microbiota in infants at risk of allergic disease, pubmed, Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72.
- Recommendations for Probiotic Use--2015 Update: Proceedings and Consensus Opinion, pubmed, Floch MH, et. al. J Clin Gastroenterol. 2015 Nov-Dec;49 Suppl 1:S69-73.
อ้างอิง ณ วันที่ 3 มีนาคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง