เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม ส่งผลกระทบกับคุณแม่และลูกในท้องอย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์อย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์อย่างไร

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ก.พ. 16, 2024
1นาที

คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่ และยังส่งผลกระทบถึงลูกน้อยในครรภ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์คุณแม่ต้องดูแลตัวเองและระวังในเรื่องใดบ้าง เพื่อให้การตั้งครรภ์ปลอดภัยตลอด 40 สัปดาห์

 

สรุป

  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดเพราะฮอร์โมนในร่างกายช่วงตั้งครรภ์สร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อการทำงานของอินซูลินมีปัญหา จึงส่งผลให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • เมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • อันตรายหากมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในคุณแม่อาจเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษและคลอดก่อนกำหนด ในทารกอาจมีการเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ หรือคลอดออกมาแล้วมีพัฒนาการล่าช้า
  • ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะหายเป็นปกติ หลังจากคุณแม่คลอดลูกแล้ว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เกิดขึ้นจากที่รกในครรภ์มีการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาในการต่อต้านฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ในร่างกาย อินซูลินทำหน้าที่เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อระบบการทำงานของอินซูลินถูกรบกวนจึงส่งผลทำให้น้ำตาลในเลือดมีระดับที่สูงขึ้น นั่นจึงทำให้คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สัญญาณเตือนที่คุณแม่สังเกตได้

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่บอกถึงว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ
  • มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา
  • การมองเห็นของดวงตาพร่ามัวทั้งสองข้าง
  • น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์
  • ริมฝีปากแห้งมาก
  • รู้สึกกระหายน้ำมาก ดื่มน้ำบ่อย
  • แผลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์จะหายช้า

 

ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ไม่ว่าจะในครรภ์แรก หรือครรภ์ที่สอง ที่สาม คุณแม่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้นได้

  1. คุณแม่มีอายุมากขณะตั้งครรภ์ (30 ปีขึ้นไป)
  2. มีน้ำหนักเกินก่อนการตั้งครรภ์
  3. มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน (เครือญาติฝั่งคุณแม่)
  4. ในครรภ์แรกคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
  5. มีน้ำตาลในปัสสาวะสูง
  6. ครรภ์แรกคลอดลูกมีน้ำหนัก 4 กิโลกรัม
  7. มีประวัติทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ หรือเสียชีวิตระหว่างคลอด

 

ควรตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตอนไหน

เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ครบระหว่าง 24 สัปดาห์  และ 28 สัปดาห์ แพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่จะนัดเพื่อตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีรายละเอียดการตรวจดังนี้

ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

การตรวจเพื่อหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ สำหรับการตรวจครั้งแรก จะไม่มีการงดน้ำ งดอาหารก่อนมาตรวจ 8 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนการตรวจ คือ คุณแม่ดื่มน้ำตาล 50 กรัม หลังดื่มน้ำตาลครบ 1 ชั่วโมง จะมีการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำในเลือดที่ปกติต้องไม่เกิน 140 มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร

 

งดน้ำ งดอาหาร

การตรวจในครั้งที่สองจะมีขึ้นในกรณีที่ตรวจระดับน้ำตาลครั้งแรกเกิน 140 มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร ในครั้งที่สองของการตรวจคุณแม่มีการงดน้ำ งดอาหารมาก่อน 8 ชั่วโมง การตรวจครั้งสองนี้คุณแม่ต้องดื่มน้ำตาล 100 กรัม โดยมีขั้นตอนการตรวจ คือ เจ้าหน้าที่พยาบาลทำการเจาะเลือดให้คุณแม่ 4 ครั้ง

  • เจาะเลือดครั้งที่ 1: ก่อนดื่มน้ำตาล
  • เจาะเลือดครั้งที่ 2: หลังดื่มน้ำตาล 1 ชั่วโมง
  • เจาะเลือดครั้งที่ 3: หลังดื่มน้ำตาล 2 ชั่วโมง
  • เจาะเลือดครั้งที่ 4: หลังดื่มน้ำตาล 3 ชั่วโมง

 

หากพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดจำนวน 2 ค่าขึ้นไปเกิน 140 มิลลิกรัมต่อเดชิลิตร คุณแม่จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อพร้อมไปกับสูติแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์ไปตลอดการตั้งครรภ์ จนถึงคลอดลูก

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่งผลกับลูกในท้องยังไงบ้าง

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบอันตรายต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง
  • ครรภ์เป็นพิษ
  • หลังคลอดคุณแม่มีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • ตกเลือดหลังคลอด

 

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบอันตรายต่อตัวทารก ได้แก่

  • มีน้ำหนักมาก ตัวใหญ่ขณะอยู่ในครรภ์
  • มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
  • หลังคลอดมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่ปกติ เสี่ยงที่จะต่ำ หรือสูง
  • อาจมีพัฒนาการที่ช้า
  • มีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

 

คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นเบาหวาน ควรรับประทานอาหารอย่างไร

เมื่อคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำเป็นต้องควบคุมการรับประทานอาหารไปจนตลอดอายุครรภ์

  1. เพื่อคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ตามเกณฑ์
  2. เพื่อลดการฉีดอินซูลิน
  3. เพื่อให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี

     

การคุมอาหารเมื่อมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง

  1. รับประทานอาหาร 3-5 มื้อต่อวัน ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. เปลี่ยนจากรับประทานข้าวขาวมาเป็นข้าวกล้อง หรือข้าวไรซ์เบอร์รี่
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลายได้โภชนาการสารอาหารครบ 5 หมู่
  4. เน้นรับประทานอาหารกลุ่มโปรตีน และผักใบเขียวที่มีกากใยเพิ่มขึ้น และงดผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
  5. อาหารจำพวกไขมันสูง หรือขนมหวาน น้ำอัดลม ควรงดอย่างเด็ดขาด
  6. เลือกนมจืดพร่องมันเนย แทนนมรสหวาน หรือนมเปรี้ยว

 

หากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง

หากคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก็สามารถออกกำลังกายให้มีสุขภาพที่ดีตลอดการตั้งครรภ์ได้ แต่เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ควรได้รับการยืนยันจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์ของคุณแม่แต่ละท่านก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้ สำหรับการออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่

  • การเดินเบาๆ เป็นประจำ
  • การว่ายน้ำ

 

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ถ้าไม่รีบไปปรึกษาแพทย์จะเป็นอย่างไร

หากคุณแม่มีอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วไม่ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา หรือไม่ทำตามคำแนะนำจากแพทย์หลังจากตรวจพบเบาหวาน อันตรายร้ายแรงที่เสี่ยงเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  1. ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์
  2. ทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์
  3. ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  4. ทารกมีแคลเซียม และแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
  5. ทารกมีระบบทางเดินหายใจผิดปกติ
  6. ตัวเหลืองหลังคลอด
  7. คลอดออกมาพิการ

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หายขาดได้หรือไม่

โดยปกติแล้วหลังคลอดลูก ภาวะเบาหวานที่แทรกซ้อนขึ้นขณะตั้งครรภ์จะหายเป็นปกติ หลังคลอด 6 สัปดาห์จะมีการนัดตรวจเลือดเพื่อวัดค่าระดับน้ำตาล หากค่าน้ำตาลปกติ แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ตรวจเลือดเพื่อดูค่าระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปี เบาหวานขณะตั้งครรภ์ถึงจะหายได้หลังคลอด ก็ยังแนะนำให้คุณแม่ดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และใส่ใจดูแลเรื่องการรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง เพื่อสุขภาพที่ดีและลดโอกาสการที่จะป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขึ้นในอนาคต

 

เพื่อให้การตั้งครรภ์ของคุณแม่มีคุณภาพตลอดการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ แนะนำคุณแม่ฝากครรภ์ทันที และพบแพทย์ทุกครั้งที่มีการนัดตรวจติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคอันตรายของคุณแม่มือใหม่, โรงพยาบาลเพชรเวช
  2. เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร, โรงพยาบาลนครธน
  3. คัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  4. ขั้นตอนการตรวจคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ผอมก็เป็นได้, โรงพยาบาลพญาไท
  6. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ อันตรายต่อแม่และลูกน้อย, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2566

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details คุณแม่ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน

View details อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

2นาที อ่าน

View details ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม พร้อมวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูก
บทความ
อาการท้องนอกมดลูก อันตรายไหม พร้อมวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม พร้อมวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูก หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ ไปดูปัจจัยที่ทำให้ท้องนอกมดลูกและวิธีสังเกตอาการท้องนอกมดลูกที่คุณแม่มือใหม่ต้องระวัง

1นาที อ่าน

View details ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร
บทความ
ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร

ท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะตั้งครรภ์อย่างไร

ท้องไตรมาสแรก มีอะไรเกิดขึ้นกับคุณแม่บ้าง ระยะตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก คุณแม่แพ้ท้องหนักไหม ควรดูแลตัวเองอย่างไรสำหรับไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 

3นาที อ่าน

View details ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง
บทความ
ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง สัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าลูกใกล้กลับหัวแล้ว  คุณแม่ควรเตรียมความพร้อมอย่างไร ไปดูกัน

2นาที อ่าน

View details จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
บทความ
จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอกใช้ได้ตอนไหน จุกหลอกหรือจุกนมหลอกช่วยเบี่ยงเบนความสนใจและป้องกันลูกน้อยดูดนิ้วตัวเองได้จริงหรือไม่ ไปดูข้อดีและข้อเสียของจุกหลอกที่คุณแม่ควรรู้ไว้กัน

7นาที อ่าน

View details ไขข้อข้องใจ คนท้องย้อมผมได้ไหม ยาย้อมผมเป็นอันตรายต่อลูกหรือไม่
บทความ
ไขข้อข้องใจ คนท้องย้อมผมได้ไหม ยาย้อมผมเป็นอันตรายต่อลูกหรือไม่

ไขข้อข้องใจ คนท้องย้อมผมได้ไหม ยาย้อมผมเป็นอันตรายต่อลูกหรือไม่

คนท้องย้อมผมได้ไหม คำถามคาใจของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน อยากสวยตอนตั้งครรภ์แต่ถูกห้ามให้ย้อมผม มาดูกันว่าในยาย้อมผมจะมีสารเคมีอะไรที่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์บ้าง

2นาที อ่าน

View details 7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง
บทความ
7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

รวมวิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย คุณแม่ทำได้เลยที่บ้านหลังคลอด ช่วยลดไขมันให้คุณแม่กลับมาหุ่นสวยอีกครั้ง พร้อมอาหารไขมันดี เหมาะสำหรับแม่หลังคลอด

2นาที อ่าน

View details คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมยังไงบ้าง
บทความ
คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมให้คุณแม่ยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวม เกิดจากอะไร อาการคนท้องเท้าบวม หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายกับคุณแม่หรือเปล่า ไปดูสัญญาณเตือนของอาการคนท้องเท้าบวมที่คุณแม่ควรรู้

2นาที อ่าน

View details โกโก้มีคาเฟอีนไหม คนท้องกินโกโก้ได้ไหม ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง
บทความ
คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

โกโก้มีคาเฟอีนไหม คนท้องกินโกโก้ได้ไหม ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

โกโก้มีคาเฟอีนไหม คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำชง คุณแม่ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี

2นาที อ่าน

View details อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ
บทความ
ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

2นาที อ่าน

View details ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ใช้ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน
บทความ
ที่ตรวจไข่ตก ใช้ตรวจการตกไข่ ได้จริงไหม แม่นยำแค่ไหน พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ใช้ตรวจไข่ตกได้จริงไหม พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตกแม่นยำแค่ไหน ทำไมถึงสำคัญสำหรับคนอยากมีลูก ที่ตรวจไข่ตกหรือชุดตรวจไข่ตกมีกี่แบบ ไปรู้จักที่ตรวจไข่ตก พร้อมวิธีการใช้งานที่ตรวจไข่ตกกัน

2นาที อ่าน

View details พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน
บทความ
พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

2นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ คุณแม่มือใหม่นับอายุลูกน้อยในครรภ์รายสัปดาห์อย่างไรให้แม่นยำ เพื่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ นับแบบไหนดี ไปดูกัน

2นาที อ่าน

View details น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม
บทความ
น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม คุณแม่กินน้ำเย็นแล้วน้ำนมจะหดจริงหรือเปล่า พร้อมเคล็ดลับดูแลตัวเองหลังคุณแม่ผ่าคลอด

3นาที อ่าน

View details ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม
บทความ
ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

2นาที อ่าน

View details เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ แบบนี้แพ้ท้องหรือเปล่า
บทความ
เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม อาการแบบนี้ใช่อาการแพ้ท้องหรือเปล่า

เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้ แบบนี้แพ้ท้องหรือเปล่า

อาการเวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม ปวดหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร แบบนี้คืออาการแพ้ท้องหรือเปล่า ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเวียนหัว

2นาที อ่าน

View details อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก เดาเพศลูกจากอาการแพ้ท้องลูกสาว-ลูกชาย
บทความ
อาการแพ้ท้องบอกเพศลูกได้จริงไหม เดาเพศลูกจากอาการแพ้ท้องลูกสาว ลูกชาย

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก เดาเพศลูกจากอาการแพ้ท้องลูกสาว-ลูกชาย

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูกได้จริงไหม สัญญาณท้องลูกชายและอาการแพ้ท้องลูกสาวเป็นยังไง อาการแบบไหนที่บอกให้คุณแม่รู้ว่ากำลังจะได้ลูกสาวหรือลูกชาย

1นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้
บทความ
คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้ ลูกน้อยในครรภ์ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ท้อง 9 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน