เทคนิคการปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า ตารางปั๊มนม พร้อมวิธีการปั๊มนม

เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า พร้อมตารางปั๊มนมและวิธีปั๊มนมให้ลูก

22.03.2024

น้ำนมแม่คือสุดยอดอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด น้ำนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิดที่ลูกน้อยจำเป็นต้องได้รับตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้นเพื่อทำให้น้ำนมแม่เกลี้ยงเต้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีเทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า มาแนะนำให้ค่ะ

headphones

PLAYING: เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า พร้อมตารางปั๊มนมและวิธีปั๊มนมให้ลูก

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า สามารถปั๊มนมได้ด้วยมือ และด้วยการใช้เครื่องปั๊มนม
  • การปั๊มนมสามารถปั๊มได้ทันทีหลังคลอดลูก โดยที่คุณแม่ต้องปั๊มนมต่อวันให้ได้วันละ 8-10 ครั้ง หรือทุก 3 ชั่วโมง
  • Power pumping คือวิธีปั๊มนมที่เลียนแบบการดูดนมของเด็กทารก ช่วยกระตุ้นเพิ่มน้ำนมให้มีต่อเนื่อง การปั๊มนมด้วยวิธี Power pumping ควรปั๊มให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 รอบ ช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำ Power pumping คือช่วง 02:00 -06.00 น.

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือน ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียว ในน้ำนมแม่จะมีสารอาหารที่สำคัญต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการด้านสมองการเรียนรู้และจอประสาทตาของลูกน้อย ซึ่งการจะกระตุ้นให้ร่างกายของคุณแม่มีการผลิตน้ำนมได้อย่างเต็มที่ แนะนำกระตุ้นด้วยการให้ลูกเข้าเต้า และควบคู่ไปกับการปั๊มนม โดยเฉพาะการปั๊มนมในคุณแม่มือใหม่อาจพบว่าปั๊มนมได้ไม่เกลี้ยงเต้า ซึ่งปัญหานี้จะหมดไป และจัดการได้อย่างคุณแม่มือโปร ด้วยเทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้าค่ะ

 

การปั๊มนม ควรเริ่มทำเมื่อไหร่

คุณแม่สามารถปั๊มนมได้ทันทีตั้งแต่หลังคลอดลูก โดยที่คุณแม่ต้องปั๊มนมต่อวันให้ได้วันละ 8-10 ครั้ง หรือทุก 3 ชั่วโมง การปั๊มนมก็เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของคุณแม่มีการผลิตน้ำนมออกมามีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

หลากข้อดีของการปั๊มนม

  • สำหรับคุณลูก: ช่วยให้ลูกได้กินนมแม่อิ่ม นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์กับร่างกายของลูก ดังนี้
  1. นมแม่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว สายโมเลกุลยาว ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อประสาทและจอประสาทตา
  2. ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกในอนาคตได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง และโรคเบาหวาน เป็นต้น
  3. ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคบนผิวหนังของลูกน้อยได้ (Microbial colonization)

 

  • สำหรับคุณแม่: ช่วยให้แม่มีน้ำนมแม่เก็บสต็อกไว้ให้ลูกกินได้นานที่สุด
  1. ช่วยให้หลังคลอดมดลูกคุณแม่เข้าอู่เร็ว
  2. ช่วยเผาพลาญไขมัน น้ำหนักลดเร็ว
  3. ช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนมให้กับร่างกาย
  4. ช่วยป้องกันอาการเต้านมคัด ตึง เจ็บ หรือการเกิดภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

 

ทารกต้องกินนมแม่ปริมาณเท่าไหร่

อายุ

ปริมาณน้ำนมแม่

จำนวนครั้งต่อวัน

วันแรกคลอด

5 CC. 

8-10

วันที่ 2

5 CC.

8-10

วันที่ 3 ถึงอายุ 1 เดือน

1-1.5 ออนซ์

8-10

อายุ 1 เดือน

2-4 ออนซ์

7-8

อายุ 2-6 เดือน

4-6 ออนซ์

5-6

อายุ 6-12 เดือน

6-8 ออนซ์

4-5

อายุ 1 ปีขึ้นไป

6-8 ออนซ์

3-4 (หลังมื้ออาหาร)

 

แจกตารางปั๊มนม สำหรับทารกแต่ละช่วงวัย

การเริ่มเวลาของรอบปั๊มนมในแต่ละวัน คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความสะดวก แต่ให้มีรอบปั๊มนมให้ได้ตามจำนวนที่แนะนำให้ในแต่ละช่วงวัยของลูกค่ะ

ช่วงวัย

รอบปั๊ม

เวลาปั๊ม

ทารกแรกเกิด (0 - 3 เดือน)8 ถึง 9 ครั้ง ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

เริ่มปั๊มตอนตี 05.00 น.

7.00 น.
9.00 น.
11.00 น. 
13.00 น.
15.00 น.
17.00 น.
19.00 น. และจบที่เวลา 00.00 น. (เที่ยงคืน)

ทารกอายุ 3 เดือน 5 ถึง 6 ครั้งต่อวันเริ่มปั๊มตอนเช้าเวลา 6.00 น. 
10.00 น. 
14.00 น. 
20.00 น. และจบที่เวลา 23.00 น.
ทารกอายุ 6 เดือน4 ครั้งต่อวันเริ่มปั๊มตอนเช้าเวลา 6.00 น.     
10.00 น. 
14.00 น. และจบที่เวลา 22.00 น.

 

ตารางการปั๊มนมที่ดีต้องให้เกลี้ยงเต้า

 

รวมเทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า

เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำนมในแต่ละรอบปั๊มแบบไม่หลงเหลือค้างเต้า คุณแม่สามารถทำตามเทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้าที่ถูกต้อง ได้ดังนี้ค่ะ

  •  เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า (ปั๊มนมด้วยมือ)
  1. คุณแม่ล้างมือ และขวดนมให้สะอาดก่อนปั๊มนมทุกครั้ง
  2. นวดหน้าอก หรือประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น ๆ จะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้นขณะปั๊ม
  3. จากนั้นให้คุณแม่นั่งลงแล้วเอนตัวไปด้านหน้า
  4. แล้ววางนิ้วโป้งไว้ให้เหนือหัวนม ส่วนนิ้วชี้จะวางอยู่ด้านใต้หัวนม กะระยะของนิ้วโป้งและนิ้วชี้ห่างจากลานหัวนมประมาณ 1 นิ้ว มือคุณแม่จะต้องอยู่ในลักษณะเหมือนตัว C
  5. จากนั้นให้กดนิ้วโป้งและนิ้วชี้ลงไปพร้อมกันช้า ๆ เป็นการบีบน้ำนมออกมา
  6. คุณแม่สามารถเปลี่ยนบริเวณที่บีบน้ำนมได้ทั้งรอบลานนม
  7.  น้ำนมแม่ที่บีบได้ให้เก็บไว้ในถุงเก็บน้ำนมหรือภาชนะที่สะอาด แล้วจัดเก็บในตู้เย็น เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนม

 

  • เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า (ปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊ม)
  1. คุณแม่ล้างมือ อุปกรณ์ปั๊มนม และภาชนะให้สะอาดก่อนปั๊มนมทุกครั้ง
  2. จากนั้นให้วางกรวยเต้าสำหรับปั๊มนมบนหัวนมทั้งสองข้าง จัดให้กรวยอยู่ตรงกลางหัวนม
  3. ประคองเต้านมด้วยมือข้างที่ถนัด ให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน ส่วนนิ้วที่เหลือประคองอยู่ใต้เต้านม
  4. การปรับความเร็วและอัตราการปั๊มนมให้เริ่มต้นจากอัตราการปั๊มที่ต่ำและเร็ว เมื่อน้ำนมไหลออกมาคงที่สม่ำเสม อจากนั้นค่อยปรับความเร็วให้ช้าลงและเพิ่มอัตราการปั๊มขึ้น
  5. การปั๊มนมแต่ละรอบจะอยู่ที่ 15-20 นาที เมื่อปั๊มจนน้ำนมเกลี้ยงเต้าเแล้ว ให้นำกรวยสำหรับปั๊มนมออกจากเต้านม
  6. จากนั้นนำน้ำนมที่ได้ใส่ในถุงเก็บนมแม่ หรือภาชนะที่สะอาด แล้วนำเข้าตู้เย็น เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนม

 

วิธีปั๊มนมแบบ Power pumping คืออะไร

หลังคลอดลูกมาในช่วงแรก คุณแม่จะมีความเหนื่อยล้าจากการเลี้ยงลูก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจจะให้ลูกเข้าเต้า หรือปั๊มนมได้ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งก็จะทำให้น้ำนมของคุณแม่ลดลง น้ำนมหด น้ำนมมีปริมาณน้อยลงได้ ดังนั้นแนะนำให้คุณแม่ปั๊มนมด้วยวิธีที่เรียกว่า Power pumping คือการปั๊มนมที่เลียนแบบการดูดนมของเด็กทารก ช่วยกระตุ้นเพิ่มน้ำนมให้ไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง การปั๊มนมด้วยวิธี Power pumping ควรปั๊มให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 รอบ ช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำ Power pumping คือเวลา 02:00 – 06.00 น. จะเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินสูง สำหรับเทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้าด้วยวิธี Power pumping มีดังนี้ค่ะ

  1. ปั๊มนมทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน
  2. เริ่มปั๊มที่ 20 นาที พัก 10 นาที
  3. ปั๊ม 10 นาที พัก 10 นาที ปั๊ม 10 นาที รวม 60 นาที จะเท่ากับ Power pumping 1 รอบ
  4. ควรปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อน้ำนมอุดตัน

 

การปั๊มนมแต่ละครั้ง ใช้เวลานานไหม

คุณแม่หลังคลอดที่อยากปั๊มนมเก็บทำสต็อก จะใช้เวลาในการปั๊มนมดังนี้ค่ะ

  1. ให้ปั๊มทันทีหลังจากลูกดูดนมอิ่มแล้ว 10-15 นาที
  2. ให้ปั๊มระหว่างมื้อนม โดยการปั๊มนมหลังจากลูกเข้าเต้าไปแล้ว 1 ชั่วโมง คุณแม่ต้องปั๊มพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ปั๊มนาน 10-15 นาที

 

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งการปั๊มนมออกได้เป็น 3 ช่วง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของคุณแม่ จะใช้เวลาในการปั๊มนานประมาณ 10-15 นาที คือ

  • ปั๊มนมระหว่างสัปดาห์แรกหลังคลอด โดยปั๊มต่อจากที่ลูกกินนมอิ่มแล้ว
  • ปั๊มนมหลังจากสัปดาห์แรก ถึง 30-45 วันหลังคลอด โดยปั๊มขณะที่ลูกกำลังเข้าเต้า ด้วยการใช้กรวยสูญญากาศ
  • ปั๊มนมหลัง 30 หรือ 45 วันหลังคลอด โดยปั๊มในช่วงที่ลูกหลับนาน 2-3 ชั่วโมง จะทำให้คุณแม่มีเวลาในการปั๊มนมมากขึ้น

 

เพื่อให้คุณแม่มีน้ำนมปริมาณที่มากตลอดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีเพิ่มน้ำนมอย่างง่ายคือให้คุณแม่ดื่มน้ำวันละ 3-4 ลิตร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้พลังงานต่อวันเพิ่มขึ้น 500 กิโลแคลอรี โดยเน้นอาหารกลุ่มโปรตีน และอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนม เช่น หัวปลี กะเพรา ฟักทอง เป็นต้น ที่สำคัญต้องปั๊ม หรือให้ลูกเข้าเต้าเพื่อระบายน้ำนมออกทุก 3-4 ชั่วโมง นมแม่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด นอกจากจะมีสารอาหารที่หลากหลายครบถ้วนแล้ว ก็ยังมีจุลินทรีย์สุขภาพ บีแล็กทิส (B. lactis) หนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และยังเป็นโพรไบโอติกส์ ที่สามารถส่งต่อเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้อีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 


อ้างอิง:

  1. 11 เหตุผลที่ลูกควรได้กินนมแม่, โรงพยาบาลพญาไท
  2. ปั๊มนมอย่างไรให้ถูกต้อง, POBPAD
  3. เทคนิคการทำ Power pumping (PP) ให้ได้ประสิทธิภาพ, PERMIERE HOME HEALTH CARE
  4. เคล็ดลับการบีบหรือปั๊มนมแม่ การเก็บรักษาน้ำนม, โรงพยาบาลศิครินทร์
  5. ลูกกินนมแบบไหนเรียก Over breastfeeding, โรงพยาบาลสมิติเวช
  6. How to Exclusively Breast Pump, healthline
  7. เทคนิคการเริ่มต้นปั๊มนม สำหรับคุณแม่มือใหม่ (Guide to Pumping Breast Milk), แพทย์หญิงทานตะวัน พระโสภา แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  8. วิธีเก็บสต็อกนมแม่ ต้องทำอย่างไร, โรงพยาบาลวิชัยเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มีนาคม 2567
 

บทความแนะนำ

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก